Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2548








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2548
ธนาคารเกียรตินาคิน Niche Player             
โดย ปัณฑพ ตั้งศรีวงศ์ ณัฐวัฒน์ หอมจิตต์
 

   
related stories

ปลิว มังกรกนก The Unique Banker
TISCO Speciality Bank

   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารเกียรตินาคิน

   
search resources

เกียรตินาคิน, บง.
Banking and Finance
ธนาคารเกียรตินาคิน




หลังจากที่ฝ่าวิกฤติเศรษฐกิจมาตั้งแต่ครั้งราชาเงินทุน จนถึงครั้งล่าสุดในปี 2540 ซึ่งเกือบทำให้ชื่อของเกียรตินาคินถูกลบออกจากสารบบสถาบันการเงินของไทย เกียรตินาคินในบทบาทธนาคารพาณิชย์รายใหม่ของประเทศ กำลังเผชิญกับโอกาสและความท้าทายครั้งใหญ่ที่สุดอีกครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์องค์กรแห่งนี้

3 ตุลาคมที่ผ่านมา ถือเป็นวันประวัติศาสตร์วันหนึ่งของเกียรตินาคิน เนื่องจากเป็นวันเริ่มเปิดให้บริการในฐานะของธนาคารพาณิชย์เป็นวันแรกหลังจากที่มีการเตรียมการและรอคอยมานานร่วมปี โดยเกียรตินาคิน ได้รับการอนุมัติให้ยกระดับจากบริษัทเงินทุนขึ้นเป็นธนาคารพาณิชย์ตามแผนแม่บทพัฒนา สถาบันการเงินและเปิดดำเนินธุรกิจเป็นรายที่สองต่อจากธนาคารทิสโก้

สำหรับลูกค้าที่เพิ่งมาสำนักงานใหญ่ของธนาคารเกียรตินาคินเป็นครั้งแรก อาจไม่คุ้นเคยกับบรรยากาศของธนาคารแห่งนี้เท่าไรนัก ความแตกต่างจากสาขาธนาคารทั่วไปที่สัมผัสได้ทันทีตั้งแต่ยังก้าวไม่พ้นประตู เข้าไปก็คือ ธนาคารแห่งนี้ตั้งอยู่ ณ ชั้น 17 อาคารอัมรินทร์ทาวเออร์ ใกล้แยกราชประสงค์ สวนทางกับภาพลักษณ์ของธนาคารโดยทั่วไป ที่มักจะอยู่ติดถนน ในทำเลที่เห็นเด่นชัดสะดวก ต่อลูกค้าที่จะมาใช้บริการ

ที่เป็นเช่นนี้เพราะธนาคารเกียรตินาคิน วางเป้าหมายกลุ่มลูกค้าเงินฝากไว้ที่ผู้ฝากราย ใหญ่ที่มีเงินฝากเฉลี่ยบัญชีละ 1 ล้านบาทขึ้นไป การจะลงทุนเปิดสาขาในทำเลชุมชนทั่วไปจึงยังไม่มีความจำเป็น

"เราไม่เน้นว่าต้องมีตึกมีอาคารโดดเด่น สิ่งนั้นไม่ใช่เรื่องที่ลูกค้าเป้าหมายของเราสนใจ ถ้าเราทำตลาดวงกว้างเรื่องนี้อาจจะสำคัญ นอกจากเรื่องระบบแล้ว เราจะลงทุนเรื่องคนเป็นหลัก" ธวัชไชย สุทธิกิจพิศาล กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารเกียรตินาคิน กล่าวกับ "ผู้จัดการ"

ระบบที่ธวัชไชยกล่าวถึงก็คือ ระบบ Core Banking ที่จะช่วยให้เกียรตินาคินสามารถให้บริการธุรกรรมของธนาคารพาณิชย์ ได้ครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็นการฝาก-ถอนเงินสด การรับ-ออกเช็ค การทำธุรกรรมเงินเบิกเกินบัญชี ไปจนถึงการทำ L/C ซึ่งเกียรตินาคินเลือกใช้ระบบของไอบีเอ็มโดยใช้เงินลงทุนรวมประมาณ 500 ล้านบาท

ถึงแม้จะยกระดับขึ้นมาเป็นธนาคารพาณิชย์ที่สามารถทำธุรกรรมทางการเงินได้ครบวงจรแล้ว แต่ความที่เป็นธนาคารใหม่ที่มีจำนวนสาขาซึ่งพัฒนามาจากสำนักอำนวยสินเชื่อเพียง 15 แห่งและด้วยขนาดสินทรัพย์ ที่มีอยู่ราว 64,000 ล้านบาท นับว่าเป็นธนาคาร พาณิชย์ที่มีขนาดเล็กที่สุดในระบบขณะนี้ทำให้เกียรตินาคินต้องกำหนดบทบาทของตนเองให้ชัดเจน

