บนชั้น 24 ของตึกซอฟต์แวร์ปาร์ค ที่ก่อนหน้านี้
ใช้ชื่อว่า อาคารวิไลลักษณ์ อุปกรณ์สำนักงานกำลังถูกจัดวาง เพื่อไว้สำหรับเป็นที่ตั้งของ
บริษัทสามารถอินเตอร์เน็ต และบริษัทในเครือ ที่จะรองรับ กับทีมงาน 200 กว่า
คนที่ถูกระดมเข้ามาในช่วง 5-6 เดือนที่ผ่านมา
เช่นเดียวกับการแถลงข่าวเปิดตัวเว็บไซต์ใหม่ ๆ ธุรกิจใหม่ ๆ ที่จะต้องมี
ขึ้นเป็นระยะๆ และการโฆษณา ที่จะถูกยิงผ่านสื่อต่างๆ เพื่อให้มีก ารเคลื่อนไห
วอยู่ตลอดเวลา
เพราะนี่คือ ส่วนหนึ่งของการเคลื่อนย้ายจากธุรกิจในโลกใบเก่าไปสู่ธุรกิจในโลกใบใหม่
ที่นับได้ว่าเป็นเรื่องท้าทายที่สุดอีกครั้งหนึ่งของกลุ่มสามารถ
สามารถเป็นธุรกิจสื่อสาร ที่ได้สัมปทานไอเอสพีมาในยุคแรก ๆ และ เกือบจะขายกิจการนี้ให้กับกลุ่มเอ็มเว็บ
ประเทศไทยไปในช่วง ที่เกิดวิกฤติ เศรษฐกิจ แต่มาเปลี่ยนใจภายหลัง เมื่อได้มีการศึกษาอย่างจริงจัง
และพบว่าโทรคมนาคมในโลกทุกรายกำลังหันไปสู่ธุรกิจอินเตอร์เน็ต
การเปลี่ยนแปลงโครง สร้างธุรกิจของกลุ่มสามารถ ที่หัน มามุ่งสู่การ เป็นองค์กรอินเตอร์เน็ตในครั้งนี้
เกิดขึ้นภายใต้สาเหตุของการตัดสินใจทิ้งกิจ การโทรศัพท์มือถือ ไปให้กับบริษัทชินคอร์ปอเรชั่น
"ถึงแม้เศรษฐกิจดีขึ้น แต่เมื่อ ถึงเปิดเสรี
ผมยังมีเครือข่ายอยู่แค่กรุงเทพฯ เป็นเครือข่ายเล็ก ๆ จะไปสู้กับเขาก็ไม่ไหว
ไม่ว่าจะเป็นต่างชาติ หรือเทเล คอมมาเลเซีย เมื่อเพิ่มทุนผมก็ต้องถูกกลืนอยู่ดี
ถึงแม้ว่าเวลานี้หุ้น ที่เทเล คอมมาเ ลเซียถืออยู่จะติดเพดาน 49% แล้วก็ตาม
แต่บริษัทดีพีซีเดินต่อไป ไม่ได้ ต้องใช้เงินลงทุนต่อเนื่องอีกมาก"
ธวัชชัย วิไลลักษณ์ รองประธาน บริหาร บอกถึงเหตุผลของการตัดสินใจทิ้ง กิจการโทรศัพท์มือถือ
โท รศัพท์มือถือ เป็นธุรกิจ ที่เปรียบเสมือนกับเรือธง ที่กลุ่มสามารถตั้ง
ความหวังไว้สูงมากกับธุรกิจนี้ เพราะมันหมายถึงสะท้อนความมั่งคั่ง กับการ
มีรายได้ประจำอย่างต่อเนื่องที่ดีกว่าสัมปทานอื่น ๆ
แต่หล ังจากวิกฤติเศรษฐกิจผ่านพ้นไปแล้ว องค์กรธุรกิจ ที่ต้องคำนึงถึง สภาพคล่องทางการเงินเป็นสำคัญ
การตัดสินใจทิ้งธุรกิจโทรศัพท์มือถือ แล้ว ได้เงินมา 5,000 ล้านบาท ย่อมดีกว่าการที่ต้องรออีก
15 ปีถึงจะได้เม็ด เงิน รายได้มาในจำนวน ที่ใกล้เคียงกัน
"ลอจิกมันง่ายนิดเดียว คือ ดีพีซี ทำรายได้ให้สามารถ
5,000 ล้านบาท แต่ต้อง ใช้เวลา 20 ปี แต่นี่เราได้ 5,000 ล้านบาทเลย ได้วันนี้เลย
แล้ว ทำไมเราไม่เอา สุดท้ าย ของการทำธุรกิจก็คือ เงิน ทำอะไร ที่ได้เงินมากที่สุด
ทุกคนก็ชนะ ลูกค้าก็ชนะ ชินก็ชนะ" จุลภาส เครือโสภณ รองประธานกรรม
การบริหาร บริษัทสามารถคอร์ปอเรชั่น
นั่นไม่สำคัญเท่ากับว่า กลุ่มสามารถรู้ดีว่า ไม่มีความพร้อม ที่จะแข่งขัน
ในธุรกิจโทรศัพท์มือถือ ซึ่งเป็นธุรกิจจำเป็นต้องอาศัยฐานการเงิน ที่เข้มแข็ง
อย่างมาก สำหรับการสร้างเครือข่ายรองรับกับจำนวนลูกข่าย ที่เพิ่มขึ้น และบริการที่สมบูรณ์แบบมากพอสำหรับความต้องการของลูกค้า
จุลภาสบอกกับ "ผู้จัดการ" ว่า หน้าที่ของเขา คือ การแก้ปัญหา หาทางเลือกให้กับตระกูลวิไลลักษณ์
สำหรับการตัดสินใจของผู้บริหาร ที่เริ่มมาตั้งแต่ กรณีการนำสามารถเทลคอม เข้าตลาดหลักทรัพย์
ซึ่งหลังจากจบงานครั้งนั้น เขาก็ได้เปลี่ยนจากฐานะ ที่ปรึกษามาเป็น ผู้บริหารในสามารถเต็มตัว
และ ผลงาน ที่สำคัญ การดึงเอาเทเลคอมมาเลเซียมาลงขันในดีพีซี จนกระทั่งมี
ส่วนร่วมในดีลของสวอปหุ้นดีพีซี กับชินคอร์ป ที่เป็นจุดเปลี่ยน ที่สำคัญของ
การเคลื่อนย้ายเข้าสู่ธุรกิจอินเตอร์เน็ต
การตัดสินใจทิ้งธุรกิจโทรศัพท์มือถือให้กับชินคอร์ป และแลกมาด้วย การถือหุ้นในสัดส่วน
5% กว่า ๆ ชินคอร์ป ซึ่งกลุ่มสามารถประเมินแล้วว่า จะได้เงินจากการ สวอปหุ้นครั้งนี้น้อยกว่า
5,000 ล้านบาท เป็นการ ประเมินหลังจาก ที่ชินคอร์ปนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้น
Nasdaq สำหรับ สามารถแล้ว คุ้มค่ามากกว่ าการรักษาธุรกิจโทรศัพท์มือถือเอาไว้
