"ศุภลักษณ์ อัมพุช" ผู้บริหารศูนย์การค้าชื่อดัง เอ็มโพเรียม
เดอะมอลล์ และสยามพารากอน ในฐานะผู้คร่ำหวอดอยู่ในวงการค้าปลีกมากกว่า 20
ปี เตรียมเสนอแผนรัฐบาลโปรโมตไทยเป็นศูนย์ กลางการชอปปิ้งของโลก ทั้งการสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานรองรับ
การปรับโครงสร้างภาษีสินค้านำเข้าเพื่อให้ราคาแข่งขันกับประเทศอื่นได้ รวมทั้งการร่วมมือกับภาคเอกชนจัดแพกเกจทัวร์สำหรับนักชอปปิ้งและกลุ่ม
ประชุมสัมมนา หวังช่วยรัฐบาลและททท. กวาดเงินเข้าประเทศ 6 แสนล้านบาทใน 4
ปีข้างหน้า
นางสาวศุภลักษณ์ อัมพุช รองประธานกรรมการบริหารอาวุโส เดอะมอลล์กรุ๊ป และรองประธานคณะกรรม
การ บริษัท สยามพารากอน ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด ผู้คร่ำหวอดอยู่ในวงการค้าปลีกมานานกว่า
20 ปี เปิดเผยว่าในฐานะที่เป็นผู้นำในตลาดผู้ประกอบการศูนย์การค้าและห้างสรรพสินค้าระดับไฮเอนด์
ที่มีทั้งเอ็มโพเรียม และสยามพารากอน ได้เห็นความสำคัญในการช่วยโปรโมตประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางการชอปปิ้งของเอเชีย
และของโลก โดยได้จัดทำแผนของโครงการโปรโมตประเทศไทย ในภาพ รวมเพื่อเสนอต่อพ.ต.ท.ทักษิณ
ชินวัตร นายกรัฐมนตรี รวม ทั้งจะเสนอไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังด้วย
นางสาวศุภลักษณ์ กล่าวว่าที่ผ่านมาประเทศไทยยังไม่สามารถพัฒนาตัวเองให้เป็นศูนย์กลางด้านการชอปปิ้งได้
เนื่องจากไม่สามารถแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้านในเรื่องราคา สินค้าได้ เพราะกำแพงภาษีของประเทศไทยสูงกว่า
ในขณะที่การเชื่อมต่อโครงข่ายค้าปลีก และการจัดแพกเกจทัวร์ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่นักท่องเที่ยวในการทำกิจกรรมระหว่างที่อยู่ในประเทศไทยอย่างคุ้มค่านั้น
ยังไม่มีให้เห็นเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน
สำหรับแผนงานที่เตรียมจะเสนอทางกระทรวงการคลังและการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
ในฐานะที่ดูแลด้านการท่องเที่ยวนั้น ประกอบด้วย
การจัดให้มีสินค้าที่หลากหลายทั้งแนวกว้าง และแนวลึก ในราคาที่สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้
การจัดทำแพกเกจเพื่อรับกลุ่มประชุมสัมมนาจากตลาดต่างประเทศ
การจัดทำประชาสัมพันธ์ออกไปทั่วโลก อย่างเป็นรูปแบบและในเนื้อหาเดียวกันทั้งหมด
