Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์28 ตุลาคม 2548
เปลวเพลิงเงินเฟ้อร้อนรุ่ม ป่วนเสถียรภาพเศรษฐกิจ             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารแห่งประเทศไทย

   
search resources

ธนาคารแห่งประเทศไทย
บัณฑิต นิจถาวร
Economics
Banking and Finance




เงินเฟ้อขยับตัวพุ่งแรงเมื่อกันยายนที่ผ่านมาส่งสัญญาณกดดันต่อเสถียรภาพในประเทศ โดยความร้อนแรงนี้ยังมีโอกาสพุ่งขึ้นสูงอีกในไตรมาส 4 ปีนี้ อันจะส่งผลกระทบต่อประเทศจนแบงก์ชาติไม่อาจนิ่งเฉยได้ ต้องดันดอกเบี้ยอาร์/พีขึ้นอีก0.50% ลดแรงกดดันและรั้งเงินเฟ้อพื้นฐานไม่ให้เกินกรอบ3.5% แต่เชื่อว่าปีหน้าระดับเงินเฟ้อจะลดลงหลังราคาน้ำมันทรงตัวไม่ผันผวน พร้อมดึงมาตรการคลังเข้ามาหนุน ออกพันธบัตรดูดสภาพคล่องส่งเสริมการออม

สัญญาณเงินเฟ้อมีมาได้พักใหญ่แล้ว แต่เริ่มเห็นภาพได้ชัดเจนมากขึ้นก็ตอนที่ภาครัฐปล่อยให้ราคาน้ำมันลอยตัวหลังจากที่อุ้มมานาน ซึ่งการปล่อยให้น้ำมันสะท้อนราคาที่แท้จริงนั้น ทำให้ผู้ผลิตสินค้ามีต้นทุนที่สูงขึ้น และต้นทุนดังกล่าวก็ได้ถูกผลักภาระมาให้ประชาชน ซึ่งหลังจากที่ราคาน้ำมันลอยตัวแล้ว อัตราเงินเฟ้อทั่วไปก็เริ่มขยับขึ้นเรื่อย ๆ จนประชาชนรับรู้ได้ถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นจากขีดความสามารถในการใช้จ่ายลดลง นั่นคือบริโภคสินค้าในปริมาณเท่าเดิมแต่มีราคาสูงขึ้น

เงินเฟ้อทั่วไปได้เร่งตัวสูงขึ้นตามความผันผวนของราคาน้ำมัน และเร่งตัวสูงสุดไปยืนอยู่ที่ 6%ในเดือนกันยายน ในขณะที่เงินเฟ้อพื้นฐานจากเดิมที่ไม่ห่วงมากนักก็ได้ส่งสัญญาณสร้างความกังวลมากขึ้น เมื่อขุนคลัง ทนง พิทยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกมาแสดงความเป็นห่วงว่าเงินเฟ้อพื้นฐานจะเกินกรอบที่กำหนดไว้ 3.5%

เพราะเงินเฟ้อพื้นฐานได้ปรับขึ้นเป็นเท่าตัวเมื่อเทียบกับช่องต้นปีที่ผ่านมาซึ่งอยู่ที่ 1.2% มาอยู่ที่ 2.3%ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นสัญญาณไม่ดีที่บ่งบอกถึงความเป็นไปได้ที่เงินเฟ้อพื้นฐานจะเกินกรอบที่กำหนดไว้ ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้นย่อมส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพและความเชื่อมั่นของนักลงทุน

บัณฑิต นิจถาวร รองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ก็มองไปในแนวทางเดียวกับขุนคลังว่ามีความเป็นไปได้ ที่เงินเฟ้อพื้นฐานจะเกินกรอบที่กำหนดไว้ ซึ่งปัจจัยที่เป็นตัวแปรสำคัญก็คือน้ำมัน อย่างไรก็ตามการปรับขึ้นดอกเบี้ยอาร์/พีในวันนี้ 0.50% ก็เป็นการลดแรงกดดันของเงินเฟ้อพื้นฐานเช่นกัน และมั่นใจว่าการปรับขึ้น0.50%ในครั้งนี้และครั้งที่แล้วจะช่วยลดแรงกดดันของเงินเฟ้อที่จะเร่งตัวสูงในไตรมาส 4 ได้ดีขึ้น ด้วยความพยายามของคณะกรรมการที่ต้องการให้เงินเฟ้ออยู่ในกรอบ

