|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
รัฐบาลสถาปนา "นครสุวรรณภูมิ" จังหวัดที่ 77 ประเทศไทย ดึงเขตประเวศ-ลาดกระบังรวมกับบางพลี-บางบ่อ พื้นที่ 520 ตร.กม. ใช้เวลา 10 ปีพัฒนาเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจเทียบชั้นฮ่องกง-สิงคโปร์ แต่ "วิษณุ" ยันไม่ใช่จังหวัด เป็นเพียงเขตปกครองพิเศษ ขณะที่ กทม.สงสัยจำเป็นแค่ไหน ต้องแยกไปตั้งเป็นจังหวัดใหม่ ระบุพัฒนาพื้นที่เองได้
นายแพทย์สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังการประชุมผู้ที่เกี่ยวข้องพิจารณาร่างกฎหมาย จัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ(นครสุวรรณภูมิ) โดย มี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานว่าที่ประชุม พิจารณาถึงกรอบแนวคิดในการจัดตั้งนครสุวรรณภูมิ โดยเฉพาะการบริหารจัดการที่แบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะเปลี่ยนผ่าน และระยะถาวร แต่ยังไม่ได้พิจารณาในด้านร่างพ.ร.บ.ผังเมืองเฉพาะนครสุวรรณภูมิ
ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรี ได้ขอให้นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานพิจารณาร่างกฎหมายฯ และหน่วยงานของกระทรวงมหาดไทย ที่รับผิดชอบการจัดการไปทำการ ประชาพิจารณ์กับประชาชนที่คาดว่าจะอยู่ในพื้นที่นครสุวรรณภูมิ หลังจากที่ประชุมเห็นชอบจัดตั้งใน กิ่ง อ.บางเสาธง ที่ติดกับ อ.บางบ่อ กับ อ.บางพลี ใน จ.สมุทรปราการ และ เขตประเวศ กับเขตลาดกระบัง ในกรุงเทพฯ โดยที่ประชุมยังได้พิจารณาการจัดการ ในกรอบระยะเปลี่ยนผ่านในการปกครองส่วนท้องถิ่น ทุกพื้นที่ เช่น อบจ. อบต. หรือเทศบาล ที่จะต้องดำเนินการต่อไปจนกว่าจะหมดวาระในตัวผู้บริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นชุดนั้น
สำหรับพื้นที่ทั้งหมดจะอยู่ที่ประมาณ 520 ตร.กม. ประกอบด้วยพื้นที่เขต อำเภอบางบ่อ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทปราการ เขตประเวศ และลาดกระบังของกรุงเทพมหานคร มีขนาดเทียบเท่ากับ เกาะสิงคโปร์ หรือเกาะภูเก็ต โดยมีประชาชนประมาณ 450,000 คน
น.พ.สุรพงษ์กล่าวว่า จะนำบทเรียนในการบริหารราชการกรุงเทพมหานครมาปรับปรุง ให้ผู้บริหารนครสุวรรณภูมิ ทำงานได้อย่างคล่องตัว
"เช่น ตัวผู้ว่ากรุงเทพมหานครเอง ไม่สามารถดูแลเรื่องสาธารณูปโภคได้ แต่ในนครสุวรรณภูมิ ผู้ว่าการนครสุวรรณภูมิ จะสามารถบริหารจัดการได้เหมือนกับผู้ว่าฯซีอีโอ เช่น อาจจะมีการไฟฟ้านครสุวรรณภูมิ เป็นต้น" โฆษกฯ กล่าว
