Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2545








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2545
Primal Leadership พลังของความฉลาดทางอารมณ์             
 

   
related stories

คุณจะได้เรียนรู้อะไรจากเรื่องย่อนี้
การหัวเราะกับวงจรเปิดของสมอง
แนะนำผู้ประพันธ์
ความเป็นผู้นำกับโครงสร้างของสมอง
ผู้นำแบบให้วิสัยทัศน์
เมื่อผู้นำใช้ตัวเองเป็นมาตรฐานมากเกินไป
การเปลี่ยนแปลงของผู้นำคนหนึ่ง
คุณเป็นกบที่กำลังถูกต้มหรือเปล่า
การเปลี่ยนแปลงองค์กรของ Shoney




ชื่อหนังสือ : Primal Leadership

ผู้แต่ง : Daniel Goleman, Richard Boyatzis และ Annie McKee

สำนักพิมพ์ : Harvard Business School Press

จำนวนหน้า : 306

ราคา : 26.95 ดอลลาร์สหรัฐ

ส า ร บ า ญ

ความฉลาดทางอารมณ์เป็นองค์ประกอบสำคัญของความเป็นผู้นำ

เหตุใดผู้นำที่ดีจึงต้องรู้อารมณ์ของคนอื่น

สี่มิติของความฉลาดทางอารมณ์

คลังความรู้ของความเป็นผู้นำ

ปลุกปั้นผู้นำที่มีความฉลาดทางอารมณ์

แรงจูงใจให้เปลี่ยนแปลง

สร้างองค์กรที่มีความฉลาดทางอารมณ์

ความเป็นจริงกับเป้าหมายที่ใฝ่ฝัน

รักษาการเปลี่ยนแปลงให้ยั่งยืน

เนื้อหาโดยสรุปของเรื่องย่อนี้

ผู้นำที่ยิ่งใหญ่สามารถเปลี่ยนแปลงเราได้ พวกเขากระตุ้นให้เรารู้ว่าเรารักอะไรและสร้าง แรงบันดาลใจให้เราแสดงความสามารถที่ดีที่สุดออกมา เวลาที่เราพยายามอธิบายว่าผู้นำที่ยิ่งใหญ่ทำเช่นนั้นได้อย่างไร เรามักจะให้ความสำคัญแต่เรื่องกลยุทธ์ วิสัยทัศน์ หรือความคิด อ่านอันเปี่ยมพลังของพวกเขาเท่านั้น แต่ความจริงแล้วความเป็นผู้นำเป็นเรื่องพื้นฐานยิ่งกว่านั้น มากนัก ผู้นำที่สามารถเป็นผู้นำที่ยิ่งใหญ่ได้ เพราะพวกเขามีความเป็นผู้นำที่มีอำนาจเหนืออารมณ์ความรู้สึกของคนอื่น (primal leadership)

ผู้นำคนแรกๆ ของมนุษยชาติครองตำแหน่งนี้ได้เพราะความเป็นผู้นำของพวกเขาคือการมีอำนาจโน้มน้าวอารมณ์ความรู้สึกของคนอื่น แม้แต่ในองค์กรสมัยใหม่อย่างทุกวันนี้ ความ สามารถในการมีอำนาจเหนืออารมณ์ความรู้สึกของผู้อื่น ก็ยังคงเป็นงานสำคัญของผู้นำ ผู้นำจะต้องมีความสามารถโน้มน้าวอารมณ์ความรู้สึกของส่วนรวมให้เป็นไปในทางบวก และจะต้องสามารถขจัดปัดเป่าเมฆหมอกที่เป็นผลจากอารมณ์ความรู้สึกที่เป็นพิษ ไม่ว่าจะเกิดขึ้นในโรงงานผลิตหรือในห้องประชุมคณะกรรมการบริหารบริษัท

เมื่อผู้นำสามารถโน้มน้าวอารมณ์ความรู้สึกของส่วนรวมไปในทางบวกได้แล้ว เขาจะสามารถดึงสิ่งที่ดีที่สุดในตัวทุกคนออกมา ตรงข้ามหากผู้นำสร้างบรรยากาศของอารมณ์ส่วนรวมในทางลบ เขากำลังสร้างความแตกแยกและบ่อนทำลาย รากฐานทางอารมณ์ ของส่วนรวม ซึ่งเป็นพื้นฐานที่เอื้อให้ทุกคนแสดงความสามารถที่ดีที่สุดของตนออกมา

กุญแจที่จะไขไปสู่ความเป็นผู้นำทางอารมณ์อยู่ที่การพัฒนาทักษะต่างๆ ที่ประกอบ กันขึ้นเป็นความฉลาดทางอารมณ์ (emotional intelligence : EI) วิธีบริหารตนเอง และวิธีบริหารความสัมพันธ์กับผู้อื่น ผู้นำที่บรรลุความ สำเร็จในการเป็นผู้นำเหนืออารมณ์ความรู้สึกของคนอื่น จะสามารถโน้มนำอารมณ์ความรู้สึกของผู้ใต้บังคับบัญชาให้เป็นไปในทิศทางที่ถูกต้อง

ความฉลาดทางอารมณ์เป็นองค์ประกอบสำคัญของความเป็นผู้นำ

ความเป็นผู้นำจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อหัวใจและหัวสมอง กล่าวคืออารมณ์ความรู้สึกและความคิดมาพบกัน จริงอยู่ผู้นำทุกคนจำเป็นต้องมีสติปัญญามากพอที่จะสามารถจัดการการงานและปัญหาท้าทายต่างๆ ให้ลุล่วงได้ แต่สติปัญญาเพียงอย่าง เดียวไม่เพียงพอที่จะทำให้คุณเป็นผู้นำได้ เพราะผู้นำจะต้องสามารถจูงใจ ชี้แนะ สร้างแรงบันดาลใจ รับฟัง โน้มน้าวชักจูงใจ และสร้างบรรยากาศทางอารมณ์ที่ดี

ดังนั้น "ท่าที" ของผู้นำในการ กระทำสิ่งใดๆ จึงเป็นเรื่องสำคัญ กล่าวคือ ไม่ใช่เพียงทำ "อะไร" แต่สำคัญที่ผู้นำทำสิ่งนั้น "อย่างไร" ทั้งนี้เป็นเพราะลักษณะโครงสร้างทางสมองของมนุษย์เอง

