Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2548








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2548
จาก FIN1 สู่ EDCO             
โดย สุจินดา มหสุภาชัย
 


   
www resources

EDCO Homepage

   
search resources

เอกธนกิจ, บง
Consultants and Professional Services
Energy
วรุณ อัตถากร
Energy Design Concept Co., Ltd




ก่อนจะมาเป็นตั้งบริษัทที่ปรึกษาด้านพลังงาน วรุณ อัตถากร เคยมีชีวิตคลุกคลีอยู่ในแวดวงการเงินในฐานะวาณิชธนากรของสถาบันการเงินทั้งในและนอกประเทศหลายแห่ง แต่ที่บริษัทเงินทุนเอกธนกิจ หรือ FIN1 คือที่ที่ความคิดและความมุ่งมั่นที่จะผันตัวเองมาเป็นที่ปรึกษาด้านพลังงานของวรุณ เริ่มชัดเจนขึ้นอย่างเป็นรูปเป็นร่าง

วรุณจบการศึกษาชั้นมัธยมปลายจากโรงเรียนเซนต์คาเบรียล ก่อนเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี ที่คณะวิศวกรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น เมื่อสำเร็จการศึกษา เขาได้เริ่มต้นเข้าทำงานเป็นหนึ่งในทีมวิศวกรของบริษัทมิตซูบิชิ

ที่นี่เป็นแหล่งเริ่มต้นของการพอกพูนความรู้และคุ้นเคยในสิ่งที่เรียกกันว่า value engineering อันเป็นศาสตร์อีกแขนงของวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ซึ่งมิตซูบิชินำมาใช้เป็นนโยบายปฏิบัติอยู่ในองค์กร

หลังทำงานกับมิตซูบิชิอยู่หลายปี วรุณจึงลาออกเพื่อศึกษาต่อด้าน MBA ที่ The University of Oklahoma สหรัฐอเมริกา จากนั้นได้เข้าทำงานกับ Bank of America ในสหรัฐฯ ฐานะวาณิชธนากร ก่อนย้ายกลับประจำยังสาขาธนาคารแห่งเดียวกันนี้ในประเทศไทย และในสถาบันการเงินต่างชาติอีกหลายแห่ง ก่อนท้ายที่สุดจะมาลงเอยอยู่ที่ FIN1 จนถึงวันที่ถูกทางการประกาศปิดกิจการ

วรุณเล่าให้ฟังว่า ราวปลายปี 2539 หรือต้นปี 2540 ระหว่างที่ยังทำงานกับ FIN1 อยู่นั้น คณะเจ้าหน้าที่ World Bank ได้หารือกับเขาถึงความเป็นไปได้ที่ FIN1 จะเข้ามามี ส่วนร่วมกับแผนกระตุ้นการอนุรักษ์พลังงานของรัฐบาลด้วยการเสนอแผนลงทุนซึ่งอาจต้องรวมถึงการจัดเงินทุน ส่วนหนึ่งเพื่อปล่อยกู้ให้แก่ผู้ที่ต้องการลงทุน

"เขาบอกผมว่าโลกจะมีน้ำมันเหลือให้ใช้แค่ 50 ปีจากที่ประเมินไว้เมื่อปี 2535 และก็อธิบายคอนเซ็ปต์วิธีการต่างๆ ให้ฟัง ตอนนั้นผมเริ่มรู้สึกแล้วว่าธุรกิจนี้มันน่าสนใจ อีกอย่างดูแล้วมันยังเป็นธุรกิจ win-win game ในทุก party"

จากประสบการณ์ที่เคยมีเมื่อครั้งยังอยู่กับมิตซูบิชิ ช่วยให้วรุณมองเห็นภาพความเป็นไปได้ที่จะเริ่มต้นทำธุรกิจนี้กับกลุ่มลูกค้าของ FIN1 เพราะแม้อาจดูเหมือนว่าเป็นเรื่องการลงทุนต่อเนื่องระยะยาว แต่ผู้ลงทุนจะได้รับผลตอบแทนกลับคืนมาภายในเวลาอันรวดเร็วกว่า เมื่อเทียบกับโครงการลงทุนโดยทั่วไปที่เขาทำให้แก่ลูกค้า

ขณะเดียวกันวิธีการลงทุนยังมีความยืดหยุ่นกว่า โดยผู้ลงทุนอาจไม่ต้องลงทุนพร้อมกันทั้งโครงการ แต่เลือกทำเป็นส่วนๆ ได้ ตามรูปแบบวิธีอันหลากหลายที่สามารถนำมาใช้จัดการทรัพยากรด้านพลังงานตามอย่างที่เขาเคยเรียนรู้มา

"ตอนนั้น FIN1 เริ่มคิดว่าน่าจะต้องตั้งแผนกเล็กๆ ขึ้นใหม่เพื่อมาทำธุรกิจนี้ และผมคงจะได้ดูแลธุรกิจใหม่นี้ แต่ยังไม่ทันจะทำอะไรเลย ทางการก็สั่งปิดกิจการเราเสียก่อน แต่ตอนนั้นผมก็คิดแล้วว่าวันหนึ่งผมจะตั้งบริษัทขึ้นมาทำธุรกิจนี้เอง"

หลังการปิดตัวของ FIN1 วรุณยังคงใช้ชีวิตอยู่ในแวดวงการเงินต่ออีก 2 ปี ก่อนที่ความต้องการตั้งบริษัทที่ปรึกษาพลังงานเป็นของตัวเอง เริ่มมาสุกงอมเอาตอนที่ร่วมทำงานอยู่กับบริษัทหลักทรัพย์คาเธ่ย์ทรัสต์ อันเป็นที่ที่ชีวิตอาชีพวาณิชธนากรของวรุณปิดฉากลง เพื่อเปิดฉากใหม่ในอาชีพการเป็นที่ปรึกษาด้านพลังงาน

"ตอนนั้นผมเริ่มเบื่องานมากแล้วด้วย และก็มองว่าในอีกไม่นานพลังงานจะกลายมาเป็น issue ที่สำคัญ มันคงถึงเวลาตั้งเปิดบริษัทได้แล้ว ผมจึงไปคุยถึงเรื่องนี้กับเพื่อนที่เป็นวิศวกรอีก 4 คน เพื่อชวนเขาออกมาเปิดบริษัทด้วยกัน พอทุกคนตกลง ผมก็ลาออกเลย แล้วก็หอบลูกค้าที่ผมมีอยู่ตอนนั้นออกมาด้วย เพื่อเริ่มต้นทำธุรกิจกับพวกเขาก่อน"

ระยะแรกของการเปิดตัวบริษัท EDCO มีพนักงานรวมกันที่ร่วมกันเสนองานแก่ลูกค้าเพียง 5 คน คือ วรุณและเพื่อน ก่อนจำนวนทีมงานจะขยายเพิ่มขึ้นเป็นกว่า 50 คนในปัจจุบัน โดยส่วนใหญ่แล้วทั้งหมดจะมาจากสายอาชีพวิศวกร ในบริษัทนี้จึงมีเพียงวรุณที่เคยผ่านงานทั้งจากสายวิศวกรและวาณิชธนกิจ   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us