Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ เมษายน 2543








 
นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2543
แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ "ปฏิวัติ"             
 

   
related stories

สยามสินธรยังปิดตัวเงียบ

   
search resources

แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์, บมจ.
Real Estate




วันที่ 19 มีนาคม 2543 บริษัท แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) ได้มีการเปิดจองบ้านในคอนเซ็ปต์บ้านสบาย สร้างเสร็จก่อนขายใน 13 โครงการทุกทำเลของกรุงเทพฯ และ ปริมณฑล ท่ามกลางสายตาทุกคู่ ที่ กำลังจับตามองการขยับตัวครั้งใหม่ หลังจากหยุดนิ่งมานานของบริษัทยักษ์ใหญ่นี้อย่างไม่กะพริบ

วันรุ่งขึ้น 20 มีนาคม 2543 นพร สุนทรจิตต์เจริญ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ มือขวาคนสำคัญของอนันต์ อัศวโภคิน ก็ออกมายืนยันว่าได้ผลอย่าง น่าพอใจเพียงวันเดียวมียอดจองถึง 260 ล้านบาท และคาดว่าในไตรมาสแรกนี้ จะมียอดจองไม่ต่ำกว่า 2,000 ล้านบาท ถ้าตัวเลขนี้ไม่ผิดพลาดมันได้ แสดงให้เห็นว่าคนที่ต้องการบ้านอยู่อาศัยยังมีมากมายอย่างจริงๆ

บริษัท แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ ได้ปฏิวัติการขายครั้งใหญ่ สร้างตำนานใหม่ ในวงการธุรกิจบ้านจัดสรร โดยการใช้กลยุทธ์ สร้างเสร็จก่อนขาย เป็นตัวบุกทะลวง ทำลายความไม่ศรัทธาในตัวของผู้ประกอบการ และได้ฉวยโอกาสในความพร้อมของเม็ดเงินชิงกวาดลูกค้ากลุ่มนี้เป็นของตนก่อนอย่างรวดเร็ว

ตัวเลขของบ้านเดี่ยวพร้อมอยู่ในตลาดที่ยังเหลือคั่งค้างมาจากช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ ในปี 2542 นั้น อนันต์ยืนยันว่าทั้งตลาดมีอยู่ประมาณ 1 พันกว่าหลัง และได้มีการทยอยขายออกไปได้อย่างเรื่อย ๆ ซึ่งจะเห็นได้ว่าการ เปิดตัวของโครงการในช่วงเวลาประมาณ 1 ปีที่ผ่านมาของบริษัทบ้านจัดสรรต่าง ๆ ที่ยังพอ มีลมหายใจเหลืออยู่ จึงออกมาเป็นโครงการบ้านเดี่ยวเสียเป็น ส่วนใหญ่

แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ เองก็เช่นกัน โดยได้ออกแบบบ้านใหม่ ภายใต้คอนเซ็ปต์บ้านสบายมาตั้งแต่ไตรมาส ที่ 3 ของปี 2542 หลังจากระบายบ้าน พร้อมอยู่ ที่ยังเหลือคั่งค้างอยู่อย่างต่อเนื่องในโครงการต่างๆ หมดลงไป

ก่อนวิกฤติเศรษฐกิจนั้น ในปี 2538 ตัวเลขการจดทะเบียนอสังหาริมทรัพย์ จากกรม ที่ดินเพิ่มสูงถึง 1.7 แสนยูนิต แต่ในช่วงปี 2541 ลดล ง เหลือเพียง 6.4 หมื่นยูนิต และในปี 2542 ที่ผ่านมาก็ยิ่งลดน้อยลงมาอีก เหลือเพียง 3.34 หมื่นยูนิต และเมื่อมองตัวเลขย้อนหลังไปประมาณ 15 ปี ก็จะเห็นได้ว่าในช่วงปี 2538 นั้น ตัวเลขจดทะเบียนนิติกรรมจะใกล้เคียงกัน กับปี 2542 แล้วต่อจากนั้น ก็ค่อยๆ เติบโตขึ้น

ในปี 2543 นั้น อนันต์ อัศวโภคิน ประธานกรรมการ และกรรมการผู้จัดการ ของบริษัท แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) ได้คาดหมายไว้ว่าตัวเลขการจดทะเบียนจะเพิ่มขึ้นประมาณ 5 หมื่นหน่วย เขาได้อธิบาย ที่มาของ ความคิดนี้ว่า

