Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2545








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2545
The Influence             
โดย ปัณฑพ ตั้งศรีวงศ์
 

   
related stories

Ernst & Young
วงเงินที่ผู้ถือหุ้นอนุมัติจ่ายให้กับผู้สอบบัญชีในปี 2545
"เราไม่อยากเป็นที่ 1"
PricewaterhouseCoopers
KPMG
Deloitte Touche
"ผมไม่ใช่ผู้มีอิทธิพล"
ผู้สอบบัญชีที่ได้รับการคัดเลือกจากผู้ถือหุ้นมากที่สุด
ความรับผิดชอบที่แท้จริง

   
www resources

Ernst & Young Homepage

   
search resources

Auditor and Taxation




วิกฤติศรัทธาที่เกิดขึ้นกับวงการผู้สอบบัญชี อันเป็นผลพวงจากกรณีความไม่โปร่งใสในรายงานการสอบบัญชีบริษัท Enron ของ Arthur Andersen เมื่อ 1 ปีก่อน ได้จุดประกายให้คนเริ่มตระหนักถึงความสำคัญของวิชาชีพ ผู้สอบบัญชีว่ามีผลอย่างยิ่งต่อการตัดสินใจลงทุนในตลาดหุ้น

ผู้สอบบัญชี ถือเป็นปราการด่านสุดท้าย ที่ต้องตรวจทาน ข้อมูลทางการเงิน ตัวเลขผลกำไรขาดทุนของกิจการต่างๆ โดย เฉพาะในตลาดหลักทรัพย์ฯ อย่างละเอียด ก่อนที่จะผ่านออกมาให้ปรากฏต่อสาธารณะ

ในอดีต นักลงทุนทั่วไปมักจะเข้าใจว่าบทบาทนี้ ไม่แตกต่างจากตรายางที่เตรียมไว้ประทับบนงบการเงินของบริษัท นักลงทุนส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับตัวเลขกำไร ขาดทุน แต่ละ ไตรมาสที่ประกาศออกมา มากกว่าจะพิจารณาลงไปในรายละเอียดถึงหมายเหตุและความเห็นของผู้สอบบัญชี

บางคนไม่ได้นึกถึงเลยว่า ผู้สอบบัญชีเป็นองค์ประกอบหนึ่งในโครงสร้างตลาดทุน และเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่านักวิเคราะห์หลักทรัพย์ หรือผู้ที่ทำหน้าที่เป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ ฯลฯ

กรณีของ Enron กับ Arthur Andersen จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้คนได้เห็นถึงข้อเท็จจริงในบทบาทของผู้สอบบัญชีว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญ และเป็นองค์ประกอบที่มีอิทธิพล

ในต่างประเทศ โดยเฉพาะฝั่งตะวันตก พัฒนาการของตลาดทุนที่มีมามากกว่า 100 ปี ทำให้วิชาชีพผู้สอบบัญชีได้รับการยอมรับถึงบทบาทที่มีอิทธิพลดังกล่าว

แต่ในประเทศไทย ดูจะแตกต่างออกไป

คนที่ชอบเล่นกับตัวเลข ถ้าได้เข้ามาศึกษาข้อมูลโครง สร้างตลาดทุนของไทยแล้ว จะพบข้อมูลของวิชาชีพผู้สอบบัญชีที่มีความน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง

จำนวนขององค์กร และบุคลากรที่ทำหน้าที่สอบบัญชี และได้รับอนุญาตให้ลงนามกำกับการตรวจสอบบัญชี เมื่อเปรียบ เทียบกับองค์กรที่ทำหน้าที่อื่น ภายในโครงสร้างใหญ่ของตลาดทุนแล้ว ถือเป็นสัดส่วนที่น้อยกว่ากันมาก

และตัวเลขบางตัวก็กระจุกอยู่ในองค์กร และบุคลากรไม่กี่คน

ในโครงสร้างใหญ่ของตลาดหุ้น องค์กรที่กำกับดูแลสูงสุด คือสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลัก ทรัพย์ (ก.ล.ต.) โดยมีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและ ตลาดหลักทรัพย์ MAI เป็นตลาดกลางของการซื้อขายหุ้น