ทั้งนี้ ในส่วนของผู้ว่าการนครสุวรรณภูมิ อาจจะมาจากการเลือกตั้ง และการบริหารจัดการอาจจะมีตัวแทนของภาคประชาชน ผู้ทรงคุณวุฒิมาร่วมบริหาร และในระยะเปลี่ยนผ่านอาจจะต้องมีการสรรหาจากข้าราชการ โดยจะต้องดูในระบบการปกครองท้องถิ่นในปัจจุบันด้วย เพราะไม่สามารถทำการยกเลิกการปกครองส่วนท้องถิ่นโดยทันทีได้ อีก 10 ปี สมบูรณ์แบบ
นายสมชาย สุนทรวัฒน์ รมช.มหาดไทย กล่าวภายหลังการประชุม ว่า เป็นการคุยกันในกรอบกว้างๆ ในการจัดรูปแบบ โดยจะเป็นเขตปกครองพิเศษ และมีการจัดทำโซนนิ่งใหม่ เป็นเหมือนเมืองใหม่ขึ้นอีกแห่งหนึ่ง เป็นจังหวัดที่ 77 ของประเทศไทย มีผู้ว่าการนครสุวรรณภูมิ ที่มาจากการเลือกตั้ง และคาดว่าน่าจะมี ส.ส.จำนวน 3-4 คน เพราะขณะนี้มีประชากรอยู่ในพื้นที่ดังกล่าวประมาณ 4-5 แสนคน และหากเป็นนครสุวรรณภูมิ คาดว่าจะมีคนย้ายเข้า ไปอีกมาก ส่วนราคาที่ดินบริเวณนั้นคาดว่า จะเพิ่มขึ้น 100 เท่าตัว
"นครสุวรรณภูมินั้นจะเสร็จสมบูรณ์ในอีก 10 ปีข้างหน้า โดยจะมีหลายๆอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนในเมืองไทย เช่น การทำอุตสาหกรรมไร้มลพิษเป็น พิษ มีการจัดที่อยู่อาศัยแบบเป็นหมวดหมู่ เพราะใน พื้นที่นี้เป็นเมืองใหญ่เท่าๆกับสิงคโปร์ ซึ่งมีผลทางเศรษฐกิจและมีอะไรต่างๆที่ไม่แพ้สิงคโปร์ หรือฮ่องกง อาจถือได้ว่า เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของประเทศไทย ยังต้องมีการลงทุนกันอีกเยอะภายใน 10 ปีนี้ ไม่ต่ำกว่า 4-5 แสนล้านบาท"
ส่วนการร่าง พ.ร.บ.ผังเมืองเพื่อรองรับนครสุวรรณภูมินั้น นายสมชาย กล่าวว่า ยังต้องมีการดำเนินการ เพราะที่นี่ยังต้องใช้ระบบผังเมืองเหมือนกัน ซึ่งคาดว่า ผังเมืองของนครสุวรรณภูมิ จะสามารถ ประกาศใช้ได้ในไม่กี่เดือนข้างหน้า
อย่างไรก็ตาม การประชุมครั้งนี้ยังไม่ได้ข้อสรุป แต่หากทุกฝ่ายเห็นพ้องต้องกันก็จะนำไปกำหนดรูปแบบเพื่อกลับมาเสนอต่อที่ประชุมอีกครั้งหนึ่ง เพื่อนำเสนอที่ประชุมสภาผู้เทนราษฎรในสมัยประชุมหน้า "วิษณุ" ติง ไม่ใช่จังหวัดใหม่
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการจัดตั้งนครสุวรรณภูมิว่า การปกครองจะไม่ใช่ เป็นการปกครองในรูปแบบของจังหวัดที่ 77 อย่างที่พูดกัน แต่เป็นการผสมระหว่างจังหวัดกับท้องถิ่น ซึ่งเรื่องนี้ยังต้องมีการนำกลับไปคิดกันอีก
นายวิษณุกล่าวว่า รุปแบบการปกครองใหม่นี้ ความจริงเป็นส่วนท้องถิ่น ถึงได้มีการเรียกว่าเป็นท้อง ถิ่นพิเศษ เป็นการปกครองเหมือนกรุงเทพฯ โดยมีผู้ว่าการนครสุวรรณภูมิที่มาจากการแต่งตั้งอยู่ในวาระ 4 ปี และมีคณะกรรมการบริหารการกำหนดนโยบาย โดยรัฐบาลเป็นผู้แต่งตั้ง ผู้ว่าการจะมีอำนาจ ไม่มากนักเป็นเพียงผู้ประสานกับคณะกรรมการและ รัฐบาล
