Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน31 ตุลาคม 2548
วิเชฐเล็งขอบอร์ดตั้งกองทุนเวนเจอร์แคปฯ ดึงบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดmaiเพิ่ม             
 


   
www resources

โฮมเพจ ตลาดหลักทรัพย์ใหม่

   
search resources

ตลาดหลักทรัพย์ใหม่ - MAI
วิเชฐ ตันติวานิช
Stock Exchange




"วิเชฐ" เอ็มดีตลาดเอ็มเอไอ คาดช่วงท้ายปีนี้มี 10 บริษัทเตรียมขายหุ้น เชื่อเป้าปีหน้า 40 บริษัทโอกาสได้สูง หวังมาร์เกตแคปรวมแตะ 3 หมื่นล้าน วอลุ่มเฉลี่ย 220 ล้านต่อวัน พร้อมเล็งเสนอบอร์ดขอตั้งกองทุนเวนเจอร์แคปปิตอล แต่งตัวบริษัทเข้าระดมทุน
นายวิเชฐ ตันติวานิช ผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอ (mai) เปิดเผยว่า จากแผนพัฒนางานของ ตลาดหลักทรัพย์ในช่วงปี 2549 โดย มีการตั้งเป้าบริษัทที่จะเข้าจดทะเบียนในตลาดเอ็เอไอ หรือ mai จำนวน 40 บริษัท โดยส่วนตัวเชื่อว่าโอกาสที่จะเป็นไปได้อยู่ในระดับที่สูง เนื่องจากจากการสอบถามไปยังบริษัทที่มีความสนใจล่าสุดพบว่ามีถึง 60-70 บริษัทที่สนใจจะเข้าระดมทุนในตลาดเอ็มเอไอ

ทั้งนี้ เชื่อว่าในปีหน้าความน่าสนใจในตลาดเอ็มเอไอจะมีมากขึ้น ซึ่งในส่วนของมูลค่าการซื้อขายน่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ โดยปัจจุบันอยู่ที่เฉลี่ย 175 ล้านบาทต่อวัน เป็น 200-220 บาทต่อวัน ขณะที่มูลค่าตลาดรวม หรือมาร์เกตแคปจะปรับตัวขึ้นจากระดับปัจจุบัน 1.2 หมื่นล้านบาท เป็นประมาณ 3 หมื่นล้านบาทบนพื้นฐานเฉลี่ยบริษัทที่จะเข้าจดทะเบียนมีขนาดประมาณ 500 ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม เป้าหมายในบริษัทที่จะเข้าจดทะเบียน ตัวแปรที่สำคัญที่อาจจะทำให้ไม่เป็นไปตาม ที่มีการตั้งเป้า คือ การเปลี่ยนใจใน การเข้าจดทะเบียนของเจ้าของกิจการเองด้วยเหตุผลอย่างใด อย่างหนึ่ง แต่ทั้งนี้มาตรการจูงใจใน เรื่องการให้สิทธิพิเศษในเรื่องภาษีที่ได้มีการเลื่อนจากเดิมจะครบกำหนด ในสิ้นปีนี้เป็นสิ้นปีหน้าหากมีการยื่นไฟลิ่งได้ทันปีนี้น่าจะเป็นสิ่งที่จูงใจบริษัทได้ในระดับหนึ่ง
นายวิเชฐ กล่าวอีกว่า แม้ว่าในอนาคตบริษัทที่จะจดทะเบียนใน ตลาดเอ็มเอไอจะมีจำนวนสูงขึ้นแต่คงยังไม่มีนโยบายในการแยกกลุ่มหรือหมวดให้กับบริษัท เนื่อง จากยังเป็นเรื่องที่ยากที่จะกำหนด แต่ทั้งนี้การกำหนดอาจจะแยกได้เพียง หุ้นที่มีการเติบโตที่สูง กับหุ้นในกลุ่มที่เป็นธุรกิจนวัตกรรมใหม่ๆ

ทั้งนี้ สิ่งที่จะเป็นตัวกระตุ้นความน่าสนใจ คือการทำการตลาด ในเชิงการประชาสัมพันธ์ที่มากขึ้น เพราะปัจจุบันบริษัทจดทะเบียนขนาดใหญ่ในประเทศใกล้จะหมด เพราะส่วนหนึ่งก็เข้าจดทะเบียนไปแล้วขณะที่อีกส่วนก็ยังติดกับภาพการเป็นธุรกิจในครอบครัว การเร่งสร้างบริษัทขนาดเล็กให้มี มาตรฐานและมีความพร้อมในการเข้าจดทะเบียนจึงเป็นเรื่องสำคัญ

"บริษัทใหญ่ๆที่อยู่ในตลท.ก็ต้องเร่งผลักดันให้มีการก้าวไปสู่ระดับสากล อาจจะมีการผลักดันให้มีการจดทะเบียนในตลาดหุ้นต่างประเทศ ขณะที่ บริษัทเล็กๆก็ต้องเร่งเพิ่มศักยภาพให้เค้าเพื่อจะได้เข้าระดมทุนในตลท.ได้" นายวิเชฐกล่าว

นอกจากนี้ คาดว่าในช่วง 2 เดือนก่อนสิ้นปีจะมีบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดเอ็มเอไปประมาณ 10 บริษัท และคาดว่าจะมีบริษัทยื่นแบบแสดงข้อมูล(ไฟลิ่ง) อีกประมาณ 15 บริษัท เล็งเสนอบอร์ดตั้งกองทุน

นายวิเชฐ กล่าวอีกว่าเรื่องการเร่งสร้างบริษัทขนาดเล็กเพื่อเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ แนวทางหนึ่งที่หลายประเทศใช้ คือ การใช้กองทุนรวมลงทุน หรือ เวนเจอร์แคปปิตอล เป็นตัวกลางในการ เพิ่มศักยภาพในการพัฒนาธุรกิจ

ทั้งนี้ ในเรื่องดังกล่าวอาจจะมี 3 ฝ่ายที่เข้ามาเกี่ยวข้องการในร่วมเป็นหุ้นส่วนของบริษัท คือ เจ้าของ บริษัท บริษัทร่วมลงทุน และกองทุน เป็นต้น ซึ่งในส่วนของกองทุนอาจจะมีการนำเรื่องดังกล่าวเสนอต่อคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์เพื่อ เสนอให้มีการจัดตั้งกองทุนเพื่อเข้าร่วมลงทุนในธุรกิจในกลุ่มเป้าหมาย ก่อนที่จะนำเข้าจดทะเบียนในตลาด เอ็มเอไอ อย่างไรก็ตาม เรื่องดังกล่าวอยู่ระหว่างการศึกษา โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่อาจจะเข้ามาช่วยผลักดันในเรื่องดังกล่าว เช่น สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมรับวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม ซึ่งในอนาคตบทบาทจะค่อนข้างน่าสนใจ และมีบทบาทที่เพิ่มมากขึ้นหากได้รับการสนับสนุนที่ดีจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us