Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2548








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2548
โค้งสุดท้าย RMF & LTF             
โดย ณัฐวัฒน์ หอมจิตต์
 

 
Charts & Figures

ผลตอบแทนการลงทุน RMF
ผลตอบแทนจากกองทุน LTF


   
search resources

Funds




เหลือเวลาอีกเพียง 2 เดือน สำหรับผู้ที่เคยลงทุนในกองทุน LTF และ RMF เมื่อก่อนหน้าจะต้องตัดสินใจลงทุนอีกครั้ง หากยังต้องการรักษาสิทธิที่จะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามนโยบายที่รัฐบาลได้เปิดช่องไว้ให้ก่อนหน้า

9 เดือนที่ผ่านมา ตลาดหุ้นและตลาดพันธบัตร ต้องเผชิญกับความผันผวนจากปัจจัยต่างๆ ที่รุมเร้า ไม่ว่าจะเป็นปัญหาน้ำมันราคาแพง การดำเนินนโยบายการเงินแบบเข้มงวดจากธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อต่อสู้กับปัญหาการขาดดุลบัญชี เดินสะพัด และอัตราเงินเฟ้อ ล้วนแต่เป็นเหตุปัจจัย ที่สร้างความผันผวนในอัตราผลตอบแทนการลงทุนของผู้ลงทุนเป็นอย่างยิ่ง

และผู้บริหารพอร์ตกองทุนต่างต้องพยายามหาทุกกลยุทธ์วิธีในการบริหาร เพื่อโชว์ผลงานดำเนินงานให้ผลตอบ แทนการลงทุนในระดับสูงสุดเมื่อเปรียบเทียบกับกองทุนอื่นๆ ด้วยกัน เมื่อเปรียบเทียบถึงผลตอบแทนการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศ ไทย ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนกันยายนที่ให้ผลตอบแทนการลงทุน เพียง 3.35% ขณะที่ดัชนีผลตอบแทนการลงทุนในตลาดพันธบัตรรัฐบาล และดัชนีผลตอบแทนการลงทุนจากหุ้นกู้เอกชนที่ได้รับการจัด อันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในระดับ investment grade รอบครึ่งแรกของปีนี้อยู่ที่ 5.50% และ 3.40% ตามลำดับ

ด้วยเหตุผลที่ว่ามิติความกว้างและความลึกของตลาดในประเทศ ยังอาจยังมีไม่มากพอ

ดังนั้น การจัดสัดส่วนการลงทุนในสินทรัพย์แต่ละประเภทและจังหวะในการเข้าลงทุนของผู้บริหารจัดการกองทุนแต่ละเจ้า จึงน่าจะกลายเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญไม่มากก็น้อย ต่อการประเมินถึงความสำเร็จของความพยายามที่จะสร้างผลตอบแทนการลงทุน ให้แก่ลูกค้า ในระดับสูงสุดเท่าที่ตลาดจะเอื้ออำนวยได้ในแต่ละช่วง เมื่อเทียบจากข้อมูลการให้อันดับของ LIPPER เมื่อวันที่ 31 สิงหาคมที่ผ่านมา โดยผลตอบแทนการลงทุน ในกองทุน RMF แยกตามประเภทสิ้นสุดเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2548 กลุ่มกองทุนรวมประเภทตราสารแห่งทุน และกองทุนรวมผสม แบบยืดหยุ่น ยังเป็นกลุ่มที่ให้ผลตอบแทนสูงสุดต่อนักลงทุน

สำหรับผลดำเนินงานในกองทุนรวมตราสารหนี้แห่งทุน กองทุนรวมอเบอร์ดีน สมาร์ทแคปปิตอลเพื่อการเลี้ยงชีพ ยังคงรักษา ตำแหน่งจ่าฝูงของกลุ่มไว้ได้เช่นเดียวกับเมื่อสิ้นเดือนก่อนหน้า แม้กองทุนนี้ของอเบอร์ดีน จะมีต้นทุนการบริหารจัดการสูงสุดเป็นอันดับ 1 ก็ตาม แต่หากพิจารณาถึงต้นทุนบริหารจัด การ ที่เรียกเก็บตามมูลค่ากองทุนสุทธิ (NAV) 2.18% ต่อปี ก็ยังถือว่าเป็นกองทุนที่น่าสนใจ

