Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2545








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2545
The Eyes             
โดย ฐิติเมธ โภคชัย
 

   
related stories

หมออุทัย รัตนิน

   
www resources

โรงพยาบาลจักษุ รัตนิน

   
search resources

โรงพยาบาลจักษุ รัตนิน
สรรพัฒน์ รัตนิน
อุทัย รัตนิน
Hospital




ในฐานะลูกชายคนเดียว เขารับรู้ถึงการรับช่วงบริหารกิจการต่อจากบิดา แต่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างไม่คาดฝัน เขาจำเป็นต้องเข้ามาดูแลกิจการเร็วกว่าที่คิด

เป็นเวลามากกว่าหนึ่งปีแล้ว ที่ตัวเลขผู้ป่วยนอก (OPD) เข้ามารักษาดวงตากับโรงพยาบาลจักษุรัตนินประมาณ 70,000 คนต่อปีและคาดว่าในอนาคตตัวเลขดังกล่าวจะเพิ่มสูงขึ้นเท่าตัวจากการขยายกิจการออกไป

ด้วยอายุ 39 ปีในฐานะผู้อำนวยการโรงพยาบาล จักษุรัตนิน นายแพทย์สรรพัฒน์ รัตนิน จักษุแพทย์ที่มีทั้งศาสตร์และศิลป์ในคนเดียว กันต้องพยายามรักษาชื่อเสียงธุรกิจของครอบครัวแห่งนี้ไว้ในฐานะโรงพยาบาลเฉพาะทางอันดับหนึ่งของประเทศ

ด้วยวิถีชีวิตที่ขีดเส้นให้เขาเดิน โรงพยาบาลแห่งนี้จะต้องอยู่ภายใต้การบริหารของเขาเมื่อถึงเวลาอันเหมาะสม แต่โชคชะตาผลักดันให้เขาเข้ามาเร็วกว่าที่กำหนด

วันเสาร์ที่ 19 ธันวาคม 2535 ณ โรงพยาบาล Baptist Medical Center สหรัฐอเมริกา วงการจักษุแพทย์ของโลกต้องสูญเสียบุคลากรสำคัญยิ่ง ด้วยระบบการหายใจล้มเหลวชนิด รุนแรง ศาสตราจารย์นายแพทย์อุทัย รัตนิน ผู้ก่อตั้งและเจ้าของ โรงพยาบาลจักษุรัตนิน

เหตุการณ์ดังกล่าว ไม่มีใครคาดคิดว่าหมออุทัยจะจากไป เร็วเช่นนี้ และดูเหมือนว่าวันเวลาที่เหลืออยู่ไม่มากนักนั้นได้รับการจัดสรรจากจังหวะชีวิตโดยหมออุทัยเองก็ไม่รู้ตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งอนาคตของโรงพยาบาลจักษุรัตนินที่ต้องมีผู้สืบทอดภายใต้ช่วงเวลาที่เหมาะสม

แม้ว่านายแพทย์อุทัยรับรู้มานานแล้วว่าทายาทคนต่อไปคือ ลูกชายคนโตและคนเดียวของตระกูลรัตนิน "นายแพทย์ สรรพัฒน์" จักษุแพทย์ที่ถอดแบบมาจากตนเองทั้งด้านการทำงานและการดำเนินชีวิต โดยวางแผนอนาคตว่าลูกชายจะมาช่วยงานที่โรงพยาบาลทันทีที่จบเป็นจักษุแพทย์เต็มตัวในเดือนมิถุนายน 2536 หลังจากนั้นเมื่อเรียนรู้และศึกษาปัญหาทางจักษุวิทยาในเมืองไทยสักระยะหนึ่งแล้วจะต้องกลับไปศึกษาค้นคว้าในฐานะ Fellow แต่เมื่อเหตุการณ์เกิดขึ้นอย่างกะทันหัน นายแพทย์สรรพัฒน์ตัดสินใจศึกษาต่ออีก 2 ปีก่อนจะเข้ามาดูแลธุรกิจของครอบครัวอย่าง เต็มตัว