ไม่ว่าจะเป็นททท. สายการบิน หรือบริษัททัวร์ โดย เฉพาะจะต้องเน้นจุดขายเรื่องความปลอดภัยเป็น
สำคัญ การจัดทำความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน รวมทั้งสื่อมวลชน ในการช่วยกันโปรโมต
การท่องเที่ยวของประเทศไทยให้มากขึ้น
"ที่ผ่านมาได้มีโอกาสหารือกับท่านนายกรัฐมนตรี ในเรื่องนี้แล้ว ซึ่งท่านได้ให้จัดทำโครง
การในรายละเอียดมาเสนออีกครั้งหนึ่ง ซึ่งตอนนี้ก็ได้รวมรวบข้อมูลทุกอย่างเสร็จสมบูรณ์แล้ว
และกำลังจะนำเรื่องนี้ไปเสนอต่อทางกระทรวงการคลังในเร็วๆ นี้ เพื่อส่งให้ท่านนายกฯพิจารณา
ต่อไป" นางสาวศุภลักษณ์ กล่าว
จัดทำเส้นทางเชื่อมศูนย์การค้า
นางสาวศุภลักษณ์ กล่าวว่า สำหรับแนว ทางในการจัดทำโครงการดังกล่าวนั้น
จะมีทั้งการ สร้างทางเชื่อมต่อระหว่างศูนย์การค้าต่างๆ เริ่มตั้งแต่สี่แยกปทุมวัน
ที่ศูนย์การค้ามาบุญครองเซ็นเตอร์ ที่จะต่อไปจนถึงบริเวณอัมรินทร์พลาซ่า
ซึ่งในส่วนของอัมรินทร์ พลาซ่า ปัจจุบันได้ทำทาง เชื่อมไปจนถึงห้างเซ็นทรัล
ชิดลมแล้ว ขณะเดียว กัน จกแยกราชประสงค์ ก็จะต่อทางเชื่อมเข้าเวิลด์ เทรดเซ็นเตอร์
เลยไปจนถึงศูนย์การค้าใบหยกด้วย เพื่อให้ผู้เดินซื้อสินค้าสะดวกในการชอปปิ้ง
สำหรับการปรับปรุงพื้นที่ทางเดินเท้าบริเวณ ด้านล่างนั้น เป็นหน้าที่ของทางกรุงเทพมหานคร
ที่จะต้องปรับปรุงให้สวยงามและเป็นระเบียบมากขึ้น
เสนอปรับโครงสร้างภาษีสินค้านำเข้า
นอกจากนี้ ยังเตรียมที่จะเสนอการปรับโครงสร้างภาษีสินค้านำเข้าใหม่ทั้งระบบ
ทั้งสินค้า แฟชั่น ประเภทเสื้อผ้า เครื่องหนัง เครื่องสำอาง น้ำหอม ซึ่งปัจจุบันมีอัตราภาษีประมาณ
30-60% ส่งผลให้สินค้าแบรนด์เนมที่เข้ามาขายในประเทศ ไทย มีราคาสูงกว่าประเทศเพื่อบ้าน
ยกตัวอย่างเช่น สินค้าจากประเทศที่เป็นเจ้าของสินค้าราคา 100 บาท เมื่อขายในประเทศฮ่องกง
จะมีราคา 110 บาท ในสิงคโปร์ ราคา 115 บาท ในไทย 140 บาท และในญี่ปุ่นราคา
160 บาท ทำให้คนหันไป นิยมซื้อสินค้าในฮ่องกง และสิงคโปร์มากกว่าที่ประเทศไทย
นอกจากนี้เมื่อพิจารณาถึงโอกาสในการขาย สินค้าแล้วพบว่า ไทยมีโอกาสในการขายสินค้าน้อยกว่า
เช่น สินค้าเดียวกัน ขายในฮ่องกงได้ 1000 แต่ขายในไทยได้ 100 เท่านั้น ซึ่งจะเห็นได้
ว่าไทยยังมีโอกาสขายสินค้าได้อีด หากราคาสินค้า นั้นใกล้เคียงกับฮ่องกง
ดังนั้น นางสาวศุภลักษณ์ จึงเตรียมเสนอให้กระทรวงการคลัง หันมาทบทวนโครงสร้างการ