"มีธุรกิจโทรศัพท์มือถือ แล้วขาดเงินทุน กับสามารถมีธุรกิจ
อิน เตอร์เน็ตแล้วมีเงิน 5,000 ล้านบาท เพราะถ้ามีโทรศัพท์มือถือแล้วไม่มีเงิน
แต่ ปัญหาของสามารถเว ลานี้กลับกันแล้ว เรามีเงินแล้ว แต่ไม่รู้จะเอาไปทำอะไร"
คำอธิบายของจุลภาส
การหันมาสู่ธุรกิจอินเตอร์เน็ตของสามารถ จึงแตกต่างไปจากเมื่อ 1-2 ปีที่แล้ว
ที่สามารถไม่มีภาระใน เรื่องของหนี้สิน หรือป ัญหาของกิจการ โทรศัพท์มือถือ ที่ต้องจัดการอีกต่อไป
หลังวิกฤติเศรษฐกิจ และหลังการขายหุ้นในดีพีซี กลุ่มสามารถต้องปรับ โครงสร้างองค์กรให้รัดกุมมากขึ้น
ตัดทิ้งธุรกิจ ที่ไม่ทำเงิน หันมาโฟกัสเฉพาะ ธุรกิจ ที่มีความสามารถในการทำรายได้
ธุรกิจหลักในเวลานี้ของสามารถ เหลืออยู่เพียง 3 กลุ่มหลัก คือ 1. ธุรกิจ
โทรคมนาคม ประกอบไปด้วย วิทยุติดตามตัว โทรศัพท์มือถือใน กัมพูชา บริการวีแสท
งานติดตั้งระบบโทรคมนาคม 2. ระบบจัดจำหน่าย เครื่องลูกข่าย โทรศัพท์มือถือ
และวิทยุติดตามตัว 3. ธุรกิจอินเตอร์เน็ต
เป็นโครงสร้างองค์กร ที่กลุ่มสามารถประเมินแล้วว่า เป็นธุรกิจ ที่สามารถยังรักษาจุดแข็งไ
ด้อยู่
"ทำไมเราต้องสวอปหุ้นดีพีซีกับชิน เพราะเรามองแล้วว่าธุรกิจ ที่เราจะ
ทำต่อไปถ้าสามารถไม่ได้ ที่ 1 หรือ ที่ 2 แล้ว สามารถไม่คิดจะทำ เพราะถ้า เราเป็นเล็กๆ
เราจะถูกปลาใหญ่ฮุบไปเรื่อยๆ เราพยาย ามหานิชมาร์เก็ต หาอะไร ที่ต้องทำเป็นเบอร์
1 หรือ เบอร์ 2 มันต้องโฟกัสมากขึ้น"
ถึงแม้ว่าธุรกิจ 2 กลุ่มแรก เป็นธุรกิจดั้งเดิมของสามารถ ที่ยังคงเก็บเกี่ยวรายได้อย่างต่อเนื่อง
แต่ธุรกิจโทรคมนาคมว ันนี้แตกต่างไปจากอดีตไม่ อยู่ในภาวะ ที่จะขยายการลงทุนหวือหวาอีกต่อไป
และกลุ่มสามารถไม่พร้อม ที่จะทำเช่นนั้น ได้อีกต่อไป
ไม่เหมือนกับธุรกิจอินเตอร์เน็ต การเลือก ที่จะเคลื่อนย้ายองค์กรมาสู่ธุรกิจอินเตอร์เน็ต
ถึงแม้จะมีความเสี่ยงสูง แต่การที่โลกทั้งโลกกำลังเคลื่อน ย้าย ไป ที่อินเตอร์เน็ต
และตลาดอินเตอร์เน็ต ในเมืองไทยยังเป็นตลาดใหม่ ที่ ยังไม่มีใคร ที่จะขึ้นเป็นอันดับ
1 หรือ ได้ชื่อประสบความสำ เร็จในธุรกิจนี้ อย่างชัดเจน
การมาลงทุนของเอ็มไอเอช (MIH) ที่มาบุกเบิกลงทุนอินเตอร์เน็ต ในเมืองไทยก็เป็นอีกปัจจัยสำคัญสำหรับ
การเข้าสู่ธุรกิจอินเตอร์เน็ต
นอกจากนี้ เดิมพันของการเข้าสู่ธุรกิจอินเตอร์เน็ต ไม่จำเป็นต้องใช้เงิน
ทุนมากมาย ไม่เหมือนกับธุรกิจโทร คมนาคม หรือการเป็นโอเปอเรเตอร์ ที่ จำเป็นต้องใช้เงินลงทุนมหาศาล เพื่อสร้างโครงข่ายสำหรับการให้บริการ
"โทรศัพท์มือถือ เรา สร้างเครือข่ายแต่ละครั้งใช้เงินไม่ต่ำกว่า
3,000 ล้านบาท แต่ธุรกิจอินเตอร์เน็ต การลงทุนในช่วง 3 ปีของเรา ไม่มีทางใช้เงิน
เกิน 500 ล้านบาท ถ้าไม่ประสบความสำเร็จหรือเจ๊งไป ก็ยังเหลือเงินอีก 4,5
00 ล้านบาท" จุลภาสอธิบาย
อินเตอร์เน็ต จึงเป็นธุรกิจ ที่คุ้มค่า ต่อการเสี่ยงในสายตาของผู้บริหาร
กลุ่มสามารถ เพราะการลงทุนในธุรกิจนี้ นอก จากการที่จะทำให้องค์กรดูดี และมีความหวือหวา
น่าสนใจในสายตานักลงทุนในช่วงระยะสั้นแล้ว
หากเดิมพันครั้งนี้สำเร็จย่อมหมายถึงโอกาสของการเข้าไประดมทุนใน ตลาดหุ้น
nasdaq และผลที่ได้รับไม่ใช่แค่ตลาดในเมืองไทยเท่านั้น แต่มัน หมายถึงตลาดเอเชีย
แปซิฟิก และตลาดโลก ที่สำคัญมันเป็นโอกาส ที่ สามารถจะกลับมายิ่งใหญ่ได้อีกครั้ง
และนี่เอง ที่ทำให้กลุ่มสามารถ พยายามวางโครงสร้างองค์กรอินเตอร์เน็ตให้มีความชัดเจน
เอาจริงเอาจัง และ ได้ว่าจ้าง Bank of America มา เป็นที่ปรึกษาในการวาง
master plan และยังรวมไปถึงรับผิดชอบเรื่องของ การหาพันธมิตรทางธุรกิจ
"จริงๆ แล้ว เราใช้เวลาศึกษามานานพอสมควร ประสบการณ์ของแบงก์
ออฟอเมริกา ที่อยู่ในอเมริกา ที่เขาเคยนำ บริษัทเข้าตลาดมาแล้วหลายแห่ง เป็น
สิ่งที่เราเลือกเขา ซึ่งเขาก็มีงานวิจัยหลาย ชิ้นมาให้ผมอ่านให้เอามาแอพพลายใช้
แต่หลายอย่างเมืองไทยก็ยังไม่พร้อม" ธวัชชัยเล่า
การมีรากฐานจากธุรกิจโทร คมนาคม การสร้างโมเดลธุรกิจอินเตอร์ เน็ต จำเป็นต้องมีการนำเอาธุรกิจโทร
