|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ดอกเบี้ยบ้านพ่นพิษภายในกันยายนเดือนเดียว ธอส.ปรับขึ้น 0.5% ส่งผลดอกเบี้ยกู้โดดไปที่ 6.75% สูงกว่าแบงก์พาณิชย์อยู่ 50 สตางค์ ส่งผลลูกหนี้ ธอส.ต้องจ่ายแพง-เป็นหนี้นานกว่า เหตุต้นทุนสินเชื่อแพงกว่าแบงก์ทั่วไป ผู้ที่ยังต้องผ่อนบ้านอยู่อาจจะรู้สึกแปลกใจว่า ใบเสร็จรับเงินที่แจ้งมาในช่วง 1-2 เดือนอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ขยับขึ้นอย่างต่อเนื่อง หรืออาจจะเรียกได้ว่าภายในรอบ 30 วัน ดอกเบี้ยปรับเพิ่มขึ้น 2 ครั้ง ครั้งละ 0.25% เบ็ดเสร็จผู้กู้ต้องแบกรับกับอัตราดอกเบี้ยใหม่ที่เพิ่มขึ้นจากเดิมอีก 0.5%
ทั้งนี้เป็นผลจากธนาคารแห่งประเทศไทยได้ปรับอัตราดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตร 14 วัน ตั้งแต่ 29 เมษายนเป็นต้นมา แต่บรรดาธนาคารพาณิชย์ต่างเริ่มปรับอัตราดอกเบี้ยทั้งเงินกู้และเงินฝากขึ้นในช่วงเดือนกันยายนที่ผ่านมา ดอกเบี้ยเงินกู้ที่ปรับเพิ่มขึ้นนั้น ผู้ผ่อนบ้านที่ยังอยู่ระหว่างดอกเบี้ยคงที่ตามสัญญาคงไม่ได้รับผลกระทบใด ๆ แต่คนที่ผ่อนชำระที่อยู่ในเงื่อนไขดอกเบี้ยลอยตัวคงต้องทำใจและเตรียมปรับตัวสำหรับค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น
กู้ ธอส. 6.75%
สำหรับสถาบันการเงินที่เป็นผู้ให้สินเชื่อบ้านรายใหญ่ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ ที่ในช่วงครึ่งแรกของปี 2548 ปล่อยสินเชื่อไปแล้ว 5.72 แสนล้านบาท ตามมาด้วยธนาคารอาคารสงเคราะห์(ธอส.) ซึ่งเป็นธนาคารที่มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อช่วยเหลือให้คนมีบ้าน ปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัย 4.33 แสนล้านบาท หากเทียบเฉพาะรายธนาคารถือว่า ธอส. เป็นธนาคารที่ปล่อยสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยรายใหญ่ที่สุดของประเทศไทย
ธอส. ได้ชื่อว่าเป็นแหล่งกู้เงินหลักของผู้ต้องการมีบ้าน โดยเฉพาะบ้านเอื้ออาทรล้วนแล้วต้องใช้บริการของ ธอส. ทั้งสิ้น รวมถึงประชาชนทั่วไปที่ต้องการมีบ้านเป็นของตัวเอง
ในรอบ 1-2 เดือนที่ผ่านมาสถาบันการเงินส่วนใหญ่ต่างปรับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เพิ่มขึ้นตามทิศทางของดอกเบี้ยในตลาด เมื่อพิจารณาเฉพาะดอกเบี้ยเงินกู้ยืมสำหรับผู้ซื้อที่อยู่อาศัย สถาบันการเงินทั่วไปมักจะใช้อัตราลูกค้าเงินกู้รายใหญ่ชั้นดี (Minimum Loan Rate) หรือ MLR ที่ปัจจุบันคิดที่ 6.25%
ขณะที่ดอกเบี้ย MLR ของ ธอส.นั้น ใช้กับผู้ประกอบการทั่วไปและผู้กู้สร้างแฟลต คิดที่อัตรา 6% ส่วนที่คิดจากผู้ซื้อที่อยู่อาศัยนั้น ธอส. คิดจากลูกค้าในอัตราลูกค้ารายย่อยชั้นดี(Minimum Retail Rate) หรือ MRR ปัจจุบันคิดที่อัตรา 6.75% ถือว่าสูงที่สุดเมื่อเทียบกับธนาคารพาณิชย์ของไทย
