|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
บลูไล้ท์ฯ ผู้บุกเบิกธุรกิจกระเป๋าเดินทางมาถึงครึ่งศตวรรษ ถึงรุ่นทายาทปรับตัวรับการแข่งขันที่รุนแรงขึ้น มุ่งปั้นแบรนด์ “คาจิออนี่” เจาะระดับบน-กลาง ชูแนวทางรุกสร้างตลาดใหม่ๆ ด้วยดีไซน์และนวัตกรรม พร้อมผนึกพันธมิตรขยายตลาดต่างประเทศ
บริษัท บลูไล้ท์ อุตสาหกรรม จำกัด นับเป็นผู้ผลิตกระเป๋าเดินทางที่บุกเบิกธุรกิจนี้มาอย่างยาวนาน ประสิทธิ์ อภิรมย์ฤกษ์ เริ่มก่อกำเนิดกิจการนี้ขึ้นเมื่อพ.ศ. 2496 จนถึงตอนนี้เข้าสู่ปีที่ 50 แล้ว จากห้องแถวเล็กๆ ชื่อร้านศิริศิลป์ ย่านวัดบรมนิวาส พัฒนาเป็นระยะ และย้ายมาอยู่ที่ศรีย่าน ซึ่งเป็นที่ตั้งของสำนักงานในปัจจุบัน
กระทั่ง เมื่อ 10 ปีที่ผ่านมา ก้าวสำคัญของการพัฒนา ด้วยการเปิดโรงงานใหม่ที่อำเภอสามโคกจังหวัดปทุมธานี เพราะต้องการเป็นผู้นำในการผลิตกระเป๋าและอุปกรณ์เกี่ยวกับการเดินทาง โดยนำเครื่องจักรและเทคโนโลยีใหม่จากไต้หวันเข้ามาใช้ พร้อมทั้งโนว์ฮาวที่พัฒนาเรื่อยมา เช่น เทคนิคการผลิต รูปแบบใหม่ๆ และการใช้วัตถุดิบที่ผลิตในขั้นลงลึกกว่าเดิม ถึงขั้นสามารถนำเม็ดพลาสติกมาผลิตเป็นวัสดุได้เอง แทนที่แต่เดิมต้องนำวัสดุที่แปรรูปแล้วมาประกอบ ทำให้เกิดจุดแข็งทางธุรกิจเพิ่มขึ้นทั้งในด้านสินค้าและบริการ
บลูไล้ท์ฯ มีหนทางต่อเชื่อมธุรกิจได้อีกยาวไกลเมื่อทายาททั้ง 4 ของประสิทธิ์มารับช่วง โดยแบ่งความรับผิดชอบออกเป็นการดูแลด้านการผลิตและการตลาดตามความถนัดของแต่ละคน
กอบกุล อภิรมย์ฤกษ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ (ฝ่ายบริหารงานทั่วไป) ลูกสาวคนที่สองกล่าวถึงแนวทางดำเนินธุรกิจของบลูไล้ท์ฯ ว่า นอกจากจะเป็นผู้รับจ้างผลิตให้กับหลายแบรนด์ ยังสร้างตราสินค้าของตนเอง เช่น Blue Light ซึ่งยกเลิกไปแล้ว เพราะต้องการปรับกลยุทธ์การตลาดใหม่ เพื่อลดอุปสรรคต่างๆ และเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน โดยเฉพาะกับสินค้าจากประเทศจีนที่เน้นแข่งขันด้านราคาและเติบโตอย่างรวดเร็ว พร้อมทั้งเตรียมรับมือกับการเปิดเสรีทางการค้าในอนาคต แม้ว่าภาพรวมตลาดกระเป๋าเดินทางในไทยจะมีผู้ทำตลาดไม่มากนัก
ดังนั้น เมื่อประมาณ 2 ปีที่ผ่านมา บลูไลท์ฯ จึงหันมาเน้นหนักการสร้างแบรนด์ใหม่ “คาจิออนี่” (CAGGIONI) ใช้กลยุทธ์ product เป็นตัวนำ เจาะตลาดระดับสูง-กลาง โดยสร้างความแตกต่างในตัวสินค้าและบริการ เน้นหนักไปที่การออกแบบซึ่งให้ความสำคัญกับการใช้งานที่ต่างกัน รูปทรงทันสมัย สีสันหลากหลาย เทคนิคการเพ้นท์รูปตามที่ลูกค้าต้องการติดที่กระเป๋า และการบริการซ่อมแซมซึ่งทำได้ดีเพราะมีโรงงานผลิตเอง รวมทั้งใช้การประชาสัมพันธ์และจัดอีเว้นต์ โดยมี celebrity ดึงดูด เพื่อสร้างกระแสการรับรู้และการกระตุ้นตลาดอย่างต่อเนื่อง