คมนาคม ที่เหลืออยู่ในมือมาหลอมรวม กับธุรกิจอินเตอร์เน็ตให้ลงตัวได้มากที่สุด
นั่นก็คือ การนำเอาเครือข่ายสื่อสาร ที่มีอยู่ในมือ บริการสื่อสารผ่านดาว
เทียม วีแสท เพจเจอร์ ออดิโอเท็กซ์ และข่ายสายความเร็วสูงมาใช้ ให้เกิด ประโยชน์สูงสุดต่อธุรกิจอินเตอร์เน็ต
จะว่าไปแล้วก็ไม่ต่างไปจากโมเดลของ เนชั่น มองตัวเองเป็น content provider
ท ี่มีค่ามีราคาที่สุดสำหรับ การเข้า สู่ธุรกิจอินเตอร์เน็ต
ขณะเดียวกัน content ที่ได้จาก ธุรกิจอินเตอร์เน็ต จะถูกสร้างมูลค่า เพิ่ม
ด้วยการนำไปออกสื่อต่างๆ ในมือ ไม่ว่า จะเป็นออดิโอเท็กซ์ วิทย ุติด ตามตัว
โทรศัพท์มือถือ หรือโทรศัพท์พื้นฐาน
"เราได้ลงทุนในเรื่องของโครง สร้างพื้นฐานไปหมดแล้ว
ถ้าพูดกันตรงๆ ก็คือ ไอที โทรคมนาคม อินเตอร์เน็ต มีเดีย ไม่ได้หนีกัน สิ่งเหล่านี้มันไป
ด้ว ยกันตลอด เพียงแต่เราต้องการแยกอินเตอร์เน็ตออกมาให้ชัดเจน เน้น มากขึ้น
ไม่ต้องลงทุนมากแต่ก็ต้องครีเอทีฟให้มากที่สุด" ธวัชชัยอธิบาย
และนี่เอง ก็คือ ที่มาของการแยกส่วนมาจัดตั้งบริษัทสามารถอินเตอร์เน็ต สร้างโมเดลธุรกิจเป็นของตัวเอง
มีทีมงาน ที่ถูกสร้างขึ้นมาใหม่ ภายใต้โครง สร้าง การบริหารงาน ที่เป็นแบบฉบับของตัวเอง
สร้างความพร้อมสำหรับการ เป็นองค์กรอินเตอร์เน็ตอย่างเป็นจริงเป็นจัง
กลุ่ม สามารถสร้างสูตรสำเร็จของการทำธุรกิจอินเตอร์เน็ต ด้วยภาพธุรกิจ ขนาดใหญ่
ที่มีบริการแบบครบวงจร มีจิ๊กซอว์ธุรกิจ ที่ครบถ้วน เข้าไป มีส่วนในทุกๆ พื้นที่ของธุรกิจ
เป็นแนวทางไม่แตกต่างไปจากองค์กรอิน เตอร ์เน็ตของเมือง ไทยอื่นๆ ที่ยังไม่สามารถโฟกัสเฉพาะบางธุรกิจได้
จนกว่า จำนวนผู้ใช้จะเพิ่มขึ้น ตลาดจะขยายใหญ่มากกว่านี้
โมเดลธุรกิจของกลุ่มสามารถพยายามปะติดปะต่อขึ้น จึงครอบคลุมตั้ง แต่ธุรกิจไอเอส
พี เพื่อเป็นท่อในการเชื่อมต่อเข้าสู่อินเตอร์เน็ต มีเว็บไซต์ เป็นของ ตัวเอง
จากนั้น ก็สร้าง content ขึ้นมา เพื่อสร้างประชาคม หรือ community ขึ้นมาในเว็บไซต์ของตัวเอง
ทั้งหมดไปสู่บริการ e-com merce ที่เป็นเรื่องของ Business to business
หรือ บีทูบี ที่จะป็นบริการแบบครบวงจร Full Service Internet ตั้งแต่การรับออกแบบเว็บไซต์
จนกระทั่งไปถึงระบบการชำระเงิน การส่งของ ให้กับลูกค้า ที่มาใช้ บริการ
โจทย์ ที่ทุกคนไม่ว่ากลุ่มสามารถ หรือ ล็อกซอินโฟ ชินคอร์ป หรือใครต่อใครก็รู้ดีว่า
รายได้จากธุรกิจอินเตอร์เน็ตเวลานี้ไม่ใช่เรื่องของการเปิดเว็บ ไซต์ขึ้นมาแล้วซื้อขายสินค้าบนอินเตอร์เน็ต
หรือ บิสซิเนส ทู คอนซูเมอร์ แต่ ต้องเป็น อี-คอมเมิร์ซ ในรูปแบบของ business
to business หรือ บีทูบี นั่นก็คือ การทำให้อินเตอร์เน็ต เป็นเครื่องมือ ที่จะช่วยให้องค์กรธุรกิจต่าง
ๆ ได้ ใช้ประโยชน์ ลดค่ าใช้จ่าย ประหยัดเวลาในการติดต่อธุรกิจสั่งสินค้าได้มากที่สุด
สิ่งเหล่านี้ จะเป็นรากฐาน ที่แท้จริงของการทำธุรกิจอินเตอร์เน็ตใน ปัจจุบัน
ตราบใด ที่จำนวนผู้ใช้อินเตอร์เน็ตยังมีจำกัด ข้อมูลยังเป็นของ ฟรี และ ยังต้องอาศัยความพร้อมของผู้ใช้อินเตอร์เน็ต
ในเรื่องของตัวกฎหมาย ระบบ รักษาความปลอดภัยในการชำระเงินมากกว่านี้
กลุ่มสามารถ จัดโครงสร้างธุรกิจอินเตอร์เน็ต แบ่งธุรกิจออกเป็น 3 ขา หลัก
เพื่ อให้ครอบคลุมทุกส่วนของอินเตอร์เน็ต และทั้งหมดนี้ได้ถูกสร้างขึ้น มาอย่างเร่งรีบ
และเบ็ดเสร็จ
ส่วนแรก commerce service provider (CSP) ที่จะอยู่ภายใต้ความ รับผิดชอบของบริษัทสามารถ
อี-บิซ และบริษัท สามารถคอนเน็ค เป็นเรื่อง ของธุรกิจไอเอสพี ที่จะมีบริการครอบคลุมตั้งแต่
อินเตอร์เน็ต แอคเซ็ส บริการโฮสติ้ง และบริการ applicaiton management เป็นบริการที่ให้กับองค์กร
ธุรกิจ ที่ต้องการมีอินเตอร์เน็ต มีเว็บไซต์เป็นของตัวเอง เป็นบริการที่กลุ่ม
สามารถต้องการทำให้ครบวงจร ตั้งแต่การออกแบบเว็บไซต์ การให้บริการ โฮสติ้ง
"ในส่วนนี้จะเป็นเรื่องของบริการ access แก่ลูกค้าทั่วไป
