|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ธุรกิจการบินแข่งดุ แอร์นิปปอน แอร์เวย์ หันเปิดเที่ยวบินคาร์โก้ ลดความเสี่ยง และสร้างฐานรายได้ของธุรกิจให้แข็งแกร่ง ระบุ ตลาดคาร์โก้ ระหว่างไทย-ญี่ปุ่น มีโอกาสเติบโตสูง รับอานิสงส์จากการเปิด FTA อีกทั้งตลาดนี้ยังมีคู่แข่งขันน้อยราย ตั้งเป้า ปีหน้าปรับสัดส่วนรายได้ คาร์โก้ ขึ้นเป็น 40% จากปีนี้อยู่ที่ 30%
นายฟูยูฮิโกะ โอตะ ผู้จัดการฝ่ายบริหารและฝ่ายขายสายการบิน All Nippon Airways หรือ ANA เปิดเผยว่า ในเดือนกุมภาพันธ์ 2549 บริษัทฯจะเปิดให้บริการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ (คาร์โก้) ระหว่างไทยกับญี่ปุ่น ซึ่งหากไม่นับรวมประเทศจีนแล้ว ไทยถือเป็นประเทศแรกที่ ANA เปิดเที่ยวบินคาร์โก้ เพื่อขนส่งสินค้าโดยเฉพาะ ซึ่งปีแรกกำหนดบิน 4 เที่ยวต่อสัปดาห์ ใน 2 เส้นทาง คือ สนามบินคันไซ เมืองโอซาก้า 3 เที่ยวต่อสัปดาห์ และ นาโกย่า 1 เที่ยวต่อสัปดาห์
ทั้งนี้สาเหตุที่บริษัทฯให้ความสำคัญกับการเปิดเที่ยวบินคาร์โก้ ส่วนหนึ่งเกิดจากความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ประเทศ ที่มีแน่นแฟ้นขึ้น มีการตกลงร่วมมือกันทางด้านเศรษฐกิจ การเปิดเขตการค้าเสรีระหว่างกัน (FTA) ตลอดจนความร่วมมือด้านการส่งเสริมการท่องเที่ยว ประกอบกับปัจจุบันธุรกิจการบินขนส่งผู้โดยสารมีการแข่งขันสูง มีคู่แข่งรายใหม่ๆ เข้ามา เช่น สายการบินสิงคโปร์ แอร์ไลน์ ต้นทุนค่าน้ำมันเพิ่มขึ้น แต่ไม่สามารถปรับราคาค่าบริการได้มากนัก ดังนั้นการหันเข้ามาให้ความสำคัญกับธุรกิจคาร์โก้ น่าจะส่งผลดีขึ้นเพราะตลาดคาร์โก้ มีคู่แข่งขันน้อยราย จึงมีโอกาสเติบโตของรายได้ค่อนข้างมาก
“สำหรับเที่ยวบินคาร์โก้ เราจะใช้เครื่อง B767-300 รับน้ำหนักบรรทุกต่อเที่ยวได้ 45 ตัน เบื้องต้นใช้บินในเส้นทางกรุงเทพฯก่อน 1 ลำ วางแผนเพิ่มเป็น 8 ลำในปี 2552 โดยกระจายบินคาร์โก้ในหลายๆประเทศ นอกเหนือจากประเทศไทย”
การเพิ่มเที่ยวบินคาร์โก้ จะส่งผลให้สัดส่วนรายได้ของบริษัทฯจากปัจจุบันคือ 70% เป็นรายได้จากผู้โดยสาร และ 30% เป็นรายได้จากคาร์โก้ โดยจะเพิ่มสัดส่วนเป็นรายได้จากคาร์โก้ 40% และ รายได้จากตั๋วผู้โดยสารจะเป็นสัดส่วน 60% ในสิ้นปี 2549 และภาพรวมของรายได้บริษัทฯจะเติบโตเฉลี่ย 10% ทุกๆปี
ทั้งนี้ปัจจุบัน ANA มีเที่ยวบินขนส่งผู้โดยสารในเส้นทาง กรุงเทพ – โตเกียว สัปดาห์ละ 14 เที่ยว โดยใช้เครื่องบิน B767-300 บรรทุกผู้โดยสารได้ 214 ที่นั่ง มีอัตราจำนวนที่นั่งต่อผู้โดยสารต่อเที่ยวบิน (โหลดแฟกเตอร์) เฉลี่ย 80% โดยตั้งแต่วันที่ 30 ตุลาคมศกนี้ เป็นต้นไป บริษัทฯจะเปลี่ยนมาใช้เครื่อง B777-200 ที่มีขนาดใหญ่ขึ้น ขนผู้โดยสารต่อเที่ยวได้ 292 ที่นั่ง ซึ่งจะบิน 7 เที่ยวต่อสัปดาห์ สำหรับเที่ยวบิน NH953 และ NH954 และที่เหลืออีก 7 เที่ยวต่อสัปดาห์สำหรับเที่ยวบิน NH915 และ NH916 จะยังคงใช้เครื่อง B767-300 เช่นเดิม ซึ่งการเปลี่ยนเครื่องบินให้มีขนาดใหญ่ขึ้น จะทำเพิ่มความสามารถในการรองรับผู้โดยสารได้มากกว่าเดิมอีก 18%
“การเปิดเที่ยวบินคาร์โก้และการเปลี่ยนเครื่องบินให้ใหญ่ขึ้น ก็เพื่อสนองนโยบายเปิดเสรีการค้าและตอบความต้องการของนักเดินทางทั้งชาวญี่ปุ่นและคนไทย ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มนักธุรกิจ นักท่องเที่ยวและอื่นๆ โดยในส่วนของคาร์โก้ ที่ไทยส่งไปญี่ปุ่น ส่วนใหญ่เป็นสินค้าเกษตรและจะเพิ่มเป็นสินค้าประเภทชิ้นส่วนอิเลคทรอนิค ขณะที่สินค้าญี่ปุ่นที่ส่งมาไทย เช่น เครื่องจักรอุตสาหกรรม ชิ้นส่วนมอเตอร์ เป็นต้น”
อย่างไรก็ตามในเส้นทางระหว่างกรุงเทพ-ญี่ปุ่น บริษัทฯมีคู่แข่งโดยตรง 3 ราย คือ สายการบินไทย สายการบินญี่ปุ่น และนอร์เวย์ ซึ่งบริษัทฯได้ออกแคมเปญบีชควีน เป็นแพ็กเกจการเดินทางราคาพิเศษเริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤศจิกายนนี้-เดือนกุมภาพันธ์ปีหน้า ซึ่งคาดว่าจะเพิ่มจำนวนโดยสารคนไทยได้10% ในช่วงเวลาดังกล่าว
|
|
|
|
|