จากการสอบถามธนาคารอาคารสงเคราะห์ตอบว่า "เราปรับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ช้าที่สุดในระบบแล้ว โดยปรับขึ้นจากเดิมอีก 0.25% เมื่อ 1 กันยายน 2548 และปรับอีกครั้งเมื่อ 30 กันยายนที่ผ่านมา เป็นไปตามสภาพตลาด"
ต้นทุนแพง
แหล่งข่าวจากวงการสินเชื่อกล่าวว่า ในอดีตดอกเบี้ยสำหรับผู้กู้ซื้อบ้านของ ธอส.จะต่ำกว่าดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ทั่วไปรวมทั้งธนาคารออมสินอยู่ราว 0.5% แต่ในระยะหลังสถานการณ์เริ่มเปลี่ยนไป ดอกเบี้ยของ ธอส.เริ่มสูงกว่าดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการแข่งขันกันปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ที่ต้องแย่งชิงลูกค้าดีและดอกเบี้ยเงินฝากในระยะที่ผ่านมาต่ำมาก
ส่วน ธอส. นั้น ต้นทุนในการปล่อยสินเชื่อในระยะหลังค่อนข้างสูง ทั้งจากดอกเบี้ยเงินฝากที่ให้สูงกว่าธนาคารพาณิชย์ ที่สำคัญคือเงินกู้ยืมระยะยาวของ ธอส.หลายรายการให้อัตราดอกเบี้ยที่ค่อนข้างสูง ข้อมูลจากงบการเงินปี 2547 ระบุว่า พันธบัตรเงินกู้-ธอส. วงเงิน 26,000 ล้านบาท ที่เสนอขายให้กับธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงิน ที่ครบกำหนดระหว่างปี 2548-2552 กำหนดดอกเบี้ยไว้ตั้งแต่ 1.75-9.45% หรือเงินกู้ยืมจากกระทรวงการคลัง 200 ล้านเหรียญสหรัฐ ครบกำหนดปี 2550 อัตราดอกเบี้ย 7.75% เป็นต้น
เมื่อต้นทุนในการดำเนินงานสูง ก็ต้องผลักภาระดังกล่าวให้กับลูกค้า ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติของผู้ประกอบการ ต้องไม่ลืมว่าภาพของ ธอส. นั้นเป็นสถาบันการเงินที่ช่วยเหลือให้คนมีรายได้ปานกลางจนถึงรายได้น้อยมีบ้านเป็นของตนเอง ที่ผ่านมา ธอส. ได้สนับสนุนให้กับผู้ที่ต้องการซื้อบ้านของการเคหะแห่งชาติ ที่สร้างบ้านให้คนมีรายได้น้อย หรือปล่อยกู้ให้กับบรรดาข้าราชการที่ต้องการมีบ้านในหลายหน่วยงาน รวมทั้งนโยบายของรัฐบาลไทยรักไทยที่ผุดโครงการบ้านเอื้ออาทรขึ้นมาทั่วประเทศที่ยังโชคดีที่ได้ดอกเบี้ยคงที่ 5 ปี
ดังนั้นอัตราดอกเบี้ยกู้ลอยตัวของ ธอส. วันนี้ อาจจะทำให้ลูกค้าของ ธอส. ต้องคิดหนัก โดยเฉพาะลูกค้าทั่วไปที่ผ่านเงื่อนไขดอกเบี้ยคงที่มาแล้ว เมื่อเปรียบเทียบกับสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ที่คิดอัตรา 6.25% กับ 6.75% ของ ธอส. ในวงเงินกู้ 500,000 บาท ระยะเวลากู้ 20 ปี จะมีส่วนต่างของค่างวดราว 200 บาทต่อเดือน หรือ 2,400 บาทต่อปี ถือว่าเป็นเงินจำนวนไม่น้อยสำหรับผู้มีรายได้น้อย
อย่างไรก็ตามคงต้องรอดูว่าดอกเบี้ยเงินกู้ของธนาคารพาณิชย์จะปรับขึ้นมาเท่ากับ ธอส. หรือไม่ เพราะที่ผ่านมา ธอส.ได้ปล่อยสินเชื่อค่อนข้างมากซึ่งส่วนใหญ่เป็นการสนับสนุนโครงการของรัฐบาล