"เมื่อเป็นเด็ก ใครถามว่าโตขึ้นอยากเป็นอะไร ผมตอบแบบไม่ต้องลังเลเลยว่าอยากเป็นหมอเหมือนคุณพ่อ พอโตขึ้นใกล้ถึงเวลาเลือกทางเดินจริง คุณพ่อเป็นคนหนึ่งที่ไม่เคี่ยวเข็ญแต่ปล่อยให้ผมคิดด้วยตัวเอง" เป็นความในใจของนายแพทย์สรรพัฒน์ที่เขียนไว้ในหนังสือนัยน์กาย นัยน์ใจ ของรฤก งานพระราชทานเพลิงศพ ศ.นพ.อุทัย รัตนิน

สิ่งที่กระตุ้นให้เขามีความคิดนี้มาจากการได้เห็นคุณพ่อทำงานมาตั้งแต่เด็ก เพราะสนามวิ่งเล่นอยู่บริเวณชั้น 5 ซึ่งเป็นห้องยาของรัตนินจักษุคลินิก ทำให้การปลูกฝังเกิดขึ้นโดยที่ตนเองไม่รู้ตัว "วัยเด็กผมซุกซนมาก บางครั้งเล่นจนหัวเข่าแตกก็เย็บกันที่ห้องผ่าตัดตากันเลย" เขาเล่า

ดังนั้น เขาจึงได้รับอิทธิพลจากบิดาค่อนข้างมากจากการได้เห็นความรักที่บิดามีต่องาน และคนไข้ทำให้เขารู้ว่านี่คืออาชีพที่ทำประโยชน์ให้ผู้อื่นด้วยความรู้และน้ำมือของตนเอง

"ไต๋" ชื่อที่ทุกคนเรียก หมอสรรพัฒน์เกิดที่บอสตัน อเมริกา ขณะที่หมออุทัยกำลังทำ Fellow ด้านจอประสาทตา เมื่อประมาณปี 2503 โดยมีภรรยา คุณหญิงจำนงศรีเดินทางไปด้วย และวันที่ 13 มีนาคม 2506 คุณหญิงให้กำเนิดบุตรชายหน้าตาน่ารักสัญชาติไทย/อเมริกัน ณ โรงพยาบาล Mount Auburn หลังจากหมออุทัยสำเร็จการศึกษาก็พาครอบครัวกลับมาใช้ชีวิตในเมืองไทย ขณะที่ไต๋เกิดได้เพียง 3 เดือน

หมอสรรพัฒน์เรียนระดับชั้นประถมศึกษาที่สาธิต มศว.ประสานมิตร แล้วไปต่อที่สาธิตปทุมวันจนกระทั่งอายุได้ 12 ปี ถูกส่งไปเรียนต่อที่ Blundellžs Public School ซึ่งมีอายุเก่าแก่เกือบ 400 ปี (ก่อตั้งปี 1604 โดย Peter Blundell ตั้งอยู่เมือง Tiverton ใน Devon ประเทศอังกฤษ "เป็นโรงเรียนประจำตั้งอยู่ห่างไกลความเจริญมาก ที่คุณแม่ไปดูแล้วชอบ เพราะไม่มีคนไทยอาศัยอยู่เลย จึงมองว่าภาษาอังกฤษของผมจะไปได้เร็ว" เขาเล่า "ที่สำคัญโรงเรียนแห่งนี้มีสถิติของการเข้าเรียนแพทย์สูง"

เมื่อสำเร็จระดับมัธยมแล้วเขาได้เข้าไปเป็นนักเรียนแพทย์ตามความตั้งใจที่มหาวิทยาลัยลอนดอนและได้ฝึกงานด้านแพทย์ตั้งแต่ปี 2525-2530 จนกระทั่งปีถัดมาได้เป็นแพทยศาสตรบัณฑิต จากนั้นเดินทางไปแคนาดา เพื่อศึกษาต่อที่ University of Toronto ด้าน Corneal & External Diseases

"สาเหตุที่เลือกเรียนที่นี่เพราะมีระบบการศึกษาที่ให้เราสังเกตการณ์คนไข้มากกว่าพึ่งการตรวจหรือทดสอบด้วยวิธีอื่น" หมอสรรพัฒน์กล่าว โดยปี 2532-2536 เป็นแพทย์ประจำบ้านด้านจักษุวิทยา แผนกจักษุวิทยามหาวิทยาลัยโตรอนโต