วงจรเปิด

โครงสร้างสมองของเรามีลักษณะเหมือนวงจรเปิด กล่าวคือ เราต้องพึ่งพาความสัมพันธ์กับคนอื่นๆ ในการสร้างความ มั่นคงทางอารมณ์ให้แก่ตัวเราเอง นักวิทยา ศาสตร์อธิบายระบบวงจรเปิดของสมองเราว่าเป็น "ระบบเชื่อมต่อสมอง ส่วนควบคุม อารมณ์ระหว่างบุคคล" (inter-personal limbic regulation) กล่าวคือ การที่สมองเรามีโครงสร้างเป็นวงจรเปิด ทำให้บุคคลสามารถส่งสัญญาณต่างๆ ที่ส่งผลเปลี่ยน แปลงระดับฮอร์โมน การทำงานของระบบหัวใจและหลอดเลือด จังหวะการหลับ และ แม้กระทั่งการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายของบุคคลอีกคนหนึ่งได้ กล่าว โดยสรุปคือ บุคคลอื่นสามารถจะเปลี่ยน แปลงสภาพทางสรีรวิทยา และอารมณ์ของ เราได้

การเชื่อมต่อวงจรของสมองส่วนควบคุมอารมณ์ที่เกิดขึ้นระหว่างบุคคลนี้ เมื่อเกิดขึ้นเป็นประจำในระหว่างสมาชิกของ กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ก็เหมือนกับพวกเขากำลัง ปรุง "ซุปทางอารมณ์" (emotional soup) หม้อใหญ่ ซึ่งสมาชิกแต่ละคนของกลุ่มต่าง ก็เติมรสชาติที่ตัวเองชื่นชอบลงไปในซุปนั้น ถ้าซุปนั้นเต็มไปด้วยอารมณ์ที่เป็นลบ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ได้แก่ ความโกรธ ความกังวล หรือความรู้สึกไร้ค่าที่สะสมไว้นาน จะทำให้การทำงานสะดุดติดขัด และทำให้พนักงานสูญเสียความเอาใจใส่ในงาน

ในทางตรงข้าม หากทุกคนรู้สึกดี พวกเขาจะทำงานโดยใช้ความสามารถที่ดีที่สุดที่ตนมีอยู่ การมีอารมณ์ดีเปรียบเสมือนน้ำมันหล่อลื่นประสิทธิภาพของสมอง ทำให้เราเข้าใจข้อมูลข่าวสารได้ดีขึ้น และตัดสินใจเรื่องที่ซับซ้อนได้ ตัวแทนขายประกันที่มีทัศนคติ แบบ "ยังมีน้ำเหลือตั้งครึ่งแก้ว" จะทำยอดขายได้มากกว่า ส่วนหนึ่งก็เนื่องมาจากความสามารถในการมองโลกในแง่ดีของเขา ทำให้เขาสามารถอดทนต่อการถูกปฏิเสธได้ดีกว่าเพื่อนร่วมอาชีพผู้ชอบมองโลกในแง่ร้าย

การศึกษาที่ทำกับ CEO และคณะผู้บริหารระดับสูงจำนวน 62 คน ยืนยันว่าอารมณ์ สำคัญเพียงใด การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินว่า CEO และผู้บริหารระดับสูงมีพลังความกระตือรือร้น และความมุ่งมั่นมากน้อยแค่ไหน พวกเขายังถูกถามว่า ต้องเผชิญ กับความขัดแย้งต่างๆ มากน้อยแค่ไหนด้วย ผลการศึกษาพบว่า ยิ่ง CEO และทีมผู้บริหาร ระดับสูงมีอารมณ์ในทางบวกมากเท่าไร พวกเขาก็จะร่วมมือกันทำงานมากเท่านั้น และส่งผลให้บริษัทได้รับผลสำเร็จทางธุรกิจดีขึ้น ตรงข้าม ยิ่งบริษัทใดที่บริหารโดยทีมบริหาร ที่เข้ากันไม่ได้นานเท่าไร ผลการดำเนินงานของบริษัทนั้นก็ยิ่งแย่ลงนานเท่านั้น
เหตุใดผู้นำที่ดีจึงต้องรู้อารมณ์ของคนอื่น

ผู้นำที่ไม่สนใจอารมณ์ของคนอื่นจะก่อให้เกิดความแตกแยกทางอารมณ์ในกลุ่ม ผู้นำที่สร้างความแตกแยกทางอารมณ์มีตั้งแต่ทรราชผู้ชอบกดขี่ข่มเหงจนถึงผู้นำที่มีพฤติกรรมต่อต้านสังคม ผู้นำประเภทนี้ปฏิเสธการรับรู้ความเป็นไปของโลกภายนอก และ สร้างสถานที่ทำงานที่ไร้ความสุข อาจจะโดยไม่รู้ตัวหรือไม่แคร์ บรรยากาศอันเป็นทุกข์ที่พวกเขาสร้างขึ้นในที่ทำงานนี้จะกลายเป็นอารมณ์ส่วนรวมที่ครอบงำจิตใจของพนักงานทุกคน จนทำให้พวกเขาสูญเสียความเอาใจใส่ในงานที่ทำ
ความฉลาดทางอารมณ์สร้างบรรยากาศทางอารมณ์ที่ดี
ผู้นำที่สามารถสร้างบรรยากาศทางอารมณ์ที่ดี จะเอาใจใส่ต่ออารมณ์ความรู้สึกของคนอื่นๆ และโน้มนำอารมณ์ของส่วนรวมไปในทิศทางที่เป็นบวก

ความสามารถในการสร้างบรรยากาศทางอารมณ์ที่ดีจะเกิดขึ้นเองในผู้นำที่มีความฉลาดทางอารมณ์ พลังความกระตือรือร้นและความทุ่มเทของพวกเขาสามารถสะท้อนไปสู่สมาชิกทุกคนในกลุ่ม และเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น ผู้นำที่มีความฉลาดทางอารมณ์จะสามารถใช้ความเห็นอกเห็นใจ ซึ่งเป็นการปรับอารมณ์ให้เข้ากับอารมณ์ของกลุ่มคนที่เขาเป็นผู้นำ

ตัวอย่างเช่น หากเกิดเหตุการณ์ที่ทำให้ทุกคนรู้สึกโกรธ (เช่น การยุบเลิกแผนก งาน) หรือรู้สึกเศร้าหมอง (เช่นเพื่อนพนักงานป่วยหนัก) ผู้นำที่มี EI จะแสดงความเห็นอกเห็นใจและทำให้พนักงานรู้สึกว่ามีคนเข้าใจและเอาใจใส่ทุกข์สุขของพวกเขา

ภายใต้การนำของผู้นำที่มี EI พนักงานทุกคนจะรู้สึกสบายอกสบายใจ พวกเขาจะสามารถแบ่งปันความคิด เรียนรู้จากกันและกัน ตัดสินใจร่วมกัน และทำให้งานสำเร็จ ลุล่วง แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดอาจเป็นการที่ผู้นำประเภทนี้สามารถทำให้พนักงานรู้สึกว่าการทำงานมีคุณค่าความหมายมากขึ้น
สี่มิติของความฉลาดทางอารมณ์

