องค์กรมหาชนรวมค้าปลีกเข้มแข็ง เกิดขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรีในการประชุม เมื่อวันอังคารที่
7 พฤษภาคม 2545 โดยได้รับการจัดสรรงบประมาณ 395 ล้านบาทจากงบกระตุ้นเศรษฐกิจ
มีจุดมุ่งหมายที่จะสร้างความเข้มแข็งแก่ร้านค้าปลีกรายย่อย โดยมีเป้าหมายที่จะระดมร้านค้าปลีกรายย่อยเข้าร่วมโครงการ
100,000 ราย ภายในกำหนดเวลา 5 ปี ร้านค้าปลีกรายย่อยแต่ละร้านมีวงเงิน สินเชื่อ
100,000 บาท ทั้งนี้ด้วยการใช้บริการสินเชื่อห้องแถว จากธนาคารออมสิน องค์กรมหาชนรวมค้าปลีกเข้มแข็งจะมีวงเงินสินเชื่อ
รวมทั้งสิ้น 10,000 ล้านบาท ซึ่งทำให้มีอำนาจต่อรองกับผู้ผลิตในการ ซื้อสินค้าต่างๆ
โดยได้รับส่วนลดที่ผ่อนปรนภายใต้เงื่อนไขเดียวกับที่ Discount Stores ได้รับ
ด้วยวิธีการเช่นนี้ ทำให้รัฐบาลเชื่อว่าองค์กรมหาชนรวมค้าปลีก เข้มแข็งจะช่วยให้ร้านค้าปลีกรายย่อยสามารถซื้อสินค้าในราคาถูกลง
ได้ และอยู่ในฐานะที่จะแข่งขันในธุรกิจการค้าปลีกได้ดีขึ้น ในอีกด้านหนึ่ง
ก็จะช่วยลดสภาพคล่องล้นเกินในภาคเศรษฐกิจการเงิน เนื่องจากจะมีการปล่อยกู้แก่ร้านค้าปลีกรายย่อยมากขึ้น
อ.รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เคย
วิเคราะห์ไว้ในคอลัมน์ "จากสนามหลวงถึงท่า พระจันทร์ "ในหนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวันเมื่อช่วงที่องค์การแห่งนี้เพิ่งจัดตั้งเอาไว้ว่าองค์การฯนี้
ไม่เพียง แต่จะสร้างผลเชื่อมโยงระหว่างภาคการ ค้าปลีกกับภาคเศรษฐกิจการเงินเท่านั้น
หากยังสามารถสร้างผลเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจในด้านอื่นๆ ได้ด้วย ดังเช่นการสร้างผลเชื่อมโยงไปสู่ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(SMEs)
และการ สร้างผลเชื่อมโยงไปสู่โครงการ "หนึ่งตำบล หนึ่ง ผลิตภัณฑ"
เพราะองค์กรมหาชนรวมค้าปลีกเข้ม แข็งอยู่ในฐานะที่จะรับผลผลิตจาก SMEs และชุมชนในภูมิภาคต่างๆ
มาจัดจำหน่ายได้
ทว่า องค์กรมหาชนรวมค้าปลีกเข้มแข็ง หรือองค์การโชวห่วยแห่งประเทศไทย ในทัศนะของอ.รังสรรค์
ยังมีปัญหาต้องเผชิญมากมาย ซึ่ง ขณะนั้นอ.รังสรรค์ มองว่า การสร้างความเข้มแข็ง
แก่ธุรกิจการค้าปลีกรายย่อย มิได้อยู่ที่การสร้างอำนาจต่อรองกับผู้ผลิตเพื่อให้ได้ส่วนลดในระนาบเดียวกับธุรกิจการค้าปลีกขนาดใหญ่เท่านั้น
