|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
"ตลาดหุ้นไทย"ที่ผันผวนขึ้นลงไม่แน่นอน ในขณะที่ปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจไม่ได้เปลี่ยนรูปร่างไปมากมายนัก ได้กลายมาเป็นตัวแปรสำคัญทำให้โบรกเกอร์แทบทุกราย หันเหทิศทางการทำธุรกิจจากเดิมที่กินพื้นที่ "นายหน้าค้าหลักทรัพย์" หรือ โบรกเกอร์ มากกว่า 90% มาจับงาน "วาณิชธุรกิจ" หรือให้บริการที่ปรึกษาในสัดส่วนที่มากขึ้น...
ปริมาณวอลุ่มการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่ยังเหวี่ยงตัวไปตามการเก็งกำไรและกระแสข่าวด้านลบ นอกจากจะฉุดให้ดัชนีตลาดวิ่งขึ้นลงแบบเอาแน่เอานอนไม่ได้ ก็ยังแสดงให้เห็นถึงสัญญาณรายได้ของธุรกิจโบรกเกอร์กำลังดิ่งหัวลงในทิศทางเดียวกัน
แต่ภาพ "มนุษย์ทองคำ" ของคนในแวดวงโบรกเกอร์ ก็ยังไม่ได้แตกต่างไปจากเดิมสักเท่าไร เพราะส่วนใหญ่แทบทุกโบรกเกอร์เลือกที่จะหันหัวเรือไปจับธุรกิจที่จะทำรายได้มากกว่าแทน โดยเฉพาะ "วาณิชธุรกิจ" หรือ การให้บริการที่ปรึกษาในรูปแบบต่างๆ
" ธุรกิจให้คำปรึกษา นอกจากมาร์จิ้นค่อนข้างสูงแล้ว การเป็นที่ปรึกษานำหุ้นเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ก็จะไปเอื้อให้กับธุรกิจโบรกเกอร์ด้วย" จิรายุทธ รุ่งศรีทอง กรรมการผู้จัดการ สายงานวาณิชธุรกิจคนล่าสุด บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) บัวหลวง ย้ำถึงความสำคัญของงานวาณิชธุรกิจ
การเทน้ำหนักความสำคัญไปทางฝั่งวาณิชธุรกิจจึงไม่ใช่แค่การดึงเอารายได้จากส่วนอื่นมาโปะรายได้จากธุรกิจนายหน้าค้าหลักทรัพย์ที่วอลุ่มเบาบางลงแทบทุกวันเท่านั้น แต่ยังหมายถึงการพยายามผลักดันรายได้จากงานชิ้นใหม่ไปช่วยค้ำยันตลาดที่เริ่มขาดความน่าสนใจ จากที่มีหุ้นน่าสนใจไม่กี่ตัว
ทีมงานวาณิชธนากรชุดใหม่ของบัวหลวง ย้ายมาจากรังเดิมคือ บล.ยูไนเต็ด รวมทีมงานทั้งหมด 17 ชีวิต กลุ่มนี้จะเป็นทั้งที่ปรึกษาธุรกิจที่จะเข้ามาระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ และเป็นที่ปรึกษาให้กับธุรกิจไทยที่จะไปลงทุนในต่างประเทศ รวมถึงธุรกิจจากต่างประเทศที่จะเข้ามาลงทุนในไทย โดยเน้นหนักไปที่กลุ่มพลังงาน
เนื่องจากประสบการณ์ที่ผ่านมาของทีมงานชุดนี้ เคยเป็นบริษัทที่ปรึกษาด้านการแปรรูปให้กับธุรกิจด้านพลังงานรายใหญ่ๆอย่าง บมจ.ปตท ราชบุรีโฮลดิ้ง และบมจ. กฟผ. ในสมัยที่อยู่ เลห์แมนบราเธอร์ ประเทศไทย
นอกจากนั้น การขยายอาณาบริเวณงานวาณิชธุรกิจและรายได้จากค่าธรรมเนียมที่จะเพิ่มสัดส่วนจาก 20% เป็น 40% ในระยะยาว ก็จะออกมารองรับลูกค้าแบงก์กรุงเทพที่กำลังขยายตัวมากขึ้นเรื่อยๆ พร้อมกับการเข็นหุ้นน้องใหม่เข้าสู่ตลาด
ขณะที่ไตรมาส 3 ปีนี้ เป็นที่ปรึกษาในการซื้อขายหุ้นให้กับบริษัท MINOR AH และ ACLและอยู่ระหว่างยื่นข้อมูลรายการหรือ ไฟล์ลิ่ง ไอพีโอ 2 บริษัทคือ
