|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
กองทุนลงทุนในต่างประเทศ (FIF) ของ "บลจ.เอ็มเอฟซี" ที่เคลื่อนทัพออกรบนอกบ้านก่อนหน้านั้น 2 กอง ถือเป็นการส่งเงินไปขนเอาเงินตราต่างประเทศเข้าบ้านที่ไม่ค่อยหวือหวาสักเท่าไร หากเทียบกับกองใหม่ "กองทุนเปิดเอ็มเอฟซี โกลบอล อัลฟ่า ฟันด์" หรือ "เอ็มจีเอ" ที่คาดกันว่าจะมีโอกาสสร้างผลตอบแทนเหนือเบนช์มาร์กคือ "ดัชนี เอ็มเอสซีไอ"ที่เปรียบเหมือน "คัมภีร์" ลงทุนนอกประเทศ สำหรับนักลงทุนประเทศต่างๆ
กองทุน FIF กองแรกที่เปิดตัวไปก่อนนั้น คือ กองทุนเปิดเอ็มเอฟซี โกลบอล อควิตี้ ฟันด์หรือ เอ็มจีอี ที่ลงทุนในตลาดหุ้นทั่วโลก มูลค่า 40 ล้านเหรียญสหรัฐ ปีที่ผ่านมาได้ผลตอบแทนถึง 12%
ขณะที่อีกกอง กองทุนเปิดเอ็มเอฟซี โกลบอล ออพพอร์ทูนิตี้ ฟันด์หรือ เอ็มจีบี ที่เลือกลงทุนในตราสารหนี้รัฐบาลและรัฐวิสาหกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศ มูลค่า 25 ล้านเหรียญสหรัฐ ให้ผลตอบแทน 6-7% และปีนี้ก็จ่ายเงินปันผลไปแล้ว 2 ครั้ง ครั้งละ 2.5%
ส่วนกองใหม่ประเมินกันว่า ผลตอบแทนอาจมากถึง 15% โดยวัดจากแบบจำลอง ที่นำเอาตัวเลขสถิติการลงทุนในตลาดเกิดใหม่ทั่วโลก ทั้งแถบละตินอเมริกา ยุโรปและเอเชียแปซิฟิกมาเทียบกัน
กองทุน "เอ็มจีเอ" ที่ดูเหมือนเป็นการเตรียมตัวเคลื่อนทัพออกรบนอกประเทศครั้งนี้ จะต่างจากกองทุน 2 กองแรก คือเลือกลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนหุ้นระดับโลก โดยมีมูลค่าวงเงิน 10 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งจะเปิดขายหน่วยลงทุนระหว่างวันที่ 27 ตุลาคมถึง 11 พฤศจิกายน 2548 นี้ ที่มูลค่าขั้นต่ำการสั่งซื้อครั้งแรก 1 หมื่นบาท
ที่ต่างเพิ่มขึ้นไปอีกก็คือ ได้เลือกให้ "สมิธ บรานีย์" สถาบันการเงินระดับต้นๆของโลก ช่วยคัดเลือกกองทุนกว่า 2-3 พัน กองทุนในแต่ละกลุ่มประเทศมาให้ "กองทุนเอ็มจีเอ" เลือกลงทุน โดยสมิธบรานีย์เป็นคนจัดเรทติ้ง ส่งป้อนข้อมูลให้ จากนั้นทีมทำงานฝ่ายวิจัยการลงทุนต่างประเทศของบลจ.เอ็มเอฟซีจะเป็นผู้ตัดสินใจเลือกลงทุน
สมิธ บรานีย์ ปัจจุบันมีทรัพย์สินภายใต้การบริหาร 233 พันล้านเหรียญสหรัฐ และมีเค้กก้อนใหญ่ในธุรกิจให้คำปรึกษาการลงทุนสูงถึง 28%
แต่ที่ต่างจากกองทุนอื่นอย่างเห็นได้ชัดก็คือ กองทุนนี้จะไม่เกาะดัชนีเอ็มเอสซีไอ ที่เปรียบเสมือน"คัมภีร์การลงทุน" ที่ผู้จัดการกองทุนทั่วโลกต้องพกติดตัวเป็นประจำ
ถ้าจะให้ภาพชัดเจนขึ้น อาจเทียบดูได้จาก "กองทุนเอ็มจีอี" ที่เกาะติดดัชนีเอ็มเอสซีไอ ชนิดไปไหนไปกัน เช่น ถ้าบังเอิญเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดอย่าง 9-11 ผู้จัดการกองทุนจะเคลื่อนย้ายเงินสดไปไหนไม่ได้ ถึงแม้จะมีข้อดีคือระยะยาวผลตอบแทนค่อนข้างมั่นคง เพราะผู้เขียนดัชนีเลือกหุ้นไว้ในรายการ เป็นหุ้นบลูชิพเสียเป็นส่วนใหญ่