ณ สิ้นไตรมาส 2 ของปี 2545 จำนวนบริษัทจดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มีทั้งสิ้น 384 บริษัท และตลาดหลักทรัพย์ MAI มีทั้งสิ้น 4 บริษัท

จำนวนบุคคลที่มีรายชื่อเป็นผู้ถือหุ้นมีประมาณ 5 แสนราย ในจำนวนนี้เป็นนักลงทุนในตลาดหุ้นประมาณ 2.5 แสนราย

จำนวนบัญชีที่มีการซื้อขายหุ้นผ่านบริษัทนายหน้าซื้อขายหุ้นที่ active จริง มีประมาณ 70,682 บัญชี

บริษัทที่เป็นสมาชิกตลาดหลักทรัพย์ มีทั้งสิ้น 37 บริษัท แต่หยุดประกอบกิจการชั่วคราว 2 บริษัท เหลือบริษัทที่ยังทำกิจการอยู่ 35 บริษัท นอกจากนี้ยังมีบริษัทหลักทรัพย์ที่ไม่ได้เป็น สมาชิกตลาดหลักทรัพย์อีก 3 บริษัท

บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตให้ทำหน้าที่ที่ปรึกษาการลงทุนมีทั้งสิ้น 39 บริษัท

บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตทำธุรกิจจัดการกองทุนรวม มีทั้งสิ้น 14 บริษัท มีกองทุนรวมที่จดทะเบียนกับสำนักงาน ก.ล.ต.จำนวน 263 กองทุน มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ 194,758 ล้านบาท

หากนับจำนวนบุคลากรของบริษัทหลักทรัพย์ทั้งที่เป็นและไม่ได้เป็นสมาชิกตลาดหลักทรัพย์ รวมกับบริษัทที่ปรึกษาการลงทุน และบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมที่กล่าวถึงข้างต้นแล้ว ต้องมีจำนวนนับพันคน

ในจำนวนนี้ส่วนใหญ่ทำหน้าที่เป็นนายหน้า มาร์เก็ตติ้ง นักวางกลยุทธ์ การลงทุน และนักวิเคราะห์หลักทรัพย์

แต่ตัวเลขนี้ นับว่าแตกต่างจากองค์กรที่ทำหน้าที่ตรวจสอบบัญชีเป็นอย่างมาก

ณ วันที่ 6 พฤศจิกายน 2545 มี บริษัทผู้สอบบัญชีที่ได้รับอนุญาตจากสำนักงาน ก.ล.ต. 19 บริษัท มีรายชื่อบุคคลที่ได้รับอนุญาตให้เซ็นชื่อรับรองงบการเงินของบริษัทจดทะเบียนในตลาด หลักทรัพย์ฯ เพียง 71 คน

รายชื่อเหล่านั้นเมื่อนำไปเปรียบ เทียบกับสิ่งที่เกิดขึ้นจริง แม้จะใกล้เคียงกัน แต่ก็มีความแตกต่างกันในรายละเอียด

"ผู้จัดการ" ได้ตรวจสอบรายงาน การประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2545 ของบริษัทที่มีรายชื่อจดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ จำนวน 383 แห่ง และบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ MAI อีก 4 แห่ง ณ สิ้นสุดเดือนเมษายน 2545

ในจำนวนนี้มี 352 แห่งที่ได้รายงานมติเกี่ยวกับการจ้างจากบริษัท ผู้สอบบัญชี และอนุมัติรายชื่อผู้สอบบัญชีรับอนุญาตที่จะเป็นผู้ลงนามกำกับงบการเงิน

ที่เหลืออีก 35 บริษัท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นบริษัทที่อยู่ในกลุ่มแก้ไขการดำเนินงาน (Rehabco) ไม่มีการแจ้งถึง มติดังกล่าว

ในจำนวน 352 บริษัทที่แจ้งมติเกี่ยวกับผู้สอบบัญชี มีทั้งที่แจ้งรายละเอียดครบถ้วนทั้งรายชื่อบริษัทผู้สอบบัญชี รายชื่อผู้สอบบัญชีรับอนุญาตที่มีอำนาจลงนามกำกับงบการเงิน และวงเงินในการจ้างตรวจสอบบัญชี