ความฉลาดทางอารมณ์ประกอบด้วย 4 ส่วน แต่ละส่วนประกอบด้วยทักษะต่างๆ ที่เป็นรากฐานของความฉลาดทางอารมณ์ รวมทั้งหมด 18 ทักษะ ทักษะทั้งสิบแปดนี้คือวิธีที่จะทำให้คุณเป็นผู้นำที่มีอำนาจเหนืออารมณ์ความรู้สึกของคนอื่น อย่างไรก็ตาม แม้แต่ ผู้นำที่มีความฉลาดทางอารมณ์ที่โดดเด่นที่สุด ก็ยังไม่สามารถจะเป็นเจ้าของทักษะทั้งสิบแปดนี้ได้ทั้งหมด แต่คุณควรจะมีทักษะอย่างน้อย 1 อย่างจากแต่ละส่วน

องค์ประกอบของความฉลาดทางอารมณ์ทั้ง 4 ส่วนและทักษะทั้งสิบแปดมีดังนี้
การรู้จักตัวเอง (Self-awareness)

' รู้จักอารมณ์ของตัวเอง (emotional self-awareness) และสามารถประเมินผลกระทบของมัน รวม ทั้งสามารถใช้ "ความรู้สึกลึกๆ" ชี้นำการตัดสินใจได้

' ประเมินตนเองอย่างถูกต้องเที่ยงตรง (accurate self-assessment) รู้ว่าอะไรคือจุดแข็งและข้อจำกัดของตนเอง

' เชื่อมั่นในตนเอง (self-confidence) รู้ชัดถึงคุณค่าและความสามารถของตัวเอง
การบริหารตนเอง (Self-management)

' ควบคุมอารมณ์ได้ (emotional self-control) โดยเฉพาะอารมณ์ด้านลบ

' มีความโปร่งใส (transparency) กล่าวคือ มีความซื่อสัตย์ สุจริต และไว้วางใจได้

' ปรับตัวได้ (adaptability) มีความยืดหยุ่นในการปรับตัวรับสถานการณ์ เปลี่ยนแปลงหรือในการเอาชนะอุปสรรค

' ใฝ่หาความสำเร็จ (achieve-ment) มีความต้องการปรับปรุงประสิทธิ ภาพของตนเองอยู่เสมอ เพื่อบรรลุเป้าหมาย ความเป็นเลิศตามมาตรฐานที่ตนเป็น ผู้กำหนด

' ริเริ่มสร้างสรรค์ (initiative) พร้อมจะคว้าโอกาสและลงมือทำ

' มองโลกในแง่ดี (optimism) สามารถมองเห็นด้านดีของเหตุการณ์ใดๆ
การรู้จักสังคม (Social Awareness)

' มีความเห็นอกเห็นใจ (empathy) รับรู้ความรู้สึกของคนอื่น เข้าใจความคิดของ คนอื่น และเอาใจใส่ในความทุกข์ของคนอื่น

' รู้จักองค์กร (organizational awareness) อ่านกระแสออก รู้ว่าสิ่งใดใน องค์กรที่มีผลต่อการตัดสินใจของกลุ่ม และรู้เท่าทันการเมืองในองค์กร

' มีน้ำใจชอบช่วยเหลือ (service) รับรู้ความต้องการและสามารถสนองความต้องการของผู้ใต้บังคับบัญชาและลูกค้า

การบริหารความสัมพันธ์ (Relationship Management)

' สามารถสร้างแรงบันดาลใจแก่คนอื่น (inspirational leadership) กล่าวคือ สามารถชี้แนะและจูงใจผู้อื่นด้วยวิสัยทัศน์ที่มีพลังโน้มน้าวจิตใจ

' สร้างอิทธิพลเหนือคนอื่น (in-fluence) โดยใช้เทคนิคการโน้มน้าวชักจูงใจ

' ส่งเสริมคนอื่นได้ (developing others) ได้แก่ การสนับสนุนให้คนอื่นได้แสดงความสามารถด้วยการชี้แนะและให้ความคิดเห็น

' เป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลง (change catalyst) สามารถริเริ่มสิ่งใหม่ จัดการและเป็นผู้นำในการก้าวสู่ทิศทางใหม่

' รักษาความสัมพันธ์ (building bonds) สามารถเพาะสร้างและรักษาเครือข่ายความสัมพันธ์ได้

' การทำงานเป็นทีมและการร่วมมือ (teamwork and collaboration) สามารถสร้างทีมและความร่วมมือให้เกิดขึ้นได้ คลังความรู้ของความเป็นผู้นำ

ผู้นำที่ดีที่สุดทั้งหลายล้วนปฏิบัติตามรูปแบบความเป็นผู้นำแบบใดแบบหนึ่ง หรือมากกว่าหนึ่งจากรูปแบบความเป็นผู้นำ ทั้ง 6 แบบต่อไปนี้ ทั้งนี้ 4 แบบแรก ซึ่งได้แก่ แบบให้วิสัยทัศน์ แบบครูฝึก แบบส่งเสริมความร่วมมือ แบบประชาธิปไตย จะสามารถสร้างบรรยากาศทางอารมณ์ที่ดีที่เอื้อต่อการปรับปรุงประสิทธิภาพของพนักงาน ส่วน 2 แบบหลัง อันได้แก่ แบบใช้ตัวเองเป็นมาตรฐาน และแบบออกคำสั่ง การนำมาใช้จะต้องทำด้วยความระมัดระวัง
รูปแบบความเป็นผู้นำ 6 แบบ

1. แบบให้วิสัยทัศน์ (visionary) ผู้นำแบบให้วิสัยทัศน์ชี้จุดหมายที่กลุ่มจะเดินไป แต่ไม่บอกว่าจะไปถึงจุดหมายนั้นได้โดยวิธีใด โดยเปิดโอกาสให้สมาชิกได้คิดริเริ่ม ทดลอง และรับความเสี่ยงที่ควบคุมได้

ความสามารถในการสร้างแรงบันดาลใจแก่คนอื่น (inspirational leadership) คือทักษะความฉลาดทางอารมณ์ที่ผู้นำประเภทนี้ต้องมีความโปร่งใส (transparency) ก็เป็น ทักษะที่สำคัญเช่นกัน เพราะถ้าหากวิสัยทัศน์ที่ให้ไม่ตรงไปตรงมา พนักงานจะรู้สึกได้ทันที

แต่ทักษะความฉลาดทางอารมณ์ที่สำคัญที่สุดที่ผู้นำแบบ visionary ต้องมีกลับเป็นความเห็นอกเห็นใจ (empathy) ความสามารถในการรับรู้ความรู้สึกของคนอื่นและเข้าใจความคิดของคนอื่นนี้ จะช่วยให้ผู้นำสามารถกำหนดวิสัยทัศน์ที่สามารถสร้างแรงบันดาลใจให้แก่พนักงานได้อย่างแท้จริง

