Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน20 ตุลาคม 2548
เงินเฟ้อพุ่งเขย่าเศรษฐกิจ ธปท.อัดยาแรงขึ้นดอกเบี้ย0.50%             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารแห่งประเทศไทย

   
search resources

ธนาคารแห่งประเทศไทย
Banking and Finance
Interest Rate




แบงก์ชาติกระชากดอกเบี้ยนโยบายขึ้นอีก 0.50% ติดกันเป็นครั้งที่ 2 ดันเท่ากับดอกเบี้ยสหรัฐฯ 3.75% เหตุต้องไล่สกัดเงินเฟ้อให้อยู่ในกรอบไม่เกินขีดอันตรายที่ 3.5% และหวังดึงอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงเป็นบวก ย้ำดอกเบี้ยอยู่ในทิศทางขาขึ้น "หม่อมอุ๋ย" มั่นใจเงินเฟ้อไตรมาส 4 ไม่ถึง 7% แม้เดือนตุลาคมจะทะยานถึง 6% เชื่อจะทยอยปรับตัวลดลง นักเศรษฐศาสตร์คาดแบงก์ชาติขยับอีก 0.25% แบงก์ทิ้งท้ายในการประชุมก่อนสิ้นปีนี้ ขณะที่ คลัง เตรียมใช้นโยบายการเงินดูแลเสถียรภาพเศรษฐกิจในปีหน้า

นายบัณฑิต นิจถาวร รองผู้ว่าการด้านเสถียรภาพการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยถึงผลการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ว่า ที่ประชุมมีมติให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 14 วัน(อาร์/พี) อีก 0.50% ต่อปี เป็น 3.75% ต่อปี จากเดิมที่อยู่ในระดับ 3.25% โดยมีผลทันที ซึ่งเป็นการปรับขึ้นในระดับ 0.50% ติดต่อกันเป็นครั้งที่ 2 จากการประชุมในครั้งที่แล้ว

ทั้งนี้ กนง. เห็นว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวได้ต่อเนื่อง และปัจจัยลบเริ่มคลี่คลาย แต่อัตราเงินเฟ้อมีโอกาสที่จะเร่งตัวมีมากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2548 ซึ่งล่าสุดอัตราเงิน เฟ้อทั่วไปในเดือนตุลาคมขยายตัวในระดับ 6% และมีแนวโน้มที่อัตรา เงินเฟ้อพื้นฐานในปีหน้าจะขยายตัวสูงกว่า 3.5% ซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุดของ ธปท. ดังนั้น อัตราดอกเบี้ยนโยบายจึงควรอยู่ในทิศ ทางขาขึ้นต่อไปเพื่อช่วยรักษาเสถียรภาพของเศรษฐกิจ "คณะกรรมการฯ เชื่อว่าการปรับขึ้นอาร์/พี 0.50% ทั้ง 2 ครั้งที่ผ่านมา จะช่วยดูแลแรงกดดันด้าน อัตราเงินเฟ้อที่คาดว่าจะเร่งตัวสูงในไตรมาส 4 ของปีนี้ได้ดีขึ้น และเชื่อว่าในช่วงไตรมาส 1 และไตรมาส 2 ของปีหน้าเงินเฟ้อจะค่อยๆ ปรับตัวลดลง แต่ขึ้นอยู่กับระดับราคาน้ำมันเป็นสำคัญด้วย"

จากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายครั้งละ 0.50% ติดต่อกัน 2 ครั้ง เป็นการส่งสัญญาณให้ภาค เอกชนเชื่อมั่นว่า ธปท.มีความมั่นใจที่จะดูแลไม่ให้อัตราเงินเฟ้อสูงกว่าที่ควรจะเป็น และทำให้การขยาย ตัวของเศรษฐกิจไทยขยายตัวต่อเนื่องไปได้ รวมทั้งเพื่อให้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงในประเทศอยู่ในระดับที่เหมาะสมต่อการดูแลเสถียรภาพเศรษฐกิจ

