Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2548








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2548
พิพิธภัณฑสถานเครื่องถ้วยเอเชียตะวันออกเฉียงใต้             
โดย อรวรรณ บัณฑิตกุล
 


   
www resources

โฮมเพจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

   
search resources

สุรัตน์ โอสถานุเคราะห์
Museum
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ




พิพิธภัณฑสถานเครื่องถ้วยเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เป็นอาคารใต้ดินชั้นเดียว รูปแบบคอนกรีตเปลือย มีลักษณะทางสถาปัตยกรรมที่แปลกตา

มองเข้าไปท่ามกลางแสงไฟสลัวราง จะเห็นเครื่องถ้วยที่เป็นสัญลักษณ์ของงานศิลปะและอารยธรรมที่คงคุณค่าของมนุษย์จำนวนมากวางเรียงรายอยู่ภายใน

เสมือนเตาเผาโบราณที่จมอยู่ใต้เนินดินส่วนงานที่จัดแสดงอยู่ภายในห้องนิทรรศการถาวรอาจเปรียบได้กับผลิตภัณฑ์ที่ถูกนำเข้ามาเผาในเตา

เป็นพิพิธภัณฑ์แห่งหนึ่งที่ทำการออกแบบได้อย่างสวยงามและดึงดูดให้ผู้คนเข้าไปค้นคว้า เรื่องราวภายใน โดยฝีมือจากสถาปนิก A49 บริษัทเดียวกับที่สร้างหอสมุดของมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ที่เป็นอาคารต่อเชื่อมกันกับส่วนพิพิธภัณฑ์

เมื่อปี 2545 "ผู้จัดการ" มีโอกาสไปเยี่ยมบ้าน สุรัตน์ โอสถานุเคราะห์ บุคคลที่ได้รับการยอมรับว่ามีเครื่องสังคโลกชิ้นเยี่ยมอยู่ในความครอบครองมากที่สุดคนหนึ่งของเมืองไทย และเคยตื่นตากับจำนวนของเครื่องถ้วยชิ้นใหญ่น้อยจำนวนมาก ที่เรียงรายอยู่ในห้องรับแขกห้องทำงาน และคราวนั้นสุรัตน์ ผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้ยืนยันว่าทั้งหมดมีไม่ต่ำกว่า 3,000 ชิ้น เป็นของที่เก็บสะสมมานานตลอดระยะกว่า 40 ปี (ที่มาและเรื่องราวของเขาเกี่ยวกับการสะสมเครื่องสังคโลก "ผู้จัดการ" ได้เขียนถึงไว้ในคอลัมน์ Life ฉบับเดือนกุมภาพันธ์ 2545) และยังได้บอกว่าของทั้งหมดที่เห็นส่วนใหญ่จะยกให้เป็นทรัพย์สินของมหาวิทยาลัยกรุงเทพ เพื่อให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาและทำนุบำรุงรักษาเป็นสมบัติของชาติต่อไป

พฤษภาคม 2548 ที่ผ่านมา พิพิธภัณฑสถานเครื่องถ้วยเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้เปิดให้นักศึกษา และผู้คนที่สนใจได้เข้าชมเป็นครั้งแรก โดยสุรัตน์ได้มอบโบราณวัตถุและเครื่องถ้วยให้ทั้งหมด 2,311 รายการ ทุกชิ้นเป็นของเก่าที่หายากและราคาสูงมาก

ภายในอาคารใต้ดินส่วนที่แสดงนิทรรศการถาวรนั้นเย็นฉ่ำด้วยเครื่องปรับอากาศ ที่ต้องควบคุมอุณหภูมิให้คงที่ไว้ตลอดเพื่อรักษาโบราณวัตถุ ภายในนั้นมีเครื่องถ้วยชิ้นที่สมบูรณ์จัดแสดงไว้ 500 ชิ้น และเครื่องถ้วยชิ้นที่ไม่สมบูรณ์อีก 30 ชิ้น ส่วนที่เหลือยังคงเก็บไว้ที่คลัง และจะนำออกมามาจัดแสดงเป็นครั้งคราว

