Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2548








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2548
"SimpleThai" อ่านข่าวได้บนมือถือญี่ปุ่น             
โดย น้ำค้าง ไชยพุฒ
 


   
www resources

Simple Thai Homepage
National Institute of Informatics Homepage

   
search resources

Web Sites
วุฒิชัย อัมพรอร่ามเวทย์, ดร.
National Institute of Informatics




คุณทราบหรือยังว่า วันนี้คุณสามารถอ่านข่าวจากหนังสือพิมพ์ไทยแทบทุกฉบับบนมือถือของญี่ปุ่นได้ แม้มือถือดังกล่าวจะบรรจุภาษาญี่ปุ่นเอาไว้ข้างในเพียงอย่างเดียว เครื่องเล็ก เครื่องใหญ่ และเป็นยี่ห้อใดก็ตาม ทั้งคนไทยในญี่ปุ่น หรือคนไทยกำลังจะไปญี่ปุ่นจึงไม่พลาดข่าวสารทุกวินาทีที่อยู่ที่ต่างบ้านต่างเมือง

ไฟกะพริบสีเขียวจากโปรแกรมสนทนา ทันใจ หรือ IM ชื่อดังจากค่ายไมโครซอฟท์ที่ชื่อ MSN Messenger กะพริบถี่ๆ ติดกันบนหน้าจอคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กสีดำ เมื่อกลางดึก ของคืนวันอาทิตย์กลางเดือนที่ผ่านมา เป็นสัญลักษณ์ว่า คู่สนทนาได้ส่งข้อความกลับมาหาผู้ทักทายเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

นี่ถือเป็นเพียงไม่กี่ครั้งที่ "ผู้จัดการ" เลือกใช้โปรแกรม IM ในการสัมภาษณ์ผู้คนเพื่อนำมาเสนอเป็นบทความให้นิตยสาร เหตุผลสำคัญมิใช่เป็นเพราะเวลาบนหน้าปัดนาฬิกาแขวนบนห้องบอกเวลาว่าดึกดื่นเสียจนไม่อยากจะยกหูโทรศัพท์เพื่อเสวนากับคนฝั่งโน้นแต่อย่างใด

แต่ด้วยระยะทางที่ห่างไกลระหว่างโตเกียวกับกรุงเทพฯ ต่างหากที่ทำให้ "ผู้จัด การ" ต้องใช้โปรแกรมสนทนาดังกล่าวทดแทน การส่งอีเมล ซึ่งเสียเวลาไปกับการรอคอยให้ผู้รับตอบกลับมา หรือยกหูโทรศัพท์พูดคุย ซึ่งมีราคาต่อนาทีสูงลิบลิ่วเอาการ

ดร.วุฒิชัย อัมพรอร่ามเวทย์ หรือที่ "ผู้จัดการ" เรียกจนติดปากว่า "ดร.ฮุ้ย" นักวิจัยจาก National Institute of Informatics (NII) ในเมืองโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น คือคู่สนทนาในกลางดึกวันนั้น

เขาผู้นี้เป็นคนไทยเพียงไม่กี่คนที่เก่งกาจจับตารัฐบาลญี่ปุ่น จนต้องจ้างให้ทำงานในสถาบันที่ว่า หลังจากที่จบการศึกษาในระดับปริญญาเอกใน Tokyo Institute of Technology เมื่อหลายปีก่อน

ไม่เพียงเท่านั้น ดร.ฮุ้ยยังอยู่ในฐานะ คนที่คิดค้นเว็บบราวเซอร์สำหรับใช้บนโทรศัพท์ มือถือที่ชื่อว่า "SimpleThai" เพื่อให้คนไทยในญี่ปุ่นและคนไทยที่ต้องเดินทางไปพำนักในญี่ปุ่นชั่วระยะเวลาหนึ่งได้มีโอกาสอ่านข่าวสารจากหนังสือพิมพ์ไทยได้แทบทุกฉบับบนโทรศัพท์มือถือของที่นั่น

"ญี่ปุ่น" ได้ชื่อว่าเป็นเมืองที่มี "unique" หรือมีเอกลักษณ์เป็นของตัวเองสูงที่สุดประเทศหนึ่งในโลก ไม่เพียงแต่คนในประเทศ ส่วนใหญ่จะนิยมพูดภาษาท้องถิ่นอย่างภาษาญี่ปุ่นมากกว่าภาษาสากลที่สามารถสื่อสารระหว่างกันอย่างภาษาอังกฤษแล้ว ระบบมือถือของญี่ปุ่นเป็นอีกหนึ่งที่คนไทยหลายคนทราบดีว่า ไม่สามารถพกพาไปใช้ข้ามประเทศ หรือพกพากลับมาใช้ต่อที่บ้านได้ หลายครั้งการแลกเปลี่ยนไปใช้เครื่องมือถือของญี่ปุ่นจากสำนักงานสาขาของค่ายมือถือที่เมืองไทย เพื่อให้สามารถนำไปใช้ที่ญี่ปุ่นได้ก็เป็นเรื่องที่สร้างความยุ่งยากให้กับผู้ใช้งานไม่น้อย

เช่นเดียวกันกับคนไทยที่พำนักอาศัยเพื่อเรียนหนังสือ ทำงาน และปฏิบัติหน้าที่บางอย่างเป็นระยะเวลาหนึ่ง ไปจนถึงระยะเวลานาน การเลือกใช้มือถือที่เป็นภาษาญี่ปุ่น หรือภาษาอังกฤษ ก็สร้างความลำบากให้ผู้คนเหล่านี้ หลายคนไม่อยากตกข่าวว่าที่บ้าน กำลังมีเหตุการณ์อะไร สังคมกำลังให้ความ สำคัญกับประเด็นข่าวอันไหน หรือแม้ข่าวคราวหน้าบันเทิงที่พลาดเมื่อไร สมาคมกาแฟ ก็หมดสนุกขึ้นมาทันที

