Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์20 ตุลาคม 2548
เปิดลายแทงประกันภัย"บัวหลวง" สัมพันธ์ไชนิส คอนเน็คชั่นไม่ง่าย             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารกรุงเทพ

   
search resources

ธนาคารกรุงเทพ, บมจ.
Banking and Finance




"ชัย โสภณพนิช"สอนบทเรียน "ไชนีส คอนเน็คชั่น"ต้องมั่นใจในหุ้นส่วน โดยเฉพาะการเปิดเส้นทางลงทุนธุรกิจ"ประกันภัย" นอกแผ่นดินแม่ เป็นเรื่องลำบาก หากไม่รู้จักพันธมิตรอย่างใกล้ชิด ยิ่งการบุกเข้าไปขุดขุมทรัพย์ถึงถิ่น "พญามังกร" ที่กินอาณาบริเวณกว้างขวาง เต็มไปด้วยนักรบชั้นเซียน ก็ยิ่งอธิบายถึงสภาพสนามรบที่แสนสาหัสได้คมชัดขึ้น...

แบงก์ใหญ่ระดับแถวหน้า ไม่ว่า บัวหลวงตระกูล "โสภณพนิช" เคแบงก์หรือกสิกรไทยของ "ล่ำซำ" และค่ายไทยพาณิชย์ จำเป็นต้องอาศัยสายสัมพันธ์ "ไชนีส คอนเน็คชั่น" เพื่อบุกเบิกเส้นทางการค้ากับ "เจ้าถิ่น" มหาอำนาจยักษ์ใหญ่อย่าง "พญามังกร" เพื่อเปิดประตูบ้านเจ้าของที่มีกฎระเบียบค่อนข้างเข้มงวด

แต่ใครจะรู้ว่า...การเข้าไปลงทุนทำธุรกิจกับคนที่ไม่รู้จักนอกแผ่นดินเกิดนั้นไม่ใช่เรื่องหมูๆ ตรงกันข้ามกลับลำบากยิ่งกว่าการลงสนามรบราฆ่าฟันกับคู่แข่งในประเทศมากเป็นเท่าตัว

นายแบงก์ยุคบุกเบิก ต่างพลิกตัวแทบไม่ทัน เพราะสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่โตอย่างรวดเร็วของถิ่นพญามังกร

การเข้าไปเปิดตัว ผ่านสำนักงานตัวแทนและสาขาหลายแห่งเมื่อสิบกว่าปีก่อนแทบไม่ได้ช่วยลดทอนเส้นทางเดินที่ขรุขระให้ราบรื่น แต่กลับกลายเป็นเรื่องท้าทายกำลังความสามารถที่มีอยู่อย่างคาดไม่ถึง
เป็นเรื่องที่ปฏิเสธได้ยาก ถ้าจะบอกว่าการเปิดลายแทงขุมทรัพย์ของสถาบันการเงินในต่างประเทศ ก็คือ การเปิดชายแดนทางการค้าให้กับบริษัทในเครืออย่าง "ประกันภัย" ไปด้วยในตัว

ตระกูล "โสภณพนิช" ค่ายแบงก์บัวหลวง ประกาศตัวยิ่งใหญ่ด้วยการจับมือกับพันธมิตรคือ PICC หรือ พีเพิล อินชัวรันส์ ไชน่า คอร์ปอเรชั่น ควบคู่ไปกับการเปิดสาขาในปักกิ่ง แต่นี่ก็ยังไม่ใช่การรุกเข้าไปลงทุนในธุรกิจประกันภัยนอกประเทศเป็นครั้งแรก ของค่ายนี้ เพราะก่อนหน้านั้น "กรุงเทพประกันภัย" บริษัทลูกก็ถือหุ้นใน "ต้าตี้" เป็นพันธมิตรเก่าแก่ในถิ่นนี้แล้ว

" ต้องใช้เงินเยอะมาก สำหรับ 2 บริษัทในจีน ซึ่งถือว่ามากแล้ว เพราะปัญหาคือ จีนตั้งกฎเกณฑ์เกี่ยวกับเงินกองทุนค่อนข้างสูง การเข้าไปถือหุ้นในบริษัทหนึ่งๆต้องใช้เงินมหาศาล แต่เทียบกับสัดส่วนการถือหุ้น จะเหลือเปอร์เซ็นต์เล็กนิดเดียว"

ชัย โสภณพนิช กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ.กรุงเทพประกันภัย เปิดใจถึง เส้นทางเดินในตลาดที่ไม่ค่อยคุ้นเคยหรือรู้จักมากนัก เต็มไปด้วยอุปสรรคขวากหนาม ไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบอย่างที่หลายคนหลับตาจินตนาการ เงื่อนไขเหล่านี้เองที่ทำให้กรุงเทพประกันภัย เบรกการลงทุนนอกแผ่นดินเกิดอย่างทันท่วงที รวมการลงทุนในย่านนี้และในจีนคิดเป็นเม็ดเงินราว 200 ล้านบาท

