Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2545








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2545
คารวะสองผู้รับรางวัล Nobel เศรษฐศาสตร์             
 


   
search resources

Daniel Kahneman




หนึ่งในสองผู้รับรางวัล Nobel เศรษฐศาสตร์ปีนี้ไม่ใช่นักเศรษฐศาสตร์ (อีกแล้ว)

Daniel Kahneman ไม่ใช่นักเศรษฐศาสตร์ และนี่อาจเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้เขาเป็นหนึ่งในสองผู้ได้รับรางวัล Nobel สาขาเศรษฐศาสตร์ ประจำปี 2002 Kahneman วัย 68 เป็นนักจิตวิทยากระบวนการคิด (cognitive psychologist) การร่ำเรียนมาทางด้านจิตวิทยานี้ ทำให้เขาสามารถมองเห็นพฤติกรรมที่แท้จริงของมนุษย์ ไม่ใช่พฤติกรรมมีเหตุมีผลแบบสุดโต่งอย่างที่ปรากฏอยู่ในตำราจิตวิทยา จากการค้นพบของ Kahneman และ Amos Tversky คู่หูของ Kahneman ซึ่งก่อนที่จะล่วงลับไปเคยทำงานเคียงบ่าเคียงไหล่กับ Kahneman มาอย่างยาวนาน ทั้งสองพบว่า มนุษย์มักมองอะไรสั้นๆ เชื่อมั่นในความสามารถคาดการณ์ทำนายผลของตน มากเกินไป และมักมีพฤติกรรมการซื้อที่ไม่มีเหตุผลขนาดสามารถซื้อประกันให้แก่เครื่องใช้ไฟฟ้าราคาถูกๆ จากการแสดงให้เห็นว่า คนเราด้อยความสามารถในการทำนายความเป็นไปได้ อย่างถูกต้องแม่นยำนี้เอง ทำให้คณะกรรมการสรรหาผู้ได้รับรางวัล Nobel ซึ่งมีฐานอยู่ที่ กรุงสตอกโฮล์ม กล่าวยกย่อง Kahneman ว่า เป็นผู้ที่ได้ "ตั้งคำถามสำคัญที่ท้าทายทฤษฎีเศรษฐศาสตร์แต่ดั้งเดิม"

นับเป็นการให้เกียรติแก่คนนอกอย่างสูงของวงการเศรษฐ ศาสตร์ ที่นักเศรษฐศาสตร์หรืออย่างน้อยก็คณะกรรมการสรรหาผู้รับรางวัล Nobel เต็มอกเต็มใจจะมอบรางวัลสูงสุดของวงวิชาการเศรษฐศาสตร์ให้แก่คนนอกวงการ ผู้กล้าท้าทายทฤษฎีเศรษฐ ศาสตร์ที่ยึดถือกันมานาน ปีที่แล้วรางวัลนี้ก็ถูกมอบให้แก่คนนอกอีกเช่นกัน ได้แก่ George A. Akerlof, A. Michael Spence และ Joseph E. Stiglitz ทั้งหมดได้ศึกษาพบว่า ตลาดอาจล่มสลายได้อย่างไร เมื่อผู้ซื้อและผู้ขายได้รับข้อมูลข่าวสารคนละชุด

แต่บางทีอาจเพื่อรักษาสมดุล ทางคณะกรรมการฯ จึงตัดสินใจเลือกผู้รับรางวัลอีกคนหนึ่งของปีนี้เป็นนักเศรษฐศาสตร์ขนานแท้ ผู้เชื่อมั่นในตลาดเสรีอย่างเต็มเปี่ยม Vernon L. Smith วัย 75 เป็นนักเศรษฐศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัย George Mason ใน Fairfax มลรัฐ Virginea เขาเป็นผู้ริเริ่มนำการทดลองมาใช้ทดสอบ ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ เขาได้ข้อสรุปจากการทดลองการประมูลของเขาว่า คนเราจะประพฤติอย่างมีเหตุมีผลในสถานการณ์การซื้อขาย ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีเศรษฐศาสตร์โดยทั่วไป Smith "เป็นคนแรกที่สามารถเห็นการทำงานของ demand และ supply จริงๆ จากการทดลองของเขา" Charles R. Plott แห่ง California Institute of Technology กล่าวถึง Smith Plott ได้นำผลงาน การค้นพบของ Smith ไปใช้ประโยชน์ต่อ