ปัจจุบันยังมุ่งหน้าผลักดันจุดขายที่โดดเด่น โดยกระเป๋าพลาสติก ABS แบบแข็งซึ่งมีความคงทนและยืดหยุ่นกว่า รุ่นล่าสุดเน้นสีที่หลากหลายให้เลือกถึง 7 สี ขณะที่คู่แข่งซึ่งไม่มีโรงงานผลิตเองมีเพียง 3 สีที่เป็นพื้นฐาน เท่านั้น
นอกจากนี้ ยังจะเดินหน้าสร้างตลาดใหม่ๆ แยกย่อยจากเดิม เพื่อให้เห็นโอกาสและเพิ่มความถี่ในการใช้งานในรูปแบบต่างๆได้ในชีวิตประจำวัน เพิ่มกลุ่มเป้าหมายใหม่ๆ นอกจากนักท่องเที่ยวและนักธุรกิจ แทนที่จะใช้เมื่อต้องเดินทางไกลๆ หรือนานๆ เช่น การให้ความรู้ถึงข้อดีของกระเป๋าแบบแข็งซึ่งให้ความสะดวกในการจัดและหยิบใช้ สามารถกันการกระแทกได้ดี
อีกทั้ง การดีไซน์ทั้งรูปลักษณ์และรูปแบบให้ใช้งานได้หลายโอกาส และคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ นอกเหนือจากความคงทนแข็งแรงและน้ำหนักเบาที่กระเป๋าเดินทางทุกแบรนด์ใช้เป็นจุดขายอยู่แล้ว เช่น เมื่อคลี่กระเป๋าออกมาแล้วสามารถกลายเป็นผ้าปูนอนตามชายหาดหรือพื้นหญ้า ซึ่งตามแผนงานต้องมีสินค้ารุ่นใหม่ๆ ออกมาทำตลาดทุก 3 เดือน
นอกจากนี้ จะลงลึกในการรักษาฐานลูกค้าเดิมโดยการวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้าเพื่อใช้ในการทำซีอาร์เอ็ม (Customer Relation Management) อย่างเป็นระบบและเข้มข้นขึ้น ซึ่งที่ผ่านมามีการรวบรวมและทำไปตามโอกาส
“เราจะสร้างความรู้สึกให้คนไทยใช้ของไทยและเท่แบบมีระดับ” กอบกุลตั้งใจเช่นนั้น
บลูไล้ท์ฯ มีตลาดหลักอยู่ในประเทศ 80% แบ่งเป็นแบรนด์ของบลูไล้ท์เองและรับจ้างผลิตอย่างละครึ่ง ที่เหลือ 20% เป็นการส่งอออก เช่น ญี่ปุ่น ไต้หวัน แบ่งเป็นแบรนด์คาจิโอนี่ 15% และรับจ้างผลิต 5%
นอกจาก “คาจิออนี่” จะมุ่งสร้างแบรนด์ในประเทศให้แข็งแกร่งจากการสร้างตลาดใหม่ ยังมีเป้าหมายจะเติบโตในต่างประเทศอีกด้วย ล่าสุด บริษัท เหมยซาน ประเทศไต้หวัน ซึ่งเป็นพันธมิตรที่ร่วมมือกันในส่วนของการออกแบบอะไหล่เพื่อใช้ในการผลิตของบลูไลท์ฯ ยังช่วยใช้แบรนด์ “คาจิออนี่” ในไต้หวันด้วย ส่วนบริษัท เทโร จากญี่ปุ่น ซึ่งเป็นพันธมิตรที่ดูแลการทดสอบคุณภาพการใช้งานของกระเป๋า แม้จะยังไม่ได้ใช้แบรนด์ “คาจิออนี่” ในการทำตลาดญี่ปุ่น แต่ก็มีความคิดที่จะเจรจาต่อไป และขยายสู่ตลาดโลก เส้นทางสร้างแบรนด์ “คาจิออนี่” ยังอีกยาวไกล
|
|
 |
|
|