ตัวเลขการจดทะเบียนในปี 2542 นั้น เป็นผลจากการจองซื้อในช่วงปี 2541 ซึ่งเป็นปีที่ GDP มีตัวเลขเป็น -9.8% ส่วนในปี 2542 GDP เท่ากับ +4.2% การจองซื้อ ที่อยู่อาศัยเริ่มฟื้นตัวขึ้น ตั้งแต่ช่วงไตรมาส ที่ 2 ของปี 2542 และการจองซื้อทั้งปี 2542 จะกลายเป็นยอดจดทะเบียนในปี 2543 อนันต์บอกว่าปริมาณของความต้องการซื้อนั้น น่าจะมีมากกว่านี้ แต่เป็นเพราะความสามารถในการขายของโครงการบางประเภท มีจำกัด เนื่องจากผู้ประกอบการยังมีปัญหาสภาพคล่อง และภาระหนี้สิน ที่สูงอยู่

และในช่วงวิกฤติดังกล่าวนี้เอง ที่ได้สร้างโอกาสครั้งใหญ่ให้กับค่ายแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์

เหตุผลที่สำคัญ ซึ่งอนันต์ และทีมงานได้มองเห็นก็คือ ทุกวันนี้ผู้ซื้อส่วนใหญ่ยังขาดความเชื่อมั่นในวิธีการซื้อบ้านจัดสรรแบบเดิมคือ จองก่อนแล้วถึง จะมีการสร้าง และสร้างเสร็จจึงจะมีการโอน เนื่องจากเป็นวิธีการที่ผู้ซื้อมี ความเสี่ยงสูง ที่จะไม่ได้บ้าน คดีจำนวนหลายหมื่นรายที่ได้มีการร้องเรียน ไป ยังหน่วยราชการตอกย้ำความจำ ที่ฝังใจของผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี

และ ที่ สำคัญที่สุด ขณะนี้กฎหมาย และข้อกำหนดจากทางราชการไม่ว่าจะเป็นกฎหมายจัดสรร ที่ดิน กฎหมายสิ่งแวดล้อม สัญญาซื้อขาย มาตรฐาน กฎหมายเอสโครจะทำให้ ผู้ประกอบการรายย่อยไม่สามารถดำเนินธุรกิจได้ เพราะเงินดา วน์จากลูกค้าจะนำไปเป็นเงินทุนหมุนเวียนไม่ได้ ในขณะเดียวกัน ถ้าระบบสินเชื่อ Pre-Finance ของสถาบันการเงินยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง จากแนวทางการให้สินเชื่อแบบเดิม คือ ให้กู้เงินค่าก่อสร้างต่อเมื่อมีลูกค้าจอง แต่ในขณะนี้กลับกลายเป็นลูกค้าจะไม่จองก่อนถ้าบ้านยังไม่เห็นการก่อสร้าง ผู้ก่อสร้างก็กู้เงินมาสร้างก่อนไม่ได้ ถ้าปัญหานี้ยังไม่มีการแก้ไข จะทำให้ปริมาณของความต้องการซื้อไม่เพียงพอกับสินค้า ที่ มีขาย ที่จะเกิดขึ้นในช่วงสิ้นปี 2543 แน่นอน

ดังนั้น นโยบายของบริษัทในปีนี้จึงเพิ่มทางเลือกให้กับลูกค้าโดย 1. จะสร้างบ้านให้เสร็จก่อน แล้วจึงจะขายลูกค้าสามารถเข้าอยู่ได้ทันที พร้อมการตกแต่งสวน และโอนภายใน 1 เดือน ชำระเงินดาวน์ ที่ 10 เปอร์เซ็นต์ และ 2. บ้าน สั่งสร้าง คือ บ้าน ที่ลูกค้าจะเลือกแปลง ที่ดิน และแบบบ้านก่อน ที่บริษัทจะดำเนินการก่อสร้าง โดยใช้เวลาในการก่อสร้างประมาณ 6-10 เดือน ด้วยวิธีการดังกล่าวจะทำให้ลูกค้าเกิดความมั่นใจในตัวบริษัท ซึ่งจะเป็นสิ่งกระตุ้น ที่สำคัญ และช่วยในการเร่งการตัดสินใจให้กับลูกค้า