ตรงกันข้ามกองทุน“กองทุนเปิดเอ็มจีเอ” จะคล่องตัวกว่า เวลามีเหตุการณ์หนักๆไม่คาดฝัน ผู้จัดการกองทุนก็สามารถหันมากำเงินสดและโยกการลงทุนออกมาจากดัชนีเอ็มเอสซีไอได้
"ดูจากแบบจำลองการลงทุนจะพบว่า การลงทุนไปทั่วโลกผลตอบแทนอาจไม่หวือหวา 50 หรือ100% แต่โอกาสขาดทุนก็น้อย”
ศุภกร สุนทรกิจ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เอ็มเอฟซี (MFC)แสดงแบบจำลองการทำดัชนี เอ็มเอฟซี ในหลายรูปแบบโดยเน้นพุ่งลูกศรไปที่ตลาดเกิดใหม่ในแต่ละกลุ่มประเทศ เช่น ในละตินอเมริกา อย่างบราซิล ชิลี อาเจนติน่า ที่พบว่าช่วง 2 ปีก่อนตลาดค่อนข้างบูม ไม่ต่างจากในยุโรป อาทิ รัสเซีย ฮังการี และสาธารณรัฐเช็ค ที่ราคาปรับตัวแรงมาก ขณะที่สหรัฐอเมริกาตลาดแทบไม่เคลื่อนไหว แต่ปีหน้าตลาดอเมริกากลับน่าสนใจ
ปีนี้ ตลาดละตินอเมริกาให้ผลตอบแทน 26% ตลาดเกิดใหม่ในยุโรป ก็ขยับสูงถึง 50.4%ส่วนอเมริกานิ่งอยู่ที่ 2.7%
ศุภกร บอกว่า ตลาดหุ้นทั่วโลกมีไดนามิก และภาวะตลาดหุ้นแต่ละภูมิภาคก็แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง บางประเทศเช่นสหรัฐอาจปรับขึ้นดอกเบี้ยเหมือนกับบ้านเรา แต่บางประเทศที่ภาวะเศรษฐกิจไม่ดีต้องหยุดอัตราดอกเบี้ยเอาไว้เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
ดังนั้นจึงเป็นภาวะที่ทำนายได้ลำบาก เพราะถึงแม้ตลาดหุ้นใหญ่อย่างสหรัฐ ก็ยังแบ่งเป็นหุ้นเล็กและหุ้นใหญ่ ที่มีผลตอบแทนจากการลงทุนต่างกัน หุ้นโกรธ์ หรือหุ้นแวลู ก็จะเคลื่อนไหวต่างกัน
" การลงทุนที่ให้ผลตอบแทนที่ดีจึงอยู่ที่เลือกลงทุนได้ถูกจังหวะเวลา บางปีหุ้นดอทคอมบูมหุ้นโกรธ์ ก็จะเอาท์เพอร์ฟอร์ม แต่ถ้าลงทุนถูกไทม์มิ่ง รู้เทรนด์ ก็สามารถสร้างแวลูได้”
รูปแบบการลงทุนของ "กองทุนเปิดเอ็มจีเอ" จึงเน้นการเทน้ำหนักไปที่ "รีจีนัล โลเคชั่น"และไม่ลงทุนแบบ "ฟลูลี่ อินเวสเมนต์" ขณะเดียวกันก็ทำประกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนที่ใช้ต้นทุนไม่มาก เพื่อแลกกับการแกว่งตัวของผลตอบแทนให้น้อยลง
ศุภกร อธิบายว่า ต้นทุนการทำประกันความเสี่ยงจะเป็นเปอร์เซ็นต์ค่าใช้จ่ายไม่มาก หากเทียบกับการทำกำไรจากการลงทุนสูงๆแล้วมาหักออกจากความผันผวนที่เหวี่ยงขึ้นลงแรงๆ
ขณะเดียวกันการทำเฮดจิ้งหรือประกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนก็ไม่ได้ทำตลอดเวลา ต้นทุนที่เสียไปจึงคุ้มกับการพยายามรักษาไม่ให้ผลตอบแทนร่วงลงแรงๆในช่วงที่คาดคะเนภาวะเศรษฐกิจในแต่ละประเทศไม่ง่ายนัก ผสมโรงกับอัตราดอกเบี้ยที่ขยับขึ้นมาปราบเงินเฟ้อ การลงทุนที่ให้ผลตอบแทนสูงๆจึงคลำทางได้ลำบาก
โอกาสที่จะเรียนรู้การลงทุนในตลาดระดับโลก จึงอยู่ใกล้แค่เอื้อม นับตั้งแต่เทคโนโลยีข่าวสารเปิดพรมแดนการค้า เพียงแต่ต้องท่องจำให้ขึ้นใจว่า อยู่เสมอว่า "
การลงทุนทุกประเภทมีความเสี่ยง"!!!...
|
|
|
|
|