Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์20 ตุลาคม 2548
3ยักษ์รับเหมาชิงดำ ลุ้นงานโครงสร้างBRT             
 


   
www resources

โฮมเพจ อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์
โฮมเพจ ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น

   
search resources

อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเม้นต์, บมจ.
ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น, บมจ.
Transportation




กทม. เลื่อนเปิดซองประมูลงานโครงสร้าง BRT หวั่นโดนข้อหาไม่โปร่งใส ฮั้วประมูล อ้างยังไม่ได้ใบอนุญาตประการการขนส่ง แต่ดันทุลังเดินหน้าประมูลจัดเช่ารถ พ.ย.นี้ ด้านผู้รับเหมาถอนตัว 6 ราย เหลือยักษ์ใหญ่แค่ 3 ราย ประกอบด้วย อิตาเลี่ยนฯ , ซิโน-ทัย ,ยูนิค ลุ้นรับงาน BRT 2 สายแรก มูลค่ากว่า 1,343 ล้านบาท

การแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัด ยังคงเป็นประเด็นที่ถูกจับตามองว่า สุดท้ายแล้วนโยบายแก้ปัญหาจะมีผลลัพธ์อย่างไร เพราะทุกวันนี้เป็นที่รู้กันอยู่แล้วว่า สาเหตุที่โครงการต่าง ๆ ล่าช้าและยังไม่มีบทสรุปที่เป็นรูปธรรม เพราะทั้งฝ่ายรัฐบาล โดยพรรคไทยรักไทย และผู้บริหารกทม.ซึ่งอยู่คนละฟาก เพราะมาจากพรรคประชาธิปัตย์ที่เป็นพรรคฝ่ายค้าน ต่างก็เร่งที่จะสร้างผลงานให้กับตัวเอง ด้วยการแย่งกันที่จะเข้ามาแก้ปัญหา จนทำให้การแก้ปัญหาล่าช้า

ในส่วนนี้ ไม่ว่าสร้างปัญหาให้แก่ชาวกรุงฯอย่างมาก เพราะนอกจากจะประสบปัญหารถติดจนเข้าข่ายอัมพาต ราคาน้ำมันยังแสนแพง จนทำให้รายได้ที่เข้ามาแต่ละเดือน ต้องใช้จ่ายไปกับค่าน้ำมันรถมากขึ้นเป็นราว 40% ของรายได้ จากเดิมที่เสียเฉลี่ยเพียง 20% เท่านั้น

กรุงเทพมหานคร (กทม.) เร่งเดินหน้าก่อสร้างโครงการรถเมล์ด่วนพิเศษ (BRT) อย่างต่อเนื่อง จนล่าสุด อยู่ในขั้นตอนการคัดเลือกผู้รับเหมาก่อสร้าง ซึ่งมีกำหนดเปิดซองด้านเทคนิควันที่ 11 ต.ค.ที่ผ่านมา แต่จนถึงวันนี้ ทางกทม.ยังไม่กล้าที่จะเปิดซองประมูล

สำหรับงานที่เปิดประมูลเป็นโครงสร้างพื้นฐานงานโยธาโครงการก่อสร้างสถานีและเส้นทาง "บางกอกสมาร์ทเวย์" หรือบีอาร์ทีเดิม จำนวน 2 เส้นทาง ได้แก่ 1. สายรามอินทรา กม.8 - นวมินทร์ - เกษตร - หมอชิต ระยะทาง 19.5 กม. ราคากลาง 682 ล้านบาท และ 2.สายช่องนนทรี - สะพานกรุงเทพ ระยะทาง 16.5 กม. ราคากลาง 661 ล้านบาท โดยแยกขายซองออกเป็น 2 ซอง ราคาซองละ 1 แสนบาท

เลื่อนเปิดซองอ้างยังไม่ได้ใบอนุญาต

สามารถ ราชพลสิทธิ์ รองผู้ว่าฯ กทม. เปิดเผยว่า เมื่อถึงกำหนดวันเปิดซองประมูลงาน BRT ทาง กทม.ไม่สามารถเปิดซองราคาได้ เนื่องจากยังมีข้อปัญหาเกี่ยวกับใบอนุญาตการประกอบการขนส่ง จึงจะชะลอการเปิดซองราคาไปจนกว่าจะได้ข้อยุติเรื่องใบอนุญาตขนส่ง และขออนุญาตจาก ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) แต่จะเร่งเปิดซองภายในเดือนนี้ และจะลงนามในสัญญากับผู้ที่ชนะการประมูลงาน คาดว่าจะใช้เวลาในการก่อสร้างมากกว่า 6 เดือน

