|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ พฤศจิกายน 2548
|
|
ถึงแม้นกแอร์จะไม่ใช่สายการบินต้นทุนต่ำ (Low Cost Airline) เจ้าแรกของไทย แต่ความภาคภูมิใจประการหนึ่งของผู้บริหารและเหล่าพนักงานทุกคนก็คือ การเป็นสายการบินต้นทุนต่ำแห่งแรกของโลก ที่ริเริ่มช่องทางชำระเงินหลากหลายรูปแบบ โดยเมื่อวันที่ 26 กันยายนที่ผ่านมา นกแอร์ได้เปิดตัวพันธมิตรในการรับชำระค่าตั๋วโดยสาร 5 ราย ประกอบด้วย เคาน์เตอร์เซอร์วิส พลัส ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกรุงเทพ และแอดว๊านซ์ เอ็มเปย์ ของระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่เอไอเอส ทำให้นกแอร์เป็นสายการบินที่มีช่องทาง การชำระเงินมากที่สุดในปัจจุบัน
"ผมเพิ่งกลับมาจากงาน The World Low Cost Symposium ที่อัมสเตอร์ดัม ไทยเป็นชาติแรกที่สามารถซื้อตั๋วโดยสารได้สะดวกอย่างนี้และตอนนี้ที่อินเดียก็กำลังพยายามที่จะก๊อบปี้เรา" พาที สารสิน ประธาน เจ้าหน้าที่บริหารสายการบินนกแอร์กล่าว
ลูกค้าของสายการบินนกแอร์สามารถจองตั๋วโดยสารผ่านทางเว็บไซต์หรือคอลเซ็นเตอร์แล้วเลือกได้ว่าจะชำระเงินด้วยวิธีใด หากต้องการใช้บัตรเครดิตก็สามารถชำระได้ทันที หรือถ้าต้องการจ่ายเป็นเงินสดก็ชำระได้ที่เคาน์เตอร์เซอร์วิส พลัส หรือชำระผ่านตู้เอทีเอ็มของธนาคารพันธมิตรทั้ง 3 แห่ง รวมทั้งการชำระผ่านระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ของเอไอเอส
ผู้บริหารนกแอร์ระบุว่า ปัจจุบันสัดส่วนการชำระเงินด้วยบัตรเครดิตยังมีอยู่เพียง 40% เท่านั้นและคาดว่าหลังจากที่เปิดตัวพันธมิตรทั้ง 5 รายดังกล่าวแล้วน่าจะยิ่งผลักดันให้ยอดการชำระเงินผ่านทางพันธมิตรเพิ่มสัดส่วนสูงขึ้นอีก เนื่องจากจะได้ฐานลูกค้า ผู้ถือบัตรเอทีเอ็มของธนาคารพันธมิตรทั้ง 3 แห่งที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก รวมทั้งเครือข่ายสาขาของเคาน์เตอร์เซอร์วิส พลัส ที่กระจายไปในร้านเซเว่น อีเลฟเว่น และยอดผู้ใช้บริการระบบแอดว๊านซ์ เอ็มเปย์ของเอไอเอสที่มีอยู่กว่า 2 ล้านราย
ช่องทางการชำระเงินดังกล่าวเป็นหนึ่งในความพยายามที่จะลดต้นทุนดำเนินงานของนกแอร์เพื่อให้ยังคงความสามารถในการ ทำกำไรเอาไว้ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคปัจจุบันที่น้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งเป็นต้นทุนสำคัญมีราคาปรับขึ้นต่อเนื่อง จนขณะนี้คิดเป็นต้นทุนในสัดส่วนเกินกว่า 40% ของต้นทุนโดยรวมทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากเดิมซึ่งอยู่ที่ 30% เท่านั้น
อย่างไรก็ตาม สีหพันธุ์ ชุมสาย ณ อยุธยา รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ฝ่ายการตลาด ยังยืนยันว่า ผลการดำเนินงานในปีนี้ตั้งแต่เดือนมกราคมเป็นต้นมานกแอร์มีกำไรทุกเดือน ซึ่งเป็นผลมาจากนโยบายการกำหนดราคาตั๋วโดยสารแบบยืดหยุ่น ประกอบกับมีอัตราผู้โดยสารเฉลี่ย 80% ในแต่ละเที่ยวบิน โดยเฉพาะในช่วงไฮซีซั่นในเส้นทางภูเก็ตและหาดใหญ่ มีผู้โดยสารขึ้นถึง 90%
หลังจากเปิดให้บริการมาครบ 1 ปี นกแอร์มียอดผู้โดยสารจนถึงปัจจุบันราว 1.4 ล้านราย คาดว่าถึงสิ้นปีนี้จะเพิ่มขึ้นเป็น 1.8 ล้านรายและน่าจะถึงจุดคุ้มทุนได้ภายในปีหน้า
|
|
|
|
|