ในแต่ละเดือนบริษัทจะก่อสร้างบ้านให้เสร็จก่อนขายเฉลี่ยเดือนละ 100 หลัง ใน 30 โครงการแบ่งเป็นโครงการในกรุงเทพฯ 25 โครงการ โครงการในภูมิภาคจำนวน 5 โครงการ คือ ที่เชียงใหม่ 2 โครงการ ขอนแก่น 1 โครงการ นครราชสีมา 1 โครงการ และภูเก็ตอีก 1 โครงการ ซึ่งจำนวนบ้าน ที่บริษัทวางแผนก่อสร้างนั้น มั่นใจว่าจะสามารถขายได้หมดเช่นกัน เพราะในแต่ละเดือนบริษัทขายบ้านในจำนวนนี้เท่านั้น

ในปีนี้บริษัทได้เตรียมงบประมาณไว้สำหรับดำเนินการสร้างบ้านสบาย เสร็จก่อนขายไว้ 1,000 ล้านบาท

นพร ได้ให้ความเห็นว่าบริษัทมั่นใจว่าตัวเลขบ้านสั่งสร้างเดือนละ 100 หลังนั้น สามารถขายได้หมด ที่มาของตัวเลขนี้ก็คือ เมื่อปี 2542 บริษัท สามารถโอนบ้านได้รวมทั้งสิ้น 1,500 หลัง เฉลี่ยแล้วเดือนละมากกว่า 100 หลัง ดังนั้น การก่อสร้างเพียงเดือนละ 100 หลัง จึงไม่ยาก ที่จะระบาย ออกไป ด้วยวิธีการก่อสร้างงานก่อนขายนี้ ทำให้แลนด์ฯ ต้องใช้เงินในการก่อสร้าง และหมุนเวียนในการดำเนินการทั้ง สิ้น 500 ล้านบาท

แม้ว่าการสร้างบ้านก่อนขายจะต้องใช้เงินลงทุนมากกว่าอดีต แต่ในด้านผลกำไรกลับมีมากขึ้น ซึ่งจะมีเพิ่มขึ้นถึง 25 เปอร์เซ็นต์ แต่ในอดีต ที่เก็บเงินก่อนค่อยสร้างจะสร้างกำไรเพียง 18 เ ปอร์เซ็นต์เท่านั้น ทั้งนี้เพราะการสร้างบ้านก่อนขายนั้น บริษัทสามารถกำหนดต้นทุนการก่อสร้างได้ชัดเจน และสามารถสร้างบ้านต่อเนื่องภายในโครงการไม่จำเป็นต้องเคลื่อนย้ายเครื่องจักรอุปกรณ์ก่อสร้างไปสร้างในที่ดิน ที่ลูกค้าจองก่อน ซึ่งในส่วนนี้สามารถประหยัดเงินค่าเคลื่อนย้ายเครื่องจักรได้มาก

นอกจากนี้การกำหนดจำนวนการก่อสร้าง ที่ไม่มากนัก ยังสามารถให้ผู้รับเหมาระดมการก่อสร้างไปก่อนให้เสร็จอย่างรวดเร็ว ซึ่งแลนด์ฯ กำหนดไว้ว่าจะสร้างบ้านให้แล้วเสร็จ ภายใน 3-4 เดือนเท่านั้น เทียบกับการก่อสร้างแบบเดิมใช้เวลานาน 6-10 เดือน ซึ่งการสร้างได้รวดเร็ว โอนกรรมสิทธิ์ได้รวดเร็ว ก็จะมีเม็ดเงินไหลกลับเข้ามาได้อย่างเร็วเช่นกัน

บ้านสร้างก่อนขาย และบ้านสั่งสร้างของแลนด์ฯ จะยังเป็นบ้านในคอนเซ็ปต์อยู่สบาย ซึ่งเป็นบ้านเดี่ยวทั้งหมด ทั้ง 25 โครงการของแลนด์ฯ แต่ในระยะแรกจะถูกเลือกสร้างก่อนเพียง 13 ทำเล ปัจจุบันนี้จะแบ่งออกเป็น 4 ระดับราคา คือ เริ่มตั้งแต่ 1.3 ล้านบาทขึ้นไป มีทั้งหมด 10 โครงการระดับ ราคา 3-5 ล้านบาท มีทั้งหมด 10 โครงการ ซึ่งคาดว่าบ้านสร้าง ก่อนขาย ส่วนใหญ่จะอยู่ ที่กลุ่มราคาระดับนี้ ส่วนบ้านระดับราคา 5-7 ล้านบาท มี เพียงโครงการเดียวคือ ธาริณีประชาชื่น