บมจ.กระเบื้องหลังคาตราเพชร และบมจ.ASCON Construction รวมถึงอยู่ระหว่างยื่นไฟล์ลิ่งเสนอขายหุ้นกู้ให้กับ บมจ.โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ คาดปี 2549 จะมีหุ้นไอพีโอราว 6-8 ราย และที่ปรึกษาการเงินอีก 3-4 ราย
ญาณศักดิ์ มโนมัยพิบูลย์ กรรมการผู้อำนวยการ บล.บัวหลวง ตั้งข้อสังเกตุว่า ธุรกิจหลักทรัพย์หรือโบรกเกอร์ส่วนใหญ่ทำรายได้จาก นายหน้าค้าหลักทรัพย์เป็นสัดส่วนที่สูงกว่า 90% ขณะที่บัวหลวงมีอยู่ 80% โดยลูกค้าหลักยังเป็นรายย่อย แต่ไม่นานมานี้ได้ขยายพื้นที่ไปยังนักลงทุนสถาบันมากขึ้น เพราะนักลงทุนรายย่อยมีปริมาณการเทรดยังไม่มากนัก
" ระยะสั้นอยากให้รายได้ส่วนอื่นๆ เช่น ค่าธรรมเนียมและวาณิชธุรกิจเพิ่มมากขึ้น เพื่อกระจายรายได้ไปยังส่วนอื่นๆ ไม่ได้กระจุกอยู่ที่รายได้จากค่านายหน้าเพียงอย่างเดียว"
ที่สำคัญคือ พื้นที่ของสัดส่วนรายได้จากโบรกเกอร์ มักจะอิงกับวอลุ่มการซื้อขายหลักทรัพย์เป็นหลัก ถ้าช่วงไหนวอลุ่มมากรายได้จากส่วนนี้ก็มาก ตรงกันข้ามถ้าวอลุ่มหดตัวลงเรื่อยๆ รายได้ส่วนนี้ก็จะลดถอยลงไป ในระยะหลังจึงเริ่มเห็นโบรกเกอร์แทบทุกรายเบนเข็มมาจับงานวาณิชธุรกิจมากขึ้น
ญาณศักดิ์บอกว่า การปรับโครงสร้างธุรกิจใหม่ของบล.บัวหลวงจะสอดคล้องกับการเตรียมเปิดตัวโครงการให้บริการที่ครบวงจรของแบงก์กรุงเทพ ที่จะเริ่มในช่วงปลายปี โดยจะขยายการให้บริการในธุรกิจที่เกี่ยวกับตราสารทุน ตราสารหนี้ หุ้น ประกันภัยและประกันชีวิต ซึ่งจะทำคู่ขนานกันไป แต่มีกลุ่มเป้าหมายเดียวกันคือ ฐานลูกค้าเงินฝากที่มีค่อนข้างสูง
การทำการตลาดแบบคู่ขนานกันไป จะเป็นลักษณะของ "บริดจ์ ไฟแนนซ์" คือ มีกิจกรรมที่ส่งเสริมซึ่งกันและกัน เช่น ลูกค้าบล.บัวหลวงที่ต้องการระดมทุนในตลาดและต้องการเงินก่อนเข้าระดมทุนก็จะได้รับการสนับสนุนด้านการเงินจากธนาคารกรุงเทพ รวมถึงการทำกิจกรรมการตลาดร่วมกัน หรือการแนะนำลูกค้าผ่านไปทางแบงก์กรุงเทพ ไม่ใช่จะรับลูกค้าจากแบงก์กรุงเทพอยู่ฝ่ายเดียว...
เห็นแล้วว่า ถึงแม้วอลุ่มซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์จะไม่หนาแน่นเหมือนกับ 2 ปีก่อน บวกกับมีปัจจัยลบกระจายอยู่รายรอบ แต่ "มนุษย์ทองคำ" ก็ยังไม่เคยจนมุม...
ผลดำเนินงานธุนกิจหลักไตรมาส 3 ปี 2548
ธุรกิจนายหน้าค้าหลักทรัพย์
- ส่วนแบ่งตลาด 3.32 %
- ลูกค้าสถาบันเพิ่มขึ้น 20 %
- ขยายฐานลูกค้าธนาคารกรุงเทพ %
- งานวิจัยคลุม 140 หลักทรัพย์คิดเป็น 85% ของมูลค่าตลาด
วาณิชธุรกิจ
- ที่ปรึกษาระดมทุนเพื่อซื้อหุ้น MINT ให้กับ MINOR
- ที่ปรึกษาระดมทุนให้กับ AH
- เรทติ้ง แอดไวซอรี่ให้กับ BH
- ยื่นไฟล์ลิ่ง IPO 2 บริษัทคือ DRT และ ASCON
ธุรกิจบริการกองทุนส่วนบุคคล
- มูลค่ากองทุนที่จัดการ 7.572 พันล้านบาท
- เป็นกองทุนส่วนบุคคล 5.784 พันล้านบาท
- กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 1.788 พันล้านบาท
เพิ่มขึ้น 7 % เมื่อเทียบกับมูลค่ากองทุนรวม สิ้นไตรมาส 2
|
|
|
|
|