2. แบบครูฝึก (coaching) เป็นศิลปะของการเป็นผู้นำแบบตัวต่อตัว ผู้นำแบบครูฝึกจะทำให้คนอื่นค้นพบจุดอ่อนและจุดแข็งของตน และเชื่อมโยงจุดอ่อนและจุดแข็งเหล่านั้นกับความใฝ่ฝันทั้งด้านส่วนตัวและอาชีพ ทักษะความฉลาดทางอารมณ์ที่ผู้นำประเภทนี้ต้องมีคือ ความสามารถในการส่งเสริมผู้อื่น (developing others) รู้จักอารมณ์ของตนเอง (emotional awareness) และความเห็นอกเห็นใจ (empathy)

3. แบบส่งเสริมความร่วมมือ (affiliative) ผู้นำประเภทนี้เป็นตัวอย่างของการใช้ทักษะความฉลาดทางอารมณ์ว่าด้วยการร่วมมือ (collaboration) ในทางปฏิบัติ สิ่งที่ผู้นำประเภทนี้ให้ความสำคัญที่สุดคือการส่งเสริมความสมานฉันท์ และการมีความสัมพันธ์อย่างเป็นมิตร เขาจะเน้นเอาใจใส่ความต้องการด้านอารมณ์ของพนักงานด้วยการใช้ทักษะความเห็นอกเห็นใจ

ผู้นำหลายคนที่ใช้รูปแบบความเป็นผู้นำแบบส่งเสริมความร่วมมือจะนำรูปแบบ visionary มาผสมผสานด้วย เพราะ รูปแบบความเป็นผู้นำแบบให้วิสัยทัศน์จะกำหนดภารกิจเป้าหมาย กำหนดมาตรฐาน และเปิดโอกาสให้พนักงานได้รับรู้ว่า งานที่พวกเขาทำไปมีส่วนสร้างความคืบหน้าให้แก่เป้าหมายของกลุ่มหรือไม่ เมื่อเสริมด้วยรูปแบบความเป็นผู้นำแบบส่งเสริมความร่วมมือซึ่งเน้นความเอาใจใส่ ก็เป็น การประสมประสานที่ใช้ได้ผลอย่างยิ่ง

4. แบบประชาธิปไตย (demo-cratic) ผู้นำแบบประชาธิปไตยใช้ทักษะความฉลาดทางอารมณ์ 3 ประการคือ การ ทำงานเป็นทีมและการร่วมมือ (teamwork and collaboration) การบริหารความขัดแย้ง (conflict management) และการสร้างอิทธิพลเหนือคนอื่น (influence) ผู้นำ ประเภทนี้เป็นนักฟังที่ยอดเยี่ยมและเป็นนักให้ความร่วมมือตัวจริง เขารู้วิธีบรรเทาความขัดแย้งและสร้างความสมานฉันท์ ทักษะอีกประการที่เขาใช้คือความเห็นอกเห็นใจ

ความเป็นผู้นำแบบประชาธิปไตยจะใช้ได้ดีที่สุดในสถานการณ์ที่ผู้นำไม่แน่ใจ ว่า จะก้าวต่อไปในทิศทางใดและต้องการความคิดใหม่ๆ จากพนักงานผู้สามารถ ตัวอย่างเช่น Louis Gerstner เมื่อครั้งรับตำแหน่ง CEO ของ IBM ใหม่ๆ เขาไม่มีความรู้เกี่ยวกับอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์มาก่อน ในขณะที่ต้องหาทางกอบกู้ยักษ์ใหญ่ด้านคอมพิวเตอร์ที่กำลังป่วยหนักแห่งนี้ เขาจึงใช้วิธีประชาธิปไตย โดยขอคำแนะนำ จากพนักงานที่มีประสบการณ์ช่ำชอง

5. แบบใช้ตัวเองเป็นมาตรฐาน (pacesetting) ความเป็นผู้นำแบบนี้ควรใช้อย่างจำกัด แต่เดิมมายกย่องความเป็นผู้นำแบบนี้ กล่าวคือผู้นำจะทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและมาตรฐานสูง เขาจะเน้นการทำงานให้ดีขึ้นและเร็วขึ้นตลอดเวลา และสามารถระบุตัวคนที่ทำงานด้อยประสิทธิภาพได้อย่างรวดเร็ว ผู้นำประเภท นี้ต้องการให้คนอื่นทำตัวให้ดีอย่างที่ตัวเองได้ทำให้ดูเป็นตัวอย่าง แต่หากใช้ความ เป็นผู้นำแบบนี้มากเกินไป กลับจะเป็นผลเสีย และทำให้ขวัญกำลังใจของพนักงานตกต่ำได้ เนื่องจากพนักงานจะรู้สึกว่าถูกผลักดันมากเกินไป หรือรู้สึกว่าผู้นำไม่ไว้วางใจว่าพวกเขามีความสามารถจะทำงาน ให้สำเร็จลุล่วงได้

ทักษะความฉลาดทางอารมณ์ที่ผู้นำประเภทนี้ต้องการคือ ใฝ่หาความสำเร็จ (drive to achieve) และความริเริ่มสร้างสรรค์ (initiative) แต่ผู้นำแบบนี้ถ้าขาดความสามารถในการเห็นอกเห็นใจผู้อื่น ก็จะทำให้มองไม่เห็นความเจ็บปวดที่พนักงานได้รับจากการพยายามทำตามมาตรฐานสูงของผู้นำ

ความเป็นผู้นำรูปแบบนี้จะนำมาใช้ได้ดีที่สุดหากผสมผสานกับทักษะการมีความเห็นอกเห็นใจของผู้นำแบบให้วิสัยทัศน์ และการทำงานเป็นทีมของผู้นำแบบส่งเสริมความร่วมมือ

6. แบบออกคำสั่ง (commanding) ผู้นำแบบนี้ต้องการให้มีการปฏิบัติตามคำสั่ง ทันที โดยไม่สนใจที่จะอธิบายเหตุผล หากผู้ใต้บังคับบัญชาไม่ยอมปฏิบัติตามคำสั่งจะใช้การลงโทษ ผู้นำแบบนี้ยังต้องการที่จะควบคุมอย่างเข้มงวดและติดตามตรวจสอบการทำงานอย่างใกล้ชิด