ส่วนบ้าน ที่ราคาเริ่มต้น ที่ 7 ล้านบาทขึ้นไป มี 4 โครงการ คือ ที่ ลดาวัลย์ เลคโลเนียล ขนาดพื้นที่ 100 ตารางว าขึ้นไป บนถนนวงแหวน รอบนอกบางขุนเทียน โครงการลดาวัลย์ รังสิต ขนาดพื้นที่ 100 ตารางวา ขึ้นไป โครงการบ้านนันทวันศรีนครินทร์ ขนาดพื้นที่ 160 ตารางวาขึ้นไป และโครงการลดาวัลย์ประชาชื่น ซึ่งระดับราคาอยู่ 15 ล้านบาทขึ้นไปในพื้นที่ 154 ตารางวาขึ้นไป

อีก 5 จังหวัด ส่วนใหญ่แล้วราคาบ้านจะอยู่ ที่ 9 แสนบาทขึ้นไปถึง 2.5 ล้านบาท แพงที่สุดจะอยู่ ที่โครงการบ้านลดาวัลย์ภูเก็ต ขนาดพื้นที่ 250 ตารางวา ราคา 8.57 ล้านบาท

ในเรื่องของระดับราคา ที่อยู่อาศัยในปีนี้ อนันต์ได้ให้ความเห็นไว้ว่า จะมีการปรับตัวขึ้นบ้าง เนื่องจากต้นทุนค่าก่อสร้าง ที่สูงขึ้น ถึงแม้ราคา ที่ดินดิบจะ ยังไม่ปรับตัวขึ้น และอาจลดลง แต่เนื่องจากราคา ที่ดินได้ปรับตัวลงมาตลอด ตั้งแต่ปี 2540 ถึงปัจจุบัน 30 เปอร์เซ็นต์ ราคาจึงน่าปรับตัวลงอีกไม่ได้มาก อย่างไรก็ตาม อนันต์กล่าวว่า ราคา ที่ดินดิบนั้น เป็นองค์ประกอบไม่เกิน 20% ของราคาขายรวมบ้าน และ ที่ดิน ถึงแม้ราคา ที่ดินดิบจะลงไปอีก 20% ก็จะ เท่ากับเพียง 4% (20% x 20% = 4%) ของราคารวมบ้าน และ ที่ดินเท่านั้น ปี 2543 จึงเป็นปีที่ราคาบ้าน และ ที่ดินจะปรับตัวขึ้นเลยจากจุดต่ำสุดใ น ปี 2542 ที่ผ่านมา

กลยุทธ์คราวนี้ของแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ มีส่วน ที่จะสร้างความกดดันให้กับบริษัทบ้านจัดสรรเล็กๆ แน่นอนที่สุด เพราะไม่มีหนทางสู้การเปิดขายพร้อมๆ กันหลายทำเลของแลนด์ แอนด์ เฮ้า ส์ ที่ครอบคลุมไปทั่วกรุงเทพฯ ยิ่งเป็นกำแพง ที่แน่นหนาเกิน ที่จะฝ่าเข้าไปได้ มิหนำซ้ำยังต้องใช้เงินหมุนเวียนในการก่อสร้างค่อนข้างสูง ในช่วงเวลา ที่ไม่สามารถกู้เงินจากสถาบันการเงินได้ แต่ในขณะเดียวกัน ทางแลนด์ แอนด์เฮ้าส์ ก็ต้องมั่นใจในกำลังซื้ออย่างมากเช่นกัน เพราะต้องแบกภาระของต้นทุนการก่อสร้างไว้กับตัวเองอย่างเต็มๆ

ขณะนี้วิธีการดังกล่าวก็ได้กลายเป็นทางเลือกใหม่ ของบริษัทขนาดกลางขนาดใหญ่รายอื่นอีกเช่นกันทุกวันนี้ บริษัทพัฒนา ที่ดิน ที่ยังมีลมหายใจเหลืออยู่ได้ชูกลยุทธ์นี้เป็นจุดขายทั้งสิ้น เช่น พร็อพเพอร์ตี้เพอร์เฟค กฤษดา นคร ธารารมย์เอ็นเตอร์ไพรส์ วังทองกรุ๊ป และเคซี.กรุ๊ป เพียงแต่จำนวนบ้าน ที่จะสร้างก่อนขายจะมากน้อยต่างกัน ขึ้นอยู่กับความพร้อม และการมอง ตลาดของแต่ละบริษัทเท่านั้น