พันธมิตรบริษัทนี้ถือเป็นเพื่อนสนิทรุ่นลายคราม เพราะต้าตี้ซึ่งมีฐานที่มั่นในเซี่ยงไฮ้ก็คือ "ไชน่ารี" ที่ถือหุ้นโดยรัฐบาลจีน ฮ่องกง และหุ้นส่วนต่างประเทศ ขณะเดียวกัน"ไชน่ารี" ก็เป็นพันธมิตรที่ "รับประกันภัยต่อ" จากกรุงเทพประกันภัยมาตั้งแต่แรก

"ลงทุนในจีนต้องมั่นใจกับหุ้นส่วน เพราะเราถือหุ้นค่อนข้างเล็ก หากไม่มั่นใจ ก็คงไม่กล้าที่จะเปิดบริษัทใหม่ๆ เยอะๆ เพราะบริษัทประกันภัยใหม่ที่เข้าไปลงทุนในจีน ที่มีกำไร มีค่อนข้างน้อยมาก"

ชัย เฝ้าบอกบทเรียนการลงทุนในตลาดที่มีพื้นที่กว้างใหญ่ไพศาล เป็นเรื่องที่ลำบาก เพราะไม่รู้จักคนและองค์กรในพื้นที่ ต่างจากสถานการณ์ในประเทศที่รู้จักดีกว่า ยกเว้นการแข่งขันที่ค่อนข้างรุนแรง ส่วนในจีนมีอาณาบริเวณใหญ่โต และมีกฎเกณฑ์ที่ค่อนข้างเข้มงวด

การจับคู่แต่งงานกับต้าตี้ฯ เริ่มต้นมาปีกว่าๆ โดยได้ใบอนุญาตประกอบธุรกิจที่สามารถเปิดสาขาได้ไม่จำกัดเมืองหรือมณฑล ขณะที่ประกันภัยต่างประเทศที่เข้าไปซื้อกิจการหรือลงทุนในระยะหลังๆ มักจะได้ใบอนุญาตประกอบธุรกิจเฉพาะมณฑล

" ที่เซี่ยงไฮ้คู่แข่งเยอะมาก โดยเฉพาะบริษัทประกันภัยจากต่างประเทศ" ชัย บอกว่า การลงทุนในต้าตี้ต้องใช้เงินลงทุนสูง เพราะเกณฑ์ลงทุนในบริษัทใหม่กำหนดให้เงินกองทุนสูงถึง 5 พันล้านบาท โดยกรุงเทพประกันภัยลงทุนราว 50ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนเพียง 1%

ขณะที่การลงทุนร่วมกับ PICC ผ่านทางแบงก์บัวหลวง มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงปักกิ่ง โดยPICC เป็นบริษัทของรัฐบาล ที่เข้าไปเปิดบริษัทประกันภัยในฮ่องกง

อย่างไรก็ตาม การลงทุนในธุรกิจนี้ต้องลงทุนเป็นเวลานานกว่าจะถึงจุดคุ้มทุนและมีกำไร ส่วนใหญ่ใช้เวลากว่า5-6 ปี จึงจะถึงจุดคุ้มทุน ในรายของต้าตี้ 3-4 ปีแรกขาดทุนและคาดว่าปีหลังๆจะมีกำไร รวมแล้วต้องใช้เวลานานถึง 6 ปี

ชัยบอกว่า การพิจารณาลงทุนหรือเปิดบริษัทใหม่ในต่างประเทศ โดยเฉพาะจีนในแต่ละครั้ง จะไม่ค่อยมั่นใจถ้าไม่มีความรู้ด้านนี้ แต่ที่กล้าเข้าไปลงทุน เพราะรู้จัก คุ้นเคยกับธุรกิจและคนในธุรกิจนี้มาตั้งแต่แรก

" การลงทุนในต่างประเทศเท่าที่ผ่านมา กรุงเทพประกันภัยได้ลงทุนไปแล้ว 6 ประเทศ ใช้เงินลงทุนไปแล้ว 200 ล้านบาท แต่หลังจากนี้คงยังไม่มีการลงทุนเพิ่มอีก"

กรุงเทพประกันภัยมีธุรกิจที่ร่วมลงทุนใน กัมพูชา 2 แห่งคือ เอเชีย อินชัวรันส์ กัมโบเดีย และกัมโบเดียรี อินชัวรันส์ ที่ถือหุ้น 15% และจะเริ่มจ่ายเงินปันเป็นแห่งแรก

ในเวียดนามได้ร่วมลงทุนกับแบงก์ที่ถือหุ้นโดยรัฐบาลเวียดนาม ในกรุงฮานอย โดยกรุงเทพประกันภัยถือหุ้นอยู่ 10% และการลงทุนในฟิลิปปินส์...   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us