จัดเก็บภาษีสินค้านำเข้าใหม่ ด้วยการปรับลดภาษีลง เพื่อทำให้สินค้านำเข้ามีราคาถูกลง
ซึ่งการ ปรับลดภาษีนี้ มีตัวอย่างให้เห็นมาแล้วจากการปรับลดภาษีนาฬิกา จาก
30% เหลือเพียง 5% ส่ง ผลให้ยอดขายนาฬิกาในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ยังจูงใจให้นาฬิการาคาแพงแบรนด์
ดังๆ จากต่างประเทศ เตรียมจะเข้ามาทำตลาดใน ประเทศไทยอีกหลายแบรนด์ด้วย
"ท่านนายกฯเคยพูดว่าท่านจะยอมลดภาษีลง 5,000 ล้านบาท เพื่อแลกกับการช่วยเพิ่มราย
ได้ขึ้นมา 50,000 ล้านบาท ซึ่งหากลดภาษีสินค้านำเข้าได้จริง เชื่อว่ารายได้ที่ท่านหวังไว้นั้นสามารถ
ทำได้อย่างแน่นอน" นางสาวศุภลักษณ์ กล่าว
ผนึกพลังผู้ประกอบการ
นางสาวศุภลักษณ์ กล่าวอีกว่า หลังจากที่ได้เตรียมความพร้อมในเรื่องระบบสาธารณูปโภค
และราคาสินค้าได้แล้ว สิ่งสำคัญที่จะต้องดำเนิน การขั้นต่อไปก็คือ การผสานความร่วมมือกันระหว่างภาคเอกชน
โดยมีททท.เป็นแกนนำ ประกอบด้วย ผู้ประกอบการศูนย์การค้า ร้านค้า โรงแรม สายการบิน
บริษัททัวร์ และธุรกิจบริการ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อจัดทำแพกเกจทัวร์ ที่เน้นกลุ่มประชุมสัมมนา
และกลุ่มที่ต้องการเดินทางเพื่อชอปปิ้งโดยเฉพาะ เพราะคนทั้งสองกลุ่มนี้มีค่าใช้จ่ายต่อหัวที่สูงมาก
โดยเฉพาะกลุ่มนักชอปปิ้ง จะใช้จ่ายไม่ต่ำกว่า 1 แสนบาท ในขณะที่กลุ่มสัมมนา
จะใช้จ่ายประมาณ 5 หมื่นบาทต่อคน
"ที่ผ่านมาคนที่เข้ามาในประเทศไทยในรูปแบบของการประชุมสัมมนา เราไม่ค่อยได้แนะ
นำให้เขารู้จักไปสถานที่ดีๆ เช่น หลังจากที่ประชุม เสร็จแล้ว ควรจัดกิจกรรมตีกอล์ฟ
สปา หรือสันทนาการที่เป็นประโยชน์ เพื่อให้เขาเกิดความประทับใจ และอยากกลับมาเที่ยวเมืองไทยอีก"
อย่างไรก็ตาม การเสนอโครงการในครั้งนี้ มิใช่ต้องการโปรโมตพื้นที่ชอปปิ้งในย่านปทุมฯ
วันเพียงเท่านั้น แต่โครงการชอปปิ้ง พาราไดซ์ จะ ต้องทำในเมืองท่องเที่ยวของประเทศไปพร้อมๆ
กัน เพื่อส่งเสริมให้ไทยเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวและชอปปิ้งของโลก แทนฮ่องกงและสิงคโปร์ให้ได้
ซึ่งเชื่อว่าหากเริ่มทำตั้งแต่วันนี้ ใน อีก 3-4 ปีข้างหน้าไทยสามารถเพิ่มยอดขายสินค้า
จากกลุ่มนักท่องเที่ยวได้ถึง 2 เท่า โดยตัวเลขราย ได้ของททท. ที่ประมาณการรายได้ในอีก
4 ปีข้างหน้าว่าจะทำได้ 6 แสนล้านบาท จากปัจจุบันที่มีรายได้ 3 แสนล้านบาทก็น่าจะเพิ่มได้มากกว่า
ที่ประมาณการเอาไว้