เป็นการสร้างโอกาสบนวิกฤติอีกครั้งของบริษัทแลนด์แอนด์ เฮ้าส์ บริษัทยักษ์ใหญ่ทางด้านจัดสรร ที่ดิน ที่กว่าจะรอด พ้นพายุเศรษฐกิจครั้งนี้ได้แทบ จะเหลือเพียงชื่อไว้ในตำนาน

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ยอดขายของไตรมาสแรก ที่ นพรกล่าวเป็นจริง แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์เอง ก็ต้องพยายามปฏิวัติในส่วนโครงสร้างอื่นๆ ของ บริษัทให้ประสบความสำเร็จเช่นกัน เพราะยอดตัวเลขหนี้สินรวมมันคงยังสูงมากเช่นกัน

ปี 2543 เป็นปีที่ 26 ของการเข้ามาทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ของอนันต์ และเป็น ปีที่ 17 ของการก่อตั้งบริษัท แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ โดย มีเพียงใจ หาญพาณิชย์ ผู้เป็นมารดา หรือเป็นเจ้าแม่แห่งวงการที่ดินใน ยุคแรกๆ ของการมีโครงการบ้านจัดสรรในเมืองไทย เป็นกุนซือใหญ่

จากประสบการณ์ ที่เคี่ยวกรำของคนจบ ป.4 อย่างเพียงใจ ผนึกกำลัง กับระดับปริญญาโท คณะวิศวกรรมศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยชิคาโกของ อนันต์ มีส่วนสำคัญอย่างมากๆ ในการลงรากปักฐานบริษัทนี้ให้ค่อยๆ เติบใหญ่อย่างแข็งแรง ขึ้น มีจุดขายของสินค้า ที่ชัดเจน และเป็นที่ยอมรับในเรื่องคุณภาพมาตรฐาน จนกลายเป็นบริษัทพัฒนา ที่ดินอันดับหนึ่งของเมืองไทยทุกย่างก้าวบนถนนสายนี้ของสองแม่ลูกผ่านร้อนผ่านหนาวมาแล้วหลายครั้ง แต่ไม่มีพลาดพลั้งหรือสะดุดหกล้มระหว่างทาง จนกระทั่งเข้าไปยืนหยัดอย่างผงาดในตลาดหลักทรัพย์ เมื่อปี 2535 ด้วยทุนจดทะเบียนเริ่มแรก 5 ล้านบาท และกลายเป็น 7,463 ล้านบาทในปัจจุบัน

ผลการดำเนินงานของบริษัทหลังการเข้าเป็นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ บริษัทมีรายได้รวมจาก 5,567 ล้านบาทในปี 2535 เพิ่มเป็น 10,593 ล้าน บาท ในปี 2539 และเม็ดเงินกำไรสุทธิจาก 1,452 ล้านบาท ในปี 2535 เพิ่มเป็นประมาณ 1,700-2,000 ล้านบาท อย่างต่อเนื่องมาจนถึงปี 2539

ในปี 2540 แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ ประสบผลขาดทุนเป็นครั้งแรกใน ประวัติศาสตร์ของการทำธุรกิจ และเป็นการขาดทุน ครั้งใหญ่ ที่รุนแรงที่สุดถึง 6,532 ล้านบาท และลดเหลือ 2,512 ล้ านบาท ในปี 2541 และในปี 2542 ยังขาดทุนอย่างต่อเนื่องอีก 635 ล้านบาท

สาเหตุที่ขาดทุนอย่างมโหฬารในครั้งนั้น มีผลมาจากเรื่องสำคัญ 2 เรื่อง คือ 1. เป็นผลจากการที่รัฐบาลได้ปรับอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศมาเป็นระบบลอยตัว ทำให้แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ มีหนี้ต่างประเทศเพิ่มขึ้นทันที 40% และ