ให้บังเอิญที่ครั้งหนึ่ง Smith เคยเปิดฉากโจมตี Kahneman ผู้ได้รับรางวัลร่วมกับเขาในครั้งนี้ ในปี 1991 Smith ได้แสดงอย่าง ชัดเจนถึงความเชื่อมั่นในความมีเหตุมีผลของตลาดอย่างเต็มเปี่ยม เมื่อเขากล่าวหา Kahneman และ Tversky ในปี 1991 ในบทความ ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Journal of Political Economy ว่า "ละเลยการตีความอื่นๆ ที่ขัดแย้งกับตน และไม่สนใจรวบรวมหลักฐานในระยะเวลาที่นานเพียงพอ"

ในวงวิชาการที่ดูเหมือนไม่มีอะไรผิดอะไรถูกอย่างชัดเจนอย่างเศรษฐศาสตร์นี้ สิ่งที่ผู้ได้รับรางวัล Nobel ทั้งสองค้นพบ น่า จะถูกทั้งคู่ แม้ว่าทั้งคู่จะขัดแย้งกันอย่างสิ้นเชิงเกี่ยวกับพฤติกรรม การซื้อขายของมนุษย์ก็ตาม Plott กล่าวอย่างกลางๆ ว่า Smith คิดถูกในแง่พฤติกรรมกลุ่มเมื่อคนเราอยู่ในตลาด แต่ Kahneman ก็คิดถูกเช่นกันในแง่พฤติกรรมระดับบุคคล

ผลงานการค้นพบของทั้งคู่ต่างก็ถูกนำไปใช้ประโยชน์ต่อ ผลงานการวิจัยของ Smith, Plott และคนอื่นๆ มีส่วนช่วยพัฒนา การประมูลเพื่อแปรรูปสาธารณูปโภค คลื่นความถี่และทรัพย์สิน อื่นๆ ของรัฐ รวมไปถึงการประมูลขายพันธบัตรรัฐบาล และการค้าพลังงานและก๊าซธรรมชาติด้วย

ส่วนผลงานของ Kahneman ก็เป็นฐานให้บรรดานักเศรษฐ ศาสตร์พยายามคิดหาวิธีที่จะเอาชนะความไม่มีเหตุผลของมนุษย์ในพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อ โดยพัฒนากลไกการตลาดที่สามารถ จะแก้ไขพฤติกรรมการซื้อที่ผิดพลาดของมนุษย์ได้ เหมือนกับที่แว่นตาสามารถแก้ไขความผิดปกติทางสายตา ความพยายามหนึ่ง ที่ดูท่าว่าน่าจะประสบความสำเร็จมากที่สุดคือ โครงการเพิ่มอัตรา การออมของคนอเมริกัน ซึ่งอยู่ในระดับที่ต่ำมาก และอาจส่งผลให้ คนอเมริกันต้องมีชีวิตที่แร้นแค้นในวัยเกษียณได้ ซึ่งเป็นผลงานของ Richard H. Thaler แห่ง University of Chicago และ Shlomo Bernartzi แห่ง University of California ในลอสแอลเจลิส โครงการ ของพวกเขามีชื่อว่า "ออมมากขึ้นในวันพรุ่งนี้" ผู้ที่เข้าร่วมโครงการ จะต้องสัญญาว่า จะออมเงินส่วนหนึ่งของส่วนที่เพิ่มขึ้นเมื่อได้รับการขึ้นเงินเดือนในอนาคต โดยจะใส่ตรงเข้าไปในบัญชีเงินฝากทันที ที่เงินเดือนออกโดยไม่แตะต้องมันเลย และเนื่องจากพวกเขาจะไม่เคยได้รับเงินส่วนนี้เลยตั้งแต่ต้น ทำให้พวกเขาไม่รู้สึกว่าได้รับเงินน้อยลงกว่าที่เคย นับเป็นโครงการที่นำผลงานการค้นพบของ Kahneman มาใช้ประโยชน์อย่างฉลาด

Alan B. Krueger เพื่อนร่วมงานของ Kahneman ที่ Princeton University เล่าว่า ครั้งหนึ่ง Kahneman ผู้เติบโตและ ได้รับการศึกษาในอิสราเอลเป็นส่วนใหญ่ เคยกล่าวต่อนักศึกษาใน ห้องบรรยายว่า เขาไม่เคยเรียนวิชาเศรษฐศาสตร์ใดๆ เลยแม้แต่วิชาเดียวในชีวิตนี้ แต่ผลงาน Kahneman กลับเป็น "ทิศทางที่วิชา เศรษฐศาสตร์กำลังมุ่งไป" Krueger กล่าว Smith อาจไม่เห็นด้วย แต่ที่แน่ๆ คือ บางครั้งก็รู้สึกดีเหมือนกันที่เป็นคนนอก

แปลและเรียบเรียงจาก BusinessWeek/October 21, 2002 โดย เสาวนีย์ พิสิฐานุสรณ์ linpeishan@excite.com

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us