Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2545








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2545
หมออุทัย รัตนิน             
โดย ฐิติเมธ โภคชัย
 

   
related stories

The Eyes

   
search resources

อุทัย รัตนิน




เรื่องราวของนายแพทย์คนไทยที่ไม่มีใครคาดคิดว่าจะกลายเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อวงการจักษุแพทย์ไทยและ ต่างประเทศ มีเพียงตัวหมอเท่านั้นที่เข้าใจตนเองสำหรับเส้นทาง การดำเนินชีวิตตลอดระยะเวลา 64 ปี

วันที่ 3 กันยายน 2471 เวลา 5.21 น. ณ บ้านพักแพทย์ ผู้ปกครองโรงพยาบาลปัญจมาธิราชอุทิศ พระนครศรีอยุธยา ยินดีต้อนรับทารกเพศชายและรู้จักกันดีในฐานะผู้สืบสายตระกูลแพทย์ยุคที่ 3 ต่อจากพ่อและปู่ "ศ.นพ.อุทัย รัตนิน"

"อิน" ปู่ของหมออุทัยเป็นหมอแผนโบราณ มีเรือนแพเป็นร้านขายยาไทยอยู่ที่ อ.ผักไห่ อยุธยา ซึ่งคำว่า อิน นำมาผสม กับ "รัตน" เป็นนามสกุลพระราชทานในสมัยรัชกาลที่ 6 เป็น "รัตนิน"

เช่นเดียวกับ "จ๊วน รัตนิน" บิดาของหมออุทัย คือ นักเรียนแพทย์โรงพยาบาลศิริราช สมัยยังไม่มีปริญญาบัตร เรียนจบเป็นแพทย์ประจำโรงพยาบาลแห่งนี้

เส้นทางชีวิตของหมออุทัยดูเหมือนถูกลิขิตให้เดินตั้งแต่ลืมตาดูโลก

หลังจากเรียนชั้นประถมและมัธยมต้นจากโรงเรียนประจำจังหวัดแล้วจึงเข้ามาเรียนต่อที่โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัยในปี 2483 โดยมีศาสตราจารย์เกียรติคุณนายแพทย์ณัฐ ภมรประวัติ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล เป็นเพื่อนสนิททั้งในโรงเรียนวชิราวุธ และคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลศิริราช "เรานอนเตียงติดกันในห้องนอนซึ่งจัดแบบโรงทหาร

มีสิ่งที่เล่นด้วยกันหลายอย่างระหว่างเรียน เคยหลงใหลการ์ตูนฝรั่งเศส ได้รู้จักและชื่นชมในตัวฟลาซ กอร์ดอนนักบินอวกาศ

ที่เดินทางไปโลกพระอังคารและกำลังดังในโลกการ์ตูนอเมริกัน" หมอณัฐเล่าถึงอดีตชีวิตนักเรียนไว้ในหนังสือนัยน์การ นัยน์ใจ ของรฤกงานพระราชทานเพลิงศพ ศ.นพ.อุทัย รัตนิน

หมออุทัยเป็นคนฉลาด พูดน้อยแต่ทำจริง เรียนหนังสือดีและสุภาพ ความสุภาพอ่อนโยนอาจทำให้บางครั้งมองไม่ออกว่าหมออุทัยเป็นคนสุขุมลึกซึ้ง จะทำสิ่งใดก็ได้คิดและไตร่ตรองอย่างรอบคอบ ไม่ชอบแสดงว่ารู้ทันความเฉลียวฉลาดหรือความนึกคิดของคนอื่น และไม่ต้องการหักล้างความเห็นผู้อื่นด้วยวาจาหรือ การโต้เถียงที่เคร่งเครียดนัก แต่เมื่อตัดสินใจในเรื่องต่างๆ หลังจากคิดทบทวนเป็นอย่างดีแล้วและทำในเรื่องที่แน่ใจแล้วอย่างมั่นคง

นิสัยและบุคลิกเหล่านี้เหมาะสำหรับอาชีพนายแพทย์ แต่เขากลับตั้งใจที่จะเรียนทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ โดยได้แนวคิด มาจากอุดม รัตนิน ผู้เป็นอาที่คลุกคลีมาตั้งแต่เด็ก และอุดมจบวิศวกรรมศาสตร์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

"ผมเคยเล่าถึงสิ่งที่น่าชื่นชมของอาชีพช่างให้อุทัยฟังเสมอๆ พร้อมกับเปรียบเทียบการเป็นหมอว่าเป็นอาชีพที่พบแต่ความเศร้าหมอง คนไข้แต่ละรายที่มารักษามีลักษณะที่ไม่น่ารื่นรมย์ หมอต้องทำงานหนักจนแทบไม่มีเวลาของตนเอง" อุดมบรรยายอดีตที่เคยพูดคุยกับหลานชาย