เพื่อให้ง่ายกับการทำความเข้าใจกับเครื่องถ้วยยุคต่างๆ ปริวรรต ธรรมาปรีชากร ภัณฑารักษ์ประจำพิพิธภัณฑสถาน ได้แนะนำว่าให้เริ่มเดินชมจากตู้แรกทางขวามือของ ประตูทางเข้าเป็นดีที่สุด ซึ่งเรื่องราวจะเริ่มร้อยรัดความเป็นมาจากเครื่องถ้วยสมัยก่อนประวัติศาสตร์ (ประมาณ 2,500-5,600 ปีมาแล้ว) เป็นเครื่องปั้นดินเผาที่มีลักษณะเนื้อดินธรรมดาไม่เคลือบ ตกแต่งด้วยลายขูดขีดเลขาคณิตอย่างง่ายๆ

ก่อนจะต่อด้วยเครื่องถ้วยขอม ซึ่งจัดแสดงคนทีดินเผาของปลายศตวรรษฝูหนาน ราวพุทธศตวรรษที่ 11-12 และเครื่องถ้วยจีนจากมณฑลเจียงซี ราวพุทธศตวรรษที่ 19-22 รวมทั้งเครื่องถ้วยเคลือบสีเขียว จากมณฑลเจ้อเจียง ถัดไปคือเครื่องถ้วยล้านนา และเครื่องถ้วยสุโขทัย โดยมีไหเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เกี่ยวข้อง และเครื่องประดับสถาปัตยกรรมของวัฒนธรรมสุโขทัย อาทิ ปั้นลม (ช่อฟ้า) หางหงส์ กระเบื้องปูพื้น ลูกมะหวด บราลี และนาคราวบันได เป็นต้น ร่วมจัดแสดงอยู่ด้วย

นอกจากนั้นยังมีการจัดแสดงเครื่องถ้วยที่ส่งเป็นสินค้าออกจากหลักฐานซากเรืออับปางในเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 20-21

อีกด้านหนึ่งเป็นการจัดแสดงตัวอย่างของเครื่องถ้วย สุโขทัยขนาดเล็กที่ผลิตจากเตาศรีสัชนาลัย กลุ่มเตาเกาะน้อยและเตาป่ายาง ได้แก่ รูปบุคคลและ รูปสัตว์ เช่น รูปนายพราน รูปคนถือพัด รูปครอบครัว รูปคนอุ้มไก่ เป็นต้น ซึ่งแสดงให้เห็นสังคม และวิถีความเป็นอยู่ของผู้คนในสมัยสุโขทัยได้เป็นอย่างดี

จุดหนึ่งที่น่าสนใจก็คือ จัดแสดงให้ผู้เข้าชมทราบถึงวิธีการศึกษาเครื่องถ้วยโบราณจากลักษณะ ของเนื้อดิน และน้ำเคลือบ ดังนั้นเฉพาะเครื่องถ้วยโบราณที่อยู่ในตู้นี้มีช่องกระจกให้ผู้ชมสามารถเอามือเข้าไปสัมผัสและลองยกได้

แม้ว่าในพิพิธภัณฑสถานแห่งนี้ มหาวิทยาลัยกรุงเทพได้เปิดโอกาสให้ผู้เชี่ยวชาญทั้งชาวไทย และต่างประเทศเข้ามาจัดแสดง แนวคิดบางอย่างในการนำเสนออาจจะหลากหลาย ลำดับเรื่อง หรือระดับข้อมูลที่ใช้ในการนำเสนออาจยากที่จะเข้าใจ แต่ที่นี่ก็ได้รับการยอมรับว่าเป็นศูนย์กลางของการวิจัยและแสดงเครื่องถ้วยที่สำคัญและสมบูรณ์แห่งหนึ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ปีที่ผ่านมา ได้มีการสร้างอาคารส่วนขยายเพิ่มเติม โดยเชื่อมต่อกับอาคารหลังเดิมด้วยอุโมงค์ ใต้ดิน เพื่อเป็นสำนักงาน ห้องปฏิบัติการอนุรักษ์ศิลปวัตถุ ห้องสมุดเฉพาะสาขา และห้องเรียนเฉพาะสาขาวิชา

เป็นเรื่องที่น่าภูมิใจแทนนักศึกษามหาวิทยาลัยกรุงเทพ ที่มีผู้บริหารที่ให้ความสำคัญในเรื่องนี้ ทั้งที่ต้องทุ่มค่าใช้จ่ายจำนวนมากในการจัดแสดง โดยปัจจุบันมีรายได้จากการขายหนังสือ และของที่ระลึกเพียงเล็กน้อยเท่านั้น รายจ่ายส่วนใหญ่ที่เหลือมหาวิทยาลัยต้องรับผิดชอบทั้งหมด   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us