ธอส.ส่งเสริมให้คนมีบ้าน
"ธนาคารได้ทำหน้าที่สานฝันให้กับประชาชนผู้มีรายได้น้อยถึงปานกลางให้มีบ้านเป็นที่อยู่อาศัยของตน ตามอุดมการณ์และเจตนารมณ์ของธนาคารที่มีมาตั้งแต่เริ่มดำเนินการในปี พ.ศ.2496" วิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ ประธานกรรมการธนาคารอาคารสงเคราะห์ จากรายงานประจำปี 2547
ธนาคารอาคารสงเคราะห์ เป็นสถาบันการเงิน สังกัดกระทรวงการคลังก่อตั้งขึ้นโดยพระ ราชบัญญัติธนาคารอาคารสงเคราะห์ พ.ศ.2496 ซึ่งกำหนดให้ ธนาคารอาคารสงเคราะห์เป็นหน่วย งานของรัฐบาล ทำหน้าที่ช่วยเหลือทางการเงินให้กับประชาชน ได้มีที่อยู่อาศัยตามสมควรแก่อัตภาพ โดยการให้กู้ยืมเงิน และ จัดสรรที่ดินเพื่อก่อสร้างที่อยู่อาศัย ต่อมาในปี พ.ศ.2515 สมัยรัฐบาลจอม พลถนอม กิตติขจร ได้ตั้งหน่วยงานการเคหะแห่งชาติขึ้นเพื่อรับผิดชอบการ ดำเนินงานในอันที่จะ ให้ประชาชนได้มีที่อยู่ อาศัยและได้โอนกิจการงานบางอย่าง ที่เกี่ยวกับการให้เช่าซื้อที่ดินหรืออาคาร ของธนาคารอาคารสงเคราะห์ไปขึ้นอยู่กับการเคหะแห่งชาติ
ดังนั้น กิจการของธนาคารสงเคราะห์ จึงจำเป็นต้องมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงใหม่เพื่อให้ สอดคล้องและประสานกันกับกิจการของการเคหะแห่งชาติด้วยเหตุนี้ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ตาม พระราชบัญญัติธนาคารอาคารสงเคราะห์พ.ศ.2496 ซึ่งได้แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะปฏิวัติฉบับ ที่ 317 จึงเป็นหน่วยงานของรัฐบาลที่ประกอบธุรกิจในการส่งเสริมและช่วยเหลือประชาชนนำเงินไป ลงทุนเกี่ยวกับการสร้างอาคารและที่ดินโดยตรงทำหน้าที่เสมือนสื่อกลางในการนำเงินไปใช้ประโยชน์ ์ในกิจการเคหะและเป็นสถาบันการเงินที่ดำเนินธุรกิจ โดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะอย่างซึ่งแตกต่างจาก สถาบันการเงินอื่นๆทั่วไป
งานหลักของธนาคารอาคารสงเคราะห์ที่สำคัญ คือ ช่วยเหลือทางด้านการเงินเพื่อให้ประชาชนได้มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองโดยมีการระดมทุนโดยวิธีต่างๆ อาทิเช่น ขอความช่วยเหลือจากรัฐบาลออกพันธบัตรหุ้นกู้หรือกู้ยืมเป็นครั้งคราวและ รับเงินฝากจากผู้ออมทรัพย์ เป็นต้น เพื่อให้มีกำลังพอที่จะดำเนินงานของ ธนาคารฯ ต่อไปได้ในปัจจุบันนี้ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ นอกจากจะนำเงินไปใช้ประโยชน์ โดยให้ประชาชนแต่ละรายกู้ยืมแล้วยังต้องช่วยเหลือทางการเงิน แก่การเคหะแห่งชาติ และเอกชนผู้ลงทุนประกอบกิจการเคหะในรูปของเงินให้กู้ยืมด้วยตลอดจน ให้บริการ ในด้านการค้ำประกันและการซื้อลดเครดิตที่เกี่ยวกับกิจการเคหะ
|
|
|
|
|