บางบริษัทก็แจ้งเพียงรายชื่อบริษัทและรายชื่อผู้สอบบัญชี โดยมิได้แจ้งวงเงิน

ขณะที่บางบริษัทแจ้งเพียงรายชื่อบริษัทผู้สอบบัญชี โดยไม่แจ้งรายชื่อผู้สอบบัญชี และวงเงิน ผู้ถือหุ้นของบางบริษัท อนุมัติให้จ้างผู้สอบบัญชีถึง 2 บริษัท ให้ทำงานควบคู่กัน หรือเป็นการอนุมัติสำรองไว้ กรณีที่รายหนึ่งไม่สามารถทำหน้าที่ได้ ก็ให้อีกรายสามารถเข้าตรวจสอบบัญชีแทนได้เลย โดยไม่ต้องมาขออนุมัติอีกครั้งหนึ่ง

บริษัทบางแห่ง ก็ได้มีการจ้างผู้สอบบัญชีเป็นรายบุคคล และผู้สอบบัญชีรับอนุญาตบางรายที่มีรายชื่อได้รับอนุมัติจาก ผู้ถือหุ้นแล้ว แต่ภายหลังถูก ก.ล.ต.สั่งไม่ให้ความเห็นชอบ ก็ต้องมีการเปลี่ยนแปลงใหม่

บริษัทเหล่านี้ อาทิ กรณีของบริษัทพัฒน์กลที่ครั้งแรกได้ว่าจ้างพรชัย กิตติปัญญางาม จากบริษัทบัญชีกิจให้เป็นผู้สอบบัญชี แต่ภายหลัง ก.ล.ต.ไม่ให้การรับรอง จึงต้องเปลี่ยนใหม่เป็นยงอยู่ กระแสสินธุวานนท์ และสุวนีย์ กิตติปัญญางาม ผู้สอบ บัญชีจากบัญชีกิจเช่นกัน

หรือกรณีของบริษัทไดอาน่า ดีพาร์ทเมนท์สโตร์, นำสินประกันภัย, ไทยสโตเรจ แบตเตอรี่, ตงฮั้ว คอมมิวนิเคชั่น และอีสเทิร์นไวร์ ที่ได้จ้างจำรัส ปิงคลาศัย จากบริษัท จำรัส ซีพีเอ ให้เป็นผู้สอบบัญชี แต่ภายหลัง ก.ล.ต.ได้สั่งพักการให้ความเห็น ชอบผู้สอบบัญชีรายนี้เป็นเวลา 6 เดือน ตั้งแต่เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคมที่ผ่านมา ฯลฯ

จากการรวบรวมข้อมูลมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นของ 352 บริษัทที่ได้แจ้งเกี่ยวกับการจ้างผู้สอบบัญชีประจำปี 2535 พบว่ามีบริษัทผู้สอบบัญชีที่ได้รับการคัดเลือกจากผู้ถือหุ้น 19 บริษัท มีรายชื่อผู้สอบบัญชีที่ได้รับอนุมัติจากผู้ถือหุ้นจำนวน 74 คน

รายชื่อของบริษัทและผู้สอบบัญชีที่ได้รับเลือกจากผู้ถือหุ้น เมื่อเทียบกับรายชื่อของบริษัทและผู้สอบบัญชีที่ได้รับอนุมัติจาก ก.ล.ต.นั้นมีความแตกต่างกัน เพราะข้อมูลจาก ก.ล.ต.เป็นข้อมูล ล่าสุดเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน แต่การประชุมสามัญผู้ถือหุ้นนั้น ส่วนใหญ่กระทำกันในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้

เฉพาะรายชื่อที่ได้จากการประชุมผู้ถือหุ้น ยังพบข้อมูลที่น่าสนใจยิ่งขึ้นไปอีกเมื่อในจำนวน 19 บริษัทที่ได้รับเลือกจากผู้ถือหุ้นให้เข้าทำหน้าที่สอบบัญชี บริษัทจำนวน 243 แห่ง หรือ 69% เลือกบริษัทที่เป็นตัวแทนของกลุ่ม Big 5 ของวงการผู้สอบ บัญชีทั่วโลก คือ เอินสท์ แอนด์ ยัง, ไพร้ซวอเตอร์เฮาส์ คูเปอร์ส, เคพีเอ็มจี, ดีลอยท์ ทู้ โธมัตสุ ไชยยศ และเอสจีวี-ณ ถลาง