ในจำนวนรูปแบบความเป็นผู้นำทั้งหมด รูปแบบความเป็นผู้นำแบบออกคำสั่งนี้ได้ผลน้อยที่สุด เพราะเป็นรูปแบบความเป็นผู้นำที่ส่งผลต่อบรรยากาศทางอารมณ์ของ องค์กร ผู้นำที่ชอบข่มขู่ส่งผลกระทบต่ออารมณ์ของพนักงานทุกคน ดังนั้นผู้นำประเภทนี้จึงบ่อนทำลายจิตวิญญาณและความภาคภูมิใจและความพึงพอใจที่พนักงานได้รับจากการทำงาน

รูปแบบความเป็นผู้นำแบบออกคำสั่งใช้ได้ผลในบางสถานการณ์เท่านั้น และต้องใช้อย่างมีเหตุผลสมควรด้วยเช่น ในสถานการณ์ฉุกเฉินเช่นพายุลูกใหญ่กำลังจะมา หรือบริษัทกำลังตกเป็นเป้าหมายการครอบงำกิจการแบบปรปักษ์ การเข้าควบคุมสถานการณ์ อย่างเบ็ดเสร็จ จะนำพาทุกคนให้รอดพ้นวิกฤติการณ์ได้

การจะใช้รูปแบบความเป็นผู้นำแบบนี้อย่างได้ผลต้องอาศัยทักษะความฉลาดทางอารมณ์ 3 ประการ ได้แก่ การสร้างอิทธิพลเหนือคนอื่น (influence) การใฝ่หาความสำเร็จ (achievement) และการริเริ่มสร้างสรรค์ (initiative) นอกจากนี้ ยังต้องการทักษะ การรู้จักตนเอง (self-awareness) การควบคุมอารมณ์ (emotional self-control) และความเห็นอกเห็นใจด้วย
ปลุกปั้นผู้นำที่มีความฉลาดทางอารมณ์

การพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์เกิดขึ้นที่สมองส่วนรอบนอก ซึ่งเป็นส่วนที่ควบคุมอารมณ์ เราจะเรียนรู้ทักษะที่ขึ้นอยู่กับสมองส่วนรอบนอกได้อย่างดีที่สุด ต้องอาศัย การจูงใจ การฝึกฝนซ้ำๆ และการรับฟังคำวิพากษ์วิจารณ์

ระบบสมองส่วนรอบนอกเป็นนักเรียนที่เรียนรู้ช้า โดยเฉพาะเมื่อพยายามที่จะปรับเปลี่ยนนิสัยที่ฝังรากลึก ลักษณะเช่นนี้ยิ่งเป็นอุปสรรคมากขึ้นไปอีก เมื่อพยายามจะปรับปรุงทักษะความเป็นผู้นำ เพราะทักษะความเป็นผู้นำเหล่านี้มักพ่ายแพ้ต่อนิสัยเดิมที่เราได้เรียนรู้มาก่อนหน้านี้ การให้การศึกษาใหม่แก่สมองส่วนควบคุมอารมณ์ให้เรียนรู้ความเป็นผู้นำ จำเป็นต้องได้รับการฝึกฝนและทำซ้ำ เพราะระบบประสาทที่ถูกใช้บ่อยๆ จะแข็งแรงขึ้นในขณะที่ระบบประสาทที่ไม่ได้ใช้บ่อยๆ จะอ่อนแอ
การเรียนรู้ด้วยตนเอง

การพัฒนาความเป็นผู้นำจะต้องเป็นการเรียนรู้ด้วยตนเอง คุณจำเป็นต้องรู้ว่าตัวตน ที่แท้จริงกับตัวตนในอุดมคติของคุณเป็นอย่างไร และจะพัฒนาให้เข้มแข็งขึ้นได้อย่างไร ดังนั้นขั้นแรกที่คุณต้องทำคือ สร้างภาพที่ชัดเจนของตัวตนในอุดมคติของคุณ และภาพที่ถูกต้องเที่ยงตรงของตัวตน "ที่แท้จริง" ของคุณ

การเรียนรู้ด้วยตนเองประกอบด้วยการค้นพบ 5 ประการ เป้าหมายคือใช้การ ค้นพบแต่ละอย่างเป็นเครื่องมือในการสร้างความเปลี่ยนแปลงที่จะทำให้คุณกลายเป็นผู้นำที่มีความฉลาดทางอารมณ์

คนที่เปลี่ยนแปลงตัวเองได้สำเร็จต่างปฏิบัติตามขั้นตอนทั้งห้านี้

' การค้นพบประการที่หนึ่ง : ตัวตนในอุดมคติของฉัน หรือฉันต้องการจะเป็นใคร

' การค้นพบประการที่สอง : ตัวตนที่แท้จริงของฉัน หรือฉันเป็นใคร มีจุดแข็งตรงไหน และช่องว่างระหว่างตัวตนใน อุดมคติกับตัวตนที่แท้จริง

' การค้นพบประการที่สาม : แผนการเรียนรู้ กล่าวคือ จะทำอย่างไรฉันจึงจะสามารถเสริมสร้างจุดแข็ง ในขณะเดียวกันก็สามารถลดช่องว่างระหว่างตัวตนในอุดมคติกับตัวตนที่เป็นจริงได้

' การค้นพบประการที่สี่ : ทดลองและฝึกฝนความคิดใหม่ พฤติกรรมใหม่และ ความรู้สึกใหม่ๆ จนถึงขั้นเชี่ยวชาญชำนาญ

' การค้นพบประการที่ห้า : ค้นพบคนที่ไว้วางใจได้ที่จะคอยสนับสนุนให้คุณเปลี่ยนแปลงตัวเองได้สำเร็จ

แรงจูงใจให้เปลี่ยนแปลง

การค้นพบประการแรก ได้แก่การค้นพบตัวตนในอุดมคติของคุณ คือจุดเริ่มของการเปลี่ยนแปลง คุณจะสามารถค้นพบ ตัวตนในอุดมคติของคุณได้จากการสำรวจว่า คุณรักชอบสิ่งใดบ้าง อะไรคือพลังของคุณ และอะไรที่ทำให้คุณรู้สึกตื่นเต้นในชีวิต
คุณในอีก 15 ปีข้างหน้า

ให้คิดว่าคุณจะอยู่ที่ไหนในอีก 15 ปี ข้างหน้าเมื่อคุณสามารถใช้ชีวิตตามอุดมคติ ของคุณได้สำเร็จ คนรอบๆ ตัวคุณจะเป็นคนประเภทใดบ้าง สภาพแวดล้อมรอบๆ ตัวคุณจะเป็นอย่างไร และคุณจะรู้สึกกับมันอย่างไร ชีวิตประจำวันของคุณจะเป็นอย่างไร ไม่ต้องคำนึงถึงความเป็นไปได้ใดๆ ทั้งสิ้น ขอแค่ให้เห็นภาพฝันที่คุณต้องการเห็น โดยมีคุณอยู่ในภาพนั้น