ประการที่ 2 เป็นการขาดทุนจากการตัดสินใจลงทุน ในบริษัทย่อย และบริษัทร่วม ที่มีมากมายถึงเกือบ 30 บริษัทประมาณ 20 บริษัทเป็นบริษัททางด้านพัฒนา ที่ดิน และแม้จะมีการกระจายความเสี่ยงไปยังธุรกิจประเภทอื่น เช่น การเข้าไปร่วมลงทุนในบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์นิธิภัทร ที่ถูกปิดกิจการไป การเข้าร่วมลงทุนในบริ ษัทบางกอกเชนฮอสปิตอล เจ้าของโรงพยาบาลเกษมราษฎร์ หรือการเข้าไปร่วมลงทุนในบริษัทคุ้มภัย เพื่อหวังจะให้ลูกค้า ที่ซื้อบ้านใช้บริการในการประกันภัยรวมทั้งความผิดพลาดอย่างที่ไม่น่าเกิดขึ้นของการไปลงทุนในบริษัทพัฒนา ที่ดินข้ามชาติ 2 ประเทศคือ ที่ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซียด้วย

อนันต์ได้เข้าร่วมกับ manuela corporation ซึ่งเป็นบริษัทอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำของประเทศฟิลิปปินส์ และรัฐบาลของประเทศฟิลิปปินส์ตั้งบริษัทพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยในพื้นที่ 1,337 ไร่ ซึ่งเป็นโครงการหนึ่งของแผนพัฒนาแห่งชาติฟิลิปปินส์ ในเงื่อนไขที่ดีมากๆ คือ ลูกค้าจ่ายดาวน์เพียง 10% ได้ 5 เดือน ในเดือนที่ 6 สามารถกู้แบงก์ได้

ส่วน ที่อินโดนีเซีย ได้ร่วมลงทุนกับบริษัทรูมานี่ในประเทศญี่ปุ่น ลัคกี้โกลสตาร์จากประเทศเกาหลี เพื่อสร้างเมืองขนาดใหญ่ทางตอนใต้ของเมืองจาการ์ตา อนันต์มีความหวังอย่างมากๆ ว่า ผลกระทบของค่าเงินบาทลอยตัว ที่เกิดขึ้นจะได้รับการชดเชยจากยอดขาย ที่เกิดขึ้นใน 2 ประเทศนี้ ซึ่งมันก็น่า ที่จะเป็นเช่นนั้น แต่ในที่สุดความจริง ที่เกิดขึ้นก็คือ ในขณะที่บ้านบางส่วนกำลังทยอยการโอนสถาบันการเงินของทั้ง 2 ประเทศก็มีผลกระทบทางด้านการเงินผลพวง ที่เกิดขึ้นตามมาก็คือ แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ ต้องแบกรับผลขาดทุน ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2540 เป็นต้นมา และปัจจุบันกำลังทำทุกวิถีทาง ที่จะจัดการขายหุ้นใน 2 ประเทศนี้ทิ้งไป

ตัวเลขหนี้สินรวมของแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ เพิ่มเป็น 22,964 ล้านบาท ในปี 2541 ก่อน ที่จะลดลงเหลือเพียง 16,594 ล้านบาท ในปี 2542 ถึงแม้อนันต์จะมีมือการเงิน ที่เก่งกาจอย่างอดิศร ธนนันท์นราพูล แต่คราวนี้เขาตก ที่นั่งลำบากเช่นกัน

อย่างไรก็ตามเมื่อปลายปีที่ผ่านมา บริษัทได้ประสบความสำเร็จในการเจรจากับเจ้าหนี้แล้วกว่า 97% ของยอดมูลหนี้ทั้งหมด โดยใช้เวลาในการเจรจานานทั้งหมด 11 เดือน

นอกจากนั้น บริษัทยังได้ปรับโครงสร้างส่วนทุนโดยมีแผนระดมเงินทุนเพิ่มอีกไม่ต่ำกว่า 5,000 ล้านบาท เพื่อรองรับการขยายธุรกิจในอนาคต และตัดตั้งกองทุนอสังหาริมทรัพย์ และมีการจัดสรรเพิ่มทุนให้แก่ GIC REAL ESTATE PTE LTD. (GIC RE) สถาบัน ที่มีความเชี่ยวชาญ และมีชื่อเสียงทางด้านการลงทุนในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในจำนวน 94 ล้านหุ้น ในราคาหุ้นละ 14 บาท และได้จัดสรรหุ้นเพิ่มทุนให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมในอัตรา 5 หุ้น เดิมต่อ 2 หุ้นใหม่ และยังได้จัดสรรหุ้นอีก 100 ล้านหุ้นสำหรับการเพิ่มทุนในอนาคต

