แบงก์ชาติเรียกนอนแบงก์และแบงก์แจงเกณฑ์บัตรเครดิต อิออนเย้ยไม่กระทบแถมตั้งเป้าปี
2546 ขยายบัตรเครดิตเพิ่มเป็นแสนใบ ยื่นเงื่อนไขชำระเงินขั้นต่ำ 10% เตือนแบงก์ชาติ
"วินัยทาง การเงิน" ไม่ได้ขึ้นกับเพดานเงินเดือน ที่สูงเท่านั้น
เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายนผู้บริหารธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้เรียกประชุมผู้ประกอบการ
ธุรกิจบัตรเครดิตที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน (นอน-แบงก์) ชี้แจงเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การกำกับดูแลธุรกิจบัตรเครดิต
ที่ออกใหม่
นายสามารถ บูรณวัฒนาโชค ผู้อำนวยการอาวุโส สายนโยบายสถาบันการเงิน ธปท.กล่าวว่าธปท.ได้เรียกนอน-แบงก์มาชี้แจง
เนื่องจากที่ผ่านมาสถาบันเหล่านี้ไม่เคยอยู่ภายใต้การดูแลของธปท.ซึ่งมีการซักถามรายละเอียดทุกข้อคาดว่าจะเป็นที่เข้า
ใจทุกราย
นายอภิชาต นันทเทิม กรรมการ บริหาร บริษัท อิออน ธนสินทรัพย์ (ไทยแลนด์)
จำกัด (มหาชน) เปิดเผย ว่าบริษัทฯจะพิจารณาอนุมัติวงเงินใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตแตกต่างกันตามสถานะของลูกค้าแต่ละรายโดยหลักเกณฑ์ที่ธปท.ออกมาไม่กระทบต่อ
ผลการดำเนินงานของบริษัทฯเพราะปัจจุบันอิออนฯมีลูกค้าบัตรเครดิตประมาณ 700,000
ราย มีกลุ่มลูกค้าที่มีเงินเดือนระหว่าง 7,000-9,000 บาท ประมาณ 60% ซึ่งจัดเป็นกลุ่มลูกค้าที่ปัญหาน้อยที่สุด
เรื่องการชำระหนี้และโดยรวมมีการชำระหนี้ดีกว่ากลุ่ม ลูกค้าที่มีเงินเดือนมากกว่านี้
"วินัยการชำระเงินไม่ได้ขึ้นกับรายได้ของลูกค้า แต่ขึ้นกับการพิจารณาวงเงินสินเชื่อที่เหมาะสมกับลูกค้าแต่ละคนซึ่งอิออนฯจะรายงานธปท.ทุกเดือน
เพื่อแจ้งสถานะของลูกค้าแต่ละกลุ่ม แต่ที่ผ่านมาพอร์ตลูกค้าบัตรเครดิตของอิออนก็มีหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้
(เอ็นพีแอล) ไม่ถึง 2% โดยลูกค้าบัตรเครดิตที่ใกล้จะหมดอายุนั้น ทางอิออนฯจะแจ้งให้ลูกค้าทราบล่วงหน้า
1-2 เดือนว่าต้องส่งเอกสารเกี่ยว กับบัญชีเงินฝากเพิ่มเติม" นายอภิชาตกล่าว
ส่วนเรื่องอัตราดอกเบี้ยนั้น นายอภิชาตกล่าวว่าที่ผ่านมาอาจมีคนมองว่าอิออนกำหนดดอกเบี้ยสูงถึง
28.8% แต่เป็นดอกเบี้ยที่คำนวณจากวันที่สรุป ยอดการใช้จ่ายผ่านบัตร
ขณะที่ธนาคารพาณิชย์ทั่วไปจะคิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่มีการใช้จ่ายผ่านบัตรแต่ละรายการซึ่งนับจากนี้
อิออนจะปรับอัตราดอกเบี้ยเป็น 18% แต่จะคิด จากวันที่ใช้จ่ายเหมือนธนาคารพาณิชย์ทั่วไปส่วนการ
ชำระหนี้ขั้นต่ำยังคงไว้ที่ 10% ไม่เปลี่ยนแปลง
นายอภิชาตกล่าวว่าถึงแม้นอน-แบงก์จะต้องดำเนินธุรกิจภายใต้เกณฑ์เดียวกับธนาคารพาณิชย์แล้วแต่บริษัทฯก็คงไม่ดำเนินธุรกิจแข่งขันกับธนาคาร
พาณิชย์เพราะอิออนให้บริการทั้งสินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อเช่าซื้อและสินเชื่อบัตรเครดิตซึ่งรายได้จากบัตรเครดิตคิดเป็น
30% ของรายได้ทั้งหมด และอิออนจะเน้นรายย่อยมากกว่า
"กลุ่มเป้าหมายของอิออนจะเหมือนเซเว่น-อีเลฟเว่น ให้บริการทุก 24
ชั่วโมงแต่แบงก์จะเหมือนกับบิ๊กซี โลตัสที่ขายของเหมือนกัน"
อย่างไรก็ตาม จากประวัติศาสตร์การเงินทั่วโลก ไม่เคยเกิดวิกฤตจากธุรกิจบัตรเครดิตถือเป็นธุรกิจที่มีเอ็นพีแอลต่ำที่สุดในทุกประเทศ
เพราะค้าขายกับคนที่มีรายได้ประจำซึ่งในประเทศที่เจริญแล้ว มีการจับจ่ายใช้สอยสินค้าอุปโภคบริโภคถึง
50% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (จีดีพี) โดยมีการใช้จ่ายบัตรเครดิตประมาณ
18-19% แต่ไทยมีการใช้จ่าย บัตรเครดิตเพียง 4% เท่านั้น
นายอภิชาตกล่าวว่า ปี 2546 อิออนคาดว่าบัตรเครดิตของบริษัทจะเพิ่มจาก 700,000
บัตรเป็น 1,000,000 บัตร หรือขยายตัว 30-40% ซึ่งประเมินว่า ธุรกิจบัตรเครดิตในไทยยังมีโอกาสเติบโตอีกมาก
ควรมีบัตรเครดิตไม่ต่ำกว่า 25 ล้านบัตร จากปัจจุบัน ที่มีบัตรเครดิตรวม 3
ล้านบัตรถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับประชากรที่มีอยู่กว่า 60 ล้านคนขณะที่ประเทศเกาหลีซึ่งมีประชากรเพียง
40 ล้านคน มีบัตรเครดิตถึง 80 ล้านบัตร
สำหรับผลการดำเนินงานของอิออนช่วง 6 เดือน แรกปีนี้สินเชื่อรวมขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อน
62% โดยสินเชื่อบัตรเครดิตขยายตัว 68% ซึ่งคาดว่าช่วง 6 เดือนหลังของปีนี้จะขยายตัวในอัตราใกล้เคียง