"ถ้ายังมัวติดพันอยู่กับการปกครองแบบ อบต. อบจ. เราจะนึกถึงการปกครองแบบใหม่ไม่ออก แต่ถ้าเปิดใจให้กว้าง คิดถึงการมีอะไรที่แปลกๆ ใหม่ๆ ชนิดที่เกิดมาจากท้องพ่อ ท้องแม่ไม่เคยเห็น อันนี้แหละจะเป็นของใหม่" นายวิษณุ กล่าวและว่า ทั้งหมดนี้ยังไม่มีข้อสรุป โดยในที่ประชุมได้มีข้อตกลงว่า จะมีการนำเสนอให้นายกฯ พิจารณาอีกครั้งในเดือน พ.ย.นี้ กทม. ค้านไม่จำเป็น
นายสามารถ ราชพลสิทธิ์ รองผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานคร กล่าวว่า ยังไม่ทราบรายละเอียดใน เรื่องนี้ แต่โดยหลักกการแล้ว เห็นว่าไม่มีความจำเป็น ที่จะต้องตั้งเป็นจังหวัดใหม่ขึ้นมา และให้มีการปกครองแบบพิเศษเหมือน กทม. คือมีผู้ว่าฯ มาจาก การเลือกตั้ง ซึ่งโดยศักยภาพแล้ว กทม.มีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการพื้นที่ต่างๆ ได้เองอยู่แล้ว ไม่ต้องถึงกับประกาศให้เป็นจังหวัดใหม่ขึ้นมาเพื่อรองรับสนามบินสุวรรณภูมิ และใช่แต่ว่า กทม.จะพัฒนาแต่พื้นที่ กทม.เพียงอย่างเดียว พื้นที่ของจังหวัดอื่น โดยรอบสนามบิน เช่น อ.บางพลี จ.สมุทร-ปราการ กทม.ก็ยินดีประสานงาน เพื่อร่วมมือกันพัฒนา พื้นที่ดังกล่าวอยู่แล้ว
"ผมกำลังสงสัยว่า มันมีความจำเป็นแค่ไหนที่ มท.ถึงต้องตั้งเป็นจังหวัดใหม่ขึ้นมา ก็อยากถามทาง มท.อยู่เหมือนกัน เพราะมันไม่มีความจำเป็นถึงขนาดนั้น"
นายสามารถกล่าวด้วยว่า เมื่อวันที่ 15 ส.ค. ที่ผ่านมาทาง กทม.ได้ส่งหนังสือ ไม่เห็นด้วยไปที่ กระ-ทรวงมหาดไทยเรื่องเกี่ยวกับการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจ พิเศษ
นายอนันต์ ศิริภัสราภรณ์ รองปลัดกรุงเทพ-มหานคร กล่าวว่า พื้นที่บริเวณสนามบินสุวรรณภูมิที่เป็นของกรุงเทพมหานคร ได้แก่ ลาดกระบัง สะพานสูง และประเวศ ซึ่งรัฐบาลจะเอาไปตั้งเป็นส่วนหนึ่งของ จ.นครสุวรรณภูมินั้น ไม่มีความจำเป็นที่จะต้อง ทำเช่นนั้น ซึ่งหากรัฐบาลต้องการให้ กทม.พัฒนาพื้นที่ดังกล่าว ก็สามารถบอก กทม.ได้ และกทม.ก็ยินดีที่จะดำเนินการให้ เพราะมีศักยภาพเพียงพอที่จะทำได้
นอกจากนี้ ตามกฎข้อบังคับการบินไม่อนุญาต ให้ก่อสร้างอาคารพาณิชย์ อาคารสูงต่างๆ โดยรอบสนามบิน จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องตั้งเป็นจังหวัดขึ้นมา และโดยศักยภาพพื้นที่บริเวณนั้น ไม่มีขีดความสามารถเพียงพอที่จะพัฒนาเป็นจังหวัดได้ "เอาไปก็เอาไปตั้งเป็นการปกครองคล้าย กทม.เหมือนเดิม"
AREA ไม่เชื่อราคาที่พุ่ง 100%