โดยมีผู้รับเหมามายื่นซองประมูลราคา 3 รายทั้ง 2 เส้นทาง ได้แก่ 1.บมจ.อิตาเลี่ยนไทย ดิเวลลอปเมนท์ 2.บมจ.ซิโน-ไทย เอนจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น และ 3.บมจ.ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จากที่มาซื้อซอง 9 ราย เช่น 1.บมจ.เนาวรัตน์พัฒนาการ 2.บ.วิจิตรภัณฑ์ก่อสร้าง 3.หจก.วิวัฒน์ก่อสร้าง 4.บ.กำแพงเพชรวิวัฒน์ก่อสร้าง 5.บ.ซีวิล เอนจิเนียริ่ง และ 6.บ.พรหมวิวัฒน์ (บ.วิจิตรภัณฑ์ก่อสร้าง และหจก.วิวัฒน์ก่อสร้าง ไม่ได้ซื้อแบบประกวดเส้นทางที่ 2)

"ผู้บริหารกทม.ได้สั่งการถึงผู้บริหาร สจส.ให้เลื่อนวันเปิดซองจากเดิมออกไปก่อน ทำให้คณะกรรมการได้หารือถึงเรื่องเลื่อนวันเปิดซองอย่างเคร่งเครียด เนื่องจากกรรมการส่วนหนึ่งเกรงจะขัดกับระเบียบพัสดุ กทม.2548 ข้อ 44 ที่ระบุห้ามชะลอการเปิดซอง ยกเว้นกรณีเข้าข่ายการสมยอมหรือฮั้วประมูล อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมเห็นว่าควรทำตามนโยบายผู้บริหาร เพราะหากเปิดซองไปก่อน ขณะที่เรื่องยังไม่ผ่าน ครม. อาจจะทำให้เกิดปัญหาได้"

อย่างไรก็ตาม จำเป็นต้องเลื่อนการเปิดซองไปก่อน เพื่อรอเวลาให้นำเรื่องขอมติ ครม.เมื่อแล้วเสร็จ กรมการขนส่งทางบกจึงจะออกใบอนุญาตเดินรถให้แก่ กทม. นอกจากนี้ การเลื่อนเปิดซองก็ไม่ได้ขัดกับระเบียบพัสดุ เพราะในเงื่อนไขการจ้างก่อสร้างระบุชัดเจนว่า กทม.สามารถสงวนสิทธิ์การเปิดซองและลงนามในสัญญาได้ หากพิจารณาแล้วเห็นว่าจำเป็น

ขณะที่ จุมพล สำเภาพล รองผอ.สจส. ในฐานะประธานคณะกรรมการพิจารณาเปิดซอง แจ้งกับตัวแทนผู้รับเหมาว่าจากการตรวจสอบเบื้องต้น ผู้ยื่นซองทุกรายไม่มีผลประโยชน์ร่วมกัน ถือว่าไม่มีรายใดทำผิดเงื่อนไข โดยคุณสมบัติที่ กทม.กำหนด คือ ต้องมีทุนจดทะเบียนเป็นผู้รับเหมา กทม.ชั้น 1 (ประเภทงานทางชั้น 1) และมีผลงานการก่อสร้างเส้นทางวงเงินมากกว่า 300 ล้านบาท, มีทุนจดทะเบียนไม่ต่ำกว่า 200 ล้านบาท เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม ในขั้นตอนการเลื่อนเปิดซองราคาดังกล่าว ซึ่งจะส่งผลทำให้งานก่อสร้างล่าช้ากว่าที่กำหนดนั้น คาดว่าจะไม่น่าจะใช้เวลามากจนส่งผลเสียหรือมีผลทำให้ผู้ประกอบการเสียโอกาส เนื่องจากการปรับราคาวัสดุก่อสร้างของกระทรวงพาณิชย์จะต้องใช้เวลาประมาณ 3-4 เดือน

เตรียมจัดหารถพ.ย.นี้

นอกจากนี้ หลังจากขั้นตอนการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน จะทำการจัดหารถ โดยทำการประกวดราคาในลักษณะประมูลเช่าในเดือน พ.ย. เงื่อนไขจ่ายค่าเช่าตามสัญญา 5 ปี ประมาณ 1,400 ล้านบาท และดำเนินการจัดการเรื่องระบบควบคุมโดยใช้ระบบ Intelligent transport system ในวงเงิน 600 ล้านบาทรวมทั้งปรับปรุงสะพานในส่วนของทางแยก โดยทั้ง 2 ส่วนจะใช้เวลาในการดำเนินงานให้แล้วเสร็จประมาณ 6-8 เดือน หลังจากนั้นจะเร่งทดลองเดินรถ 2-3 เดือน ก่อนจะเปิดเดินรถอย่างเป็นทางการในเดือน ส.ค.49   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us