เขียนความคิดของคุณออกมา หรือ เล่าให้เพื่อนที่คุณไว้ใจฟัง หลังจากทำแบบฝึกหัดนี้ คุณอาจรู้สึกเหมือนได้ปลดปล่อยพลังงาน และการมองโลกในแง่ดีออกมา การมองเห็นอนาคตในอุดมคติของคุณ เป็นวิธีที่จะทำให้คุณมองเห็นความเป็นไปได้ในการเปลี่ยนแปลงชีวิตของคุณ

ต่อไป ให้คิดถึงคุณค่าต่างๆ ในชีวิตที่มีความสำคัญต่อคุณ เช่น ครอบครัว ความ สัมพันธ์กับคนอื่น งาน จิตวิญญาณ และสุขภาพ เขียนทุกอย่างที่คุณต้องการจะทำให้ได้ในชีวิตนี้ก่อนที่จะตายจากโลกนี้ไปออกมา การทำเช่นนี้จะช่วยเปิดใจให้คุณมองเห็นความ เป็นไปได้ใหม่ๆ
มองดูตัวตนที่แท้จริงของคุณ

เมื่อคุณมองเห็นตัวตนในอุดมคติแล้ว คุณจำเป็นต้องหันกลับมามองตัวตนที่แท้จริงของคุณ ซึ่งเป็นการค้นพบประการที่สอง เพราะด้วยวิธีนี้เท่านั้นจึงจะทำให้คุณมองเห็น จุดแข็งของตัวเอง การค้นหาตัวตนที่แท้จริงของคุณเริ่มต้นด้วยการเขียนรายการความสามารถและสิ่งที่คุณรักชอบออกมา นั่นแหละคือตัวจริงคุณ อย่างไรก็ตาม อุปสรรคคือการไม่ยอมรับความจริงและความหลงตัวเอง ซึ่งจะทำให้คุณมองไม่เห็นตัวคุณอย่างที่คุณเป็น

ถ้าเช่นนั้นทำอย่างไรจึงจะได้รู้ความจริงของตัวตนของคุณ คุณต้องขอความคิดเห็นจากคนอื่นๆ ที่มีต่อตัวคุณโดยเฉพาะด้านลบ ไม่ว่าจากเจ้านาย เพื่อน หรือผู้ใต้บังคับ บัญชา ความเห็นยิ่งหลากหลายก็จะยิ่งทำให้คุณได้ภาพที่สมบูรณ์มากขึ้น เพราะคนรอบตัวคุณแต่ละคนต่างก็เห็นคุณในแง่มุมที่แตกต่างกัน

เมื่อคุณได้ภาพที่สมบูรณ์ของตัวจริง ของคุณแล้ว คุณก็สามารถตรวจสอบจุดแข็ง และช่องว่างระหว่างตัวตนในอุดมคติและตัวตนที่แท้จริงของคุณได้ ซึ่งทำได้โดยเขียน ออก มาทั้งจุดแข็งและช่องว่าง ระวังอย่าเขียนแต่เพียงช่องว่างเท่านั้น

กลายร่างไปสู่การเป็นผู้นำ

คราวนี้ก็ถึงเวลาวางแผนการเรียนรู้ทักษะความเป็นผู้นำแล้ว ซึ่งก็คือการค้นพบ ประการที่สาม เน้นการปรับปรุงทักษะที่คุณชอบเสริมสร้างจุดแข็งในขณะเดียวกันก็ พยายามอุดช่องว่าง ตั้งเป้าหมายการเรียนรู้ ที่ชัดเจนซึ่งสัมพันธ์กับเป้าหมายต่างๆ ที่เป็นแรงจูงใจของคุณ ขณะที่ตั้งเป้าหมายให้พิจารณาว่า

' เป้าหมายการเรียนรู้ควรจะเสริมสร้างจุดแข็งของคุณ

' เป้าหมายการเรียนรู้ต้องเป็นของ คุณเอง ไม่ใช่ของคนอื่น

' แผนการเรียนรู้ต้องยืดหยุ่นและ เป็นไปได้ ขั้นตอนปฏิบัติต่างๆ ต้องควบคุมได้

' แผนการเรียนรู้ต้องเหมาะสมกับรูปแบบการเรียนรู้ที่คุณถนัด
ขั้นลองทำ

การค้นพบประการที่สี่คุณจำเป็นจะต้อง "จัดรูปแบบการทำงาน" ของสมอง เสียใหม่ ซึ่งจะเกิดขึ้นระหว่างที่คุณกำลังฝึกฝนพฤติกรรมใหม่ๆ จนถึงขั้นเชี่ยวชาญ ชำนาญ คุณจะทำเช่นนี้ได้ก็ต่อเมื่อสามารถ ยอมรับความจริงว่าคุณมีนิสัยบางอย่างที่ไม่ดี และพยายามสร้างนิสัยที่ดีกว่าขึ้นมาแทน ด้วยการฝึกฝนปฏิบัตินิสัยที่ดีกว่าในทุกโอกาสที่ทำได้ จนถึงจุดที่คุณสามารถทำพฤติกรรมใหม่ได้โดยอัตโนมัติ

การปรับปรุงทักษะความฉลาดทางอารมณ์ต้องใช้เวลาหลายเดือน แต่ยิ่งคุณทำซ้ำๆ มากเท่าไร ก็จะยิ่งทำให้ระบบประสาทส่วนนั้นแข็งแรงขึ้น เหมือนกับ นักดนตรีที่ฝึกซ้อมอย่างสม่ำเสมอ จนสามารถเล่นได้โดยอัตโนมัติ

มีเทคนิคง่ายๆ แต่ใช้ได้ผลดีมากเทคนิคหนึ่ง คือ เทคนิคการฝึกฝนในใจ การนึกภาพตัวคุณเองกำลังฝึกฝนพฤติกรรมใหม่ซ้ำแล้วซ้ำอีก เสริมไปกับการปฏิบัติจริงๆ จะช่วย เปลี่ยนแปลงระบบประสาท และทำให้คุณเปลี่ยนพฤติกรรมได้จริง
มีคนที่ไว้วางใจได้คอยสนับสนุน

การค้นพบประการสุดท้ายคือ การค้นพบพลังของการได้รับความสนับสนุน ใครก็ตามที่กำลังพัฒนาความเป็นผู้นำขึ้นในตัว จะพบว่าคนที่เราพบในระหว่างนั้นมีความสำคัญมาก หากมีคนที่คอยสนับสนุนอยู่ใกล้ๆ ในเวลาที่คุณต้องการการเปลี่ยนแปลง คุณจะพบผลดีอย่างที่คุณคาดไม่ถึง เข้าทำนองคบบัณฑิตบัณฑิตพาไปหาผล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าคนเหล่านั้นไว้ใจได้ ให้คำแนะนำอย่างตรงไปตรงมา และทำให้
คุณรู้สึกปลอดภัย

