|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ พฤศจิกายน 2548
|
|
พร้อมๆ กับการแถลงข่าวผลงานของฝ่ายการตลาดและการขาย ธนาคารนครหลวงไทย (SCIB) ยังได้ถือโอกาสเดียวกันในการเปิดตัว 5 ผู้บริหาร ที่แบ่งกันคุมงานตามประเภทผลิตภัณฑ์และการให้บริการ จากทีมตลาดและทีมขายของธนาคารด้วย
ผู้บริหารทั้ง 5 คน ประกอบด้วยอมรรัตน์ ลีวราภากุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สำนักงานบริหารงานขายและฝ่ายการตลาด, ปรางทอง สิกขภัณฑ์ ผู้ช่วยผู้จัดการอาวุโส ฝ่ายการตลาดลูกค้า ธุรกิจ, ชัญญรัช วงศ์วานิช ผู้จัดการฝ่ายการตลาดและการขาย, พงษ์ศิลป์ โพธิสุนทร ผู้ช่วยกรรมการฝ่ายอาวุโส ฝ่ายบริการบริหารเงินสด และญาณวัฒน์ โยธะพันธุ์ ผู้จัดการฝ่ายอาวุโส ฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์
ฝ่ายการตลาดและการขายของธนาคารถูกจัดตั้งและทำหน้าที่ มาได้ 1 ปีแล้ว แต่เพิ่งจะมาเปิดตัวกันอย่างเป็นทางการก็เมื่อเดือน ตุลาคมที่ผ่านมานี้เอง
น่าสังเกตว่าเวทีนี้ดูเหมือนจะเป็นเวทีของปรางทอง ซึ่งเคย ผ่านการทำงานร่วมกับบรรษัทอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (IFCT) ก่อนที่จะเข้าร่วมงานกับ SCIB เนื่องจากเธอเป็นผู้บริหารเพียงคนเดียว ที่มีบทบาทในการตอบคำซักถามของผู้สื่อข่าวอย่างเห็นได้ชัด หลังผู้บริหารแต่ละคนได้ใช้เวลาสั้นๆ ในการแถลงผลงานในส่วนที่แต่ละคนดูแลอยู่ ขณะเดียวกันยังมีข้อสังเกตต่อไปว่าทีมผู้บริหารทั้ง 5 ต่างพร้อมใจกันทำตัว low profile โดยแต่ละคนไม่พร้อมที่จะ เปิดข้อมูลเกี่ยวกับประวัติการทำงานในอดีตของตัวเองต่อสาธารณะ
ที่มาของฝ่ายการตลาดและการขาย เกิดจากนโยบายของ SCIB ที่ต้องการทำธุรกิจแบบครบวงจร (Universal Banking) ด้วยการนำเสนอผลิตภัณฑ์และการให้บริการทุกรูปแบบ แก่ลูกค้าทุกกลุ่มเป้าหมาย โดยเฉพาะลูกค้าใหม่ๆ ที่ยังไม่เคยมาใช้บริการ และ ลูกค้าเดิมที่อาจจะยังใช้บริการไม่ครบทุกชนิด
ระหว่างการแถลงนโยบายเมื่อต้นปีนี้ SCIB ตั้งใจไว้แล้วว่าจะเน้นขยายฐานลูกค้าไปยังกลุ่มธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมากขึ้น โดยตั้งเป้าจะเพิ่มสัดส่วนสินเชื่อลูกค้าขนาดเล็กเป็น 25-30% จากที่มีสัดส่วนเพียง 12% เมื่อปี 2547 ขณะที่จะยังคงสัดส่วนลูกค้าขนาดกลางที่ 30-35% เช่นเดิม โดยการปล่อยสินเชื่อจะเน้นที่ภาคการผลิตและการค้าเป็นหลัก แต่จะลดสัดส่วนลูกค้ารายใหญ่ลงจาก 53% เหลือ 40% ทั้งยังมุ่งหวังว่าจะเพิ่มรายได้ค่าธรรมเนียมในปีนี้เป็น 10% จากฐานรายได้รวมปีก่อน 1,600 ล้านบาท
ปรางทองบอกว่า ฝ่ายการตลาดและฝ่ายขายจะทำหน้าที่เสริมการทำงานให้แก่ฝ่ายต่างๆ ในธนาคาร โดยขึ้นตรงกับกรรมการ ผู้จัดการใหญ่ ขณะเดียวกันยังต้องทำงานเพื่อสนองตอบต่อนโยบายของฝ่ายจัดการ ซึ่งต้องการเห็นการขยายผลิตภัณฑ์และการให้บริการของธนาคารฯ ไปสู่กลุ่มลูกค้ารายย่อยให้มากขึ้น จึงมีอยู่บ่อยครั้งที่พนักงานขายต้องเดินไปตามตรอกซอกซอยเพื่อหาลูกค้าใหม่ที่เป็นรายย่อยจริงๆ ให้แก่ธนาคาร
นอกจากต้องสนับสนุนงานใน SCIB แล้ว ทีมการตลาดและทีมขาย ก็ยังต้องมีหน้าที่สนับสนุนการหาลูกค้าให้แก่ บลจ.นครหลวง ไทยด้วย โดยผู้จัดการอาวุโสฝ่ายการตลาดและลูกค้าธุรกิจ ให้ข้อมูลถึงการทำผลงานของทีมขายว่าในรอบ 9 เดือนที่ผ่านมา สามารถส่งลูกค้าให้ฝ่ายสินเชื่อพิจารณาได้ราว 116 ราย หรือคิดเป็นมูลค่า 19,000 ล้านบาท โดยคาดว่าประมาณ 60% น่าจะได้รับการอนุมัติสินเชื่อ
ด้านการทำหน้าที่ในฐานะเป็นทีมสนับสนุนการขายหน่วยลงทุนให้แก่ บลจ.นครหลวงไทยนั้น เธอระบุว่าในรอบ 8 เดือนที่ผ่านมา ทีมขายได้ช่วยขยายฐานลูกค้าขนาดใหญ่ให้แก่ บลจ.แห่งนี้ได้แล้วเป็นจำนวน 100 ราย โดยทั้งหมดเป็นกลุ่มลูกค้าใหม่ที่ไม่เคยใช้บริการใดจาก SCIB มาก่อน
|
|
|
|
|