บัณฑิต บอกอีกว่า แนวโน้มที่อัตราเงินเฟ้อจะเร่งตัวสูงยังคงมีให้เห็นโดยเฉพาะในไตรมาส4ปีนี้ ทำให้คณะกรรมการนโยบายการเงินมีความเห็นตรงกันว่าต้องปรับอัตราดอกเบี้ยอาร์/พีอีก 0.50%ในการประชุมครั้งที่ 7 นี้ทำให้อัตราดอกเบี้ยอาร์/พีของของไทยยืนอยู่ในระดับเดียวกันกับเฟดที่ 3.75%

“คณะกรรมการเห็นว่าเศรษฐกิจยังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง แต่มีความเสี่ยงเรื่องของเงินเฟ้อซึ่งส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพอันมีความสำคัญมากกว่าการขยายตัวของเศรษฐกิจดังนั้นคณะกรรมการจึงขึ้นอัตราดอกเบี้ยอาร์/พีอีก0.50%เพื่อรักษาเสถียรภาพและดูแลเศรษฐกิจต่อไป”

ทั้งนี้การขยายตัวของเงินเฟ้อนั้นมีทั้งปัจจัยบวกและปัจจัยลบ การที่เงินเฟ้อขยับไม่สูงมากนักแสดงให้เห็นถึงดีมานซึ่งจะนำมาสู่การกระตุ้นให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจทางด้านการลงทุน การผลิต การจ้างงาน และรายได้ประชาชาติเพิ่มขึ้น

ในทางกลับกันถ้าเงินเฟ้อขยับขึ้นสูงเกินไปก็จะกระทบต่อการลงทุนและการผลิต เพราะต้นทุนจะสูงขึ้น ทำให้ราคาสินค้าก็จะสูงตามขึ้นไป ประชาชนจะประสบปัญหาค่าครองชีพสูงขึ้นโดยได้รับความเดือดร้อนเรื่องราคาสินค้าแพงอย่างที่เกิดขึ้นในทุกวันนี้ ซึ่งเมื่อถึงจุดนี้ทางภาครัฐก็จะยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือโดยใช้มาตรการทางการเงินและการคลัง

การปรับขึ้นดอกเบี้ยอาร์/พี2ครั้งที่ผ่านมาถือว่าค่อนข้างแรก และกลายเป็นความกังวลว่าจะกระทบต่อครัวเรื่องที่มีภาระหนี้ต้องผ่อนชำระ และการดำเนินงานของภาคธุรกิจ ซึ่งในเรื่องนี้ บัณฑิต บอกว่าทางคณะกรรมการได้พิจารณามองในทุกจุดที่เกี่ยวข้องแล้วเห็นว่าการขึ้นดอกเบี้ยในครั้งนี้จะไม่เป็นการเพิ่มภาระให้กับประชาชนและภาคธุรกิจมากนัก

อีกทั้ง เงินเฟ้อมีแนวโน้มที่จะลดลงในช่วงต้นปีหน้า หลังจากจากที่ระดับราคาน้ำมันคงตัวทำให้คณะกรรมการสามารถดูแลดอกเบี้ยที่แท้จริงของประเทศได้ชัดขึ้นว่าควรอยู่ในระดับใด

ระดับเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นถือได้ว่าประเทศไทยได้รับผลกระทบค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่นในโลก เพราะนอกจากราคาน้ำมันที่เป็นปัจจัยหลักเร่งให้เกิดเงินเฟ้อแล้ว ปัญหาภัยแล้งที่เกิดขึ้นในไทยยังเป็นอีกตัวแปรที่กดดันให้เงินเฟ้อสูงกว่าที่อื่น

และในฐานะผู้กำกับดูแลด้านการเงินอย่างแบงก์ชาติก็ไม่อาจนิ่งดูดายให้เงินเฟ้อเล่นงานเสถียรภาพ ประเทศได้ อันส่งผลให้การปรับดอกเบี้ยอาร์/พีในครั้งที่แล้วและครั้งล่าสุดขึ้นแรงกว่าที่ผ่านมา ขณะเดียวกันก็ควรถ้าหนุนด้วยมาตรการคลังออกพันธบัตรขายให้ประชาชน เพื่อดูดซับสภาพคล่องให้กับระบบ เพิ่มการออมเงินและลดการใช้จ่าย   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us