หากยังอยู่ที่การพัฒนาทักษะและความสามารถในการประกอบการของธุรกิจการค้าปลีก
รายย่อยอีกด้วย องค์การโชวห่วยแห่งประเทศไทยจึงถือเป็นหน้าที่ในการพัฒนาผู้ค้าปลีกรายย่อยให้มีการจัดการที่ดี
การดึงร้านค้าปลีกรายย่อยเข้าร่วมโครงการ เป็นปมเงื่อนสำคัญของการดำรงอยู่ขององค์การโชวห่วยแห่งประเทศไทย
หากปราศจากผู้เข้าร่วม โครงการเสียแล้ว โครงการนี้ย่อมล้มเหลวอย่างไม่เป็นท่า
ด้วยเหตุดังนี้ รัฐบาลจึงออกแบบโครง การด้วยการให้สิ่งจูงใจในการดูดดึงผู้เข้าร่วมโครง
การอย่างน้อย 2 ด้าน ด้านหนึ่งได้แก่ การได้รับบริการสินเชื่อห้องแถว จากธนาคารออมสินอย่าง
น้อยรายละ 100,000 บาท อีกด้านหนึ่งได้แก่ การ ได้รับอภัยโทษด้านภาษีอากร
โดยกระทรวงการคลังให้คำมั่นว่าจะไม่ตรวจสอบการเสียภาษีย้อน หลัง ด้วยโครงสร้างสิ่งจูงใจดังกล่าวนี้
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์กำหนดเป้าหมายว่า จะระดมร้านค้าปลีกรายย่อยเข้าร่วมโครงการให้ได้
10,000 รายภายใน 6 เดือนแรก
นโยบายการสถาปนาองค์การโชห่วยแห่งประเทศไทยมีผลตรงกันข้ามกับนโยบายการถ่าย
โอนการผลิตไปสู่ภาคเอกชน (Privatization) รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีนโยบายขายรัฐวิสาหกิจให้แก่เอกชน
กระทรวงการคลังกำหนดแผนและเร่งรัดการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ถึง กับจัดตั้งหน่วยงานใหม่เพื่อดูแลเรื่องนี้โดยเฉพาะ
ตัวนายกรัฐมนตรีเองกล่าวถึงความไร้ประสิทธิ ภาพของรัฐวิสาหกิจและองค์กรอื่นของรัฐอยู่เนืองๆ
แต่แล้วกลับตัดสินใจจัดตั้งหน่วยงานใหม่เพื่อประกอบกิจการโชวห่วย ถึงจะจัดตั้งเป็น
องค์กรมหาชน มิได้จัดองค์การในรูปรัฐวิสาหกิจ และพยายามบริหารเยี่ยงธุรกิจเอกชน
แต่ปัญหาพื้นฐานที่ดำรงอยู่จะทำให้องค์กรมหาชนที่จัดตั้งขึ้นใหม่นี้ไม่มีประสิทธิภาพในการประกอบการ
มิหนำซ้ำยังเอื้อต่อการใช้อำนาจทาง การเมืองในการดูดซับส่วนเกินทางเศรษฐกิจอีกด้วย
รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร วาดฝันว่า ด้วยการสถาปนาองค์การโชห่วยแห่งประเทศไทย
ร้านค้าปลีกรายย่อยจะมีความเข้มแข็งถึงขั้นที่จะต่อกรกับธุรกิจค้าปลีกยักษ์ใหญ่จากต่างประเทศได้
การวาดฝันเช่นนี้ ย่อมเกินเลยจากความเป็นจริงโดยมิพักต้องสงสัย ถึงองค์การโชห่วยแห่งประเทศไทยจะเติบใหญ่