อย่างไรก็ตาม การส่งผ่านจากอัตราดอกเบี้ยนโยบายสู่ตลาดการเงินจริงอาจจะต้องใช้เวลา 6-8 ไตรมาส ธปท.จึงต้องมองล่วงหน้าในการดูแลนโยบาย การเงินของประเทศ โดยมองว่าจากส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทย และต่างประเทศในขณะนี้ อาจจะส่งผลให้เกิดการไหลเข้าออกของเงินทุนต่างชาติ และการเก็งกำไรอัตราแลกเปลี่ยนบ้าง แต่เป็นจำนวนน้อยมาก ซึ่งไม่มีผลต่อการดำเนินนโยบายการเงินของประเทศ และ ธปท.ได้วางมาตรการรองรับปัญหาดังกล่าวไว้แล้ว

ขณะเดียวกัน คณะกรรมการประเมินว่าการปรับขึ้นจะไม่ส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจ และประชาชนที่กำลังผ่อนชำระที่อยู่อาศัย ซึ่งเป็นการปรับขึ้นในเวลาที่เหมาะสมแล้วเนื่องจากเสถียรภาพภายในประเทศปรับตัวดีขึ้นตามการนำเข้าที่ชะลอลง ขณะที่การส่งออกเร่งตัวขึ้นส่งผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัดปรับตัวดีขึ้นตั้งแต่เดือนกรกฎาคมเป็นต้นมา ประกอบกับผลผลิตทางการเกษตรเริ่มฟื้นตัวทำให้เชื่อว่าเศรษฐกิจไทยมีความสามารถที่จะขยายตัวได้ต่อไปจากแนวโน้มการส่งออกและการลงทุนทั้งของภาครัฐและภาคเอกชน

ขณะที่นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) กล่าวภายหลังการประชุม ว่า กนง.ให้ความสำคัญเรื่องอัตราเงินเฟ้อที่เร่งตัวสูงขึ้น เพื่อกำหนดทิศทางอัตราดอกเบี้ยนโยบายให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ขณะที่ตัวเลขจีดีพีไตรมาส 2 ขยายตัวถึง 4.4% สูงกว่าประมาณการที่ธปท.คาดการณ์ไว้

"การปล่อยลอยตัวราคาน้ำมันดีเซลเป็นสาเหตุ หลักที่ทำให้อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น ซึ่งครั้งนี้สูงขึ้นทั้งที่ อัตราเงินเฟ้อทั่วไป และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน ดังนั้นการที่อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับสูงทำให้แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยยังอยู่ในขาขึ้น ซึ่งดอกเบี้ยยังปรับขึ้นได้ เพราะอัตราดอกเบี้ยของไทยในตอนนี้ยังต่ำกว่าหลายๆ ประเทศในโลก" นายจักรมณฑ์ กล่าว ผู้ว่าฯธปท.มั่นใจเงินเฟ้อ Q4 ไม่ถึง 7%

ม.ร.ว. ปรีดิยาธร เทวกุล ผู้ว่าการ ธปท. กล่าวว่า อัตราเงินเฟ้อจะเร่งตัวสูงขึ้นมากในช่วงไตรมาสที่ 4 ปีนี้เท่านั้น ซึ่งมีโอกาสที่จะเพิ่มขึ้นมากกว่า 6% จากที่ปัจจุบันอัตราเงินเฟ้อทั่วไปได้ปรับขึ้นมาอยู่ที่ 6% แล้ว แต่มั่นใจว่าจะไม่แตะที่ระดับ 7% เนื่องจาก ธปท. ได้ดำเนินนโยบายการเงินในทิศทางขาขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดย กนง.ได้ตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.50% ถึง 2 ครั้งติดต่อกันเพื่อสกัดการเร่ง ตัวของอัตราเงินเฟ้อดังกล่าว ทั้งนี้คาดว่าอัตราเงิน เฟ้อจะค่อยๆปรับลดลงหลังไตรมาสที่ 4 เป็นต้นไป