จนกระทั่งเขาได้วุฒิบัตรผู้เชี่ยวชาญด้านจักษุวิทยา ด้าน Vitreo-Retinal Surgery และ Corneal & External Diseases ของมหาวิทยาลัยดังกล่าว และวุฒิบัตรผู้เชี่ยวชาญด้าน จักษุวิทยาจากราชวิทยาลัยแพทย์และศัลยแพทย์แห่งแคนาดา

ต้นเดือนพฤศจิกายน 2535 วิทยาลัยทางจักษุแห่งสหรัฐ อเมริกา (American Academy of Ophthalmology) จัดประชุมประจำปีทางจักษุวิทยา และหมออุทัยไม่เคยพลาด และปีนั้นก็เช่นเดียวกันที่ได้เดินทางไปอเมริกา ส่วนลูกชายบินมาพบ บิดา ขณะนั้นเขาเป็นแพทย์ฝึกหัดทางจักษุวิทยาปีสุดท้ายพอดี

ช่วงระยะเวลาดังกล่าว สองพ่อลูกได้มีโอกาสนั่งวางแผน เพื่ออนาคตของโรงพยาบาลจักษุรัตนิน แต่ทั้งคู่หารู้ไม่ว่า นี่เป็นครั้งสุดท้ายสำหรับการพูดคุยเพราะอีกไม่กี่วันต่อมานายแพทย์สรรพัฒน์ได้รับข่าวร้ายที่สุดในชีวิต

เมื่อหมออุทัยถึงแก่อนิจกรรม เขาไปแคนาดาอีกครั้งเป็นเวลาเกือบ 2 ปีจึงกลับมาเมืองไทยเพื่อสานต่อเจตนารมณ์ของบิดาภายในโรงพยาบาลจักษุรัตนิน

ปี 2541 โรงพยาบาลจักษุรัตนินได้ต้อนรับผู้อำนวยการคนใหม่ที่ชื่อนายแพทย์สรรพัฒน์ รัตนิน ซึ่งเขารู้ดีถึงเส้นทางชีวิตของตนเอง "ผมรู้ว่าจะต้องมาดูแลกิจการต่อจากคุณพ่อซึ่งเป็นธุรกิจของครอบครัวซึ่งผมเป็นลูกชายคนเดียวและเป็นจักษุแพทย์อีกด้วย" นายแพทย์สรรพัฒน์เล่า

นับตั้งแต่โรงพยาบาลจักษุรัตนินก่อตั้งขึ้นจากความคิดของคุณหมออุทัย เมื่อ 38 ปีที่เริ่มจาก "รัตนินคลินิก" ที่มีเตียงผู้ป่วยในเพียง 4 เตียงและดำเนินงานแบบครอบครัวบนสนามหน้าบ้านในซอยอโศก จนกระทั่งเติบโตเป็นที่ยอมรับ

อย่างไรก็ตาม เจตนารมณ์ของคุณหมออุทัยยังไม่สมบูรณ์แบบตามที่ตั้งใจไว้จึงเป็นภารกิจของผู้สืบทอดรุ่นถัดมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรักษาและมีจักษุแพทย์ครบทุกสาขาของโรคตา "ตอนที่คุณพ่อเสียยังขาดอยู่ 3 สาขา เพราะยังไม่มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะ คือ แผนกตาปลอม แผนก Uveitis และแผนก Neouro-Ophtalmology" นายแพทย์สรรพัฒน์บอก "ปัจจุบันมีครบหมดแล้ว ดังนั้นผมได้ทำตามเจตนารมณ์ของคุณพ่อในเรื่องนี้สมบูรณ์แล้ว"

เหนือสิ่งอื่นใดเขาต้องรักษาชื่อเสียงที่สั่งสมมาเป็นเวลานานเอาไว้ แม้ว่าจะไม่ได้เรียนด้านการบริหารธุรกิจ แต่จากการคลุกคลีอยู่ภายในโรงพยาบาลมาตั้งแต่เด็ก ย่อมรู้ถึงความต้องการของคนไข้อย่างแท้จริง อีกทั้งการรับรู้ในความตั้งใจของบิดาว่าต้องการให้โรงพยาบาลเป็นอย่างไร การสืบทอดเจตนา รมณ์จึงเป็นไปอย่างราบรื่น