โดยเฉพาะประการหลังคือความรู้สึกปลอดภัยนั้น เป็นสิ่งสำคัญที่เอื้อให้การเรียนรู้เรื่องความเป็นผู้นำดำเนินต่อไปได้ เพราะผู้นำมักจะรู้สึกไม่ปลอดภัยเมื่อตกเป็นเป้าสายตา จึงมักหลีกเลี่ยงการเปลี่ยนแปลงที่มีความเสี่ยง คุณจะค้นพบคนที่คอยสนับสนุนได้อย่างไร วิธีหนึ่งคือหาพี่เลี้ยง อีกวิธีหนึ่งคือจ้าง "ครูฝึก" เรื่องการบริหาร
สร้างองค์กรที่มีความฉลาดทางอารมณ์

การพัฒนาความเป็นผู้นำของผู้นำเพียงคนเดียว เป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น งานที่เหลือคือ การพัฒนาผู้นำที่มีความสามารถสร้างบรรยากาศทางอารมณ์ที่ดีขึ้นอีกกลุ่มใหญ่ เพื่อที่พวกเขาจะสามารถเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงานร่วมกันของคนในองค์กรทั้งหมด
พัฒนาไปพร้อมๆ กัน

การพัฒนาผู้นำที่ดีที่สุดจะต้องพัฒนาควบคู่ไปกับการเปลี่ยนแปลงองค์กร ที่นำโดยผู้นำนั้น กลุ่มจะเริ่มต้นเปลี่ยนแปลงตัวเองก็ต่อเมื่อเข้าใจตัวเองว่ากลุ่มมีการทำงาน อย่างไร กล่าวคือต้องเข้าใจว่าบรรทัดฐาน ของกลุ่มคืออะไรเสียก่อนแล้ว จึงจะสามารถกำหนดเป้าหมายในอนาคต ที่กลุ่มใฝ่ฝันจะก้าวไปถึงได้
พลังของการตัดสินใจโดยกลุ่ม

การตัดสิน ใจที่กระทำโดยกลุ่มมีคุณภาพเหนือกว่าการตัดสินใจโดยบุคคลเพียงคนเดียว แม้ว่าคนนั้นจะเป็นคนที่ฉลาดที่สุดในกลุ่มก็ตาม ยกเว้นแต่ว่ากลุ่มนั้นขาดความสมานฉันท์อย่างรุนแรง หรือไม่มีความ สามารถในการร่วมมือกันโดยสิ้นเชิง ถ้าเป็นเช่นนั้น ถึงแม้กลุ่มจะประกอบด้วยคนที่ฉลาดที่สุดมากมาย ก็ไม่สามารถจะทำ การตัดสินใจที่ดีได้เลย กล่าวโดยสรุปก็คือ กลุ่มฉลาดกว่าบุคคลก็ต่อเมื่อกลุ่มได้แสดงออกถึงความฉลาดทางอารมณ์

ผู้นำที่ละเลยพลังของกลุ่มจะได้รับบทเรียนราคาแพง แม้คุณจะมีอำนาจในฐานะผู้นำ แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าอำนาจ ความเป็นผู้นำของคุณเพียงอย่างเดียวเพียง พอที่จะเปลี่ยนพฤติกรรมของคน ความผิดพลาดที่ผู้นำทั่วไปมักจะทำอยู่เสมอคือ ไม่สนใจที่จะใช้รูปแบบความเป็นผู้นำแบบสร้างบรรยากาศทางอารมณ์ที่ดีขึ้นในองค์กร แต่กลับชอบที่จะใช้ความเป็นผู้นำสไตล์ออก คำสั่ง (commanding) หรือใช้ตัวเองเป็นมาตรฐาน (pacesetting) ซึ่งรังแต่จะทำลายศักยภาพของกลุ่ม

หากคุณต้องการจะนำองค์กรได้อย่างแท้จริงล่ะก็ คุณต้องค้นให้พบความเป็นจริงของกลุ่ม อะไรคือบรรทัดฐานที่เป็นเหตุผลเบื้องหลังการกระทำของกลุ่ม ผู้นำที่เข้าใจบรรทัดฐานของกลุ่ม และเก่งในการเร่งเร้าบรรยากาศทางอารมณ์ที่ดีจนถึงขั้นสูงสุด จะสามารถสร้างกลุ่มที่มีความฉลาดทางอารมณ์อย่างสูงได้
สร้างกลุ่มที่มีความฉลาดทางอารมณ์สูงสุด

ความฉลาดทางอารมณ์ของกลุ่มมี 4 มิติ เช่นเดียวกับความฉลาดทางอารมณ์ระดับบุคคล อันได้แก่ การรู้จักตัวเอง การบริหารตัวเอง การรู้จักสังคม และการบริหารความสัมพันธ์ การรู้จักตัวเองของกลุ่มหมายถึงการที่กลุ่มมีความสามารถที่จะเอาใจใส่อารมณ์ที่กลุ่มมีร่วมกัน รวมถึงเอาใจใส่อารมณ์ของสมาชิกกลุ่มแต่ละคนด้วย

อารมณ์เป็นสิ่งที่ติดต่อถึงกันระหว่างบุคคลได้ง่าย ดังนั้น ผู้นำจึงจำเป็นต้องรู้จักวิธี ที่จะป้องกันไม่ให้อารมณ์ที่ไม่ดีแพร่กระจายลุกลามออกไป ตัวอย่างเช่น ในการประชุม ครั้งหนึ่งซึ่งจัดขึ้นในสถานที่ไม่คุ้นเคยสมาชิกคนหนึ่งมาสายพร้อมกับความโกรธและโทษว่า ความไม่สะดวกของสถานที่ประชุมเป็นเหตุให้เขามาสาย หากผู้นำไม่รีบหาทางสกัดกั้นอารมณ์โกรธของสมาชิกเพียงคนเดียวดังกล่าว อารมณ์โกรธนี้จะแพร่กระจายอย่างรวดเร็วไปจนทั่วทั้งกลุ่ม แต่ถ้าหากผู้นำกล่าวยกย่องความเสียสละของสมาชิกคนนั้น ที่แม้จะเดินทางไม่สะดวก แต่ก็ยังไม่ขาดการประชุม พร้อมกล่าวขอบคุณความเสียสละของเขา อารมณ์โกรธ ที่เกิดขึ้นย่อมจางหายไป