ส่วนที่เหลือจึงกระจายไปยังบริษัทอีก 14 แห่ง

วงเงินที่ผู้ถือหุ้นใช้ในการจัดจ้างผู้สอบบัญชี ประจำปี 2545 รวบรวมเบื้องต้นได้ทั้งสิ้น 307.4 ล้านบาท

ในจำนวนนี้มีถึง 111 บริษัท ที่เลือกให้เอินสท์ แอนด์ ยัง เป็นบริษัทผู้สอบบัญชี โดยอนุมัติวงเงินรวม 88.2 ล้านบาท (รายละเอียดดูจากตารางวงเงินที่ผู้ถือหุ้นอนุมัติจ่ายให้กับผู้สอบบัญชีในปี 2545)

บริษัทจำนวน 111 แห่ง เมื่อเทียบกับบริษัททั้งหมด 387 แห่ง ที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ และตลาด MAI ในช่วงเดียวกันแล้ว คิดเป็นสัดส่วนเท่ากับ 28.7%

ในทางหนึ่ง สามารถกล่าวได้ว่าในอุตสาหกรรมผู้สอบบัญชี ของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เอินสท์ แอนด์ ยัง คือผู้ครองส่วนแบ่งตลาดสูงที่สุดถึง 28.7%

หรือกล่าวในอีกทางหนึ่ง คือ เกือบ 1 ใน 3 ของบริษัททั้งหมดในตลาดหลักทรัพย์ฯ ของไทย ที่ไว้วางใจเลือกให้เอินสท์ แอนด์ ยัง เป็นผู้สอบบัญชี

ข้อมูลที่น่าสนใจที่สุดคือ ในรายชื่อของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตจำนวน 74 คน ที่ได้รับการอนุมัติจากผู้ถือหุ้นให้ลงนาม กำกับงบการเงินของบริษัทจำนวน 352 แห่ง มีผู้สอบบัญชีของเอินสท์ แอนด์ ยัง 4 คน ที่ได้รับอนุมัติจากผู้ถือหุ้นเกินกว่า 50 บริษัท ให้เข้าไปรับผิดชอบภาระหน้าที่ดังกล่าว

รุทร เชาวนะกวี มีรายชื่อได้รับการอนุมัติจากผู้ถือหุ้น ถึง 76 บริษัท

โสภณ เพิ่มสิริวัลลภ ได้รับอนุมัติ 75 บริษัท

ณรงค์ พันตาวงษ์ ได้รับอนุมัติ 60 บริษัท

และรุ้งนภา เลิศสุวรรณกุล ได้รับอนุมัติ 54 บริษัท

ส่วนที่เหลือรองลงไป ได้รับอนุมัติจากผู้ถือหุ้นเพียงไม่ถึง 30 บริษัท ให้เป็นผู้ลงนามกำกับงบการเงิน (รายละเอียดดูจากตารางผู้สอบบัญชีที่ได้รับการคัดเลือกจากผู้ถือหุ้นมากที่สุด)

กรณีนี้สามารถตีความหมายได้หลายประการ

มองในด้านดีที่สุด รุทร เชาวนะกวี, โสภณ เพิ่มสิริวัลลภ, ณรงค์ พันตาวงษ์ และรุ้งนภา เลิสสุวรรณกุล คือบุคคลที่ได้รับความไว้วางใจมากที่สุดจากผู้ถือหุ้นของบริษัทส่วนใหญ่ถึง 1 ใน 3 แห่ง ในตลาดหลักทรัพย์ฯ

รองลงมา ทั้ง 4 คน เป็นความหวังของผู้ถือหุ้น 1 ใน 3 ของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่ต้องการให้ตัวเลขในงบการเงินของบริษัทที่ถือหุ้นอยู่ ออกมาอย่างโปร่งใสมากที่สุด

หรือในด้านตรงกันข้าม บุคคลทั้ง 4 คน คือ ผู้ที่มีอิทธิพล มากที่สุดในตลาดหุ้นไทยในขณะนี้

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us