|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
"ธ.ก.ส." เตรียมเสนอ 2 รูปแบบโครงสร้าง อัตราดอกเบี้ยใหม่ให้บอร์ดพิจารณาอีกรอบ พ.ย.นี้ ระหว่างปรับชั้นลูกหนี้เป็น 10 ชั้น ห่างชั้นละ 50 สต. หรือ 20 ชั้นห่างชั้นละ 25 สต. ระบุเพื่อให้สอดคล้องกับกลไกตลาด
นายธีรพงษ์ ตั้งธีระสุนันท์ ผู้จัดการ ธนาคาร เพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิด เผยถึงความคืบหน้าการปรับโครงสร้างอัตราดอกเบี้ย ของธ.ก.ส. ว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ จากปัจจุบันมีอัตราระหว่าง 5.5-10% ตามชั้นของลูกค้า โดยจะนำเสนอให้คณะกรรมการธนาคารพิจารณาภายในเดือนพฤศจิกายนนี้ หลังจากที่เสนอไปแล้วรอบหนึ่งแต่คณะกรรมการต้องการให้นำกลับมาพิจารณาอย่างรอบคอบอีกครั้ง
สำหรับโครงสร้างอัตราดอกเบี้ยใหม่ที่จะนำเสนอให้คณะกรรมการธนาคารพิจารณาเบื้องต้นกำหนดไว้ 2 รูปแบบ คือ การแบ่งประเภทของเงินกู้ออกเป็น 10 ชั้นลูกค้า แต่ละประเภทห่างกัน 50 สตางค์ และแบ่งประเภทของลูกค้าออกเป็น 20 ชั้นลูกค้า แต่ละประเภทห่างกัน 25 สตางค์ แต่อัตราดอกเบี้ยจะไม่แตกต่างจากเดิมมากนัก คือ อยู่ในช่วงประมาณ 5.5-10%
"ธ.ก.ส.นับเป็นธนาคารสุดท้ายในระบบ ที่ยังไม่ได้มีการปรับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เลย ทั้งนี้เพื่อไม่สร้าง ผลกระทบต้นทุนทางการเงินแก่ลูกค้าเกษตรกร แต่แรงกดดันที่ทำให้ ธ.ก.ส.จำเป็นต้องปรับขึ้นดอกเบี้ย เงินกู้ในครั้งนี้ เป็นผลมาจากต้นทุนทางการเงินที่สูงขึ้น จากอัตราดอกเบี้ยในตลาดที่ปรับตัวสูงขึ้น"
ขณะเดียวกัน ในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ครั้งนี้ ธ.ก.ส. จะปรับโครงสร้างอัตราดอกเบี้ย ให้สอดคล้องกับ ความเสี่ยงของลูกค้าแต่ละกลุ่มด้วย ทั้งในเรื่องของอาชีพ พื้นที่ และความเสี่ยงอื่นๆ เพราะเกษตรที่ประกอบอาชีพเดียวกัน แต่อยู่ต่างพื้นที่ กันอาจมีความเสี่ยงต่างกัน เนื่องมาจากปัจจัยด้านภัยธรรมชาติ เช่น น้ำท่วม ฝนแล้ง เป็นต้น
นายธีรพงษ์ กล่าวอีกว่า ธ.ก.ส.ยังมีแนวคิดที่จะทำบัตรเกษตรกร (Farmers card) ซึ่งเป็นบัตรที่จะรวมข้อมูลสำคัญของเกษตรกร ทั้งข้อมูลส่วนตัว คือ บัตรประจำตัวประชาชน และข้อมูลอื่นๆ เช่น บัตรประกันสุขภาพ 30 บาท บัตรประจำตัวเงินกู้ของ ธ.ก.ส. และโครงการต่างๆ ของ ธ.ก.ส. เช่น โครงการ วัวล้านตัว เป็นต้น ซึ่งเกษตรกรที่มีบัตรนี้เพียงบัตรเดียว ก็สามารถเข้าถึงบริการของ ธ.ก.ส.ได้เกือบทุกโครงการ
"เราได้หารือกับกระทรวงมหาดไทย และกระทรวงไอซีทีแล้ว ซึ่งพร้อมจะทำโครงการนำร่องในปีหน้า โดยตั้งเป้าหมายว่า จะให้ลูกค้าชั้นดีของธนาคารที่มีอยู่ประมาณ 2 ล้านคน ภายใน 3 ปีข้างหน้า จากลูกค้าทั้งหมดของ ธ.ก.ส. 5 ล้านคน โดยคาดว่า จะเริ่มนำร่องได้ 1,000 ใบ ในปีหน้า" นายธีรพงษ์ กล่าว
สำหรับการทำบัตรเครดิตให้กับเกษตรกรนั้น ธ.ก.ส. คงจะไม่นำมาใช้ในเร็วๆ นี้ แต่จะเริ่มด้วยการทำเดบิตก่อน เพราะช่วงนี้ ธ.ก.ส.กำลังรณรงค์ในเรื่องการออมเงิน ดังนั้นจึงไม่ต้องการออกบัตรเครดิตซึ่งเป็นการส่งเสริมการใช้จ่ายของเกษตรกร
ด้านนายขรรค์ ประจวบเหมาะ กรรมการ ผู้จัดการ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) กล่าวว่า ภายในสัปดาห์นี้ ธอส.จะประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้อีกครั้ง หลังจากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ประกาศปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย หรืออัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 14 วันขึ้นอีก 0.50% ไปเมื่อวันที่ 19 ตุลาคมที่ผ่านมา โดย ธอส. จะปรับขึ้นตามอัตราที่ ธปท.ประกาศคือ 0.50% เพื่อ ให้สอดคล้องกับกลไกตลาด
อย่างไรก็ตาม หาก ธอส.ปรับขึ้นเพียง 0.25 % ซึ่งจะช่วยให้ประชาชนไม่ต้องแบกรับภาระมากเกินไป แต่สุดท้ายแล้ว ธอส.ก็ต้องปรับขึ้นดอกเบี้ยให้สอดคล้องกับกลไกตลาด ซึ่งการปรับเร่งขึ้นในตอนปลายก็จะทำให้ประชาชนต้องแบกรับภาระดอกเบี้ยมากขึ้นไปอีก
รายงานข่าวแจ้งว่า ก่อนหน้านี้ ธอส.ได้ปรับขึ้น อัตราดอกเบี้ยเงินฝากทั้งประเภทออมทรัพย์และประจำเพิ่มขึ้นอีก 0.50-1.75% โดยเฉพาะเงินฝากออมทรัพย์พิเศษ ปรับเพิ่มขึ้น 1.75% จาก 1.25% เป็น 3% เนื่องจาก ธอส.ได้เล็งเห็นถึงศักยภาพฐานลูกค้าเงินฝากรายย่อย จึงได้เสนอดอกเบี้ยพิเศษเพื่อจูงใจลูกค้าให้มาใช้บริการผลิตภัณฑ์เงินฝากออมทรัพย์พิเศษของธนาคารเพิ่มขึ้น โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 28 ต.ค. นี้เป็นต้นไป
นอกจากนี้ ธอส.ได้ปรับดอกเบี้ยเงินฝากประจำ ระยะสั้นเพิ่มขึ้นอีก 0.50-1.75% โดยเงินฝากประจำ 3 เดือน จาก 1.50% เป็น 2.75% ประจำ 6 เดือน จาก 1.75% เป็น 3% ประจำ 12 เดือน จาก 2% เป็น 3% และ 24 เดือน จาก 2.75% เป็น 3.25%
|
|
|
|
|