นายวสันต์ คงจันทร์ รองกรรมการผู้จัดการบริษัท เอเจนซี ฟอร์เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส จำกัด (AREA) บริษัทที่ปรึกษาและประเมินราคาทรัพย์สินชั้นนำของเมืองไทย เปิดเผยว่า เขตพื้นที่รอบนอกสนามบินสุวรรณภูมิมีอัตราการปรับขึ้นของ ราคาที่ดินเฉพาะปี 48 ประมาณ 8% ซึ่งสูงกว่าพื้นที่ อื่นๆ เป็นผลจากโครงการสนามบินสุวรรณภูมิ ที่คาดว่าจะเปิดใช้อย่างเป็นทางการกลางปี 2549
อย่างไรก็ตาม หากเทียบกับระหว่างปี 2532-2539 หรือประมาณ 15 ปีที่ผ่านมา ถือว่าการปรับขึ้น ราคาที่ดินรอบนอกสนามบินสุวรรณภูมิขยายตัวต่ำมาก เมื่อเทียบกับการขยายตัวโดยรวม เนื่องจากช่วง ดังกล่าว เศรษฐกิจมีการขยายตัวที่สูง ทำให้มีการขยายตัวของราคาที่ดินทั่วไปสูงถึง 30 เท่า หรือประ-มาณ 300% ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบอัตราการขยายตัวของราคาที่ดินรอบๆสนามบินสุวรรณภูมิแล้ว นับจากช่วงปี 40-48 นี้ อัตราการขยายตัวโดยรวมมีอยู่เพียง 15% เท่านั้น ดังนั้นจึงเชื่อว่าความเป็นไปได้ที่ราคาที่ดินจะขยายตัวเพิ่มขึ้นถึง 100% ในอีก 5-10 ข้างหน้ามีความเป็นไปได้น้อยมาก
นายวสันต์กล่าวว่า ปัจจุบัน พื้นที่ดังกล่าวอยู่ ในพื้นที่การปกครองของ 3 จังหวัด คือ กรุงเทพฯ, สมุทรปราการ และฉะเชิงเทรา ซึ่งยังขาดความเป็นเอกภาพในการบริหารจัดการ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีการกำหนดผังเฉพาะในการพัฒนาพื้นที่ เพื่อให้เป็นเมืองใหม่ หรือเขตการปกครองพิเศษที่มีเอกภาพ สำหรับความคืบหน้าในการร่างผังเฉพาะของเมืองศูนย์กลางการบินนี้ ล่าสุดนายสมชัย ศรีวิบูลย์ ผู้อำนวยการกองผังเมืองเฉพาะ กรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า ในการประชุม คณะกรรมการบริหารการพัฒนา ท่าอากาศยานสุวรรณูภูมิ (กทภ.) ครั้งที่ผ่านมา กรมโยธาธิการและ ผังเมืองได้เสนอ 2 ทางเลือกต่อการจัดผังเมืองในพื้นที่โดยรอบท่าอากาศยานสุวรรณูภูมิ ทางเลือกที่ 1 คือ การจัดทำผังเมืองเฉพาะต่อไป ซึ่งต้องใช้เวลาดำเนินการนานกว่า 1 ปี ส่วนทางเลือกที่ 2 ให้ใช้ พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร ซึ่งถือเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่นในการจัดตั้งนครสุวรรณภูมิมาบังคับใช้แทนผังเมือง เฉพาะชั่วคราว จนกว่าจะดำเนินการทางกฎหมายในการออกผังเมืองเฉพาะจะแล้วเสร็จ
"หากที่ประชุม กทภ.ให้ทางเลือกออกผังเมืองเฉพาะ คาดว่าต้องใช้ระยะเวลาดำเนินการเพื่อออกเป็น พ.ร.บ.นานกว่า 1 ปี ซึ่งไม่ทันการเปิดใช้บริการเชิงพาณิชย์ของสนามบินในเดือน มิ.ย.ปีหน้า แต่หากกำหนดให้ใช้ พ.ร.บ.ควบควบคุมอาคาร บังคับใช้รวดเร็วกว่า และยังมีความยืดหยุ่นในการเปลี่ยน แปลงแก้ไข เมื่อเทียบกับผังเมืองเฉพาะ"
|
|
|
|
|