|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
เปิดแผนเอื้อประโยชน์หัวเหว่ยครบวงจร ตั้งแต่เขียนทีโออาร์คลุมเครือ เขี่ยคู่แข่งตกสเปก พอชนะด้วยราคาถูก ติดตั้งไม่ทัน ก็อ้างปัญหาพิกัดสถานีฐาน ที่เกิดจากทีโออาร์ไม่ชัดเจน พร้อมทางถอยทีโออาร์ข้อ 12.4 เปิดช่องให้ใช้ดุลยพินิจว่าเป็นเหตุสุดวิสัยที่ล่าช้า สามารถต่ออายุสัญญาโดยไม่ต้องปรับ ด้านบอร์ดกสทให้เวลา 5 วันหาคำตอบที่แท้จริงจากข้ออ้างหัวเหว่ย
นายอำนวยศักดิ์ ทูลศิริ รองประธานบอร์ดบริษัท กสท โทรคมนาคม กล่าวภายหลังการประชุมบอร์ดเมื่อวันที่ 27 ต.ค.ที่ผ่านมาว่าบริษัท หัวเหว่ยได้ส่งหนังสือแจ้งถึงปัญหาและอุปสรรคในการติดตั้งเครือข่ายโทรศัพท์มือถือซีดีเอ็มเอในภูมิภาคว่ามีการเปลี่ยนแปลงพิกัด (location) ในการติดตั้งสถานีฐานประมาณ 75% จากที่กำหนดไว้ในทีโออาร์และยังมีปัญหาในเรื่องการนำเข้าอุปกรณ์สื่อสัญญาณไมโครเวฟที่ติดขัดเรื่องใบอนุญาต รวมทั้งปัญหาเรื่องการประสานงานกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
ทั้งนี้ บอร์ดได้ให้เวลาหาความจริงจากสิ่งที่หัวเหว่ยอ้างมาภายใน 5 วันทำการ โดยให้นายไกรสร พรสุธี ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(ไอซีที)เป็นคนรวบ รวมรายงานที่จะได้รับจาก project manager และ steering committee ก่อนที่จะนำเสนอบอร์ด รวมทั้งให้ช่วยเป็นผู้ประสานงานกับหน่วยงานอื่น (third party)ที่ต้องเกี่ยวข้อง ในการติดตั้งอย่างการไฟฟ้าภูมิภาค
"project manager รายงานว่าติดตั้งไปแล้วกว่า 400 ไซต์และเชื่อว่าน่าจะติดตั้งเฟสแรกเสร็จทันตามสัญญา"
สำหรับทีโออาร์นั้นกำหนดให้หัวเหว่ยต้องส่งมอบสถานีฐานจำนวน 800 ไซต์ที่ต้องสามารถใช้งานได้ภาย ในวันที่ 26 ม.ค.2549 และครบ 1,600 ไซต์หลังจากนั้นอีก 12 เดือน ซึ่งหากทำไม่ได้ต้องจ่ายค่าปรับวันละ 90 ล้านบาท แต่อย่างไรก็ตามทีโออาร์ข้อ 12.4 ระบุว่าการขอต่ออายุสัญญาโดยการงดหรือลดค่าปรับจะกระทำมิได้เว้นแต่เป็นเหตุสุดวิสัยหรือเป็นความผิดพลาดหรือความบกพร่องของฝ่ายผู้ว่าจ้างหรือเหตุเกิดจากพฤติการณ์อันหนึ่งอันใดที่ผู้รับจ้างไม่ต้องรับผิดชอบตามกฎหมาย หมายถึงเป็นการเปิดช่องหรือเปิดโอกาสให้ กสท ใช้ดุลยพินิจว่าอะไรเป็นเหตุสุดวิสัยที่จะทำให้หัวเหว่ยไม่ต้องเสียค่าปรับ
"การจะปรับหรือไม่ต้องดูว่าเกิด จากความผิดพลาดของฝ่ายไหน ของ กสทหรือหัวเหว่ย" นายอำนวยศักดิ์กล่าว
