|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
โพลนักธุรกิจที่เข้าร่วมงานประชุมหอการค้าทั่วประเทศมั่นใจ เศรษฐกิจไทยปีหน้าขยายตัว 4.3% โดยกรุงเทพฯ และภาคกลางขยายตัวดีสุด ส่วนใต้ขยายตัวต่ำสุด เผยปัจจัยน้ำมัน กำลังซื้อที่ลดลง และดอกเบี้ยขาขึ้นเป็นสิ่ง ที่นักธุรกิจกังวล แนะรัฐเร่งทำงาน เร่งใช้ งบประมาณ พัฒนาพลังงานทดแทน เพื่อ ให้เศรษฐกิจขยายตัวต่อเนื่อง
นางเสาวณีย์ ไทยรุ่งโรจน์ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงผลการประมาณ การภาวะเศรษฐกิจไทยในปี 2549 โดยสอบถามจากผู้เข้าร่วมสัมมนาหอการค้าทั่วประเทศครั้งที่ 23 ที่จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 800 คน มีผู้ตอบแบบสอบถาม 208 คน พบว่า เสียงส่วนใหญ่ 29.3% ระบุว่าเศรษฐกิจจะขยายตัว 4.0-4.5% แต่อัตราเฉลี่ยทั่วประเทศจะอยู่ที่ 4.3% โดยกรุงเทพฯ และปริมณฑลเห็นว่าจะขยายตัว 5.17% ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3.86% กลาง 4.89% เหนือ 4.36% ใต้ 3.49%
สำหรับการประมาณการผลประกอบการธุรกิจปี 2548 ผู้ประกอบการ 36.8% ระบุว่ายอดขายลดลง กำไรลดลง ขณะที่ 31.9% ระบุว่ายอดขายเพิ่ม แต่กำไรลดลง โดยมี 17.2% ระบุยอดขายเพิ่ม กำไรเพิ่มขึ้น โดยมีปัจจัยที่มีผลกระทบด้านลบต่อการดำเนินธุรกิจ ได้แก่ 1.ราคาน้ำมันที่อยู่ระดับสูง 2.กำลังซื้อของประชาชนลดลง 3.ความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจโดยรวมลดลง 4.ความสามารถในการแข่งขันน้อยลง และ 5.อัตราดอกเบี้ยขาขึ้น
ทั้งนี้ เมื่อถามถึงการลงทุนในปี 2548 ผู้ประกอบการ 43.5% ระบุว่าลงทุนเพิ่ม 46% ลงทุนคงที่ 10.6% ลงทุนลดลง โดยผู้ประกอบการที่ลงทุนเพิ่มนั้น 31.4% ระบุว่ายังเชื่อมั่นในทิศทางธุรกิจและตลาดในธุรกิจจะขยายตัว ขณะที่ 21.4% กลัวเสียโอกาสทางธุรกิจ
ส่วนการเติบโตของธุรกิจในปี 2549 ผู้ประกอบ การ 45.7% ระบุขยายตัว 23.5% ระบุคงเดิม 19.1% ระบุชะลอตัว ขณะที่ประมาณการอัตรากำไร ผู้ประกอบการ 47.2% ระบุลดลง 32.9% ระบุทรงตัว มี 19.9% ระบุเพิ่มขึ้น โดยส่วนใหญ่ ผู้ประกอบการ 34.9% ระบุกำไรเพิ่มในอัตรา 5-10% ด้านการลงทุน 50.7% ระบุลงทุนเพิ่ม 40% ระบุไม่ลงทุนเพิ่ม และมี 9.3% ไม่แน่ใจ
ทางด้านความวิตกกังวลเกี่ยวกับปัจจัยทางเศรษฐกิจ ผู้ประกอบการ 82.8% ระบุราคาน้ำมัน รองลงมา 72.4% ระบุหนี้สินและกำลังซื้อภาคประชาชนลดลง ตามด้วย 59.7% ระบุปัญหาหนี้ภาคเอกชนและหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) 56.6% ระบุอัตราดอกเบี้ยขาขึ้น 52.3% ระบุความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
"ข้อเสนอแนะต่อรัฐบาลเพื่อให้เศรษฐกิจขยายตัว อันดับแรก อยู่ที่การทำงานของภาครัฐ โดยเฉพาะการลดคอร์รัปชัน การบริหารงานที่โปร่งใส การใช้จ่ายงบประมาณให้มีประสิทธิภาพ ปรับระบบการบริหารราชการให้ทันสมัย คล่องตัว กระจายการพัฒนาให้ทั่วถึง ไม่กระจุกตัว หาพลังงานทดแทน สนับสนุนการลงทุนทำธุรกิจในต่างประเทศ และทำให้นโยบายรัฐมีความชัดเจน ไม่เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา ตลอดจนดูแลการเปิดเสรีทางการค้า (เอฟทีเอ) ให้รอบคอบ" นางเสาวนีย์กล่าว
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการ ค้าไทย กล่าวว่า การคาดการณ์เศรษฐกิจไทยในปีหน้า จะมีอัตราการขยายตัวใกล้เคียงปีนี้ โดยมองเป้าจีดีพีที่กรอบ 4-4.5% เงินเฟ้อระดับ 4.5% โดยปัจจัยที่จะทำให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้ระดับนี้ ต้องพึ่งพาการส่งออกเป็นหลัก ซึ่งทางหอฯ มองเป้าส่งออกปีหน้าที่เติบโต 15% ต่ำกว่าที่กระทรวงพาณิชย์ประเมินไว้ที่ 20% เพราะเป็นฐานที่ใหญ่เกินไป เมื่อเทียบกับสถานการณ์ต่างๆ ของโลกที่ยังมีปัจจัยเสี่ยงเรื่องของราคาน้ำมัน ภัยพิบัติทางธรรมชาติ และโรคระบาด
ทั้งนี้ คาดว่าเศรษฐกิจโลกในปีหน้าจะโตที่ 4% การค้าโลกโต 7.5% ตลาดส่งออกสำคัญของไทย เช่น สหรัฐฯ เศรษฐกิจโต 3-3.5% ญี่ปุ่น 2% และจีน 8-8.5% ดังนั้น สิ่งที่รัฐบาลจะต้องทำคือการขยายเข้าไป ยังตลาดใหม่ เช่น จีน และอินเดีย ที่ยังมีศักยภาพขยายการส่งออกได้มากขึ้นกว่าตลาดหลัก รวมทั้งเร่งเจาะส่งออกในตลาดยุโรปตะวันออก แอฟริกา และตลาดภูมิภาค เช่น มาเลเซีย ลาว พม่า และกัมพูชา เป็นต้น ให้เพิ่มขึ้น
ส่วนเรื่องดุลการค้าไทยในปีหน้า คาดว่าไทยจะยังขาดดุลการค้าประมาณ 6-8 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพราะการนำเข้ายังขยายตัวสูงที่ระดับ 20-23% และคาดว่าดุลบัญชีเดินสะพัดในปีหน้าขาดดุลที่ 3-4 พันล้านเหรียญสหรัฐอยู่เช่นเดิม แต่สถานการณ์จะดีกว่าปีนี้
|
|
 |
|
|