"อัตราเงินเฟ้อสูงแค่ไตรมาสที่ 4 นี้เท่านั้น ตอนนี้มัน 6% กว่าๆ แล้ว แต่การที่คณะกรรมการฯเขาขึ้น อัตราดอกเบี้ยนโยบายขนาดนี้ก็เชื่อว่าเงินเฟ้อไม่น่าจะถึง 7% และหลังจากไตรมาส 4 ไปแล้ว อัตราเงิน เฟ้อก็คงเป็นขาลง" ผู้ว่าการ ธปท. กล่าว

กรุงไทยทำกำไรในตลาดอาร์/พี

นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกรุงไทย กล่าวว่า การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย นโยบายของธปท. เป็นนโยบายของทางการที่จะดูแล เงินเฟ้อ รวมทั้งภาวะเศรษฐกิจโดยรวม ส่วนอัตราดอกเบี้ยเงินกู้และเงินฝากของธนาคารพาณิชย์นั้น ต้องขึ้นอยู่กับสภาพคล่องและการบริหารเงินของธนาคารพาณิชย์แต่ละแห่ง

ส่วนธนาคารกรุงไทยนั้น ขณะนี้ยังมีสภาพคล่องเหลืออยู่อีกเป็นจำนวนมาก จึงไม่จำเป็นที่จะต้อง ปรับขึ้นดอกเบี้ย แต่หากธนาคารพาณิชย์อื่นปรับขึ้น ธนาคารอาจจะต้องปรับขึ้นตาม เพื่อรักษาฐานลูกค้าไว้

นายอภิศักดิ์ กล่าวว่า จากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธปท. ทำให้ธนาคารมีรายได้จาก ส่วนต่างดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น เนื่องจากธนาคารถือเป็นผู้ปล่อยกู้รายใหญ่ของตลาดอาร์/พีและอินเตอร์แบงก์ ดังนั้น ธปท.ปรับขึ้นดอกเบี้ยในแต่ละครั้งถือว่าเป็นรายได้ของธนาคารที่เพิ่มขึ้นจากการลงทุนในตลาดอาร์/พี คาด ธปท. ขยับก่อนสิ้นปีอีก 0.25%

นางสาวอุสรา วิไลพิชญ์ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด ประเทศไทย กล่าวว่า การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ ธปท.เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงความกังวลเกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้อ โดยเฉพาะ อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่อยู่ใกล้เคียงกับเป้าหมายของทางการ และยังเป็นการรักษาเสถียรภาพของค่าเงินบาท เนื่องจากธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือเฟด คงจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น การปรับ ขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธปท.ครั้งนี้ ทำให้อัตราดอกเบี้ย ของไทยเท่ากับดอกเบี้ยของสหรัฐฯ ทันที

สำหรับการประชุม กนง. ครั้งสุดท้ายในเดือน ธันวาคมปีนี้ คาดว่า ธปท.จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย อีก 0.25% ทำให้อัตราดอกเบี้ยอาร์/พี ขยับขึ้นไปอยู่ที่ระดับ 4.00% ส่วนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์น่าจะมีการทยอยปรับขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะสภาพคล่องในระบบเริ่มทยอยหายไป จากนโยบายดูดซับสภาพคล่องของทางการ บวกกับการบริหารต้นทุนดอกเบี้ยเงินฝากไว้คงที่ เพราะมอง ว่าอนาคตดอกเบี้ยในช่วงขาขึ้นจึงต้องหาเงินฝากระยะยาวเพื่อรักษาอัตราดอกเบี้ยคงที่เอาไว้

ไทยธนาคารขึ้นดบ.กู้-ฝาก0.25-0.50%

ด้านธนาคารไทยธนาคาร ได้ประกาศปรับอัตรา ดอกเบี้ยเงินฝากประจำขึ้น 0.25-0.50% โดยเงินฝากประจำ 3 เดือน ปรับเป็น 2.00-2.25% จากเดิมที่อยู่ 1.50-2.25% เงินฝากประจำ 6 เดือน ปรับเป็น 2.25-2.50% จาก 2.00-2.50% เงินฝากประจำ 12 เดือน ปรับเป็น 2.50-2.75% จาก 2.25-2.75% เงินฝากประจำ 24 เดือน 3.25-3.50% จาก 2.75-3.25% และเงินฝาก ประจำ 36 เดือน 3.50-3.75% จาก 3.25-3.75% โดยมีผลตั้งแต่วันนี้ (20 ต.ค.) เป็นต้นไป