และลูกค้าองค์ กร ซึ่ง จะเหมือนกับอสังหาริมทรัพย์ เป็นบริการให้เขามาฝากผมไว้
ใน ลักษณะ ของ hosting มีแอพพลิเคชั่นให้เขาใช้ มีการดีไซน์เว็บไซต์ใหม่
เรียกว่า เป็นบริการ อินเตอร์เน็ต ครบวงจร" ธวัชชัยเล่า
ผู้บริหารสาม ารถมองว่า การลงทุนในธุรกิจส่วนนี้ไม่ได้มีความสลับซับ ซ้อนมากไปกว่าการที่ต้องมีเงินทุนมาใช้สำหรับการเช่าวงจรความเร็วสูง
ใช้ ขยายแบนด์วิช เพิ่มความสะดวกให้ลูกค้าต่อเชื่อมเข้าสู่อินเตอร์เน็ตได้สะดวกที่สุด
นอกจากนี้ กลุ่มสามารถจะอาศัยเครือข่ายบริการสื่อสารผ่านดาวเทียม หรือ วีแสท
ในมือมาใช้ประโยชน์ในการขยายเครือข่ายบริการภายในประเทศ เชื่อมโยง node ในต่างจังหวัดเข้าด้วยกัน
กลุ่มสามารถจะใช้เม็ดเงิน 100 ล้านบาท สำหรับการปรับปรุงโครงข่าย ที่จะให้บริการอินเตอร์เน็ตทั้งหมด
ให้รองรับกับเป้าหมายของการที่จะให้ บริการแบบครบวงจร
"กลางปีนี้ ไอเอสพีของเราจะเปลี่ยนแปลงโฉมใหม่หมด จะเล ่นเรื่องการ ตลาดอย่างจริงจัง
เวลานี้ทุกคนรู้จัก แต่เคเอสซี ซึ่งภาพพจน์ของเคเอสซี คือ ไอเอสพี ที่ให้บริการราคาถูก
สำหรับเราแล้ว การเล่นราคาอย่างเดียวมันไม่ คุ้มอยู่ แล้ว เราต้องเล่นทั้งราคา
ภาพพจน์ และ ต้องตรงใจพฤติกรรมของผู้ บริโภค ตรงนี้เรากำลังทำแผนออกไอเอสพีใหม่
เราสำรวจมาแล้วพอสมควร" ธวัชชัยกล่าว
เป้าหมายของสามารถ คือ การเพิ่มจำนวนลูกค้า ที่จะมาใช้บริการ จาก ที่ มีอยู่
1-2 หมื่นรายที่จะต้องเพิ่มเป็น 80,000 ราย ภายในสิ้นปี โดยจะมี con- tent
หรือ เว็บไซต์ ที่ซื้อมาเป็นตัวเร่งใน การสร้างฐานลูกค้าเหล่านี้
ธุรกิจขา ที่สอง คือ บริการในส่วน ของ บีทูซี (บิสซิเนส ทู คอนซูเมอร์) จะครอบคลุมธุรกิจในเรื่องของเว็บไซต์
portal web และบริการออนไลน์ เป็นเรื่องของการสร้าง community จะอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของบริษัท
สามารถออนไลน์
ยุทธศาสตร์ของการทำธุรกิจในส่วนนี้ ไม่แตกต่างไปจากเอ็มเว็บ ประ เทศไทย
นั่นก็คือ การซื้อเว็บไซต์ในมือมากๆ สร้างเป็น community ที่ พยายาม ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้อินเตอร์
เน็ตให้ได้ทุกกลุ่ม ไว้สำหรับ เป็นช่องทาง ในการโปรโมตชื่อให้เป็นที่ร ู้จักทั่วไป
"หากทำดีๆ ก็มีโอกาส ที่จะเข้าตลาดหุ้น เหมือนอย่างที่
tom.com ทำ สำเร็จมาแล้ว หรืออย่างน้อยก็มีรายได้จากโฆษณามาใช้จ่าย แต่ ที่สำคัญคือ
มีไว้สำหรับในการสร้างชื่อให้กับเรา เพื่อบอกว่า เราเคยทำสำเร็จมาแล้วกับ
การมีเว็บไซต์ ที่คนเข้ามาดู เพราะเว็บไซต์ใครๆ ก็มีได้ แต่สิ่งที่แตกต่างคือ
การตลาด" ผู้บริหารของสามารถสะท้อนแนวคิด
กลุ่มสามารถเลือกเดินทางลัด ไม่เลือก ที่เพาะเมล็ดพันธุ์ แต่ใช้วิธีซื้อต้น
ไม้ นั่นก็คือ การซื้อเว็บไซต์ ที่มี hit rate มีคนใช้แล้ว แทน ที่จะเป็นการสร้าง
ขึ้นมาใหม่
เพราะสิ่งที่จะได้จากการซื้อเว็บไซต์ ก็คือ เพื่อลดระยะเวลาของการทำ ธุรกิจ
การซื้อเว ็บไซต์นั้น หมายถึง การได้ทีมงานรู้เรื่องเว็บไซต์ที่ดีที่สุดแล้ว
เข้ามาทำงานต่อเนื่องได้ทันที รวมถึงจำนวน hit rate ซึ่งองค์ประกอบสำคัญ
ของการสร้างประชาคม หรือสร้าง community
กรณีการเลือกซื้อเว็บไซต์ ยำใหญ่.คอม และไทยซุปเปอร์โมเดล.คอม ก็ เพื่อตอบสนองยุทธศาสตร์เหล่านี้
เว็บไซต์ ยำใหญ่ แต่เดิมเป็นเว็บไซต์ ที่เน้นเรื่องบริการ match making หาคู่
หา เพื่อนทางอินเตอร์เน็ต ที่ได้รับรางวัลช นะเลิศจากการประกวดเว็บ ไซต์ ที่กลุ่มเนชั่นจัดขึ้นเมื่อปลายปีที่แล้ว
กลุ่มสามารถซื้อมา เพื่อนำมา ปรับปรุงใหม่ ต้องการให้เป็น portal web ในลักษณะ
เดียวกับ สนุก.คอม
เช่นเดียวกับ ไทยซุปเปอร์โมเดล ที่เป็นของสองนางแบบชื่อดัง เฮเลน และ ลูกเกด
ก็ถูกซื้อมา เพื่อเป็นจุดขายในการสร้าง community ที่มีจุดขาย ต่างกันไป
เว็บไซต์ ไทยทิกเก็ตมาสเตอร์.คอม ที่ร่วมกับบริษัทบีอีซีเทโร ที่เป็น เรื่อง
ของการ ขายบัตรคอนเสิร์ตผ่านอินเตอร์เน็ต และไทยซุปเปอร์ช้อป จะ เป็นเว็บไซต์
ที่ตอบสนองในเรื่องของการทำอี-คอมเมิร์ซ