หลังเรียนจบจากวชิราวุธหมออุทัยกลับเข้าศึกษาต่อ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลศิริราช จากคำร้องขอของบิดาและไม่ทำให้ผิดหวังเมื่อเรียนจบแพทย์ในปี 2495 แต่ความฝันตั้งแต่ วัยเด็กยังเต็มเปี่ยม ดังนั้นวันที่เพื่อนร่วมรุ่นรับพระราชทานปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิต กลับเป็นวันที่หมออุทัยอยู่บนเครื่องบิน เพื่อเดินทางไปออสเตรเลียเพื่อศึกษาในสาขาวิศวกรรมศาสตร์

"หมอเคยเล่าให้ผมฟังว่ามีความรู้สึกว่าได้เรียนแพทย์เพื่อตามใจคุณพ่อแล้ว คราวนี้ขอให้คุณพ่อตามใจหมอบ้าง ซึ่งคุณพ่อ ก็ยินยอม" หมอณัฐบอก

หมออุทัยกลับพบว่าเป็นความล้มเหลวโดยสิ้นเชิง "แค่สองเดือนแรกผมเริ่มรู้สึกอึดอัดกับการเรียนวิศวะ ไม่เหมือนกับที่เรา นึกฝันไว้" หมออุทัยเคยกล่าวไว้

อย่างไรก็ตาม เขายังอดทนเรียนเป็นเวลาหนึ่งปีแล้วตัดสินใจกลับมาเรียนแพทย์ใหม่โดยเดินทางไปนิวยอร์กจากการติดต่อ กับเพื่อนรุ่นพี่เพื่อไปเป็นแพทย์ฝึกหัดที่โรงพยาบาล Mount Vernon และเมื่อครบปีได้รับคัดเลือกเป็นแพทย์ประจำบ้านของ โรงพยาบาลโรคตาและโรคหูแห่งนิวยอร์ก (New York Eye and Ear Infirmary)

"เหตุผลที่เรียนสาขาจักษุวิทยาเพราะตอนเลือกสาขาเรียนชอบทางผ่าตัดและทางยา ยานี่ก็น่าเรียนคิดว่าจะเรียนสาขาที่ได้ ทั้งผ่าตัดและให้ยา ซึ่งก็มีจักษุที่เป็นวิชาหนึ่งที่เด่นออกมาใน ความรู้สึกของผม" หมออุทัยเคยกล่าวเอาไว้

นอกจากจะทำหน้าที่แพทย์ฝึกหัดแล้ว ยังได้ริเริ่มโครงการวิจัยความแตกต่างนานาชนิดด้านกายวิภาคของจอประสาทตา ส่วนริมของดวงตาปกติ และการแปรสภาพตามวัยของคนปกติ แต่หมออุทัยต้องวางมือกลับเมืองไทยเนื่องจากข่าวการป่วยของบิดา

หมออุทัยใช้ชีวิตอยู่อเมริกาประมาณ 6 ปี จึงเดินทางกลับเมืองไทยและได้รับบรรจุเป็นอาจารย์โทที่มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลศิริราช และมาพร้อมกับความฮือฮาในแผนกจักษุโสตนาสิกลาริงซ์วิทยา (ชื่อเรียกในสมัยนั้น) โดยนำเอาวิทยาการสมัยใหม่ เช่น การใช้กล้องส่องตรวจจอประสาทตาแบบ Binoculars Indirect Ophthalmoscope และการผ่าตัดจอรับภาพมาเผยแพร่

นอกเหนือไปจากการเป็นอาจารย์และหมอในโรงพยาบาลศิริราช ยังเปิดคลินิกของตนเองรักษาเฉพาะโรคตาในช่วงปี 2502 ด้วยการเช่าห้องเล็กๆ บนชั้น 2 ของร้านขายแว่นตาสามยอด ใกล้วังบูรพาโดยใช้เวลาช่วงเย็นเข้ามาทำงาน

อย่างไรก็ตาม แม้จะอยู่ทำงานอยู่ที่เมืองไทยแต่ทาง อเมริกาโดยเฉพาะคณะแพทย์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด พยายามติดต่อหมออุทัยไปทำงานวิจัยหลายครั้ง แต่เนื่องจากขณะนั้น โรงพยาบาลศิริราชขาดแคลนจักษุแพทย์ที่มีความรู้และประสบการณ์ โดยเฉพาะหมออุทัยที่ชำนาญเป็นพิเศษด้าน การรักษาโรคทางจอประสาท (Retina)

ในที่สุดโรงพยาบาลจึงอนุมัติให้หมออุทัยเดินทางไปบอสตัน เพื่อสานโครงการอันยิ่งใหญ่ต่อภายในเวลากำหนด 6 เดือน ซึ่งเป็นงานที่ยากลำบากมาก เพราะเกี่ยวกับจอประสาทตาที่ต้องวาดขึ้นเป็นภาพเต็มโดยสมบูรณ์ และเป็นครั้งแรกในโลกส่งผลให้หมออุทัยเริ่มมีชื่อเสียง และเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง

หมออุทัยต้องใช้เวลาค้นคว้านานถึง 16 เดือน จนกระทั่งปลายปี 2503 โรงพยาบาลศิริราชจำเป็นต้องขอตัวหมอกลับมาทำงานอีกครั้ง สร้างความเสียดายให้กับฮาร์วาร์ดเป็นอย่างยิ่ง และตัวหมอเองก็ต้องการจะใช้ส่วนหนึ่งของข้อมูลที่ค้นคว้าประกอบวิทยานิพนธ์เพื่อทำปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยนิวยอร์กด้วย

การกลับมาของหมออุทัยครั้งนี้ทำให้ได้พบรักกับจำนงศรี ล่ำซำ บุตรสาวของจุลินทร์ ล่ำซำ แห่งล็อกซเล่ย์ ทั้งสองรู้จักสนิทสนมกันหลังจากที่จุลินทร์เป็นคนไข้ของหมออุทัย และทั้งคู่ก็ตกลงใจแต่งงานเมื่อเดือนมีนาคม 2505

ต่อมาสถาบันวิจัยด้านจักษุวิทยาที่บอสตัน เสนอตำแหน่งให้หมออุทัยเป็นนักวิจัยประจำสถาบัน เพื่อจะได้กลับไปดำเนินโครงการวิจัยต่อให้สำเร็จ ในที่สุด ต้นปี 2506 ได้รับอนุญาตจากต้นสังกัดเป็นเวลา 6 เดือน และการไปบอสตันครั้งนี้สองสามีภรรยาได้ทายาทคนแรก (นายแพทย์สรรพัฒน์ รัตนิน) ส่วนงานในคลินิก หมออุทัยได้อาศัยเพื่อนที่ทำงานร่วมกันในแผนกจักษุโรงพยาบาลศิริราชช่วยดูแล

อย่างไรก็ดี หมออุทัยใช้เวลานานถึง 9 เดือนสำหรับ การศึกษาข้อมูล และครอบครัวรัตนินทั้งสามก็เดินทางกลับ เมืองไทย โดยหมออุทัยตั้งใจจะมาเขียนรายงานวิจัยให้สำเร็จ แต่เขาต้องเผชิญกับข้อจำกัดทางด้านเวลาทั้งงานประจำที่ โรงพยาบาล งานสอนหนังสือ และงานคลินิก

โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานที่คลินิก ที่เริ่มมีคนไข้เพิ่มมากขึ้น จนกระทั่งต้องขยายพื้นที่และในปี 2507 "รัตนินจักษุคลินิก" เริ่มก่อตั้งขึ้นภายในบริเวณบ้านเก่าที่บิดาของคุณหญิงจำนงศรี มอบให้ในซอยอโศก โดยมีเตียงผู้ป่วยใน 4 เตียง ต่อมาอีก ประมาณ 5 ปีปรับปรุงเพิ่มเติมเป็น 7 เตียง

ขณะที่งานวิจัยประสบความสำเร็จในปี 2510 รายงานชิ้นนี้ 4 เรื่องเป็นที่ยอมรับว่าเป็นพื้นฐานของจักษุวิทยาจึงได้รับการตีพิมพ์ และรายงานนี้ถูกยึดถือเป็นหลักวิชาพื้นฐานสำคัญของจักษุวิทยาจนถึงวันนี้ อีกทั้งยังเป็นผู้วาดภาพจอประสาทตาสมบูรณ์เป็นคนแรกของโลก

สำหรับเมืองไทย หมออุทัยคือผู้ริเริ่มวิธีผ่าตัดรักษาโรคจอประสาทตาหลุดและถือเป็นผู้บุกเบิกวงการจักษุวิทยาอย่างแท้จริง อีกทั้งยังเป็นผู้ก่อตั้งภาควิชาจักษุวิทยาและหัวหน้าภาควิชาคนแรกของโรงพยาบาลรามาธิบดี

ปี 2518 หมออุทัยลาออกจากราชการเพื่อมาทำงานคลินิกเต็มตัวและได้ขยายกิจการจนกลายเป็นโรงพยาบาลเฉพาะจักษุ แห่งแรกและแห่งเดียวในเมืองไทยจนถึงปัจจุบัน

ตลอดระยะเวลา 38 ปีที่หมออุทัยบริหารโรงพยาบาลจักษุรัตนินจากประสบการณ์ผสมผสานความแม่นยำทางวิชาการ พร้อมเทคโนโลยีทันสมัยเพื่อการรักษาดวงตาครบวงจร ทำให้เป็น ที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวาง จนกระทั่งวันที่ 19 ธันวาคม 2535 วงการจักษุวิทยาของโลกต้องสูญเสียบุคลากรที่ทรงคุณค่าไปอย่างกะทันหันด้วยการหายใจล้มเหลวชนิดรุนแรง ณ โรงพยาบาล Baptist Medical Center สหรัฐอเมริกา

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us