Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2548








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2548
Trend Setter กับสยามเซ็นเตอร์อีกครั้ง             
 


   
www resources

โฮมเพจ สยามเซ็นเตอร์

   
search resources

สยามพิวรรธน์, บจก.
ชฎาทิพ จูตระกูล
Shopping Centers and Department store




ในที่สุดสยามเซ็นเตอร์ ศูนย์การค้าขวัญใจวัยรุ่นทุกยุคทุกสมัย ยาวนานถึง 32 ปีของเมืองไทย ก็ได้ฤกษ์เปิดโฉมใหม่อีกครั้งหนึ่ง ภายใต้คอนเซ็ปต์ The Glass Magical Box อาคารใหม่ที่มีภาพลักษณ์ล้ำยุค สุดเปรี้ยว ด้วยภาพ Graphic และแสงสีที่เปลี่ยนไปและเคลื่อนไหวได้ โดยฝีมือของบริษัทสถาปนิกดีไซน์ 103 อินเตอร์เนชั่นแนล

ปิดฉากอาคาร 4 ชั้นสีมรกตในรูปแบบที่เคยทันสมัยเมื่อปี 2516 โดยฝีมือของ Mr.Louis Berger สถาปนิกชาวอเมริกัน ลงโดย สิ้นเชิง คงเหลือไว้เพียงบันไดด้านหน้าซึ่งล้อมรอบด้วยน้ำตกให้อยู่ในความทรงจำของผู้คนตลอดไป

ส่วนภายใน นอกจากเปลี่ยนผู้เช่าเกินครึ่งตึกแล้ว ยังจัดวางร้านในพื้นที่ 40,000 ตารางเมตร ใหม่ทั้งหมดเช่นกัน

เป็นการเปลี่ยนแปลงบนโจทย์ที่ว่าต้องเป็นแหล่งแฟชั่นที่ดูทันสมัย วัยรุ่น เปรี้ยวอย่างมีสไตล์และไร้ขอบเขต เพื่อตอกย้ำและโฟกัสไปยังกลุ่มลูกค้าวัยรุ่นที่เป็นเป้าหมายสำคัญของศูนย์การค้าแห่งนี้ ก่อนที่สยามพารากอน ศูนย์การค้าใหญ่ยักษ์ของเอเชียขนาด 500,000 ตารางเมตรจะเปิดตัวในเดือนธันวาคม 2548 นี้

คืองานใหญ่อีกครั้งในชีวิตของชฎาทิพ จูตระกูล กรรมการผู้จัดการบริษัทสยามพิวรรธน์ จำกัด เจ้าของอาคารสยามเซ็นเตอร์ที่จะต้องสร้างความมั่นใจให้กับผู้เช่าและลูกค้าว่า แม้มีศูนย์ฯ ใหม่มาเปิดข้างๆ แต่ที่แห่งนี้ต้องคึกคักต่อไปในแนวคิดที่ไม่เหมือนใครแน่นอน

เธอคือผู้ร่วมปลุกปั้น และฝ่าวิกฤติในเหตุการณ์ต่างๆ ร่วมกับผู้เช่าศูนย์การค้าสยามเซ็นเตอร์มาตั้งแต่ปี 2529 เช่น เหตุการณ์ ลดค่าเงินบาทเมื่อปี 2529 เกิดไฟไหม้ในศูนย์การค้าเมื่อปี 2538 วิกฤติการเงินในปี 2540 พร้อมๆ กับการปูพรมตอกเสาเข็มโครงการ รถไฟฟ้าบีทีเอส ที่ทำให้ธุรกิจในย่านนั้นชะงักงันถึง 3 ปี โดยเริ่มงานในฝ่ายส่งเสริมการขายและการตลาดของศูนย์การค้าก่อนจะก้าวขึ้นมาเป็นกรรมการผู้จัดการในอีก 10 ปีต่อมา