พร้อมกันนี้ ธนาคารได้ปรับขึ้นดอกเบี้ยเงินกู้ 0.25% ทำให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี (MLR) อยู่ที่ระดับ 6.50% จากเดิม 6.25% อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เบิกเกินบัญชี (MOR) ปรับเป็น 6.75% จากเดิม 6.50% และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้ารายย่อย (MRR) 7.00 % จากเดิม 6.75% ธ.ก.ส.เสนอบอร์ดชี้ขาดสิ้นเดือนนี้

ด้านนายธีรพงษ์ ตั้งธีระสุนันท์ ผู้จัดการธนา-คารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) กล่าวว่า ภายในสิ้นเดือนนี้ ธ.ก.ส.จะเสนอให้ที่ประชุม คณะกรรมการพิจารณาปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ จากก่อนหน้านี้ได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก ส่งผลให้ต้นทุนเพิ่มขึ้น รวมทั้งสถาบันการเงินอื่นได้มีการปรับขึ้นหมดแล้วทั้งดอกเบี้ยเงินกู้และเงินฝาก

"เราไม่อยากขึ้นอัตราดอกเบี้ย เพราะลูกค้าของ เราก็เกษตรกร แต่การขึ้นดอกเบี้ยจะคำนึงถึงผลกระทบของลูกค้าด้วย แต่ภาวะในปัจจุบันดอกเบี้ยมีแนวโน้มสูงขึ้น ทำให้ต้องมีการพิจารณาปรับขึ้น แต่จะเป็นอัตราใดนั้น ต้องนำเข้าหารือกันในบอร์ดก่อน" นายธีรพงษ์ กล่าว ใช้นโยบายการเงินผลักดันศก.

นายทนง พิทยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการ คลัง กล่าวภายหลังการประชุมผู้บริหารระดับสูงกระทรวงการคลัง ว่า ในปี 2549 นโยบายการเงินจะมีส่วนสำคัญในการผลักดันเศรษฐกิจ เพราะในภาวะที่ระบบเศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะปกติสภาพคล่องไม่ล้นตลาด นโยบายการเงินของธปท.จะมีอิทธิพลในการสร้างดุลยภาพทางเศรษฐกิจให้ขับเคลื่อนไปตามความสามารถของประเทศ โดยจะส่งผลต่อปริมาณเงินที่อยู่ในตลาด อัตราดอกเบี้ย การออม และการบริโภค ซึ่งหากธปท. สามารถดำเนินการจนเกิดผลสำเร็จ จะส่งผลให้ผลประกอบการของประเทศในปี 2549 มีตัวเลขที่ดีขึ้น

สำหรับแนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนั้น นายทนง กล่าวว่า เป็นหน้าที่ของธปท. ที่จะดูแลให้เหมาะสม เพื่อให้ระบบเศรษฐกิจมีดุลยภาพและมีเสถียรภาพ ซึ่งการปรับขึ้นหรือลงของอัตราดอกเบี้ย จะต้องขึ้นอยู่กับการพิจารณาของคณะกรรมการกำกับดูแลนโยบายการเงิน ขณะที่สถาบันการเงินเอง ควรจะมีการปรับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากให้อยู่ในระดับใกล้เคียงกับอัตราการขยายตัวของเงินเฟ้อพื้นฐาน เพราะจะทำให้ประชาชนหันมาออมเงินกันมากขึ้น เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในการออมในอนาคต

นายทนง กล่าวเพิ่มเติมถึงความเสี่ยงของภาวะ เศรษฐกิจไทย ในปี 2549 ว่า สิ่งที่ไม่สามารถควบคุม ได้ก็คือ ราคาน้ำมัน ซึ่งหากมีความผันผวนมากขึ้นก็จะส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ แต่สิ่งที่สำคัญก็คือจะต้องมีการกำกับดูแลระดับอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us