|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
โครงการ มือถือซีดีเอ็มเอ.ของ กสท. มีปัญหา เผยยักษ์ใหญ่เทเลคอมจากจีน " หัวเหว่ย " ที่ชนะประมูล ด้วยราคาต่ำสุด 7พันล้าน ทำงานไม่เสร็จ อีก 4 เดือนต้องส่งมอบสถานีฐาน 800 แห่งยัง แต่ติดตั้งได้ไม่ถึงครึ่ง วัดใจบอร์ดกสท กล้าปรับวันละกว่า 90 ล้านบาทหรือไม่ เผยมีคนในวิ่งเต้นสร้างเงื่อนไขเลี่ยงค่าปรับ
นายอำนวยศักดิ์ ทูลศิริ รองประธานคณะกรรมการ บริษัท กสท โทรคมนาคมกล่าวถึงความคืบหน้าโครงการโทรศัพท์มือถือซีดีเอ็มเอในภูมิภาคว่า ปัจจุบันกลุ่มร่วมค้าบริษัท หัวเหว่ย เทคโนโลยี (ประเทศไทย) และ บริษัท หัวเหว่ย เทค อินเวสเมนท์ ติดตั้งสถานีฐานได้ไม่ถึง 300 สถานีฐาน ในขณะที่เงื่อนไขในสัญญา ในเฟสแรกหัวเหว่ยต้องติดตั้งสถานีฐานให้ครบ 800 สถานีฐานในเดือนม.ค. 2549 และเฟสที่ 2 ครบ 1,600 สถานีฐาน ในปีถัดไป เพื่อให้ทันกับแผนการเปิดตัวบริการมือถือซีดีเอ็มเอ ขอ งกสท. อย่างไม่เป็นทางการ (Soft Launch Marketing) ในเดือนมกราคม 2549 จึงคาดว่า หวัเหว่ยจะไม่สามารถติดตั้งได้ครบตามสัญญาอย่างแน่นอน กสทจะทำการ ในเดือนม.ค.2549 จะไม่สามารถติดตั้งได้ตามสัญญา ซึ่งหมายถึงจะต้องมีรายการปรับเกิดขึ้น
นายอำนวยศักดิ์กล่าวว่า กสทได้ตั้งกรรมการร่วมหรือ Steering Committee เพื่อบริหารโครงการติดตั้งอุปกรณ์ทั้งชุมสายและสถานีฐาน แต่ก็ยังไม่มีรายงานที่ชัดเจนจากกรรมการชุดนี้ถึงความล่าช้าแต่อย่างใด
หากหัวเหว่ยไม่สามารถติดตั้งอุปกรณ์ 800 สถานีฐานในเฟสแรกตามสัญญา ก็ต้องมีการพิจารณาว่าความล่าช้าเกิดจากกสท. หรือเกิดจากหัวเหว่ย ถ้าเป็นความผิดของหัวเหว่ยก็จะต้องเสียค่าปรับวันละ 70 ล้านบาทบวกกับ 0.2% ของมูลค่าสัญญา หรือรวมเป็นเงินที่ต้องเสียค่าปรับวันละ 90 กว่าล้านบาท แต่จะต้องพิจารณาว่าจะปรับทันทีหลังจากที่ครบเวลาตามเฟสแรกหรือว่าจะรอปรับครั้งเดียวหลังครบเวลาส่งมอบทั้งโครงการเลย
**เอื้อหัวเหว่ย ไม่ให้โดนปรับ
ด้านแหล่งข่าวจากคณะกรรมการร่วมบริหารโครงการ กล่าวว่าขณะนี้ผู้บริหารและพนักงานกสทต่างสงสัยพฤติกรรมของ ผู้รับผิดชอบโครงการนี้ ที่ทำงานในลักษณะเอื้ออำนวยประโยชน์ให้กับหัวเหว่ย โดยพยายามเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขในการส่งมอบอุปกรณ์บางอย่างด้วยการเพิ่มจำนวนซัปพลายเออร์ พร้อมทั้งสร้างเงื่อนไขเพื่อให้เกิดการเลื่อนเวลาส่งมอบ ทำให้บริษัทไม่ต้องเสียค่าปรับจำนวนมาก รวมทั้งจะให้คิดค่าปรับเมื่อเสร็จโครงการทั้ง 2 เฟส หลังจากรู้แน่ชัดว่าหัวเหว่ยไม่สามารถติดตั้งอุปกรณ์ได้ตามสัญญา
"การขอเพิ่มซัปพลายเออร์ตู้คอนเทนเนอร์ที่ต้องส่งมอบในเฟส 1 จากเดิมเป็นของ A.L.T. Inter Corporation 900 ตู้กลายเป็นเหลือ 450 ตู้และเพิ่มบริษัท ไทยเทเลคอนเทนเนอร์ (TTC) อีก 450 ตู้ เป็นหนึ่งในตัวอย่างที่เห็นได้ชัดว่ามีความพยายามช่วยเหลือกันเต็มที่เพื่อไม่ให้เสียค่าปรับ นอกจากนี้ยังมีกรณีอื่นๆอีก" สำหรับผู้บริหารโครงการนี้คือ นายวิชัย ดีเจริญกุล