จนในภายหลังมีขนาดไม่ยิ่งหย่อนกว่า Tesco Lotus หรือ Makro แต่มีเหตุผลน่าเชื่อว่า
องค์การโชห่วยแห่ง ประเทศไทยมิได้มีประสิทธิภาพในการประกอบการเทียบเทียมยักษ์ใหญ่ในธุรกิจการค้าปลีกเหล่า
นั้น เพราะองค์การโชห่วยแห่งประเทศไทยมิได้มี ความเป็นเจ้าของที่ชัดเจน ในขณะที่
Tesco Lotus และ Makro มีความเป็นเจ้าของที่ชัดเจน ผู้เป็นเจ้าของย่อมควบคุมและกำกับให้ฝ่ายบริหาร
ประกอบกิจการอย่างมีประสิทธิภาพ แต่สิ่งจูงใจ เช่นนี้จะไม่มีอยู่ในองค์กรที่ความเป็นเจ้าของไม่ชัดเจน
โดยที่องค์การโชห่วยแห่งประเทศไทยอยู่ในข่ายนี้ถึงองค์การโชห่วยแห่งประเทศไทยจะได้รับส่วนลดจากผู้ผลิตในอัตราเดียวกับที่
Tesco Lotus และ Makro ได้รับ หากประสิทธิภาพในการประกอบการต่ำกว่า ย่อมทำ
ให้ราคาสินค้าที่ขายสูงกว่ายักษ์ใหญ่ในธุรกิจการ ค้าปลีกเหล่านี้
ในประการสำคัญ องค์การโชห่วยแห่งประเทศไทยต้องเสียต้นทุนการกระจายสินค้าสูง
กว่า เนื่องจากต้องกระจายสินค้าแก่ร้านค้าปลีกรายย่อยจำนวนมาก โดยที่แต่ละร้านสั่งซื้อสินค้า
แต่ละรายการจำนวนไม่มาก มิไยต้องกล่าวว่า การ ฉ้อราษฎร์บังหลวงและการแสวงหาผลประโยชน์
ส่วนบุคคลของผู้มีอำนาจทางการเมืองจะมีผลซ้ำเติมฐานะการประกอบการขององค์การโชห่วย
แห่งประเทศไทย โดยไม่ต้องสงสัย
อ.รังสรรค์ ยังมองว่า หากรัฐบาลต้องการ แทรกแซงธุรกิจการค้าปลีก รัฐบาลมิจำต้องแทรกแซงด้วยการกระโดดเข้าไปเป็นผู้ประกอบการเอง
ดังเช่นการก่อตั้งองค์การโชห่วยแห่งประเทศไทย รัฐบาลสามารถแทรกแซงโดยอ้อม
ด้วยการกำหนดนโยบาย กฎกติกา และการจัดระเบียบธุรกิจ เริ่มต้นด้วยการสกัดธุรกิจการค้าปลีกยักษ์ใหญ่จากต่างประเทศ
รัฐบาลไทยตั้งแต่ปี 2538 เป็นต้นมา ดำเนินนโยบายการเปิดเสรีการค้าปลีกเกินเลยกว่าระดับที่มีข้อผูกพันกับองค์การการค้าโลก
วิกฤติการณ์การเงินปี 2540 ยิ่งทำให้รัฐบาลไม่กล้าแตะต้องบรรษัทระหว่างประเทศ
เพราะกริ่งเกรงการไหลออกของ เงินทุนต่างประเทศ ซึ่งจะมีผลในการซ้ำเติมวิกฤติ
การณ์การเงินที่ดำรงอยู่
"นอกจากการงับประตู เพื่อสกัดการไหลบ่าเข้ามาของธุรกิจการค้าปลีกยักษ์ใหญ่จากต่างประเทศแล้ว
รัฐบาลยังสามารถกำหนดกฎกติกา และจัดระเบียบให้ธุรกิจยักษ์ใหญ่ประกอบการเฉพาะเมืองขนาดใหญ่
และกำกับทำเลที่ตั้งด้วย ในประการสำคัญ กระทรวงพาณิชย์สามารถใช้กฎ หมายการแข่งขันทางการดำเนินการควบคุมและกำกับธุรกิจการค้าปลีกยักษ์ใหญ่มิให้รังแกร้านค้า