เว็บไซต์ samart.com จะเป็นเว็บกลาง หรือ portal web ที่เป็นศูนย์ รวม
ของข่าวสาร และกิจ กรรมการตลาดอีกครั้งหนึ่ง
"การจัดตั้งเว็บไซต์ ไม่ใช่อยู่ดี ๆ เราก็เอาเว็บไซต์นั้น
มาใส่เว็บไซต์นี้ เรา ต้องมาจัดแบ่งว่า คอมมูนิตี้จะมีอะไรบ้าง อี-คอมเมิร์ซต้องมีอะไรบ้าง
ซึ่งเว็บไซต์ เหล่านี้จะต้องตอบสนองกลยุทธ์ของเราได้อย่างไร"
ธวัชชัยกล่าว
การมีเว็บไซต์มาก ๆ ในเครือข่าย ไม่ใช่ เพื่อตอบสนองกลุ่มเป้าหมาย ที่ หลากหลายเท่านั้น
ไม่จำเป็นที่ทุกเว็บไซต์จะต้องประสบความสำเร็จ เพียง แค่มีเว็บ ไซต์เดียว ที่โดนใจผู้ใช้
ก็ถือว่าคุ้มค่าแล้ว สำหรับการทำธุรกิจใน ลักษณะนี้
"ในจำนวน 10 เว็บไซต์ ถ้าได้รับความนิยมเพียงเว็บไซต์เดียวก็ถือว่า
ประสบความสำเร็จแล้ว เพราะการลงทุนของเว็บไซต์ไม่มาก"
และด้วยรากฐานในธุรกิจโทรคมนาคม content หรือข้อมูลที่ได้จากเว็บ ไซต์เหล่านี้
ที่จะต้องเป็นข้อมูลที่เคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา เพื่อดึงดูดให้คน เข้ามา ที่เว็บไซต์
จะถูกนำไปสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยนำไปใช ้ประโยชน์ต่อเนื่อง ผ่าน "สื่อ" ที่อยู่ในมือของสามารถอื่นๆ
ไม่ว่าจะเป็นบริการเพจเจอร์ ออดิ โอเท็กซ์ โทรศัพท์มือถือ
"ส่วนนี้จะเป็นการขายข้อมูล ผ่านมีเดีย อีกหน่อยถ้ามีเงิน
ผมจะไปซื้อ หนังสือพิ มพ์ ข้อมูลที่ได้จากหนังสือพิมพ์ จะส่งผ่านไปวิทยุ
ออนไลน์ ออก ตามสื่ออื่น ๆ" ธวัชชัยสะท้อนแนวคิด ที่ต้องการทำธุรกิจแบบเบ็ดเสร็จ
ตั้งแต่ ต้นทางจนถึงปลายทาง
ขณะเดียวกัน ด้วยรากฐานของการมีสื่อโทรคมน าคม จะถูกใช้เป็นจุด แข็ง ในการสร้าง
content ที่กลุ่มสามารถพยายามหลอมรวมทั้งสองส่วนให้ ลงตัวที่สุด
"การที่ผมมีเพจเจอร์ มีออดิโอเท็กซ์ อย่างเวลาผมไปติดต่อกับกันตนา
หรือ สยามกีฬา หรือ content provider ผมก็เสนอเขาได้ว่า เรามีสื่อเหล่า นี้
เขาจะออกได้หมด ไม่ใช่แค่เว็บไซต์ ออกทางมือถือ เพจเจอร์ ออดิ โอเท็กซ์ ไม่อย่างนั้น
ผมก็คงไม่ได้บีอีซีเทโร ไม่ได้กันตนามาหรอก" ธวัชชัยชี้แจง
ถึงแม้ว่ ากลุ่มสามารถจะพยายามสร้างธุรกิจแบบเบ็ดเสร็จ ด้วยการใช้ เงินทุนกว้านซื้อเว็บไซต์
จ้างทีมงานใหม่ๆ เข้ามาร่วมงาน ทุกอย่างถูกทำขึ้น แบบ เร่งด่วน ด้วยนโยบาย ที่ไม่เพาะเมล็ด
แต่ปลูกต้นไม้ ที่โตแล้ว แต่ธุรกิ จ ทั้ง 2 ขาเหล่านี้เป็นเพียงแค่การวางรากฐาน
ให้เท่าทันกับองค์กรอิน เตอร์เน็ตอื่นๆ เท่านั้น สร้างชื่อให้เป็นที่รู้จัก
ไม่ใช่สิ่งที่จะเป็นเป้าหมายหลักของ ธุรกิจ
"สองส่วนแรกเราจำเป็นต้องมี เราอย ากมีคนมาแอคเซสเยอะๆ
ต้องมี content มากๆ แต่เราไม่ต้องทำเอง ไม่อยากเสียเวลา เราซื้อมาเลย เราได้
คนอย่างคุณนาวิก เจ้าของยำใหญ่มาทำให้ ทั้งหมดนี้ก็ เพื่อไปสู่จุดสุดท้าย
นั่นก็คือ ธุรกิจบีทูบี" จุลภาส เครือโสภณ กล่าว
โจทย์ ที่สำคัญของสามารถ จึงอยู่ ที่ธุรกิจขา ที่ 3 ที่เป็นเรื่องของบริการ
บิสซิเนส ทู บิสซิเนส ที่อยู่ภายใต้การรับผิดชอบของบริษัทสามารถเอ็กซ เชนจ์
จำกัด ที่ตั้งขึ้นมา เพื่อรองรับโดยเฉพาะ
"หลายคนไม่เข้าใจ อย่างบีทูซี เวลานี้ยังไม่ทำเงินหรอกครับ
แต่ต้องเป็น บีทูบี เท่านั้น ที่ทำเงิน บีทูซีนั้น กว่าคนจะมาใช้อินเตอร์เน็ต
กว่า ที่เว็บไซต์จะ ดีก็ต้องใช้เวลา" ธวัชชัยสะท้อนแนวคิด
และนี่เอง ที่ทำให้กลุ่มสามารถ ตัดสินใจดึงเอา ม.ล.ชัยวัฒน์ ชยางกูร อดีตกรรมการผู้จัดการ
บริษัทคอมแพค ประเทศไทย จำกัด เข้ามาเป็นแม่ ทัพ ดูแล ธุรกิจอินเตอร์เน็ตของสามารถ
ม.ล.ชัยวัฒน์ ผู้บริหารวัย 43 ปีผู้นี้เคยผ่านประสบการณ์ในองค์กรเอกชน ขนาดใหญ่
เคยทำงานอยู่กับบริษัทไอบีเอ็ม ประเทศไทย 13 ปี และย้ายมา เป็นรองผู้จัดการใหญ่ของสยามกลการ
ในยุคที่เปลี่ยนจากคุณหญิงพรทิพย์ ณรงค์เดช มาสู่ยุคของพรเทพ พรประภา จากนั้น ก็หวนกลับมาสู่ธุรกิจ
คอมพิวเตอร์ เข้ามาทำงานในบริษัทดิจิตอล อีคิวเมนท์ จนกระทั่งได้มานั่งเป็นผู้
จัดการใหญ่ ประจำประเทศไทย ของบริษัทคอมแพค ประเทศไทย หลังจาก คอมแพคซื้อกิจการดิจิตอล
