Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน19 พฤศจิกายน 2545
"โรบินสัน"เทรดอีกครั้ง เจ้าหนีคืนอำนาจซีอาร์ซี             
 


   
search resources

ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน, บมจ.
กนก วงษ์ตระหง่าน




"โรบินสัน"กลับมาเทรดอีกครั้ง 26 พ.ย.นี้ หลังผ่าน แผนฟื้นฟู เจ้าหนี้กันหุ้น 21% ให้ "ซีอาร์ซี" ซื้อคืนเพื่อเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่อีกครั้งในราคาตลาดบวกส่วนลด เผยรัฐบาลล้มพ.ร.บ.ค้าปลีกหันใช้กฎกระทรวงแทน เชื่อส่งผลดีต่อภาพรวม เพราะแก้ไขกฎระเบียบ ได้ง่ายกว่า พร้อมศึกษาพื้นที่กทม.-ตจว. ขยายสาขาใหม่

ศ.ดร.กนก วงษ์ตระหง่าน ประธานบริหารสายปฏิบัติการและกรรม การผู้จัดการใหญ่ บริษัทห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน) เปิด เผยว่าบริษัทได้ร่วมมือกับบริษัทโรบินสัน แพลนเนอร์ จำกัด ในฐานะผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการของห้างสรรพสินค้าโรบินสัน โดยมีความพร้อม ที่จะนำหุ้นห้างสรรพสินค้าโรบินสันกลับมาซื้อขายในหมวดพาณิชย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยอีกครั้งในวันที่ 26 พ.ย.นี้ โดยตลาดหลักทรัพย์ฯเปิดให้หุ้นของบริษัทซื้อขายได้อย่างเสรี โดยไม่กำหนดราคา สูงสุดหรือต่ำสุด

ทั้งนี้ เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับของตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่ได้ระบุให้ห้างสรรพสินค้าโรบินสันต้องดำเนินการตามข้อกำหนดของตลาด หลักทรัพย์ฯอย่างครบถ้วน จึงสามารถเข้ามาซื้อขายหุ้นได้อีกครั้ง ซึ่งข้อ กำหนดของตลาดหลักทรัพย์ฯประกอบด้วย มีส่วนของผู้ถือหุ้นเป็นบวก มีผลกำไรสุทธิจากการดำเนินงานในไตรมาสที่ผ่านมา มีความคืบหน้าใน การฟื้นฟูกิจการอย่างน้อย 50% ตามที่กำหนดไว้ในแผนฟื้นฟูกิจการ

นายยรรยง ตันติวิรมานนท์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ บริษัทเฟอร์เรียร์ ฮอดจ์สัน จำกัด ในฐานะตัวแทนเจ้าหนี้ของห้างสรรพสินค้าโรบินสัน ในบริษัทโรบินสัน แพลนเนอร์ จำกัด ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากศาลให้เป็น ผู้ทำแผนและผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการเปิดเผยว่าเมื่อ วันที่ 30 ตุลาคมที่ผ่านมา ห้างสรรพสินค้าโรบินสันได้เพิ่มทุนจดทะเบียนจากเดิม 148 ล้านหุ้นเป็น 1,480 ล้านหุ้น ตามเป้าหมายที่ระบุในแผนฟื้นฟูกิจการ โดย การเพิ่มทุนจดทะเบียนดังกล่าวเป็นขั้นตอนหลัก ขั้นตอนหนึ่งของแผนฟื้นฟูกิจการที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อ ปรับโครงสร้างหนี้การเงินที่ไม่มีหลักประกันเป็นจำนวนเงินประมาณ 20,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นหนี้ก่อน เข้าฟื้นฟูกิจการ โดยจะแปลงหนี้การเงินที่ไม่มีหลักประกันส่วนหนึ่งเป็นทุน

หลังการเพิ่มทุนจดทะเบียนตามข้อกำหนดที่ระบุไว้ในแผนฟื้นฟู ห้างสรรพสินค้าโรบินสันได้ลดทุนจดทะเบียนลง 25% เพื่อปรับลดผลขาดทุนสะสม โดยหนี้ส่วนที่เหลือได้รับการปลดหนี้ ส่งผลให้หนี้ไม่มีหลักประกันซึ่งเดิมอยู่ในสกุลเงินเหรียญสหรัฐและสกุลเงินเยนเป็นส่วนใหญ่ถูกแปลงเป็นเงินบาทและมูลหนี้ทั้งหมดลดลงเหลือเพียง 3,700 ล้านบาท ถือว่าขั้นตอนการฟื้นฟูกิจการของห้างสรรพสินค้าโรบินสันดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้ว

โครงสร้างผู้ถือหุ้นใหม่ของห้างสรรพสินค้าโรบินสันขณะนี้ประกอบไปด้วย เจ้าหนี้ 60% บริษัทเซ็นทรัลรีเทล คอร์ปอเรชั่น (ซีอาร์ซี) หรือผู้ถือหุ้นใหญ่โรบินสัน 30% ผู้บริหาร 5% และบุคคลอื่นๆ 5%

