Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์20 ตุลาคม 2548
กระตุ้นยอดส่งออกหลัก เร่งพัฒนา 3 อุตสาหกรรมหลัก             
 


   
search resources

Commercial and business
Import-Export




ในอดีต ไทยมีรายได้จากการส่งออกสินค้าจาก 3 อุตสาหกรรมหลัก เครื่องนุ่งห่ม เครื่องหนังและอัญมณีได้เป็นอย่างมากกว่า 300,000 ล้านบาท เพราะไทยมีจุดแข็งที่ค่าแรงที่ถูกและฝีมือการผลิตที่ประณีต โดยมีตลาดหลักอยู่ที่สหรัฐอเมริกาและยุโรป แต่ตอนนี้ภาคการผลิตทั้ง 3 ต้องมีการปรับตัวให้ทันกับสภาวะโลกอย่างมาก

กระตุ้นผู้ผลิตปรับตัว

ปราโมทย์ วิทยาสุข ผู้อำนวยการสำนักงานโครงการกรุงเทพฯ เมืองแฟชั่นกล่าวว่าผู้ประกอบการทั้ง 3 ภาคอุตสาหกรรมต้องปรับตัวให้ทันเข้ากับสิ่งแวดล้อมการแข่งขันที่แตกต่างจากเดิม เช่นในภาคสิ่งทอ ก็ควรที่จะปรับเปลี่ยนการผลิตลายผ้าจากเดิมที่ทำแบบละปริมาณมากๆ มาเป็นการทำหลายๆลายและทำปริมาณร้อยๆ ส่วนเส้นใยผ้าก็ควรจะเน้นที่การพึ่งพิงธรรมชาติเป็นหลักไม่ว่าจะเป็นผ้า ค็อตตอน หรือ ไหม เพราะการปรับเปลี่ยนทั้งสองอย่างนี้ต่างเป็นที่ต้องการของตลาด และยังคงต้องเน้นการพัฒนาสินค้าเพื่อสร้างแบรนด์มากกว่าที่จะเน้นการขายตัดราคาอย่างที่เคยเป็นมา

และในส่วนของอุตสาหกรรมเครื่องหนังนั้น จะต้องมีการเสาะแสวงหาวัตถุดิบราคาถูกในตลาดใหม่ๆอย่าง จีนและเวียดนาม เพื่อลดต้นทุนการผลิตอีกทั้งเน้นการออกแบบให้มีความเป็นเอกลักษณ์ ซึ่งเชื่อว่าต่อไปเครื่องหนังไทยจะสามารถสู้บนเวทีตลาดโลกได้

ซึ่งทางสมาคมเครื่องนุ่งห่มไทยก็ได้สนับสนุนการพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมสิ่งทอไทยด้วยการหาพันธมิตรมาช่วยในการลงทุน เพื่อเป็นการตอบสนองความต้องการอันหลากหลายของตลาดโลก เช่นที่ผ่านมาได้มีการผสมผสานความชำนาญ ฝีมือและคุณภาพด้านการตัดเย็บไทยกับวัสดุสิ่งทอให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น โดยร่วมมือกับ สิ่งทอไต้หวันกว่า 30 บริษัท เพื่อสร้างความหลหากหลายให้กับอุตสาหกรรมสิ่งทอให้มีทางเลือกมากขึ้น

ตั้งเป้าพัฒนาคนทั้ง 3 ภาคอุตสาหกรรม

เพราะเมื่อมองที่มูลค่าการส่งออกสิ่งทอของไทยในปี 2547 ทั้งปีมีมูลค่า 6,402 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยมีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้น 17.1% เมื่อเทียบกับปี 2546 ที่อยู่ที่ 5,466 ล้านเหรีญสหรัฐและล่าสุดในช่วง 8 เดือนที่ผ่านมา ภาพรวมภาคส่งออกเครื่องนุ่งห่มโตขึ้น 3.54% เมื่อเทียบกับที่ 2547 มูลค่า 1,207.05 ล้านเหรียญสหรัฐคาดว่าการส่งออกในปี 2548 จะเป็นไปตามเป้าที่ตั้งไว้คือ 3,975 ล้านเหรีญสหรัฐเพิ่มจากปี 2547 กว่า17% นั้น แม้จะมียอดการเติบโตที่สูงขึ้น แต่ไม่อาจปฏเสธได้ว่าเราโดนแย่งสัดส่วนการตลาดไปอย่างมาก เพราะเมื่อจีนและเวียดนามได้เปิดประเทศมากซึ่งได้เปรียบประเทศไทยจากการที่มีต้นทุนการผลิตต่ำกว่าขึ้นและมีค่าแรงที่ถูกกว่า ส่งผลให้ทั้งสองประเทศโดยเฉพาะจีนเป็นผู้แข่งขันที่สำคัญในตลาดสิ่งทอโลก

ทั้งนี้ทางโครงการกรุงเทพฯเมืองแฟชั่นได้มีโครงการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการทั้ง 3 ภาคอุตสาหกรรม ทั้งต้นน้ำ กลางน้ำและปลายน้ำให้มีความรู้มากยิ่งขึ้น โดยมีสถาบันการศึกษาอย่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ ประสานมิตร, สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล เป็นผู้ให้การฝึกอบรมและแนะแนวแก่ผู้ผลิตให้พัฒนาศักยภาพผลตภัณฑ์ของตนต่อไป   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us