"ต้องเข้าใจว่านี่ไม่ใช่การทำธุรกิจเพียงอย่างเดียวแต่เป็นปลายทางของผู้ป่วยที่มีปัญหา เราจึงต้องช่วยเหลืออย่าง เต็มที่" เขาอธิบาย "คุณพ่อเคยบอกว่าสิ่งที่ทำมาตลอดคือโรงพยาบาลแห่งนี้มีแพทย์ที่ดี มีเครื่องมืออันทรงประสิทธิภาพ แม้อาจจะไม่เป็นรุ่นทันสมัยแต่วางใจได้"

อย่างไรก็ตาม ด้วยวิวัฒนาการการดำเนินธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนที่มีความทันสมัยมากขึ้น และมีการแข่งขันที่ค่อนข้างสูงประกอบกับแพทย์มีประสิทธิภาพ ย่อมส่งผลกระทบกระเทือนต่อโรงพยาบาลเฉพาะทางอย่างจักษุรัตนินเมื่อเทียบกับคู่แข่งที่บริหารงานแบบครบวงจร แต่ดูเหมือนว่าจะไม่เป็นที่กังวลของนายแพทย์สรรพัฒน ์เพราะเขาได้เพิ่มความสำคัญด้านการบริการ ซึ่งจะได้เห็นแพทย์หรือพนักงานของจักษุรัตนินมีสิ่งที่เรียกว่า Service Mind เนื่องเพราะทุกวันนี้คนไข้มีความรู้เรื่องโรคภัยไข้เจ็บที่ตนเองเผชิญอยู่มากขึ้น และเมื่อไปรักษาจะรู้ว่าแพทย์กำลังทำอะไร ต่างจากในอดีตที่คนไข้มีความศรัทธาและไว้วางใจต่อแพทย์สูงมาก ดังนั้นนอกเหนือหน้าที่การรักษาแล้ว แพทย์จะต้องให้ความสำคัญในด้านบริการ

"จักษุแพทย์ที่นี่ไม่ใช่มีความรู้เรื่องตาอย่างเดียว ยังต้องมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีและสามารถอธิบายกับคนไข้ได้" นายแพทย์สรรพัฒน์ชี้ "ปัจจุบันความสุข ความพอใจของคนไข้ไม่ได้อยู่ที่การรักษาเท่านั้น แต่ต้องการการดูแลเอาใจใส่จากแพทย์อีกด้วย"

วิธีการดังกล่าวเรียกว่า Wholly Medicine ที่แพทย์ต้องอธิบายให้คนไข้เข้าใจในอาการป่วยซึ่งทำให้ทั้งสองฝ่ายเข้าใจซึ่งกันละกัน ไม่ใช่รักษาด้วยการให้ยาเท่านั้น "คำว่ารักษาในภาษาต่างประเทศ คือ Treatment แต่การให้บริการที่ครอบคลุม ทั้งหมดเรียกว่า Management ซึ่งพวกเราต้องการอย่างหลัง"

กล่าวอีกนัยหนึ่ง เขาพยายามสร้างโรงพยาบาลให้เป็นมากกว่าสถานที่รักษาคนไข้และคุณภาพด้านวิชาการเท่านั้น หากพิจารณาถึงวงการแพทย์ในประเทศไทยปัจจุบันให้ความสำคัญต่อการรักษ าซึ่งเหตุการณ์นี้เกิดจากจำนวนแพทย์มีจำนวนไม่มาก เมื่อเทียบกับจำนวนประชากร ดังนั้นการให้เวลากับคนไข้ต่อรายจึงมีค่อนข้างจำกัด

เมื่อจุดประสงค์เป็นเช่นนี้ นโยบายการรับแพทย์เข้ามาทำงานในจักษุรัตนินจะต้องผ่านการฝึกฝนจากต่างประเทศเพื่อความรู้วิชาการหรือเทคโนโลยีใหม่ๆ โดยเฉพาะแพทย์ที่จบจากโรงเรียนแพทย์ในประเทศจะได้รับประสบการณ์โดยตรง