"SimpleThai" ของ ดร.ฮุ้ย เป็นโปรแกรมเว็บบราวเซอร์ที่สามารถทำงานได้บนโทรศัพท์มือถือที่มีโปรแกรมจาวาติดตั้งอยู่ด้านใน เช่นเดียวกันกับรองรับการใช้งานอินเทอร์เน็ตได้ เนื่องจากการอ่านข่าวผ่าน เว็บไซต์ หนังสือพิมพ์ภาษาไทยนั้น ต้องใช้บริการอินเทอร์เน็ต โดยผ่านเครือข่าย GPRS นั่นเอง

คนไทยในญี่ปุ่นที่ต้องการใช้งานโปรแกรมดังกล่าว เพียงแต่ดาวน์โหลดโปรแกรมดังกล่าวจากเว็บไซต์ www.simple thai.net ผ่านบริการ WAP บนโทรศัพท์มือถือ มาติดตั้งบนโทรศัพท์มือถือของตน

เมื่อทำการติดตั้งเสร็จ ก็สามารถเรียกใช้งานโปรแกรมดังกล่าวได้ทันที โดยหน้าแรกของโปรแกรมหรือหน้า Home นั้นจะเป็นหน้าที่ช่วยให้ผู้ใช้เลือกการใช้งานอย่างที่ต้องการได้ ไม่ว่าจะเป็นการเลือกเว็บไซต์ของหนังสือพิมพ์รายใดในประเทศไทย จะเป็นผู้จัดการออนไลน์, ไทยรัฐออนไลน์ หรือเดลินิวส์ ก็อ่านได้แทบทั้งหมด

ในหน้าเดียวกันยังมีเมนูการเลือกใช้งานโปรแกรมการแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยหรือที่เรียกว่า "พจนานุกรมลองดู" ซึ่ง ดร.ฮุ้ยเป็นคนพัฒนาร่วมกับรุ่นน้องคนไทย ซึ่งทำงานที่ NII ด้วยกัน

พจนานุกรมลองดู ฉบับบนมือถือจะแตกต่างจากการใช้งานเว็บไซต์ ซึ่งจะมีความ สามารถในการแปลศัพท์จากหน้าเว็บได้ทันที แต่สำหรับบนมือถือแล้ว จะทำหน้าที่ไม่ต่างจากดิกชันนารีฉบับพกพาแต่อย่างใด

ผู้ใช้เพียงแต่ป้อนคำที่ต้องการจะแปลเข้าไปในระบบ และส่งข้อความออกไปยังเซิร์ฟเวอร์ หลังจากนั้นเซิร์ฟเวอร์จะค้นหาคำศัพท์ในระบบ ทำการดึงความหมายจัดส่งให้กับผู้ใช้งานในทันที ช่วยเพิ่มความสะดวกให้กับคนใช้งานในยามที่ไม่สามารถค้นหาพจนานุกรมหรือดิกชันนารีมาแปลความหมาย ของคำศัพท์ที่ต้องการได้

นอกจากโปรแกรมเว็บบราวเซอร์ดังกล่าวจะรองรับการอ่านข่าวภาษาไทยบนมือถือของญี่ปุ่นแล้ว ยังรองรับการอ่านข่าวบนเว็บไซต์ที่มีภาษาไทยจากมือถือในประเทศอื่นๆ ด้วย เช่นเดียวกับการรองรับการใช้งาน บนอุปกรณ์จำพวก PDA ไม่ว่าจะเป็น Pocket PC หรือ Palm ด้วย

"จนถึงทุกวันนี้น่าจะมีคนดาวน์โหลดไปแล้วประมาณ 6 พันคน เพราะไม่ได้โปรโมตให้ใหญ่โตอะไร ส่วนใหญ่จะใช้วิธีปากต่อปากมากกว่า มีเพื่อนทำร้านอาหาร เขาก็บอกว่าคนไทยที่มาทำงานในญี่ปุ่น ทั้งแม่ครัว ร้านอาหาร หรืออาชีพอื่นๆ เอามือถือมาให้ช่วยลงเยอะเหมือนกัน อาจจะเพราะว่าคน ทำงาน ไม่ค่อยได้เล่น คอมหรือดูทีวีมากเท่านักเรียน ก็เลยหันมาอ่านข่าวทางมือถือกันเสียส่วนใหญ่" ดร.ฮุ้ยบอกกับ "ผู้จัดการ" ผ่านหน้าจอ MSN Messenger

เขาเองยังยอมรับว่า ปัญหา การเดินทางด้วยรถไฟใต้ดินในญี่ปุ่น ซึ่งแต่ละวันกินเวลาหลายชั่วโมง ก็เป็น ส่วนหนึ่งที่มีผลผลักดันให้เขาคิดค้นโปรแกรมดังกล่าวขึ้นมา เพราะแม้จะยืนให้เมื่อยเป็นเวลานานบนรถไฟที่แต่ละเช้ามักจะเบียดเสียดด้วยผู้คนมหาศาล แต่หากมีมือถือที่สามารถอ่านข่าวในประเทศไทยได้ ก็เป็นการฆ่าเวลาที่ไม่เปล่าประโยชน์แต่อย่างใด   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us