Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน28 ตุลาคม 2548
ทนงชี้ค่าบาทเหมาะสมที่40             
 


   
search resources

ทนง พิทยะ
Economics




"ทนง พิทยะ "กำชับแบงก์ชาติดูแลบาทไม่เกิน 40 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ เอื้อต่อการส่งออก เพิ่มบาทบทแบงก์ชาติในการดูแลเสถียรภาพของประเทศ พร้อมห่วง"เมกะโปรเจกต์"ดีเลย์ ฉุดอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ระบุหากลงทุนตามแผนจีดีพีในช่วง 4 ปีข้างหน้าขยายตัวกว่า 5.5% แน่ ยันไม่มีปัญหาเรื่องแหล่งเงินทุน พร้อมคุมหนี้สาธารณะไม่ให้เกิน 50% ของจีดีพีตามกรอบ ฟุ้งสถาบันการเงินต่างประเทศพร้อมปล่อยกู้ ขณะที่"ศุภวุฒิ"ชี้ไทยเป็นประเทศที่น่าลงทุนอันดับ 3 ในภูมิภาคเอเชีย รองจากไต้หวัน และเกาหลี แต่ยังมีปัจจัยเสี่ยงในเรื่องของราคาน้ำมัน เนื่องจากไทยต้องพึ่งพาการนำเข้าน้ำมันสูงถึง 6% ของจีดีพี

นายทนง พิทยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า มีความเป็นห่วงเรื่องความล่าช้าในการก่อสร้างโครงการสาธารณูปโภคขนาดใหญ่ (เมกะโปรเจกต์) มากกว่าเรื่องของการจัดหาแหล่งเงินทุน เพราะวงเงินลงทุน 1.7 ล้านล้านบาท จะมาจากงบประมาณถึง 40% หรือประมาณกว่า 6 แสนล้านบาท ซึ่งอยู่ใน 25% ของงบพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศอยู่แล้ว นอกจากนี้ ยังมาจากเงินสะสมของรัฐวิสาหกิจเองอีกประมาณ 2.2 แสนล้านบาท และกู้เงินจากในประเทศประมาณ 4 แสนล้านบาท ขณะที่กู้เงินจากต่างประเทศเพียง 3.05 แสนล้านบาท เท่านั้น ซึ่งในส่วนของเงินกู้ต่างประเทศ และการนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศนี้ อาจจะมีการตกลงเงื่อนไขการซื้อขายแบบแลกเปลี่ยน(บาร์เตอร์เทรด) ด้วยก็ได้

"ผมไม่ต้องการให้โครงการดีเลย์ออกไป ดังนั้นต้องการให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนช่วยบริหารจัดการตัวโครงการให้เดินได้ ไม่สะดุด อยากให้เอกชนยอมรับกติกา และยอมรับผลการประมูล อย่ามีปัญหา ขณะที่กระทรวงการคลัง จะดูแลและบริหารจัดการเรื่องเงินให้ดีที่สุด"นายทนงกล่าว

นายทนง กล่าวว่า หากประเทศไทยสามารถลงทุนเมกะโปรเจกต์ ได้ตามแผนที่วางไว้ จะทำให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ (จีดีพี) ในช่วง 4 ปี ข้างหน้า โตในระดับ 5.5% และกระทรวงการคลังจะดูแลฐานะทางการคลังให้เป็นไปตามกรอบการคลังยั่งยืนที่วางไว้คือ หนี้สาธารณะต่อจีดีดี ไม่เกิน 50% ภาระหนี้ต่างประเทศต่องบประมาณไม่เกิน 15% งบลงทุนไม่ต่ำกว่า 25% ของงบประมาณทั้งหมด และดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลไม่เกิน 2.5% ของจีดีพี

ทั้งนี้ ในเรื่องของเสถียรภาพทางเศรษฐกิจนั้น เป็นสิ่งที่กระทรวงการคลังจะให้ความสำคัญ เป็นอันดับแรก เพื่อเป็นเกราะป้องกันแรงกระแทกจากปัจจัยเสี่ยงภายนอก ซึ่งกระทรวงการคลังจะดูแลเรื่องการจัดเก็บภาษีให้มีประสิทธิภาพเหมือนเช่นที่ผ่านมา และจะพยายามทำงบประมาณสมดุลให้ได้ต่อเนื่องในปีช่วง 4 ปี ข้างหน้า (2549 - 2552) หลังจากที่สามารถทำงบประมาณสมดุลได้ 1.25 ล้านล้านบาท ในปีงบประมาณ 2548 และยังสามารถจัดเก็บรายได้ได้เกินเป้าดังกล่าวอีกประมาณ 5,000 ล้านบาทด้วย