นอกจากความคล่องตัวที่เป็นจุดเด่นของการเป็นธนาคารขนาดเล็กแล้ว การมุ่งเจาะตลาดไปในกลุ่มที่มีความเชี่ยวชาญมาแต่เดิมและมีความสามารถที่จะแข่งขันกับธนาคารอื่นได้จึงเป็นยุทธศาสตร์สำคัญ ซึ่งสำหรับเกียรตินาคินแล้วก็คือ สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์และสินเชื่อโครงการที่อยู่อาศัย รวมทั้งการบริหารพอร์ตสินเชื่อที่เกียรตินาคินประมูลมาจากกรมบังคับคดีและองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) ขณะ เดียวกันก็จะเพิ่มสินเชื่อธุรกิจใหม่อีกบางประเภทในรูปแบบของการต่อยอดจากฐานลูกค้าเดิม เช่น สินเชื่อสำหรับผู้ค้ารถยนต์ สินเชื่อธุรกิจขนส่งและสินเชื่ออพาร์ตเมนต์

เมื่อวางยุทธศาสตร์เอาไว้เช่นนี้ ปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้เกียรตินาคินสามารถพัฒนา บริการให้แข่งขันกับธนาคารอื่นได้จึงอยู่ที่บุคลากร ซึ่งปัจจุบันเกียรตินาคินมีทีมทำงาน ในด้านสินเชื่ออยู่ราว 100 คน แต่ละคนถูกมอบหมายให้โฟกัสอยู่ในธุรกิจใดธุรกิจหนึ่ง เพื่อสร้างให้เกิดความรู้ความชำนาญและสามารถถ่ายทอดให้กับทีมงานได้ ความรู้และความชำนาญเหล่านี้จะนำมาใช้เพื่อช่วยให้คำแนะนำกับลูกค้าที่มาขอสินเชื่อ เป็นการลดความเสี่ยงทั้งในส่วนของลูกค้าและเกียรตินาคินเอง

ธวัชไชยยกตัวอย่างในกรณีของทีมสินเชื่อโครงการที่อยู่อาศัย แต่ละคนจะต้องมีความรอบรู้ในทำเลที่ได้รับมอบหมายให้ดูแลเป็นอย่างดี ต้องเข้าใจถึงสภาพตลาด กลุ่มลูกค้า รูปแบบ โครงการ ระดับราคาที่เหมาะสมไปจนถึงกฎระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อที่จะสามารถให้คำแนะนำกับลูกค้าได้ ซึ่งเขาหวังว่า เมื่อทำได้เช่นนี้จะทำให้สินเชื่อจากเกียรตินาคินเป็นสินเชื่อที่แตกต่างจากธนาคารอื่น ไม่ได้เป็นแหล่งเงินกู้เพียงอย่างเดียวแต่เป็นแหล่งเงินกู้ที่มีความเข้าใจในธุรกิจของลูกค้าและยังสามารถให้คำแนะนำได้อีกด้วย

ผลพลอยได้อีกประการหนึ่งก็คือ ความเร็วของการให้บริการ เพราะเมื่อทีมสินเชื่อมีความรู้ความเข้าใจและมีข้อมูลทุกพร้อมอยู่แล้ว น่าจะทำให้การพิจารณาและอนุมัติสินเชื่อให้กับลูกค้าทำได้รวดเร็วขึ้น ซึ่งเป็นการสร้างความแตกต่างที่สำคัญอีกประการหนึ่งของธนาคารขนาดเล็ก

"อีกสิ่งหนึ่งที่ผมคาดหวังก็คือ คนของเราเมื่อไปพบลูกค้าจะทำตัวเป็นพาร์ต เนอร์ มีความรู้สึกเป็นผู้ประกอบการมากกว่าเป็นนายแบงก์ เหมือนเถ้าแก่คุยกับเถ้าแก่และต้องเข้าใจว่าลูกค้ามีบุญคุณกับเรา ไม่ใช่เรามีบุญคุณกับเขา" ธวัชไชยกล่าว

ยอดสินเชื่อของเกียรตินาคิน ณ สิ้นปี 2547 มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 47,700 ล้านบาท แบ่งเป็นสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ในสัดส่วน 38% สินเชื่อโครงการที่อยู่อาศัย 28% และพอร์ตสินเชื่อจาก ปรส. รวมทั้งสินเชื่อธุรกิจอื่นๆ อีก 34% ซึ่งผู้บริหารตั้งเป้าว่าภายในสิ้นปี 2550 ธนาคารจะมียอดสินเชื่อรวม 90,000 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการขยายตัวจากปัจจุบันไม่ต่ำกว่าปีละ 20% และสัดส่วนของสินเชื่อแต่ละประเภทจะเปลี่ยนแปลงไป โดยสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์จะเพิ่มขึ้นเป็น 56% ตามมาด้วยสินเชื่อโครงการที่อยู่อาศัย 24% และพอร์ตสินเชื่อจาก ปรส.และสินเชื่อธุรกิจอื่นๆ ที่จะลดเหลือสัดส่วน 20%

