|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ พฤศจิกายน 2548
|
|
อีกผลงานหนึ่งของ ยุวโรตม์ ศรีสุต จากสุขภัณฑ์นาม (Nahm) ที่ยังไม่ได้วางขาย แต่เปิดตัวไปแล้วเมื่อกลางปีที่ผ่านมา
เป็นงานชิ้นล่าสุดจากนามที่คราวนี้ยุวโรตม์ ดีไซเนอร์คนสำคัญขอใช้งานออกแบบนำกลยุทธ์การตลาด
"ผมต้องการพิสูจน์ว่าสิ่งที่ผมคิด ผมฝัน มีโอกาสเป็นไปได้หรือเปล่าทางการตลาด" ยุวโรตม์กล่าว กับ "ผู้จัดการ" และอธิบายต่อว่างานออกแบบสุขภัณฑ์ เป็นเรื่องที่ทำได้ยากกว่าสินค้าทั่วไปเพราะจะต้องอยู่ภายใต้ข้อจำกัดมากมาย เช่นเป็นของใช้ในห้องน้ำที่มีความชื้นสูง การนำดีไซน์ที่จินตนาการไว้ให้สอดคล้อง กับความต้องการจริงของตลาดเป็นเรื่องที่ยาก และที่ยากไปกว่านั้นคือกระบวนการผลิต ที่ต้องมีประสิทธิ ภาพสูงมาก ที่ผ่านมาความสามารถในการผลิตมีส่วนอย่างมากที่จะทำให้วิธีคิดในการดีไซน์เปลี่ยนไป โดยอาจจะเหลือรูปแบบอย่างที่ต้องการเพียง 20 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น
วิธีคิดของ Kobp มาจากรูปร่างของสิ่งมีชีวิตเล็กๆ ที่ส่งเสียงร้องลั่นทุ่ง อ๊บ อ๊บ อ๊บ หลังฝนตก เห็นได้อย่างเจนตาทั่วไปในเรือกสวน ไร่นา เป็นเอกลักษณ์เฉพาะอย่างหนึ่งของชนบทไทย เป็นการออกแบบอีกรุ่นหนึ่งที่เขามั่นใจว่าจะหลุดกรอบของตลาดสุขภัณฑ์เดิมๆ ที่เคยมีอยู่
ดังนั้นกลุ่มลูกค้าของ Kobp ที่มีออร์เดอร์เข้ามาจะเป็นกลุ่มเฉพาะที่ให้ความสำคัญในเรื่องการดีไซน์ เช่นโรงแรมเล็กที่หรูมาก
สุเมธ อินทามระ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่ายุวโรตม์เป็นคนออกแบบที่เข้าใจและยอมรับข้อคิดเห็น จากทางการตลาดเพราะเป็นข้อมูลที่ได้มาจากการสัมผัสกับลูกค้าโดยตรง ดังนั้นการออกแบบสินค้าแต่ละชิ้น การตลาดต้องนำอยู่ประมาณ 60-70 เปอร์เซ็นต์ ที่เหลือคือการดีไซน์ และกำลังความ สามารถในการผลิต
ยุวโรตม์ ศรีสุต จบการศึกษาภาควิชาออกแบบภายใน มหาวิทยาลัยรังสิต เริ่มทำงานที่นี่เมื่อปี 2545 ในตำแหน่ง Design Coordinator ซึ่งเป็นปีแรกของการเปิดตัวแบรนด์ Nahm ด้วยรุ่น โอฟูโร่ (Ofuro) ที่โฟกัสไปยังกลุ่มลูกค้าระดับบน และได้ดึง "อู้" นพปฎล พหลโยธิน ก่อนที่จะเป็นรุ่นเอก้า (AKA) ออกแบบโดย เอกฤทธิ์ ประดิษฐ์สุวรรณ โดยยังจับลูกค้ากลุ่มบนเช่นเคย แต่ลดความแปลกใหม่เรื่องการดีไซน์ลง เอาใจตลาดมากขึ้น
เป็นความโชคดีของเขาที่ได้มีโอกาสทำงานกับนักออกแบบชื่อดังของเมืองไทยตั้งแต่ตอนนั้นและมีส่วนทำให้ Nahm เป็นที่รู้จักในแง่สินค้าที่มีดีไซน์อย่างรวดเร็วในเมืองไทย
อูฟูโร่ และเอก้า เป็นงานที่แสดงให้เห็นชัดเจนว่า นาม มีจุดยืนในการออกแบบสินค้าที่เป็น เอกลักษณ์ต่างไปจากค่ายอื่นๆ
ปีที่ผ่านมา เขาก็มีโอกาสได้โชว์ความสามารถในการออกแบบเต็มที่ ในรุ่น "เนียน" (nian) โฟกัสไปยังลูกค้าระดับบี ที่กว้าง กว่าเดิม ซึ่งในตอนนั้นมี นาม เอก้า กับ อูฟูโร่ ซึ่งยูนีค และราคา แพง บริษัทอยากได้ของที่ราคาต่ำลงมาหน่อย แต่โมเดิร์น
"ผมไม่ใช่เพียวอาร์ต หรือคิดเองโดยไม่มีพื้นฐานทางการตลาด สินค้าทุกตัวมีดีไซน์ที่ต้องมีโจทย์มาจากการตลาด สวยแปลกหลุดโลก ขายไม่ออกก็ไม่ใช่"
ดังนั้น Kobp จะเป็นส่วนผสมที่ลงตัวระหว่างศิลปะและการตลาดหรือไม่ เป็นสิ่งที่ยุวโรตม์กำลังคอยดูผลตอบรับ
|
|
|
|
|