World Bank พร้อมหนุนเมกะโปรเจกต์

นายทนงกล่าวภายหลัง ตัวแทนจากธนาคารโลก(World Bank) เข้าพบ ในช่วงเช้าวานนี้ (27 ต.ค.) ว่า ได้มีการหารือกันใน 2 ประเด็น หลัก คือ เรื่อง เมกะโปรเจกต์ และเรื่องกองทุนให้ความช่วยเหลือประเทศเพื่อนบ้านที่ไทยเพิ่งจัดตั้งขึ้น โดยในเรื่องแรก ทาง WorldBank ได้เสนอเข้ามามีส่วนร่วมทางด้านการเงินเพื่อสนับสนุนโครงการขณะที่ทางไทยได้ขอผู้เชี่ยวชาญร่วมเป็นที่ปรึกษา เพราะ World Bank มีผู้เชี่ยวชาญทางด้านนี้อยู่

"ตอนนี้ประเทศไทยค่อนข้างเนื้อหอม สถาบันการเงินระหว่างประเทศ สนใจให้เรากู้ ทั้ง เจบิกไอเอ็มเอฟ และ World Bank ซึ่งเราก็บอกไปว่า ถ้ามีช่องทางที่ World Bank จะเข้ามามีส่วนร่วมทางด้านการเงินลงทุนในโครงการ เราก็พร้อมจะพิจารณา แต่ต้องเป็นในลักษณะของ Partner คือ จะต้องมีเงื่อนไขการกู้ที่ดี ไม่ใช่ขอกู้ในลักษณะขอความช่วยเหลือ เหมือนในอดีต"นายทนง กล่าว

ส่วนเรื่องการช่วยเหลือประเทศเพื่อนบ้านนั้น ทาง World Bank มีการช่วยเหลือลักษณะนี้อยู่ และมีเครือข่ายอยู่แล้ว ดังนั้นจึงต้องการขอผู้เชี่ยวชาญจาก World Bank เข้ามาช่วยให้คำแนะนำในด้านต่างๆโดยเฉพาะการเข้าไปให้ความช่วยเหลือทางด้านเศรษฐกิจแก่ประเทศเพื่อนบ้าน และการช่วยติดต่อกับประเทศที่ต้องการรับความช่วยเหลือจากไทย ซึ่งทาง World Bank ก็พร้อมให้การสนับสนุน

กำชับธปท.ดูแลค่าบาทระดับ 40 บาท/เหรียญเอื้อส่งออก

อย่างไรก็ตาม ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ต้องเข้ามามีบทบาทในการดูแลเสถียรภาพของประเทศด้วย โดยเฉพาะในเรื่องของอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานไม่ให้เกินเป้าหมายเงินเฟ้อ 3.5% เพราะในปีหน้า หากราคาน้ำมันยังอยู่ในระดับใกล้เคียงกับปีนี้ เงินเฟ้อทั่วไปจะไม่เปลี่ยนแปลงมากนักอยู่แล้ว นอกจากนี้ ยังต้องการให้ ธปท.ดูแลอัตราแลกเปลี่ยนให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมและเป็นประโยชน์กับผู้ส่งออกไทย

"ในเป้าหมายการส่งออก 6 หมื่นล้านบาท ตั้งแต่เดือน กรกฎาคม จนถึงสิ้นปีนี้ ผมเชื่อมาตลอดว่าเป็นไปได้ เพราะตอนนี้มูลค่าการส่งออกในเดือน กันยายน เกิน 10,000 ล้านบาทแล้ว และหากในช่วง 3 เดือนที่เหลือเขายังผลิตได้เต็มกำลังการผลิตอย่างนี้ ซึ่งทางผู้ส่งออกได้บอกมาว่า ถ้าหากค่าเงินบาทไม่แข็งจนเกินไป ไม่เกิน 40 บาทต่อดอลลาร์ ผลิตเท่าไหร่ก็ขายหมด ดังนั้น ทางแบงก์ชาตอคงต้องดูแลเรื่องนี้ให้ดีด้วย"นายทนง กล่าว

นายทนง กล่าวอีกว่า เชื่อว่า ทาง ธปท.จะมีการปรับประมาณการจีดีพี เพิ่มขึ้น ส่วนประมาณการของกระทรวงการคลัง ที่ตั้งไว้ในระดับ 4.1-4.6% นั้น เชื่อว่าเป็นการประมาณการที่ใกล้เคียงความเป็นจริงแล้ว ทั้งนี้โดยส่วนตัวเชื่อว่า จีดีพี ในปี 2548 นี้ จะขยายตัวได้สูงกว่า 4.5% อย่างแน่นอน และอาจจะสูงถึง 5% ได้ ส่วนปีหน้า เชื่อว่า จีดีพีจะโตในระดับไม่เกิน 5% และอาจจะสามารถผลักดันให้โตถึง 5.5% ได้

