Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2548








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2548
Fast-Tracked Building             
โดย สุจินดา มหสุภาชัย
 

   
related stories

ทางเลือกในยุคค่าไฟแพง
อุปกรณ์ประหยัดไฟทางอ้อม
Be Smart Save Energy
อาคารชุดแนวใหม่

   
www resources

โฮมเพจ ควอลิตี้ คอนสตรัคชั่น โปรดักส์

   
search resources

ควอลิตี้คอนสตรัคชั่นโปรดัคส์ , บมจ.
Construction
Energy




ความพยายามผลักดันการสร้างอาคารแบบประหยัดพลังงานจากภาครัฐ เป็นโอกาสของอิฐมวลเบาที่จะมาแทนอิฐมอญ ในฐานะที่เป็นวัสดุกันการสะสมความร้อนในผนังกำแพง

อิฐมวลเบาเป็นผลพวงจากนวัตกรรมการพัฒนาของประเทศแถบยุโรปเมื่อ 80 ปีก่อน เพื่อใช้ขจัดจุดอ่อนในคุณสมบัติต่างๆ ของอิฐมอญ อันเป็นวัสดุก่อสร้างจากวิทยาการพื้นฐานของทั่วโลกที่มีปัญหาทั้งในแง่น้ำหนัก ความ เปราะบางของตัวอิฐ ความไม่คงทนในการใช้งาน การสะสม ความร้อนของเนื้ออิฐ

มีผลทดสอบข้อดีของอิฐชนิดนี้ ที่ผ่านการรับรองจากสถาบันการศึกษาหลายแห่งในไทย ที่ยืนยันถึงคุณสมบัติ พิเศษจากฟองอากาศขนาดเล็กนับล้านๆ ฟองที่กระจัด กระจายอยู่ทั่วภายในเนื้อของอิฐมวลเบา สามารถทำหน้าที่เป็นฉนวนกันการสะสมความร้อนภายในตัวผนังกำแพงที่ดีกว่าอิฐมอญราว 4-6 เท่า

ผลวิจัยจากศูนย์วิทยาศาสตร์ทางด้านอาคารของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้า ธนบุรี และมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ชี้ว่าฉนวนกันความร้อนในอิฐมวลเบา ยังช่วยลดภาระการทำความเย็นของเครื่องปรับอากาศที่ติดตั้งในตัวอาคารหรือที่อยู่อาศัยได้ราว 29% เมื่อเทียบกับบ้านที่สร้างด้วยอิฐมอญ เนื่องจากฉนวนกันความร้อนในฟองอากาศมีส่วนช่วยร่นช่วงเวลาการทำความเย็นของคอมเพรซเซอร์ และช่วยลดขนาด BTU ของเครื่องปรับอากาศ ภายในอาคารบ้านเรือนลงได้

ขณะเดียวกันผลวิเคราะห์สัดส่วนการใช้พลังงานในบ้านทั่วไปที่ก่อสร้างด้วยอิฐมอญ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ยังระบุภาระการใช้พลังงานรวมแต่ละเดือนนั้น 70-85% มาจากระบบการปรับอากาศ

พยนต์ ศักดิ์เดชยนต์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทควอลิตี้คอนสตรัคชั่นโปรดักส์ หรือ Q-CON อธิบายเพิ่มเติมกับ "ผู้จัดการ" ว่า คุณสมบัติพิเศษในฉนวนกันความร้อนนี้สามารถใช้ได้ดีทั้งในภูมิประเทศที่มีอากาศร้อนจัดอย่างกลุ่มประเทศในตะวันออกกลาง และประเทศที่มีอากาศหนาวเย็น เช่น นิวซีแลนด์ ตามหลักการพัฒนาที่ว่าอิฐมวลเบาต้องเป็นวัสดุผนังที่ปกป้องอากาศจากภายนอก ตัวอาคาร

นอกจากคุณสมบัติดังกล่าว น้ำหนักอิฐมวลเบาที่เบา กว่าอิฐมอญ 2-3 เท่า เบากว่าคอนกรีต 4-5 เท่า ด้วยน้ำหนัก ที่เบาลงแต่มีความแข็งแกร่งในการรับแรงกระแทกที่มากกว่า ของอิฐมวลเบา ยังช่วยให้เกิดการประหยัดแบบโดยรวม ทั้งแง่โครงสร้าง ระยะเวลาการก่อสร้าง และต้นทุนค่าใช้จ่าย เนื่องจากความสะดวกรวดเร็วในการเคลื่อนย้ายที่สามารถดำเนินการพร้อมกันได้ในปริมาณมากๆ

การประหยัดจะเกิดขึ้นได้อย่างแท้จริงก็ต่อเมื่อผู้ซื้อรู้จักเลือกใช้ชนิดของอิฐมวลเบาที่ตรงตามรูปแบบในการก่อสร้าง เนื่องจากชนิดของอิฐมวลเบาถูกแบ่งออกเป็น 2 เกรด คืออิฐมวลเบา G2 และ G4 แต่ราคาของอิฐทั้ง 2 เกรดนี้จะไม่แตกต่างกัน เนื่องจากเป็นการจัดเกรดให้ตรงตามวัตถุ ประสงค์ในการใช้