อย่างไรก็ตาม ในส่วนของหุ้นที่เจ้าหนี้ถืออยู่ 60% นั้น เจ้าหนี้ได้กันไว้ 21% เพื่อให้ซีอาร์ซีซื้อหุ้นคืนตามเงื่อนไขที่หากบริหารงานจนทำให้โรบินสันมียอดขายและกำไรโตได้ตามเป้าหมาย ก็สามารถซื้อหุ้นคืนได้ ซึ่งเงื่อนไขนี้จะครบกำหนดในไตรมาส 3 ปี 2546 โดยเจ้าหนี้จะขายให้ในราคาตลาดบวกส่วนลด หากซีอาร์ซีซื้อหุ้นคืนตามสิทธิที่ได้รับจากเจ้าหนี้ทั้งหมดก็จะกลับมาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ 51% ในห้างสรรพสินค้าโรบินสันอีกครั้ง

กฎกระทรวงแก้ง่ายกว่าพ.ร.บ.

ศ.ดร.กนก กล่าวต่อว่า ปัจจุบันภาวะค้าปลีกไทยแตกต่างจากช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาอย่างเห็นได้ชัด โดยเปลี่ยนแปลงในแนวทางที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้บริโภคมากขึ้น ซึ่งทิศทางการพัฒนาธุรกิจค้าปลีก ที่มีอยู่ขณะนี้เป็นเรื่องดี ทั้งนี้ การยกเลิกพ.ร.บ.ค้าปลีกที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้ประกาศยกเลิกไปแล้ว โดยจะนำกฎกระทรวงมาปรับใช้แทนนั้น ข้อดีคือในภาวะการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในภายหน้า หากจำเป็นต้องแก้ไขกฎระเบียบ ตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น กฎกระทรวงจะแก้ไขได้ง่าย กว่าพ.ร.บ.

ทั้งนี้สาระสำคัญของการใช้กฎกระทรวงมาควบ คุมธุรกิจค้าปลีกที่อาจะส่งผลกระทบกับผู้ประกอบการได้ คือ เรื่องกำหนดโซนนิ่งการขยายสาขา,ระยะ เวลาเปิด-ปิด และขั้นตอนการขออนุญาตเปิดดำเนิน ธุรกิจ

สำหรับภาพรวมธุรกิจค้าปลีกช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ค้าปลีกรูปแบบดิสเคานต์สโตร์ได้ขยายสาขา ในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง มีจำนวนกว่า 200 แห่ง ครองส่วนแบ่งการตลาดค้าปลีก 42% ในแง่ของมูลค่า ยอดขายจำนวน 300,000 ล้านบาทในปีนี้ แต่สังเกตได้ว่ายอดขายสาขาเก่าของดิสเคานต์สโตร์ไม่ขยายตัวเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับห้างสรรพสินค้าที่ไม่มีการขยายสาขาเพิ่ม โดยครองส่วนแบ่งตลาด 32% แต่พบว่ายอดขายสาขาเก่าของห้างสรรพสินค้าทุกแห่งขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สำหรับส่วนแบ่งการตลาดของค้าปลีกที่เหลือประกอบด้วย ซูเปอร์มาร์เก็ต 8% คอนวีเนียนสโตร์ 11% และค้าส่ง 7% ศึกษาพื้นที่ขยายสาขาใหม่

ศ.ดร.กนกกล่าวต่อว่า หลังจากหุ้นโรบินสันกลับเข้าไปซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์อีกครั้งในวันที่ 26 พ.ย.นี้ รูปแบบการบริหารงานก็จะเป็นไปตามกระบวนการแผนฟื้นฟูที่กำหนดไว้ ซึ่งจะทยอยชำระหนี้คืนเจ้าหนี้ถึงปี 2548 โดยผลประกอบการของ โรบินสันในช่วง 5 ไตรมาสที่ผ่านมาประกอบธุรกิจและมีกำไรต่อเนื่อง โดย 3 ไตรมาสของปีนี้ทำยอดขายได้ 5,525 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ทำได้ 5,456 ล้านบาท โดยรายได้ของโรบินสัน มาจากยอดขาย 89% ค่าเช่า 8% และรายได้อื่นๆ 3% ในปีหน้าคาดการณ์ว่าจีดีพี ประเทศจะขยายตัวในระดับ 3-4% ซึ่งโรบินสันจะเติบโตสูงกว่าจีดีพี ประเทศ แน่นอน

นอกจากนี้บริษัทได้เตรียมศึกษาพื้นที่ทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด เพื่อกลับมาขยายสาขาใหม่ อีกครั้ง ซึ่งรูปแบบการขยายสาขาจะเป็นลักษณะเช่าพื้นที่ เพื่อลดการลงทุนในสาขาใหม่ๆ ให้ต่ำลง ปัจจุบัน โรบินสันมีสาขาทั้งหมด 18 แห่ง แบ่งเป็นกรุงเทพฯ 9 แห่ง ต่างจังหวัด 9 แห่ง ถือเป็นห้างสรรพสินค้าที่มีจำนวนสาขามากที่สุดในประเทศไทย

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us