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ในช่วง การประชุม bid conference ก่อนประมูล ประเด็นที่หัวเหว่ยกล่าวอ้างเรื่องพิกัดในการติดตั้งสถานีฐาน เป็นสิ่งที่เวนเดอร์ทุกรายรับรู้ล่วงหน้าแล้ว เนื่องจากทีโออาร์ซีดีเอ็มเอถูกเขียนขึ้นอย่างรีบเร่ง โดยที่ไม่มีการสำรวจพื้นที่ให้ชัดเจน แต่จะใช้พิกัดเดิมของสถานที่ของ กสท หรือของเอกชนภาย ใต้สัญญาร่วมการงานอย่างดีแทค ซึ่งในความจริงบางตำแหน่งตามพิกัด ก็ไม่มีจริง ซึ่งเมื่อเวนเดอร์สอบถามในการประชุม กสทก็บอกแต่เพียงว่าให้เป็นไปตามทีโออาร์ ก็หมายถึงหัวเหว่ย ก็ต้องรับรู้ปัญหาดังกล่าวตั้งแต่ต้น แล้ว
"ในความเป็นจริงตอนเสนอราคาประมูล ความไม่ชัดเจนเรื่องพิกัด และความคลุมเครือในทีโออาร์อีกหลายๆอย่าง ล้วนเป็นความเสี่ยงที่ทำให้ต้องบวกเพิ่มในการเสนอราคา เนื่องจากค่าปรับแพงมากแต่กลายเป็นว่าคนที่ชนะกล้าที่จะเสนอราคาถูกมากอย่างน่าสงสัย" แหล่งข่าวในวงการโทรคมนาคมกล่าว
เขาย้ำอีกว่า สิ่งที่หัวเหว่ยอ้างถึงพิกัดที่เปลี่ยนแปลง เป็นสิ่งที่เวนเดอร์ทุกรายต้องรู้ตั้งแต่อ่าน ทีโออาร์แล้ว แต่การที่ กสท ไม่ทำให้ทุกอย่างให้ชัดเจน รวมทั้งมีทีโออาร์ข้อ 12.4 ที่ให้ใช้ดุลยพินิจในการปรับหรือไม่ปรับ รวมทั้งการเขี่ยเวนเดอร์สัญชาติจีนอีกรายอย่าง ZTE ที่ร่วมประมูลกับกลุ่มสามารถโดยอ้างว่าข้อเสนอมีเงื่อนไข ทั้งๆที่เป็นทางเลือกเพื่อ ให้โครงการเสร็จทันเวลา กลับถูกปรับตก ในขณะที่หัวเหว่ยถึงเสนอแบบมีเงื่อนไข แต่กลับตะแบงว่าไม่ใช่ สาระสำคัญ
ถือได้ว่าเป็นแผนชั้นเซียนที่ผูกเรื่องตั้งแต่เขียนทีโออาร์ให้คลุมเครือ หาทางทำให้คู่แข่งตกสเปก พอได้งานก็อ้างหาเหตุว่าเกิดปัญหาทำให้ล่าช้า ซึ่งถ้าจวนตัวก็ใช้ดุลยพินิจว่าสุดวิสัยเพื่อไม่ต้องเสียค่าปรับ ทุกอย่างถูกวางแผนไว้ตั้งแต่ต้น
นายธวัชชัย วิไลลักษณ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท สามารถคอร์ปอเรชั่น ให้ความเห็นว่าหากการติดตั้งซีดีเอ็มเอไม่เสร็จตามกำหนดก็เป็นสิ่งที่คาดเดาได้ เพราะราคาที่ชนะ ทำให้เมื่อว่าจ้างซับคอนแทรกเตอร์ก็ย่อมได้งานที่ไม่มีคุณภาพ หรืออาจไม่สามารถควบคุมระยะเวลาได้ ซึ่งเป็นเรื่องปกติ บทเรียนนี้น่าจะสะท้อนถึงแนวคิดการประมูลว่าไม่ใช่จำเป็นต้องราคาต่ำสุดแล้วจะได้ของดีเสมอไป อย่าลืมนึกถึงค่าเสียโอกาสหากงานไม่เสร็จ หรือเสร็จแบบไม่มีคุณภาพด้วย
"เวลาบริษัทเราประมูลงานเอง ผมยังไม่เลือกบริษัทที่เสนอราคาต่ำสุดเลย หากไม่มั่นใจคุณภาพ และเวลาที่จะเสียไป รวมทั้งค่าเสียโอกาสต่างๆที่จะตามมาอีกมาก"
|
|
|
|
|