อีคิวเมนท์ลุล่วงลง
การที่กลุ่มสามารถยอมลงทุน จ้าง ม.ล.ชัยวัฒน์ มาเป็นแม่ทัพของธุรกิจ อินเตอร์เน็ตในครั้งนี้
ไม่ใช่เพียงแค่เรื่อง การสร้างองค์กรให้ดูดี เป็นองค์ก ร ของมืออาชีพ มีผู้นำ ที่มีประสบการณ์ในองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่
มาวาง บิสซิเนสแพลน กำหนดบทบาทหน้าที่อย่างแน่ชัด แต่สิ่งที่สามารถต้องการที่สุด
ก็คือ ประสบการณ์การทำงาน ที่บริษัทคอมแพค "เพราะเราเชื่อว่า โมเดลของคอมแพคดีที่สุดในอุตสาหกรรมนี้
คอมแพค มี แอพพลิเคชั่น ที่ครอบคลุมตั้งแต่ดาต้าเซ็นเตอร์ ระบบลอจิสติก ระบบคลังสิน
ค้า แล้วทำไมเราถึงไม่เอาคนที่รู้เรื่องของคอมแพคที่สุด มาอยู่กับเรา เมื่อเรา
ซื้อคอมแพคไม่ได้ เราก็ซื้อคนที่มีความรู้ในสิ่งที่คอมแพคเป็น" จุลภาสอธิบาย
สิ่งที่สามารถอินเตอร์เน็ตอยากเป็นเหมือนกับคอมแพคเป็น ก็คือ การ สร้างบริการที่รองรับกับ
บิสซิเนส ทู บิสซิ เนส แบบครบวง จร มีดาต้าเซ็น เตอร์ ที่ให้ บริการ hosting
ให้ธุรกิจขนาดกลาง และ ขนาดย่อมมาเช่าใช้ โดยไม่ต้องลงทุนเอง
"เราเชื่อว่าโมเดลธุรกิจบีทูบี ที่ถูกจะต้องเป็นการให้เช่า
ไม่ใช่การขายของเพราะคงไม่มีธุรกิจ ที่เป็นร้านค้า ขายของทั่วไปจะลงทุนซื้อเซิร์ฟเวอร์ราคาตัวละเป็นแสนๆ
แต่ให้เขาเสียเพียงเดือนละ 1,000 บาทก็พอ"
ธวัชชัยเล่าว่า ธุรกิจทั้ง 3 ส่วนดังกล่าว จะถูก back up ด้วยระบบ payment
gateway หรือการชำระเงินผ่านอินเตอร์เน็ต ที่จะเชื่อมโยงไปยัง ธนาคารต่าง
ๆ มีระบบรักษาความปลอดภัย ที่ถูกสร้างขึ้นมารองรับ ทั้งหมดนี้ เพื่อ นำไปสู่การให้บริการ
total e-solution
กลุ่มสามารถใช้วิธีต่อจิ๊กซอว์ ด้วยการจับมือกับ บริษัท ไซเบอร์ซอส ที่มีฐานในสหรัฐอเมริกา
เคยทำระบบเหล่านี้ให้กับเว็บดังๆ อย่าง อีเบย์ หรือ เอ็กไซต์มาแล้ว โดยสามารถอาศัย
know how ของบริษัทแห่งนี้ในการสร้างเปย์เม้นท์ เกตเวย์ให้กับเครือข่ายของตัวเอง
จิ๊กซอว์ตัวสุดท้าย ก็คือ ระบบขนส่ง หรือ delivery ที่จะเป็นส่วน ที่จะ มารองรับในเรื่องการขนส่ง
ซึ่งเป็นจิ๊กซอว์ ที่ทุกองค์กรอินเตอร์เน็ตเวลานี้ กำลังวิ่งหาสูตรสำเร็จกันทุก
ราย เพื่อให้ภาพของ อี-คอมเมิร์ซสมบูรณ์มาก ที่ สุด แต่ก็เป็นโจทย์ ที่ยากที่สุดเช่นกัน
ซึ่งกลุ่มสามารถ อยู่ระหว่างการเจรจา ซื้อบริษัท ที่ทำธุรกิจเหล่านี้แล้วเช่นกัน
ตามนโยบาย ที่ไม่ต้อง การปลูกเมล็ดแต่ใช้วิธีซื้อต้นไม้
เป้าหมายของสามารถ คือ การวางรูปแบบบริการทั้งในแนวกว้าง และ แนว ลึก บริการในแนวกว้างในความหมายของธวัชชัย
ก็คือ การที่จะเป็น ศูนย์กลาง รวบรวมเกี่ยวกับวัตถุดิบของเมืองไทย ยานยนต์
เสื้อผ้า เหมือน กับบีโอไอในโลก ธุรกิจจริง ที่ให้นักธุรกิจต่างชาติมาติดต่อ
ในขณะที่แนวลึก ก็คือ การแบ่งแยกประเภทของธุรกิจ อย่างเช่น การเป็น ศูนย์กลางของการซื้อขายเคมี
หรือ เมล็ดพลาสติก ให้ มีการประมูลซื้อ ขายจากทั่วโลก จากนั้น จะเกิดเป็น
transaction ของการซื้อขายขึ้น โดยจะมี ระบบ total e-solution มาเป็นส่วนในการสนับสนุนอีกครั้งหนึ่ง
ลูกค้าธุรกิจขนาดย่อมทั่วไปของเมืองไทยท ี่จะมาเช่าใช้บริการ บีทูบีของ
สามารถ เพื่อเป็นเครื่องมือในการทำธุรกิจ ให้ธุรกิจมาใช้ในการติดต่อหา ข้อมูลในการสั่งซื้อสินค้า
สั่งซื้อวัตถุดิบระหว่างธุรกิจด้วยกัน
"เราเชื่อว่า อินเตอร์เน็ตเป็นธุรกิจเช่า ไม่ใช่ธุรกิจซื้อ
เราอยากให้ธุรกิจ เล็กๆ พวกนี้ มาเช่าใช้เสียเดือนละ 1,000 บาทก็พอ ซึ่งคอมแพคเขาทำสิ่ง
เหล่านี้ได้ดีที่สุด เขามีแอพพลิเคชั่นที่ดี"
ปัญหาขององค์กรอินเตอร์เน็ตทั่วโลก ที่ต้องประสบกันทุกราย ก็คือ การที่ต้องหล่อหลอมระหว่างโลกธุรกิจใบเก่า และใบใหม่เข้าด้วยกัน
และสิ่งที่สำคัญที่สุดของธุรกิจนี้ ก็คือ เรื่องของ "ทีมงาน" ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่สุด
บริษัท ที่ประสบความสำเร็จในธุรกิจอินเตอร์เน็ตของสหรัฐอเมริกา มักจะไม่ใช่บริษัทโทรคมนาคมขนาดใหญ่