ชี้ไทยน่าลงทุนเป็นอันดับ3ในภูมิภาคเอเชีย

นายศุภวุฒิ สายเชื้อ กรรมการผู้จัดการสายงานวิจัย บริษัท ภัทร จำกัด (มหาชน) กล่าวในงานสัมมนา "เปิดแนวรุกใหม่ของการลงทุนในต่างประเทศ" จัดโดยบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนเอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) ว่า ภาพรวมเศรษฐกิจโลกในปี 2549 จะชะลอตัวลง โดยเศรษฐกิจสหรัฐจะชะลอลงแรงกว่าประเทศอื่น อีกทั้งมีจุดเปราะบาง โดยเฉพาะต้องระมัดระวังฟองสบู่ของอสังหาริมทรัพย์ที่ใกล้จะแตก ทั้งนี้ คาดว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะเติบโตได้ 2.7% ส่วนยุโรป เศรษฐกิจจะเติบโตได้ 1.5-1.6% ส่วนประเทศในเอเชีย-แปซิฟิก ไม่นับรวมญี่ปุ่นจะเติบโตร้อยละ 6.5

สำหรับแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 2549 คาดว่า เศรษฐกิจยังขยายตัวในระดับที่ใช้ได้อยู่ที่ 4% ส่วนอัตราดอกเบี้ยจะปรับเพิ่มขึ้นเร็ว จากที่ระดับ 3.75% ในปัจจุบัน จะเป็น 4% ในสิ้นปีนี้ และขึ้นไปอยู่ที่ 4.5% ในปี 2549 ด้านเงินเฟ้อปีนี้จะอยู่ระดับ 4.5% และจะลดลงในปีหน้าเหลือ 3.5% จากราคาสินค้าและค่าไฟฟ้าที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต ส่วนอัตราแลกเปลี่ยน ขณะนี้อยู่ในระดับ 40.9 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ คาดว่าปีนี้จะอยู่ที่ 41 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ต่อเนื่องจนถึงปีหน้า จึงถือว่ามีเสถียรภาพ

ส่วนปัญหาราคาน้ำมันแพงนั้น คาดว่าราคาน้ำมันแนวโน้มมีแต่จะลดลง จากปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 60 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล จะลดลงเหลือประมาณ 50 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล หรือลดลงประมาณ 20% อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาถึงปัจจัยความเสี่ยงจากปัญหาน้ำมันแล้ว ประเทศไทยมีความเสี่ยงจากราคาน้ำมันมากที่สุดในภูมิภาคนี้ เพราะมีการนำเข้าน้ำมันคิดเป็น 6% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี)

นายศุภวุฒิ กล่าวว่า ประเทศไทยจะเป็นประเทศที่น่าลงทุนเป็นอันดับที่ 3 ของภูมิภาค รองจากไต้หวัน และเกาหลี เป็นผลสืบเนื่องจากการบริโภคที่เพิ่มสูงขึ้น โครงการลงทุนขนาดใหญ่ หรือเมกะโปรเจกต์ แต่จะมีความเสี่ยงจากดอกเบี้ยที่ปรับเพิ่มขึ้นมาก ขณะเดียวกัน ไทยก็จะได้รับผลกระทบจากการที่เศรษฐกิจสหรัฐชะลอตัวลง ทำให้ไทยส่งออกลดลงตามไปด้วย และการส่งออกที่ลดลงก็จะกลายเป็นแรงกดดันที่มีผลต่อกาารเติบโตของการบริโภคในประเทศได้ ทั้งนี้ คาดว่าในปีหน้า การส่งออกของไทยจะอยู่ระดับ 15% ไม่ใช่ 20% อย่างที่รัฐบาลคาดการณ์ไว้

สำหรับแนวโน้มตลาดหุ้นในปีหน้า ดัชนีมีโอกาสปรับตัวขึ้นแตะระดับ 880 จุดได้ โดยมีระดับผลตอบแทนจากส่วนผู้ถือหุ้น (ROE) อยู่ที่ระดับ 15% จากปัจจุบันอยู่ที่ 18% โดยมองว่าตลาดหุ้นไทยยังมีศักยภาพการเติบโตอีกมาก ซึ่งปัจจุบันมีอัตราส่วนต่อกำไรต่อหุ้น (พี/อี) อยู่ระดับต่ำ ผลตอบแทนจากเงินปันผลสูง

ด้านนายศุภกร สุนทรกิจ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม (บลจ.) เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ตัวแปรหลักที่จะกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทยในระยะยาวได้คือ โครงการเม็กกะโปรเจกต์ 1.7 ล้านล้านบาท ซึ่งถ้าโครงการนี้มีความชัดเจนมากขึ้นว่าจะดำเนินการกันอย่างไร เชื่อว่าจะส่งผลต่อภาพรวมเศรษฐกิจและตลาดหุ้นในทันทีแม้ว่ายังไม่ลงมือทำก็ตาม   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us