ผู้นำที่ต้องการสร้างกลุ่มที่มีความฉลาดทางอารมณ์ สามารถเริ่มต้นด้วยการ ช่วยให้กลุ่มค้นพบการรู้จักตัวเอง เริ่มต้นกระบวนการค้นหาตัวตนของกลุ่มด้วยการค้นให้พบว่ากลุ่มทำงานอย่างไรในความเป็นจริง จากนั้นจึงค้นหาบรรทัดฐานของกลุ่มที่ไร้ประโยชน์ แล้วให้กลุ่มช่วยกันเปลี่ยนแปลงปรับปรุงบรรทัดฐานเหล่านั้น
ความเป็นจริงกับเป้าหมายที่ใฝ่ฝัน

ผู้นำที่ต้องการเปลี่ยนแปลงองค์กรต้องเริ่มต้นด้วยการเข้าใจความเป็นจริงของ องค์กรนั้น การเปลี่ยนแปลงจะเริ่มต้นก็ต่อ เมื่อผู้นำที่มีความฉลาดทางอารมณ์ได้ตั้งคำถามเพื่อจะค้นหาความเป็นจริงด้านอารมณ์และบรรทัดฐานทางวัฒนธรรมของกลุ่ม ซึ่งเป็นเหตุผลเบื้องหลังการกระทำต่างๆ ในชีวิตประจำวันและพฤติกรรมของ กลุ่ม เมื่อผู้นำเอาใจใส่ต่ออารมณ์ของกลุ่ม แม้แต่องค์กรที่มีบรรยากาศทางอารมณ์ที่เป็น พิษที่สามารถเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นได้
คำถามเพื่อค้นหาความจริง

กระบวนการตั้งคำถามแบบ dynamic inquiry จะช่วยให้คุณสามารถค้นพบความเป็นจริงทางด้านอารมณ์ขององค์กรได้ คำถามแบบ dynamic inquiry ก็เช่นอะไรคือสิ่งที่สมาชิกในองค์กรให้ความสำคัญ อะไรคือสิ่งที่ช่วยให้พวกเขา กลุ่มของพวกเขาหรือองค์กรของพวกเขาประสบความสำเร็จ และอะไรที่กำลังดำเนินอยู่ภายในองค์กร กระบวนการตั้งคำถามแบบนี้จะใช้การสนทนาแบบ มีประเด็นหลักและคำถามแบบเปิด ซึ่งมีจุดประสงค์จะค้นหาความรู้สึกที่แท้จริงของผู้ตอบ

ในการสนทนากับสมาชิกของกลุ่มจะค้นพบประเด็นต่างๆ ที่สมาชิกให้ความสำคัญ ประเด็นเหล่านี้จะนำไปสู่การสนทนากลุ่มย่อยต่อไป เพื่อถกกันว่าอะไรดีอยู่แล้ว และอะไร ที่ยังไม่ดี การสนทนากลุ่มย่อยทำให้สมาชิกองค์กรเกิดความรู้สึกกระตือรือร้นและเชื่อมั่นที่จะแสดงความคิดเห็น รู้สึกมีพลังและเต็มใจที่จะช่วยกันจัดการกับปัญหาที่มีร่วมกัน

เมื่อกลุ่มสามารถค้นพบความเป็นจริงเกี่ยวกับตัวเองแล้ว คุณจะสามารถช่วยให้กลุ่ม กำหนดวิสัยทัศน์หรือเป้าหมายในอนาคตของกลุ่มได้ ซึ่งจะเป็นวิสัยทัศน์ที่สอดคล้องกับความหวังและความฝันของสมาชิกแต่ละคนของกลุ่ม
รักษาการเปลี่ยนแปลงให้ยั่งยืน

ผู้นำจะสามารถรักษาบรรยากาศทางอารมณ์ที่ดีให้คงอยู่ในองค์กรได้อย่างไร องค์กร ใหญ่ทุกองค์กรต่างก็มีทั้งบรรยากาศทางอารมณ์ที่ดีและบรรยากาศทางอารมณ์ที่แตกแยก อัตราส่วนระหว่างบรรยากาศทั้งสองคือตัวชี้บรรยากาศทางอารมณ์ และประสิทธิภาพโดยรวมขององค์กร การจะขยับอัตราส่วนดังกล่าวให้ค่อนไปด้านบรรยากาศทางอารมณ์ที่ดี จะต้องเพาะสร้างกลุ่มผู้นำที่มีความฉลาดทางอารมณ์ให้กระจายไปทั่วทั้งองค์กร

ดังนั้น การฝึกอบรมผู้นำจะต้องเป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญของบริษัท และต้องถือเป็นพันธะสัญญาจากผู้บริหารระดับสูงสุด ทั้งนี้เพราะกลุ่มผู้นำใหม่ที่จะเพาะสร้างขึ้นนี้หมายถึงองค์กรจะต้องพบกับกรอบความคิดใหม่ๆ และพฤติกรรมใหม่ๆ และเพื่อรักษากรอบความคิด และพฤติกรรมใหม่ๆ เหล่านี้ให้คงอยู่ในองค์กรอย่างยั่งยืน วัฒนธรรมองค์กรรวมถึงระบบและกระบวนการต่างๆ ในองค์กรจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงตาม

สมมติว่าตอนนี้คุณเข้าใจแล้วว่าผู้นำที่มีอำนาจเหนืออารมณ์ความรู้สึกของผู้อื่นหรือ primal leadership คืออะไร คุณได้เริ่มต้นด้วยการตรวจสอบบรรทัดฐานทาง วัฒนธรรม ค้นหาความเป็นจริงและกำหนด วิสัยทัศน์ที่คุณต้องการไปให้ถึง คุณได้สร้างบรรยากาศของอารมณ์ที่ดี ซึ่งเอื้อต่อการเปลี่ยนแปลงและได้ระบุตัวบุคคลที่จะรับการพัฒนาเป็นผู้นำที่มีความฉลาดทางอารมณ์แล้ว ขั้นต่อไปก็คือการคิดกระบวน การที่จะทำให้ผู้นำเหล่านั้นสามารถค้นพบความฝันและความเป็นจริงของตัวเอง ตรวจสอบจุดแข็งและช่องว่างระหว่างตัวตนในความฝันและตัวตนในความเป็นจริง และใช้งานประจำวันของพวกเขาเป็นเหมือนห้องทดลองสิ่งที่ได้เรียนรู้มาใหม่ กระบวน การดังกล่าวยังจะต้องมีลักษณะเป็นการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีองค์ประกอบอื่นๆ อีกดังนี้

' กระบวนการนี้ควรเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมองค์กร

' มีการสัมมนาที่เน้นการเปลี่ยนแปลงในระดับบุคคล

' มีการเรียนรู้ทักษะต่างๆ ที่ประกอบกันขึ้นเป็นความฉลาดทางอารมณ์

' มีประสบการณ์การเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์

' มีการสร้างความสัมพันธ์กับคนที่สามารถสนับสนุนการเรียนรู้ เช่น จัดให้มีครูฝึกเรื่องการบริหาร

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us