ปลีกรายย่อย เพื่อป้องกันมิให้เกิดปรากฏการณ์ "ปลาใหญ่กินปลาเล็ก"
ได้
หากรัฐบาลยังมิได้งับประตูเพื่อสกัดการไหล บ่าของบรรษัทระหว่างประเทศที่เข้ามาประกอบธุรกิจการค้าปลีก
และมิได้จัดระเบียบธุรกิจการค้าปลีกเพื่อให้มีการแข่งขันที่เป็นธรรมและปราศ
จากการผูกขาด การจัดตั้งองค์กรของรัฐเพื่อประกอบกิจการโชวห่วย มิอาจช่วยให้ร้านค้าปลีก
รายย่อยมีความเข้มแข็งขึ้นมาได้ เพราะองค์การโชวห่วยแห่งประเทศไทยที่จัดตั้งขึ้นใหม่มีปัญหา
ในตัวของมันเองอยู่แล้ว บรรดาผลเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจที่วาดฝันอย่างเลิศหรู
ไม่ว่าจะเป็นผลเชื่อมโยงที่มีต่อ SMEs หรือที่มีต่อโครงการ "หนึ่งตำบล
หนึ่งผลิตภัณฑ์" ล้วนแล้วแต่เป็นเรื่อง เลื่อนลอย เพราะร้านค้าปลีกรายย่อยมีพื้นที่ประกอบการจำกัด
ร้านค้าเหล่านี้จะรับสินค้าอะไรมาขาย ย่อมขึ้นอยู่กับสภาพตลาดและทำเล ที่ตั้ง
รวมตลอดจนอัตราผลตอบแทนสัมพัทธ์ที่ได้รับจากการขายสินค้าแต่ละประเภท
สุดท้ายอ.รังสรรค์ ได้ทำนายอนาคตของการจัดตั้งองค์การโชวห่วยแห่งประเทศไทยนี้ว่า
มิใช่นวัตกรรมด้านนโยบาย เพราะแนวนโยบายลักษณะนี้ปรากฏมาก่อนแล้วตั้งแต่ทศวรรษ
2490 ไม่ว่าจะเป็นองค์การสรรพาหาร สำนักงานข้าว องค์การคลังสินค้า องค์การค้าของคุรุสภา
ฯลฯ หากบทเรียนจากประวัติศาสตร์สามารถให้คำทำนายที่ถูกต้องแม่นยำ เมื่อองค์การโชวห่วยแห่ง
ประเทศไทยก่อเกิดด้วยอำนาจการเมือง การใช้อำนาจการเมืองในการดูดซับส่วนเกินทางเศรษฐ-กิจจากองค์กรแห่งนี้เป็นเรื่องที่คาดการณ์ได้
ความจำกัดของทรัพยากรอาจทำให้สินเชื่อห้องแถวของธนาคารออมสินกระจุกอยู่ในบางท้องที่ของนักการเมืองที่มีอิทธิพล
หรือในจังหวัดที่เป็น ฐานที่มั่นทางการเมืองของพรรครัฐบาล
การขาดความสำนึกในความเป็นเจ้าของอาจทำให้การบริหารจัดการขององค์การโชวห่วยแห่งประเทศไทยเป็นไปอย่างหละหลวม
การรุมทึ้งองค์การโชวห่วยแห่งประเทศไทยจะเกิดขึ้นเหมือนกับที่เคยเกิดขึ้นแก่องค์การสรรพาหาร
สำนักงานข้าว องค์การคลังสินค้า และองค์การค้า ของคุรุสภา ประชาชนคนไทยควรจะเตรียมตัวเตรียมใจรอรับภาระอันเกิดจากมรณกรรมขององค์การโชวห่วยแห่งประเทศไทย
และควรสวดภาวนาให้ธนาคารออมสินสามารถเรียกคืนสินเชื่อ ห้องแถวได้