Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน12 พฤศจิกายน 2545
ค้าปลีกเข้มแข็งร่อแร่ ปัญหารุมแนวทางเป๋             
 

   
related stories

"องค์กรรวมค้าปลีกเข้มแข็ง" เริ่มต้นพิกล..อนาคตก็พิการ

   
search resources

รวมค้าปลีกเข้มแข็ง, บจก.
Retail




ค้าปลีกไทยเข้มแข็งส่อเค้าร่อแร่ หลังนโยบายการผลักดันช่วยเหลือธุรกิจ ค้าปลีกไม่ชัดเจนแม้ตามหลักการจะเป็นโครงการที่ดี ด้านแบงก์กรุงไทยมึนถูกกล่าวอ้างไม่ช่วยเหลือค้าปลีกในโครงการ ระบุต้องพิจารณาต้นทุนจากการดึงลูกค้าปลีกเข้าสู่ระบบ ขณะที่อัตราดอกเบี้ยที่คิดกับลูกค้าแค่ 8.50% ต่อปี ต่ำกว่าสินเชื่อประเภทอื่น เช่น สินเชื่อ ห้องแถวของแบงก์ออมสินที่คิดดอกเบี้ย 1% ต่อเดือนหรือ12% ต่อปี ด้านผู้บริหารบสย. หนุนโครงการเออาร์ทีเต็มที่ ยันค้ำประกันสินเชื่อไม่เกิน 50% คิดค่าธรรมเนียมค้ำคงที่ 1.75% ปรับระบบบริหารความเสี่ยงเข้ากับโครงการเออาร์ที

โครงการช่วยเหลือผู้ค้าปลีก ตามแนวคิดเดิมของนายเนวิน ชิดชอบ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ที่พยายามผลักดันส่งเสริมและสร้างผู้ค้าปลีกไทยให้สามารถแข่งขันและสู้กับธุรกิจค้าปลีกข้ามชาติว่าก่อนที่จะมีการปรับเปลี่ยนผู้นำที่ดูแลด้านนี้ โครงการเออาร์ทีถือว่ามีการพัฒนาในการ ให้ความช่วยเหลืออย่างมาก แต่ภาย หลังการปรับเปลี่ยนคณะรัฐมนตรีครั้งใหม่ โดยนายวัฒนา เมืองสุข รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เข้ามารับผิดชอบโครงการนี้ก็ส่อเค้า ย่ำแย่เสียแล้ว

อุปสรรคสำคัญก็คือการปรับ เปลี่ยนนโยบายใหม่ การเชื่อมระบบ ข้อมูลระหว่างบริษัทเออาร์ทีกับหน่วย งานของรัฐที่เกี่ยวข้องที่ยังเป็นปัญหาเพราะข้อมูลในแต่ละฝ่ายมีความแตกต่างกัน ประกอบกับแนว คิดในการทำโครงการเออาร์ที หรือ แม้แต่ผู้ปฏิบัติก็มองภาพไม่กว้าง ขาดความเข้าใจ ในธุรกิจ ยกตัวอย่างเช่นว่าผู้ค้าปลีกเข้าสู่ระบบนั้นย่อมมีต้นทุนการดำเนินงาน เช่น อัตราดอกเบี้ยจากการใช้สินเชื่อ มีต้นทุนบริการหักบัญชีตาม ระบบ แน่นอนเป็นการสร้างภาระทางภาษีให้กับผู้ประกอบการค้าปลีก หรือการผลักภาระไปยังซัพพลายเออร์ราคาสินค้าที่จะป้อนให้กับร้านค้าปลีกจะสูงขึ้น

ขณะนี้หลายฝ่ายจึงมองว่า สิ่งสำคัญหากรัฐบาลต้องการช่วยเหลือผู้ค้าปลีกจะต้องมีแนว ทางอื่นในการช่วยเหลือผู้ค้าปลีกจะต้องมีแนวทาง อื่นในการให้ความช่วยเหลือและช่วยลดภาระให้กับผู้ค้าปลีกที่จะเข้าร่วมโครงการดังกล่าว