"เราใช้งบประมาณครั้งนี้ประมาณ 350 ล้านบาท หากภาย นอกเปลี่ยนหมด แต่พอเดินเข้ามาข้างในยังเหมือนเดิม ไม่โอเคแน่ ทำอย่างไร ให้ทุกคนพอเดินเข้ามาในศูนย์การค้าแห่งนี้แล้วเหมือนถูกชาร์จแบตเตอรี่ ซึ่งสำคัญมาก เพราะเป็นการกระตุ้นอารมณ์ให้คนต้องการซื้อของ ต้องการทานอาหาร และทำกิจกรรมอื่นๆ"

ชฎาทิพ จูตระกูล กล่าวกับ "ผู้จัดการ" ในเย็นวันหนึ่งก่อนการเปิดตัวครั้งใหม่ของสยามเซ็นเตอร์ ในวัย 45 ปี เธอยังแคล่วคล่อง และยังมีไฟในความคิดใหม่ๆ สำหรับศูนย์การค้าแห่งนี้อย่างต่อเนื่อง และเบื้องหลังอย่างหนึ่งที่ท้าทายความสามารถส่วนตัวอย่างมากๆ ก่อนการเปิดตัวคราวนี้คือการเจรจาต่อรองกับผู้เช่าหลายรายที่ยังไม่หมดสัญญาให้เปลี่ยนทำเลของร้านใหม่, ขอลดพื้นที่เช่าลง และขอเพิ่มขนาดพื้นที่บางร้าน รวมทั้งการไม่ต่อสัญญาให้กับลูกค้าที่หมดสัญญา

"มันโหดที่สุดเท่าที่ทำมา ก็ต้องพยายามชี้แจงว่า ในรูปแบบใหม่นี้เขาจะได้อะไร เราจะได้อะไร ถ้าไม่ทำทั้งเราทั้งเขาก็อยู่ไม่ได้ อย่างเช่นต้องเอาร้านค้าชั้น 4 ทั้งหมดออกก่อนที่จะย้ายร้านค้าเดิมจากชั้นล่างขึ้นไป ทั้งๆ ที่บางรายยังไม่หมดสัญญา"

ร้านค้าทำเลดีๆ ในชั้นล่างของสยามเซ็นเตอร์ เช่น เอสแอนด์ พี, เดอะพิซซ่า ถูกขอร้องให้ย้ายขึ้นชั้น 4 ซึ่งราคาค่าเช่าถูกกว่าประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ โดยเธอชี้แจงว่า รูปลักษณ์ใหม่ที่โดดเด่นของศูนย์นี้คือการเป็นแฟชั่นเซ็นเตอร์ ดังนั้นไม่สามารถให้พื้นที่ชั้นล่างให้เป็นร้านอาหารเหมือนเดิมได้

ชั้นล่างจะกลายเป็นศูนย์รวม Flagship Store ของเสื้อผ้า Trendy Sport Global Store และเสื้อผ้าแบรนด์เนมของวัยรุ่นจากต่างประเทศ ส่วนแมคโดนัลด์ชั้นล่างถูกเสนอทำเลใหม่ในสยามพารากอนแทน

แบรนด์ดังลีวายส์ เคยอยู่ชั้นล่างติดถนนใหญ่ยอมย้ายไปอยู่ชั้น 2 ด้วยเหตุผลที่ว่า แบรนด์ของลีวายส์ขายได้อยู่แล้วต้องเปิดโอกาสให้แบรนด์ใหม่บ้าง และที่สำคัญบนชั้น 2 ใกล้ทางเข้ารถไฟฟ้า ผู้คนคับคั่งมากเช่นกัน และอัตราค่าเช่ายังถูกกว่าชั้นล่างอีกด้วย

บนชั้น 3 พื้นที่ใหม่ถูกเนรมิตให้เป็นที่รวมของเสื้อผ้าแบรนด์ เนมชื่อดังของดีไซเนอร์ไทย ที่เคยแจ้งเกิดกับที่นี่ เช่น ฟายนาว โซดา และจัสปาล รวมทั้งดีไซเนอร์รุ่นใหม่ที่มีผลงานโดนใจวัยรุ่น

จุดแข็งอย่างหนึ่งของสยามเซ็นเตอร์ก็คือ สัญญาการเซ้งพื้นที่เช่าในระยะสั้นเพียง 3 ปี ทำให้ทางศูนย์ฯ สามารถไม่ต่อสัญญา ให้กับร้านค้าที่ไม่ปรับตัว หยุดนิ่งอยู่กับที่ แล้วเปิดโอกาสให้ร้านค้าที่ทันยุคตามเทรนด์มีการจัดดิสเพลย์ที่น่าสนใจเข้ามาได้ง่ายขึ้น