แหล่งข่าวกล่าวว่าเป็นที่น่าสังเกตว่าโครงการซีดีเอ็มเอ เป็นโครงการหนึ่งที่เกิดความสับสนอย่างมากโดยเฉพาะในช่วงการเปิดประมูลในขั้นตอน Bid Conference ซึ่งผู้เข้าร่วมประมูลมีคำถามมากมายเกี่ยวกับทีโออาร์ แต่สิ่งที่กสทตอบกลับเป็นเพียงให้ยึดตามทีโออาร์ แต่ประเด็นที่สำคัญคือในเรื่องค่าปรับตามเงื่อนไขข้อ 12.4 ที่ระบุว่าการขอต่ออายุสัญญาโดยการงดหรือลดค่าปรับจะกระทำมิได้เว้นแต่เป็นเหตุสุดวิสัย หรือเป็นความผิดพลาดหรือความบกพร่องของฝ่ายผู้ว่าจ้างหรือเหตุเกิดจากพฤติการณ์อันหนึ่งอันใดที่ผู้รับจ้างไม่ต้องรับผิดชอบตามกฎหมาย
เงื่อนไขดังกล่าวถือว่ากว้างมาก และเปิดทางให้ใช้ดุลยพินิจของกสทในการตีความว่า "เหตุสุดวิสัย" จะเข้าเงื่อนไขที่ต้องถูกปรับหรือไม่ เรื่องนี้จึงอยู่ที่ความเด็ดขาดของกสทว่าหากมีการผิดเงื่อนไข มีความล่าช้าที่เกิดขึ้นจากการติดตั้งของเอกชน กสทจะใช้ดุลยพินิจอย่างไร เพราะก่อนหน้านี้ก็มีการตั้งข้อสังเกตมาก่อนว่าผู้ชนะจะเป็นซัปพลายเออร์ที่เสนอราคที่ถูกมาก เนื่องจากมีการเจรจากันก่อนหน้าว่าถ้าหากทำไม่ทันก็จะได้รับดุลยพินิจที่เอื้อประโยชน์
ตัวอย่างความล่าช้าที่อาจนำไปสู่การใช้ดุลยพินิจเช่น หากผู้รับจ้างไม่สามารถส่งมอบสิ่งของหรือส่งมอบสิ่งของไม่ถูกต้องหรือไม่ครบจำนวน จะถือว่าผิดทีโออาร์หรือไม่ และหากดำเนินการไม่ได้ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ผู้รับจ้างยินยอมให้ปรับเป็นเงิน 0.2%ของวงเงินตามสัญญาต่อวันนั้นโดยวิธีการตีความอาจตีความเป็นอุปกรณ์ชิ้นใดก็ได้หรือตีความว่า ไม่ดำเนินการในเรื่องใดก็ได้ เพราะการปรับมีระดับชั้นของการปรับด้วย
"ความสงสัยดังกล่าวกสทไม่เคยให้ความกระจ่างกับเวนเดอร์ตอนประมูลโดยปล่อยให้เงื่อนไขข้อ 12.4 ค้างคาไว้ตามความเข้าใจแต่ละคน และอาจใช้เพื่อเอื้อประโยชน์ให้บางรายอย่างที่กำลังจะเกิดขึ้น"
สำหรับโครงการโทรศัพท์มือถือซีดีเอ็มเอในภูมิภาคงบประมาณ 1.34 หมื่นล้านบาท มีการประมูลด้วยวิธีอี-ออคชั่นเมื่อวันที่ 24 ม.ค.2548 โดยมีบริษัทเข้าร่วมประมูล 3 ราย คือ 1.บริษัท โมโตโรล่า(ประเทศไทย) 2.คอนซอร์เตี้ยมบริษัท อีริคสัน(ประเทศไทย) บริษัท อีริคสัน ไทยเน็ทเวอร์ค และบริษัท อีริคสัน ผลิตกรรม(ประเทศไทย)และ 3.คอนซอร์เตี้ยมหัวเหว่ย ประกอบด้วย บริษัท หัวเหว่ย เทคโนโลยี(ประเทศไทย) และบริษัท หัวเหว่ย เทค อินเวสเมนท์ ซึ่งปรากฏว่ากลุ่มหัวเหว่ยเสนอราคาต่ำสุดในวงเงิน 7,199,988,000 บาท และมีการเซ็นสัญญาไปเมื่อวันที่ 4 ก.พ.2548 โดยต้องส่งมอบ 800 สถานีฐานใน 12 เดือนหรือม.ค.2549 และ 1,600 สถานีฐานใน 24 เดือนหลังเซ็นสัญญา
|
|
|
|
|