แต่เป็นบริษัทเล็กๆ ที่เกิดมาจากคนทำ เพียงสองสามคน เช่น yahoo อะเมซอน อเมริกาออนไลน์
พวกเขาเหล่านี้ เป็นเพียงนักศึกษา หรือผู้บริหาร ที่ไม่เคยมีรากฐานจากธุรกิจดั้งเดิมมาก่อน
และมัน กลายเป็นบรรทัดฐานขององค์กรอินเตอร์เน็ตของไทย ที่พยายาม สร้างทีมงาน ที่พร้อมที่สุดสำหรับโลกของอินเตอร์เน็ต
เพราะสิ่งที่โลกของอินเตอร์ เน็ตต่างไปจากโลกของธุรกิจใบเก่า ก็คือ ทีมงาน ที่จะต้องมีความพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลง ที่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา
ไม่ยึดติดกับรูปแบบเก่าๆ และต้องมีไอเดียใหม่ๆ การสร้างความแตกต่างให้ มากที่สุด
และเป็นสิ ่ง ที่ผู้บริหารของสามารถต้องเรียนรู้อย่างมากที่สุดด้วย เช่นกัน
เจริญรัฐ ธวัชชัย และธนานันท์ ที่เข้ามารับช่วงกิจการต่อจากผู้เป็นพ่อ
เชิดชัย วิไลลักษณ์ ที่สร้างเนื้อสร้างตัวมาจากธุรกิจโรงงานผลิต เสาอากาศทีวี
ก่อน จะขยายมายังธุรกิจผลิตจานรับสัญญาณดาวเทียม ที่เป็นรากฐานสำคัญ ของการขยายเข้าสู่ธุรกิจสัมปทาน
กลุ่มสามารถมาเติบโตเอามาก ๆ ในยุคที่บริหารงานโดยทายาททั้ง 3 ที่ เข้ามารับผิดชอบบริหารงานในช่วงธุรกิจโทรคมนาคม ที่กำลังเติบโตพอดี
ซึ่ง พวกเขาก็สามารถนำพากลุ่มสามารถเคลื่อนย้ายจากธุรกิจการผลิตไปสู่ธุรกิจ
สัมปทานได้อย่างลงตัว มีการเข้าไประดมเงินทุนจากตลาดหลักทรัพย์ เช่น เดียวกับธุร
กิจสื่อสาร อื่นๆ อย่างค่ายชินคอร์ป หรือ ยูคอม
เจริญรัฐ พี่ชายคนโตของตระกูล เรียนจบมาทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้า เขา เข้ามารับช่วงกิจการพร้อมกับธวัชชัย
เจริญรัฐ ถนัดในเรื่องของ เทคโนโลยี และติดต่อกั บหน่วยงานราชการ ภารกิจส่วนใหญ่ของเขาจึงต้องเน้นไป
ที่ธุรกิจด้านโทรคมนาคม ส่วนธนานันท์ น้องชายคนสุดท้าย จบมาทางวิศว อุตสาหกรรมรับผิดชอบธุรกิจระบบจัดจำหน่าย
ธวัชชัยเป็นลูกชายคนกลาง เรียนจบมาทางด้านบัญชี และการตลาด การ บุกเบิกธุรกิจใหม่ๆ
ดีลทางธุรกิจสำคัญๆ มักเป็นหน้าที่ของเขา ไม่ว่าจะ เป็นโทรศัพท์มือถือ วิทยุติดตามตัว
รวมถึงธุรกิจอินเตอร์เน็ต
แต่การเคลื่อนย้ายเข้าสู่ธุรกิจอินเตอร์เน็ต เป็นประสบการณ์ ที่ไม่เหมือน
กับเมื่อครั้งการเคลื่อนย้ายจากธุรกิจการผลิตมาสู่การเป็นโอเปอเรเตอร์ ธวัช
ชัย รู้ดีว่าอินเตอร์เน็ตไม่ใช่เรื่องของสัมปทาน หรือการวางโครงข่าย แต่เป็น
เรื่องของ การตลาด ก ารสร้าง content การทำเว็บไซต์ เป็นประสบการณ์ ที่ พวกเขา และพนักงานเดิมไม่มี
การเรียนรู้เกี่ยวกับอินเตอร์เน็ตของธวัชชัย ไม่ได้มาจากการสนใจส่วน ตัว
ที่ไม่ได้สนใจเรียนรู้ด้วยตัวเองอย่างลึกซึ้ง แต่เป็นการศึกษาจากการไปดู
งานในต่างประเทศ จากข้อมูลที่ได้จาก ที่ปรึกษาทางธุรกิจ เพื่อสร้างเป็นโมเ
ดลของธุรกิจ
เช่นเดียว จุลภาส ด้วยบุคลิกภาพ และประสบการณ์ ที่ผ่านมา การเป็น นักต่อรองของเขาเหม
าะสำหรับหน้าที่ในการหาพาร์ตเนอร์ หาพันธมิตรมา ร่วมในธุรกิจอินเตอร์เน็ต
มากกว่าการนั่งบริหารงานประจำวัน
"เวลานี้ เราต้อง put the right man on the right
job"
ความจำเป็นต้องพึ่งพามืออาชีพจากภ ายนอกมาเป็นแม่ทัพในครั้งนี้ ที่ กลุ่มสามารถต้องการสร้างองค์กรให้ดูดี
เป็นมืออาชีพ ล้างภาพการเป็น ธุรกิจครอบครัว แต่ครั้งนี้เขาต้องสร้าง human
resource ขึ้นมาใหม่ทั้งหมด และ วิธี ที่ง่ายที่สุด เร็วที ่สุด ก็คือ การ
ดึงผู้บริหาร ที่มีประสบการณ์เคยผ่าน องค์กรมาเป็นแม่ทัพ
การซื้อเว็บไซต์ ก็เป็นหนทางหนึ่ง ของการสร้าง human resource เป็น ฐานในเรื่องของบุคลากร
ที่เป็นคนทำเว็บไซต์ ความคิดนี้ก็ ไม่ต่างไปจากเอ็ม เว็บ ประเทศไทย ที่เทกโอเวอร์เว็บไซต์
ก็ เพื่อต้องการสร้างทีมงานธุรกิจอิน เตอร์ เน็ตเป็นเรื่องของคน การจัดสรรบุคลากร
"อินเตอร์เน็ต เป็นเรื่องของ human resource
การที่เราได้ ม.ล. ชัยวัฒน์ได้คุณนาวิกเข้ามา เพราะเราต้อง การในส่วนนี้
เราไม่อยากเสียเงิน สะเปะสะปะ การที่เราได้คนดีเข้ามามันทำให้เราประหยัด
