Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน28 ตุลาคม 2548
ไอเอ็มเอฟชี้จีดีพีไทย3.5% จี้ปฏิรูปสถาบันการเงิน             
 


   
search resources

Economics




"ไอเอ็มเอฟ" ประเมินทบทวนประจำปีเศรษฐกิจไทย ระบุปีนี้จีดีพีขยายตัว 3.5% เรียกร้องให้รัฐบาลไทยเร่งดำเนินการปฏิรูปภาคบรรษัทและภาคธนาคารให้เสร็จสิ้น ขณะที่ผู้ว่าฯธปท.มั่นใจจีดีพีไทยเกิน 3.5% เตรียมแถลงรายละเอียดวันนี้

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ระบุในรายงานซึ่งเผยแพร่วานนี้(27)ว่า ระหว่างการประเมินทบทวนประจำปี คณะกรรมการบริหารไอเอ็มเอฟชี้ว่า เศรษฐกิจของไทยสามารถเติบโตด้วยอัตราอันสดใส 6.1% ในปี 2004 ทั้งที่ต้องประสบปัญหาราคาน้ำมันแพง, การระบาดของไข้หวัดนกหลายระลอก, และความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้

คณะกรรมการบริหารไอเอ็มเอฟ "ชมเชยทางการผู้รับผิดชอบ(ของไทย) สำหรับการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจมหภาคอย่างสุขุมรอบคอบ ซึ่งสนับสนุนให้เศรษฐกิจไทยเติบโตอย่างแข็งแกร่งในปี 2004 และช่วยรักษาอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ" รายงานกล่าว

สำหรับปีนี้ ไอเอ็มเอฟพยากรณ์ว่า เศรษฐกิจไทยจะเติบโตด้วยอัตราช้าลง คืออยู่ในระดับ 3.5% ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานจะเร่งตัวขึ้นเป็น 1.5% จาก 0.4% ในปีที่แล้ว

การที่ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ(จีดีพี)ปีนี้จะขยายตัวช้าลง เนื่องจากปัจจัยจำนวนมาก อาทิ ราคาพลังงานที่สูงขึ้น, เศรษฐกิจบรรดาคู่ค้าของไทยต่างชะลอตัว, การส่งออกผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์อยู่ในวัฏจักรช่วงขาลง, ภัยแล้งที่ยืดเยื้อ, และความเสียหายจากคลื่นยักษ์สึนามิในเดือนธันวาคมปีที่แล้ว

"ในระยะยาวนานออกไปแล้ว ลู่ทางสำหรับการเติบโตได้อย่างยั่งยืน จะขึ้นอยู่กับการปฏิบัติการคืบหน้าต่อไปอีก ในเรื่องการแก้ไขความอ่อนแอเชิงโครงสร้างซึ่งยังมีอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคบรรษัทและภาคธนาคาร" รายงานแจกแจงต่อ

ถึงแม้ธนาคารต่างๆ มีฐานะการเงินแข็งแกร่งขึ้นในระยะไม่กี่ปีหลังมานี้ แต่รายงานก็กล่าวด้วยว่า ธนาคารเหล่านี้ยังคงมีภาระเรื่องเงินกู้ไม่ก่อรายได้ (เอ็นพีแอล) ในระดับสูง

ส่วนบริษัทต่างๆ ก็จำเป็นต้องดำเนินการให้มากขึ้นเพื่อลดระดับหนี้สินของพวกเขาลง ขณะที่บริษัทจำนวนหนึ่งซึ่งได้รับอนุมัติให้ปรับโครงสร้าง หรือได้รับอนุมัติให้นำทรัพย์สินออกมาขายเพื่อยุบเลิกกิจการ ปรากฏว่าทางบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย(ทีเอเอ็มซี) ก็ยังมิได้จัดการให้เสร็จสิ้น

คณะกรรมการบริหารไอเอ็มเอฟตั้งข้อสังเกตด้วยว่า รัฐบาลไทยได้เผยแผนการที่จะใช้จ่ายงบเงิน 1.7 ล้านล้านบาท ในโครงการ "เมกะโปรเจ็กต์" ช่วงปี 2005-09

โครงการเหล่านี้จะต้องใช้เงินลงทุนภาคสาธารณะคิดเป็นประมาณ 9% ของจีดีพี ซึ่งเกือบจะถึงระดับสูงสุดที่ไทยเคยลงทุนมาในอดีต แต่ก็ยังต่ำกว่าขีดสูงสุดซึ่งเกิดขึ้นในช่วงก่อนวิกฤตทางการเงิน ที่ไทยลงทุนสูงลิ่วถึงราว 12% ของจีดีพี

ม.ร.ว. ปรีดิยาธร เทวกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า การประมาณการขยายตัวของธปท.ที่จะรายงานในรายงานแนวโน้มเงินเฟ้อวันนี้ (28 ต.ค.) จะสูงกว่าที่ไอเอ็มเอฟ ประเมินไว้ที่ระดับ 3.5% อย่างแน่นอน

สำหรับภาวะเงินลงทุนนั้น ปัจจุบันมีนักลงทุนนำเงินเข้ามาลงทุนในประเทศไทยเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะเงินทุนประเภทสินเชื่อเพื่อใช้ในการชำระค่าสินค้า(Trade credits) มีจำนวนมากขึ้น ทั้งนี้เงินทุนที่ไหลเข้าส่วนใหญ่เป็นเงินทุนระยะยาวมากกว่าระยะสั้น โดยตั้งแต่ช่วงต้นปี 2548 ถึงเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาพบว่าประเทศไทยมีเงินทุนเคลื่อนย้ายสุทธิ 4,080 ล้านเหรียญสหรัฐ   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us