GIC RE เป็นบริษัท ที่หุ้นทั้งหมดโดย GOVERNMENT OF SINGAPORE INVESMENT CORPORATION PTE LE D. (GIC) ซึ่งเป็นบริษัทจัดการกองทุน ที่มีขนาดของกองทุนภายใต้การจัดการทั่วโลกกว่า 70,000 ล้านเหรียญสหรัฐ

อนันต์หวังไว้อย่างมากว่าการ เข้าร่วมเป็นพันธมิตรทางธุรกิจกันครั้งนี้ จะสามารถสนับสนุนการดำเนินงานของบริษัทในระยะยาวได้เป็นอย่างดี

บริษัท แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์จึงมีสภาพ ที่ไม่ต่างกับบริษัทอื่นๆ ที่จำเป็น ต้องรัดเข็มขัดอย่างหนัก รวมทั้งการควบคุมต้นทุนบ้านโดยปรับปรุงแบบบ้านใหม่ให้ได้ประโยชน์การใช้สอย และคุณภาพดี แต่ต้นทุนคงเดิม และยังได้ขายการลงทุนบางส่วนออกไป เช่นได้ขายเงินลงทุนในบริษัทคุ้มภัย จำกัด จำนวน 5,140,263 หุ้น จาก ที่ถืออยู่จำนวน 7,181,080 หุ้น คงเหลือเงิน ลงท ุนจำนวน 2,040,817 หุ้นทำให้สัดส่วนเงินลงทุนจากเดิมร้อยละ 20.03 เป็นร้อยละ 5.74 เท่านั้น

ในบริษัทคริสเตียนี และนีลเส็นสัดส่วนหุ้นจากเดิม 29% เหลือเพียง 7.50% หุ้นในบริษัทบางกอกเชนฮอสปิทอล จากเด ิม 40% เหลือเพียง 36% บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์แอสแซทพลัส จากเดิม 36% ลดลงเหลือ 26.1% (ดูรายละเอียดในตาราง)

นอกจากนั้น บริษัทแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ยังมีบริษัทร่วมลงทุนอีกหลาย บริษัท ที่ผูกพันเกี่ยวเ นื่องกับธุรกิจทางด้าน ที่อยู่อาศัย เช่น บริษัทสยามสินธร จำกัด บริษัทควอลิตี้เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) บริษัทสยามธานีพร็อบเพอร์ตี้ จำกัด บริษัท พื้นสำเร็จรูปพีซีเอ็ม จำกัด และบริษัทคริสเตียนี และนีลเส็น (ไทย) จำกัด (มหาชน) ซึ่งแต่ละบริษัทก็ได้รับผลกระทบจากวิกฤติการณ์ครั้ง นี้ทั้งสิ้น รวมทั้งบริษัทเวฟดีเวลลอปเม้นท์ เจ้าของโครงการร้างเวฟเพลส บริเวณแยกถนนวิทยุ ที่ถือหุ้นโดยบริษัทแปซิฟิกเรียลเอสเ ตทจำกัด ที่มี แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ถือหุ้นอยู่ประมาณ 100% บริษัทสยามสินธร เป็นบริษัทพัฒนา ที่ดินบริษัทหนึ่งของแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ ที่มีการขยายตัวอย่างน่าสนใจ มีทรัพย์สินรวมกว่าหมื่นล้านบาทใหญ่กว่าอีกหลายๆ บริษัทในตลาดหลักทรัพย์ด้วยซ้ำไป แต่ปัจจุบันก็คงต้องหยุดนิ่งอยู่กับ ที่เช่นกัน (อ่านรายละเอียดในล้อม กรอบ)

ในช่วงเวลา 2-3 ปีที่ผ่านมา แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จึงค่อนข้างเก็บเนื้อเก็บตัว ไม่มีการเปิดขายโครงการใหม่ มีแต่การขายโครงการเดิมๆ บ้าง ที่ยังขายไม่หมด และขายบ้านทิ้งดาวน์ของลูกค้าในเงื่อนไขต่างๆ ที่พยายามนำ มาเสนอ เพื่อกระตุ้นการตัดสินใจของลูกค้าตลอดมา

การเปิดตัวโครงการบ้านสร้างก่อนขายครั้งนี้ จึงเป็นการเคลื่อนไหวอีกครั้ง ที่น่าจับตามองอย่างมากๆ

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us