ในเรื่องความผิดพลาด ที่ต้องมีน้อยที่สุด เราไม่อยากมีปัญหา ที่บุคลากร เรา
ไม่อยากชะงัก" จุลภาสกล่าว
ดีลของการซื้อเว็บไซต์ ที่แลกเปลี่ยนกันด้วยการให้เจ้าของเว็บไซต์มา ถือหุ้นในสามารถอินเตอร์เน็ต
เพื่อสร้าง แรงจูงใจของการมีส่วนร่วม เป็นโมเ ดล ที่องค์กรอินเตอร์เน็ต ยึ
ดเป็นแนวทางของการสร้าง human resource
จะว่าไปแล้ว สูตรสำเร็จของการสร้างธุรกิจอินเตอร์เน็ตของกลุ่มสามารถ ไม่ได้แตกต่างไปจากโมเดลของกลุ่ม
เนชั่น หรือล็อกซอินโฟ แต่สิ่งจุลภาส เชื่อว่าทำให้สามารถ แตกต่างไปจากคู่แข่งเหล่านี้ก็คือ
ความเร็วของการปรับ ตัว ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญสำหรับองค์กรธุรกิจ เป็นแต้มต่อ ที่องค์กรอื่น
ๆ ไม่มี
สิ่งเหล่านี้ มาจากผลพวงของการ เป็นธุรกิจครอบครัว การเป็นองค์กร ที่ บร
ิหารงานโดยผู้บริหารรุ่นหนุ่ม ที่อยู่ในวัยใกล้เคียงกัน ไม่มีประวัติศาสตร์ของ
ธุรกิจ ที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ
"วันที่ 15 สิงหาคม 2540 เวลา นั้น เรียกว่า เราล้มละลายไปแล้ว
ไม่มี เงิน ใช้หนี้ ภายใน 3 ปี สามารถจากเจ๊งไปแล้ว แต่วันนี้ปัญหาใหญ่ของ
สามารถคือ มีเงินไปทำอะไร" คำกล่าวของทอม ที่สะท้อนถึงการตัดสินใจเปลี่ยน
แปลงอย่างรวดเร็วของสามารถ เพื่อความอยู่รอดของธุรกิจ จะเป็นผล สะท้อน ที่สำคัญ
ของการเข้าสู่องค์กรอินเตอร์เน็ต
กลุ่มสามารถก็เหมือนองค์กรอินเตอร์เน็ตอื่นๆ ที่จำเป็นต้องมีพันธ มิตร เข้ามามีส่วนร่วม
เพื่อเติมเต็มในส่วน ที่ยังเป็นช่องว่างอยู่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ของเทคโนโลยี
ปร ะสบการณ์ และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับธุรกิจ ทำให้บริษัทดู ดี จากการมีเครือข่ายพันธมิตรอยู่ทั่วโลก
การแลกเปลี่ยนหุ้น การรวมกิจการ การร่วมมือทางธุรกิจ ที่กลายเป็นกติกาสำคัญอย่างหนึ่งของการสร้างธุรกิจอิน
เตอร์เน็ต
และนี่ก็คือ สาเหตุของการจัดหมวดหมู่ธุรกิจ ด้วยการแบ่งแยกธุรกิจอิน เตอร์เน็ต
ออกเป็น 3 สายอย่างชัดเจน คือ ธุรกิจ commerce service provider : CPS ธุรกิจ
portal web และออนไลน์ ก็ เพื่อเ ป้าหมายในเรื่องของ การหาพาร์ตเนอร์
ก่อนหน้านี้กลุ่มสามารถเอง ก็พยายามมีการเจรจา เพื่อหาพาร์ตเนอร์ใน ต่างประเทศมาตั้งแต่ปลาย ที่แล้ว
คือ แปซิฟิก อินเตอร์เน็ต แต่แล้วเรื่องก็ เงียบหายไป ซึ่งอาจเ ป็นเพราะช่วง
นั้น กลุ่มสามารถยังไม่ได้มีการโฟกัสธุรกิจ อินเตอร์เน็ตอย่างชัดเจน ไม่เหมือน
ในปัจจุบัน
" ที่เราแยกออกเป็นกลุ่ม การหาพาร์ทเนอร์จะได้เข้ามาได้หลาย
level ไม่ ต้องเลือกเข้ามาทั้งหมด อย่ างเช่น ถ้าเป็นกลุ่มไอเอสพี พวกธุรกิจโทร
คมนาคมจะชอบเข้ามา หรือบางคนไม่ชอบไอเอสพี ก็เลือกเข้ามา ที่ content หรือ
บีทูบีได้ หรือจะเข้ามาทั้งหมดก็ได้" ธวัชชัยกล่าว
เป็นสิ่งที่ผู้บริหารสามารถเช ื่อว่า การจัดสร้างองค์กรอินเตอร์เน็ต ที่
ครอบคลุมธุรกิจอย่างครบถ้วน มีทีมงาน ที่พร้อม ไม่ต่างไปจากการสร้างบ้านให้
สวยงามแล้ว จากนั้น ก็จะมีคนเข้ามาอยู่อาศัยได้เอง
การหาพาร์ตเนอร์บริษัทข้ามชาติ ไ ม่ได้หมายถึงเงินทุนแต่เพียงอย่าง เดียว
เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับธุรกิจ เป็นใบเบิกทางชั้นเยี่ยมของการ สร้างโอกาสในการเข้าระดมทุนในตลาดหุ้น
ถึงแม้ว่าธุรกิจอินเตอร์เน็ตของเมืองไทย ยังเป็นแค่การเริ่มต้น ซึ่งธวัชชัย
เองก็มองว่า ยังต้องใช้เวลาอีกพักใหญ่กับการต่อ " จิ๊กซอว์" ธุรกิจให้ครบถ้วน
เพื่อเตรียมพร้อมกับตลาด จะเติบโตเหมือนกับในสหรัฐอเมริกาหรือไม่ก็ตาม แต่ก็เป็นสิ่งที่ท้าทายสำหรับกลุ่มสามารถ
และทุกองค์กร
การลงทุนในธุรกิจอินเตอร์เน็ต ก็นับได้ว่าเป็นความกล้าหาญชาญชัย ของตระกูลวิไลลักษณ์
ของผู้บริหารกลุ่มสามารถ มากกว่าทุกครั้ง เพราะสิ่งที่ เขา ต้องเผชิญก็คือ
การที่ต้องต่อสู ้กับแบบแผนการดำเนินธุรกิจแบบดั้งเดิม ซึ่งจะต้องเปลี่ยนแบบแผนการดำเนินธุรกิจให้ได้อย่างสิ้นเชิง
เวลาเท่านั้น จะเป็นเครื่องพิสูจน์ !