ถึงแม้สัดส่วนสินเชื่อเช่าซื้อในอนาคตจะเพิ่มขึ้นเกินกว่าครึ่งหนึ่งของยอดสินเชื่อรวมทั้งหมดของธนาคาร แต่ผู้บริหารเกียรตินาคินก็ยังมั่นใจว่าแนวทางดังกล่าวไม่ได้เป็นความเสี่ยงแต่อย่างใด เนื่องจากลักษณะของสินเชื่อเช่าซื้อจะมีลูกหนี้มากราย ไม่กระจุกตัวอยู่ที่รายใดรายหนึ่งจึงถือเป็นการกระจาย ความเสี่ยงโดยธรรมชาติอยู่แล้ว นอกจากนี้ สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ยังเป็นตลาดที่เกียรตินาคินมีความชำนาญ มีฐานลูกค้ากระจายอยู่ ในต่างจังหวัดคิดเป็นสัดส่วนถึง 75% และยังเป็นลูกค้ารถเก่าถึง 2 ใน 3 ต่างจากผู้เล่น รายใหม่บางรายที่หวังเจาะตลาดรถใหม่เป็นหลัก

เป้าหมายของการปล่อยสินเชื่อที่วางเอาไว้ทำให้ยอดเงินฝากก็ต้องขยายตัวในอัตราที่ใกล้เคียงกัน จากปัจจุบันที่มีเงินฝากเกือบ 50,000 ล้านบาท เกียรตินาคินตั้งเป้าไว้ว่าในปี 2550 จะเพิ่มขึ้นเป็น 88,000 ล้านบาท โดยจะเน้นที่บัญชีลูกค้ารายใหญ่จำนวน 1 ล้านบาทขึ้นไป และเป็นการฝากระยะยาวเกินกว่า 1 ปีเพื่อลดความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราดอกเบี้ยและเพื่อให้สอดคล้องกับการปล่อยสินเชื่อของธนาคาร นโยบาย ในด้านนี้ส่วนหนึ่งน่าจะเป็นผลมาจากประสบ การณ์ของเกียรตินาคินในสมัยวิกฤติเศรษฐกิจ ในช่วงปี 2540 ที่ถูกปิดกิจการเป็นการชั่วคราว ก่อนที่จะเป็น 1 ใน 2 บริษัทเงินทุนที่ได้รับอนุมัติให้เปิดดำเนินงานได้อีกครั้งหนึ่ง

ผู้บริหารของเกียรตินาคินมั่นใจว่า เป้าหมายการระดมเงินฝากดังกล่าวจะไม่มีปัญหาแต่อย่างใด เนื่องจากการยกระดับขึ้นเป็นธนาคารพาณิชย์มีส่วนช่วยให้ภาพลักษณ์ของเกียรตินาคินในสายตาของผู้ฝากเงินมีมากขึ้น ขณะเดียวกันยังเตรียมใช้กลยุทธ์ดึงเงินฝากด้วยการให้อัตราดอกเบี้ยสูงกว่าธนาคารอื่น นอกจากนี้อีกปัจจัยหนึ่งที่จะช่วยกระตุ้นการระดมเงินฝากได้มากขึ้นก็คือ สถาบันประกันเงินฝากที่กำลังจะตั้งขึ้นอีกไม่นานนี้ ซึ่งตามข้อกำหนดที่จะคุ้มครองเงินฝากจำนวนบัญชีละไม่เกิน 1 ล้านบาท จะทำให้เกิดการกระจายเงินฝากครั้งใหญ่ ซึ่งจะทำให้ธนาคารขนาดเล็กสามารถดึงยอดเงินฝากมาจากธนาคารขนาดใหญ่ได้

"ตอนนี้เงินฝากในระบบมีอยู่ 5 ล้านล้านบาท ของเรามีอยู่ 5 หมื่นล้านบาทคิดเป็นแค่ 1% ถ้าเกิดสถาบันประกันเงินฝาก ลูกค้าของคนอื่นก็จะกระจายมาที่เรา ถ้าเทียบ กับที่ของเราจะกระจายไปหาเขาแล้ว เรามีโอกาสที่จะได้เข้ามามากกว่า"

เมื่อวางกลุ่มลูกค้าเป้าหมายในการหาเงินฝากเป็นลูกค้ารายใหญ่ ทำให้เกียรตินาคินไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเร่งขยายสาขา ซึ่งตามแผนงานที่วางไว้จะเพิ่มจำนวนสาขาขึ้นเป็น 42 สาขา ภายในปี 2550 จากปัจจุบันที่มีอยู่ 15 สาขา โดยจะอยู่ในกรุงเทพฯ 7 สาขาที่เหลือกระจายอยู่ตามหัวเมืองในต่างจังหวัด

คงต้องดูกันต่อไปว่า กลยุทธ์ในการเป็นผู้เล่นในตลาดเฉพาะทางและการวางเป้าอัตราการขยายตัวที่เรียกได้ว่าสูงเกินกว่าตลาด รวม จะทำให้ธนาคารเกียรตินาคินสามารถฝ่ากระแสการแข่งขันทั้งจากธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ที่ให้บริการทางการเงินอย่างครบวงจร หรือ Universal Banking และธนาคาร ต่างชาติที่จะรุกเข้ามาหลังการเปิดเสรีทางการเงินไปจนถึงการแข่งขันกับธนาคารขนาด เล็กและบริษัทเงินทุนที่หวังจับตลาดเดียวกันได้ดีเพียงใด   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us