"พวกเขาจะรู้ว่าหมอต่างประเทศคุยกับผู้ป่วยและรักษาคนไข้อย่างไร และใช้เวลาในการรักษาต่อคนเป็นชั่วโมงไม่ใช่ 3 นาที 5 นาที" นายแพทย์สรรพัฒน์เล่า "มีแพทย์รุ่นน้องคนหนึ่งแฟกซ์มาบอกผมว่าตั้งแต่เช้าถึงหนึ่งทุ่มตรวจคนไข้ได้เพียง 11 ราย ซึ่งแตกต่างกับจำนวนคนไข้ที่รักษาจากแพทย์ในเมืองไทยมาก"

นอกเหนือจากให้ความสำคัญการบริการคนไข้ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่ดีของแพทย์แล้ว เป้าหมายผลประกอบการถือเป็นเรื่องที่นายแพทย์สรรพัฒน์ละเลยไม่ได้เนื่องเพราะเป็นองค์กรเอกชน แม้ว่าการแสวงหาผลกำไรไม่ใช่เป้าหมายสูงสุดก็ตาม

หากพิจารณาแล้วสิ่งที่เขาต้องการ คือ ความไว้วางใจจากคนไข้รวมถึงการที่พวกเขาเลือกแพทย ์ถือเป็นการวัดความสำเร็จที่ดีอย่างหนึ่งสำหรับการดำเนินธุรกิจโรงพยาบาล "พวกเรามีเป้าหมายอยู่ที่คุณภาพ วิชาการ และกำไร ที่สำคัญจักษุรัตนินเป็น One Stop Service คนไข้มาหาเราไม่ต้องไปรักษาโรคตาที่อื่น"

แนวคิดของนายแพทย์สรรพัฒน์ดูเหมือนไม่เฉพาะแค่เป็นจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น เขายังเป็นนักบริหารธุรกิจโรงพยาบาลที่น่าจับตามองคนหนึ่งจากวิสัยทัศน์ที่แสดงออกมา "ต้องเข้าใจว่าธุรกิจนี้ต่างจากธุรกิจอื่นๆ เพราะเป็นเรื่องการรักษาและสิ่งที่เราต้องการมีมากกว่าคำว่าการทำธุรกิจ"

อย่างไรก็ตาม การเติบโตของจักษุรัตนินมาจากกระบวน การธุรกิจครอบครัว ดังนั้นนอกเหนือจากนายแพทย์สรรพัฒน์ ที่เข้ามาดูแลงานยังมีน้องสาวทั้งสามคน ได้แก่ อโนมา รัตนิน เข้ามาบริหารงานด้านการเงิน, จิตรจารี รัตนิน ดูแลด้านการตลาด, วรัดดา หลีอาภรณ์ ดูด้านอินเทอร์เน็ต และภรรยาของเขา ศิริธร เข้ามาดูแลด้านการบริหารทั่วไป

ส่งให้ผลงานเชิงการบริหารภายใต้ผู้นำอย่างนายแพทย์สรรพัฒน์ออกมาดูดีโดยเฉพาะในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ อัตราคนไข้ลดลงเพียง 2-3% และเป็นสถานการณ์ระยะสั้นๆ เพราะหลังจากนั้นอัตราการเติบโตขยับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง "ผมมองว่าเป็นธุรกิจที่น่าสนใจ" นายแพทย์สรรพัฒน์กล่าว

นอกจากนี้เขายังพยายามขยายความสำเร็จออกไปยังแถบประเทศเพื่อนบ้านด้วยการร่วมมือกับพันธมิตร อาทิ โรงพยาบาลในกัมพูชา มาเลเซีย และเวียดนาม เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนในเชิงธุรกิจซึ่งกันและกัน เพราะทุกวันนี้มีคนไข้จาก แถบอาหรับเข้ามารักษาที่จักษุรัตนินประมาณ 14% ของจำนวนคนไข้ทั้งหมด

"คนไข้เหล่านั้นเริ่มรู้ถึงคุณภาพและระดับค่าใช้จ่าย ประกอบกับพวกเราพยายามโปรโมตด้วย ทำให้คนไข้ต่างชาติเริ่มมีมากขึ้น"

ด้วยวิสัยทัศน์อันโดดเด่นประกอบกับความเชี่ยวชาญ ในวิชาชีพส่งผลให้นายแพทย์สรรพัฒน์ทายาทรุ่นที่ 2 แห่ง โรงพยาบาลจักษุรัตนิน สามารถสร้างความเติบใหญ่ต่อจาก รุ่นก่อนได้อย่างรวดเร็ว

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us