Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์28 ตุลาคม 2548
เงินเฟ้อพื้นฐานคุมไม่อยู่ปี49หลุดกรอบที่ระดับ3.7%             
 


   
search resources

Banking and Finance




ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจมหภาค ธนาคารกรุงเทพ รายงานว่า การที่อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้นจากที่เป็นอยู่ในปัจจุบันมีสาเหตสำคัญมาจากกระบวนการส่งผ่านผลกระทบของราคาน้ำมันไปยังราคาสินค้าต่าง ๆ ยังไม่สิ้นสุดลง

จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างราคาน้ำมันดีเซลกับอัตราเงินเฟ้อในอดีต พบว่า ระยะเวลาในการส่งผ่านผลกระทบจะใช้เวลาประมาณ 10-12 เดือน สำหรับอัตราเงินเฟ้อทั่วไป และ14-16เดือนสำหรับเงินเฟ้อพื้นฐาน ซึ่งสาเหตุสำคัญที่ทำให้การส่งผ่านมีความล่าช้าเนื่องมาจากมาตรการรัฐที่ใช้ในการควบคุมราคา

จากสถานการณ์ดังกล่าว ทำให้ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจมหภาค เชื่อว่ามีความเป็นไปได้สูงที่นโยบายการเงินของไทยจะตึงตัวมากขึ้นในระยะต่อไป อย่างน้อยจนถึงประมาณกลางปี 2549เพื่อสกัดกั้นการเร่งตัวของอัตราเงินเฟ้อไม่ให้สูงเกินเป้าหมายพื้นฐาน3.5% และป้องกันไม่ให้ผลตอบแทนที่แท้จริงของการฝากเงินติดลบซึ่งจะมีผลต่อการออมของประเทศ และทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดมีการขาดดุลต่อเนื่องยืดไปอีกในปี2549-2550

ในระยะที่ผ่านมาผลตอบแทนที่แท้จริงของการฝากเงินซึ่งคำนวณจากอัตราดอกเบี้ยเงินฝากระยะเวลา 1 ปี หักด้วยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยติดลบ 0.8%และ1.8%ในปี 2546และ2547 ตามลำดับ และการเร่งตัวของเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นเป็นผลทำให้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากระยะ1 ปี ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2548 ติดลบมากขึ้นเป็น2.3%

และแม้ธนาคารพาณิชย์จะเริ่มมีการปรับดอกเบี้ยขึ้นบ้างก็ตาม ตั้งแต่เดือนกันยายนที่ผ่านมา แต่ก็ยังคงติดลบอยู่ 2.1% ดังนั้นเมื่อพิจารณาจากความพยายามของแบงก์ชาติที่ต้องการเห็นดอกเบี้ยเงินฝากเป็นบวกภายในครึ่งปีแรกของปี 49 ก็ทำให้คาดได้ว่าจะมีการปรับดอกเบี้ยอาร์/พีขึ้นอีกจนอาจจะสูงถึง 4.5%ภายในไตรมาส 2 ปี 49 ซึ่งจะดึงให้ธนาคารพาณิชย์ต้องปรับดอกเบี้บเงินกู้และเงินฝากให้สูงขึ้นด้วย

นอกจากแรงกดดันจากเงินเฟ้อที่ทำให้อัตราดอกเบี้ยต้องขยับขึ้นแล้ว การปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องของอัตราดอกเบี้ยFed Funds Rate ของสหรัฐฯ และการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดก็เป็นอีกปัจจัยที่คอยกดดัน อีกทั้งการใช้นโยบายกระตุ้นอุปสงค์จากภาครัฐที่ผ่านมาก็จะส่งผ่านการใช้นโยบายการเงินเพื่อแก้ปัญหาเงินเฟ้อไม่ได้ผลเท่าที่ควร ซึ่งในกรณ๊นี้ดอกเบี้ยอาจต้องเพิ่มสูงกว่าที่ควรจะเป็นเพื่อชะลอเงินเฟ้อที่เกิดจากการกระตุ้นอุปสงค์ด้วย

สถานการณ์ที่เกิดขึ้นสรุปได้ว่า เงินเฟ้อทั่วไปและเงินเฟ้อพื้นฐานยังมีแนวโน้มเพิ่มต่อไปได้อีกในระยะ9-12 เดือนข้างหน้า ซึ่งเป้นผลกระทบจากราคาน้ำมันจนอาจทำให้เงินเฟ้อทั่วไปเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนสูงขึ้นถึง7-8%ในบางเดือนของครึ่งแรกปี 2549

ในขณะที่เงินเฟ้อพื้นฐานอาจเกินกรอบกำหนด 3.5% อยู่ที่ 3.7%ในช่วงไตรมาส 2 ปี 2549 จึงยังมีความเป็นไปได้สูงที่อัตราดอกเบี้ยจะปรับขึ้นอีกในช่วงที่เหลือของปี   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us