ด้านกองทุน Jumbo เพื่อการเลี้ยงชีพ จาก บลจ.ทหารไทย ดูท่าว่าผู้บริหารจัดการกองทุนเริ่มที่จะประสบความสำเร็จกับการดันอัตราผลตอบแทนกองทุนขึ้นมาอยู่ที่อันดับ 2 เบียดกองทุนบัวหลวงตราสารหนี้ที่เคยเป็นแชมป์เก่าเมื่อรอบ ที่แล้ว แต่มารอบนี้ถูกร่นลงมาอยู่ในอันดับ 3 แทนที่ Jumbo เสียแล้ว

ส่วนผลตอบแทนการลงทุนในกองทุนรวมผสมแบบยืดหยุ่น กองทุนที่สร้างผลตอบแทนการลงทุนที่ดีสุดแก่นักลงทุน จะมาจากการทำผลงานกองทุนบัวหลวงเฟล็กซิเบิ้ลเพื่อการเลี้ยงชีพ ซึ่งให้ผลตอบแทนการลงทุนอยู่ในระดับ 10.9%

ขณะที่อัตราผลตอบแทนจากการลงทุนในกองทุนรวมตลาดเงินนั้น แม้ผลดำเนินงานระหว่างกองทุนโครงสร้างจัดการ กองทุนเปิดตราสารเงินคุณค่า เพื่อการเลี้ยงชีพ ซึ่งบริหารจัดการ โดย บลจ.วรรณ และกองทุนรวมอยุธยาตราสารเงินเพื่อการเลี้ยงชีพของ บลจ.อยุธยาเอเจเอฟ เริ่มทิ้งช่วงห่างจากกันเล็กน้อยจากผลตอบแทนที่เท่ากัน 1.8% เมื่อสิ้นเดือนสิงหาคม

ด้านกองทุนรวมตราสารแห่งหนี้ ก็มีการปรับเปลี่ยนอันดับผลตอบแทนการลงทุนเช่นเดียวกัน โดยแมกซ์อินคัมของ บลจ.นครหลวงไทย ตีตื้นขึ้นมาอย่างรวดเร็วจากอันดับ 5 เมื่อ สิ้นเดือนสิงหาคม มายืนอยู่ในอันดับ 1 แทนที่กองทุนไอเอ็นจี คุ้มครองเงินต้นเพื่อการเลี้ยงชีพ 3 เช่นเดียวกับกองทุนไอเอ็นจี ออมทรัพย์เพื่อการเลี้ยงชีพ ที่ขึ้นจากอันดับ 4 มาอยู่ที่อันดับ 2 แทนที่กองทุนอยุธยาเจเอฟฯ ซึ่งร่วงไปอยู่ในอันดับที่ 5

แต่ที่น่าทึ่ง เห็นจะเป็น performance จากกองทุนกรุงไทยวางแผนภาษีเพื่อการเลี้ยงชีพ 2 ที่เขยิบขึ้นจากอันดับที่ 23 จากผลตอบแทนตั้งแต่ต้นปีถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2548 ติดลบ 2.5% มายืนอยู่ในอันดับ 4 ด้วยผลตอบแทนที่เป็นบวก 1.24% เมื่อถึงสิ้นเดือนกันยายน

ขณะที่กองทุน LTF ยังให้ผลตอบแทนการลงทุนอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับกองทุน RMF โดยผลสำรวจและจัดอันดับ ตัวกองทุนที่ให้ผลตอบแทนจากการลงทุนสูงสุดใน 5 อันดับแรก ยังไม่เปลี่ยนแปลงจากผลสำรวจของ Lipper เมื่อสิ้นเดือนกันยายน   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us