โดย G2 จะเป็นอิฐมวลที่มีน้ำหนักเบาสุดจากการที่มีจำนวนฟองอากาศมากที่สุด อิฐนี้จึงมีประสิทธิภาพสูงสุดในการกันความร้อนจากภายนอก จึงเหมาะต่อการนำมาใช้กับงานก่อผนังกำแพงบ้านเรือนหรือตัวอาคารตามสไตล์การก่อสร้างแบบคนไทย ที่เน้นการใช้โครงสร้างเสาและคานมาเป็นตัวรองรับน้ำหนักให้ตัวบ้านทั้งหลัง

ส่วน G4 เป็นตัวอิฐที่มีน้ำหนักมากกว่า จึงเหมาะที่จะใช้ในการก่อสร้างบ้านตามสไตล์ของยุโรป ซึ่งไม่นิยมการมีเสากับคานอยู่ภายในตัวบ้าน ดังนั้นผนังกำแพงจึงกลายมาเป็นตัวรองรับน้ำหนักของตัวบ้านทั้งหลังแทนเสาและคาน โดยสไตล์การก่อสร้างนี้มีให้เห็นอยู่ทั่วไปในจังหวัดภูเก็ต

สำหรับแนวโน้มการใช้วัสดุประหยัดพลังงาน กรรมการผู้จัดการ Q-CON ชี้ว่าแม้ปัจจุบันจะยังเป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่ก็มีแนวโน้มให้เห็นว่าสเป็กของอิฐมวลเบา น่าจะต้องมีความหลากหลายขึ้นเรื่อยๆ โดยไม่เว้นกระทั่งส่วนหลังคา เพื่อใช้ในการก่อสร้างอาคารใหญ่รุ่นใหม่ๆ ที่จะเกิดใน อนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่งศูนย์ราชการใหม่บนถนนแจ้งวัฒนะ

ทั้งนี้ก่อนหน้านี้ Q-CON ได้ supply อิฐมวลเบาให้กับการสร้างตึกในบางโครงการของสนามบินสุวรรณภูมิ ซึ่งรวมถึงโรงแรมสุวรรณภูมิที่กำลังจะสร้างเสร็จแล้วด้วย

แนวโน้มดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจากผลวิเคราะห์ ภาระการใช้พลังงานเชิงลึกของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ระบุว่าภาระการปรับอากาศจากเครื่องทำความเย็นราว 70-80% มาจากปัญหาผนังกรอบอาคารหรือผนังภายนอกตัวบ้าน ส่วนอีก 20% เกิดจากตัวหลังคา

Q-CON เป็นบริษัทผู้ผลิตและจำหน่ายอิฐมวลเบาทั้งในและนอกประเทศ โดยใช้ระบบการอบไอน้ำความดันสูงตามเทคโนโลยี HEBEL จากเยอรมนี แต่ละปีมีกำลังการผลิต 12 ล้านตารางเมตร แม้จะแชร์อยู่ในตลาดใหญ่ในการค้าอิฐมวลรวมก็ตาม แต่การเข้ามาที่มากขึ้นของคู่แข่ง และโอกาสการใช้อิฐมวลเบาของตลาดในอนาคตที่มีอยู่ค่อนข้างสูง ตลอดจนการชะลอตัวลงในภาคอสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้าง Q-CON จึงต้องหั่นราคาขายสินค้าลงอีก 10% เพื่อเร่งการขยายตัวในตลาด

ในปีนี้ Q-CON ยังได้ส่งคานทับหลัง และเสาเอ็นสำเร็จรูป ขนาด 7.5 เซนติเมตร ให้ตลาดทดลองใช้แทนวัสดุในรูปแบบเดิมๆ ที่ต้องเสียเวลารอการหล่อแบบและแกะแบบของผู้รับเหมา โดยข้อพิสูจน์ความรวดเร็วจากการใช้วัสดุนี้ในการก่อสร้าง พยนต์อ้างถึงผลทดสอบจากในโครงการแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ ที่สามารถร่นเวลาการสร้างบ้านลงได้เดือนละ 2 หลัง ทั้งนี้ในแต่ละปีแลนด์ แอนด์เฮ้าส์จะสร้างบ้านเพื่อขายราว 3,000 หลัง

เมื่อ 7 ปีก่อน แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์เคยสร้างบ้านพิเศษ ขึ้นมา 2 หลัง โดยผนังกำแพงก่อด้วยอิฐมวลเบา เพื่อทดสอบ การลดภาระค่าไฟฟ้าจากการใช้เครื่องปรับอากาศ ก่อนแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์จะเลือกใช้อิฐมวลเบามาเป็นวัสดุหลักที่ใช้สร้างบ้านในโครงการต่างๆ   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us