ราวกับว่ากับว่าเธอกำลังเล่นเกมหมากข้าม วางร้านนั้นเข้า หยิบร้านนี้ออก เพื่อให้ลงตัวที่สุดนานถึง 2 ปี แม้ไม่ใช่เกมที่สนุกนัก เพราะต้องใช้ความสามารถในการเจรจาทำความเข้าใจกับร้านค้าเกือบทุกร้าน แต่หมากทั้งหมดก็ได้มาจากการทำเซอร์เวย์ความต้องการอย่างเป็นระบบมาตลอดระยะเวลาเกือบ 2 ปีเต็มกับคนประมาณ 300 คน โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่มหลักคือ 1. คนที่มาศูนย์การค้าแห่งนี้เป็นประจำ 2. คนที่ไม่เคยมาเลย และ 3. คนที่นานๆ มาครั้ง และยังได้พบว่าลูกค้ากลุ่มหลักเกินครึ่งของที่นี่อายุเริ่มต้นที่ 12 ปี ไปจนถึง 25 ปี อายุ 26-35 ปีอีก 25% และที่เหลือคือกลุ่มอายุ 36-45 ปีขึ้นไปที่ยังมีใจเป็นวัยรุ่น

ก่อนปรับปรุงใหม่ สยามเซ็นเตอร์มีสัดส่วนของเสื้อผ้า 30% เครื่องหนัง รองเท้า 7% สปอร์ตแวร์ 10% เครื่องสำอาง 10% เฮลท์สปอร์ต 10% ไลฟ์สไตล์ 3% และอาหารอีก 30%

ซึ่งเป็นสัดส่วนที่ลงตัวอยู่แล้ว เพียงแต่ต้องเปลี่ยนยี่ห้อใหม่ๆ เข้ามาเท่านั้น การศึกษาสินค้าแฟชั่นใหม่ๆ ในศูนย์การค้าของเอเชีย ยุโรป และอเมริกา เป็นสิ่งที่เธอต้องติดตาม

"ไม่เคยคิดว่าเรามีทำเลทองอยู่แล้ว ร้านค้าต้องเข้ามาหาเอง บางแห่งเราต้องไปหาเขาไปเชิญเขามาเปิด การช่วงชิงแบรนด์พวกนี้ให้มาที่นี่ก่อนเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมากในการทำศูนย์การค้ากลางเมือง"

ทั้งหมดเป็นการทำงานตามแผนที่ได้ศึกษาไว้ตั้งแต่ก่อนปี 2000 ว่า เมื่อหมดยุคโรงแรมสยามอินเตอร์คอนติเนนตัล เกิดเป็นศูนย์การค้าใหม่สยามพารากอนที่สยามพิวรรธน์ไปร่วมทุนกับเดอะมอลล์นั้น อีก 2 ศูนย์การค้าที่เหลือของบริษัทคือ สยามเซ็นเตอร์ และสยามดิสคัฟเวอรี่ จะไปในทิศทางไหน จะโฟกัสกลุ่มลูกค้าที่ชัดเจนของแต่ละแห่งอย่างไร แผนการตลาดทั้ง 3 ตึกนี้ต้องทำไปด้วยกัน

การเปิดตัวบริษัทใหม่ Cheeze Media ร่วมกับบริษัทแมทชิ่ง สตูดิโอ เพื่อรับผิดชอบเกี่ยวกับป้ายโฆษณาแบบดิจิตอล ประมาณ 70 จอ และจอแอลซีดีขนาดใหญ่อีก 1 จอ รวมทั้งการตั้งบริษัทสยาม เดลีซ เพื่อพัฒนาธุรกิจฟู้ดคอนเซ็ปต์สไตล์ใหม่ ล้วนเป็นจุดขายความ ทันสมัย ซึ่งเคยเป็น Key Success ที่น่าศึกษาของสยามเซ็นเตอร์   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us