แหล่งข่าวจากวงการค้าปลีก เปิดเผยว่า ใน หลักการโครงการเออาร์ทีตามทฤษฎีถือว่าเป็นประโยชน์ต่อผู้ค้าปลีกที่จะช่วยให้สามารถอยู่รอด และแข่งขันกับค้าปลีกต่างชาติในไทยได้ ซึ่งหลักการดีแล้วมาถูกทางในการรวมกลุ่มร้านค้าย่อยๆ เพื่อมีอำนาจในการต่อรองซื้อสินค้า

"แต่ปัญหาอยู่ที่วิธีปฏิบัติเพราะมีปัญหาเยอะมากไม่แน่ใจว่า โครงการดังกล่าวจะไปรอด หรือไม่ หากนโยบายของผู้ที่รับผิดชอบให้ความสำคัญน้อยลงกับธุรกิจค้าปลีกของคนไทยในขณะนี้ รวมถึงรายละเอียดของค่าใช้จ่ายทางภาษี ที่ขณะนี้ทางกรมสรรพกรยังไม่ได้ระบุถึงค่าใช้จ่าย ในส่วนนี้" แหล่งข่าวกล่าว

ความคืบหน้าล่าสุดของโครงการรวมค้าปลีกเข้มแข็งขณะนี้ มีรายงานว่า หน่วยงานที่เกี่ยว ข้องได้ข้อสรุปเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การปล่อยสินเชื่อและเกณฑ์การค้ำประกันสินเชื่อจากบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) โดยในส่วนการปล่อยสินเชื่อของธนาคารกรุงไทย จะให้วงเงินหมุนเวียนสูงสุด 5 แสนบาทต่อรายหรือพิจารณาตามปริมาณการซื้อขายสินค้า ขณะที่ปล่อยกู้เพื่อตกแต่งร้านไม่เกิน 1 ล้านบาท ต่อรายตามปริมาณยอดการขาย

ส่วนอัตราดอกเบี้ยที่มีการคิดกับลูกค้าค้าปลีกที่เข้าร่วมโครงการฯนั้น หากพิจารณาภาระของลูกค้าค้าปลีกเทียบกับลูกค้าประเภทอื่น ถือว่า อยู่ในอัตราที่เหมาะสม โดยได้ข้อสรุปจะคิดอัตรดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้าทั่วไปหรือ MRR บวก 2% หรือประมาณ 8.50% เพราะปัจจุบันMRR อยู่ที่ 6.50% (เฉพาะของธนาคารกรุงไทย) ขณะที่บสย. จะค้ำประกันไม่เกิน 50% แต่หากเปรียบเทียบกับอัตราดอกเบี้ยของสินเชื่อทั่วไปเช่น สินเชื่อห้อง แถวของธนาคารออมสินจะคิดอัตราดอกเบี้ย 1% ต่อเดือนหรือเฉลี่ย 12% ต่อปี หรือการเบิกเงินสด จากบัตรเครดิตบางแห่งคิดอัตราดอกเบี้ยที่สูงถึง 20% ก็มี

โดยธนาคารกรุงไทยหรือธนาคารอื่นที่เข้าร่วมโครงการฯ พยายามเดินหน้าอย่างเต็มที่และปรับเปลี่ยนเพื่อให้สอดคล้องกับการทำโครง การเออาร์ทีอย่างเต็มที่เพื่อช่วยเหลือผู้ค้าปลีก ซึ่ง ถามว่าข้างหน้าโครงการเออาร์ทีจะเป็นอย่างไรยังไม่รู้ทิศทาง ธนาคารต้องร่วมมืออย่างเต็มที่เพื่อ มิให้โดนตำหนิในฐานะธนาคารของรัฐต้องช่วยเหลืออยู่แล้วและต้องทำให้ดีที่สุดด้วย เพราะขณะนี้ธนาคารของรัฐมีสภาพ


คล่องล้นทำให้ต้อง เร่งขยายสินเชื่อ ค่าธรรมเนียมค้ำ 1.75%

นายทวีศักดิ์ ฟุ้งเกียรติเจริญ รองผู้จัดการ ทั่วไปด้านปฏิบัติการ บสย. กล่าวถึงโครงการเข้า ช่วยเหลือผู้ค้าปลีกในโครงการฯ ดังกล่าวว่าในส่วนของบสย.เข้ามาเสริมให้กับผู้ค้าปลีกที่ไม่มีหลักประกัน ซึ่งบสย.ได้เตรียมความพร้อมไว้ระดับหนึ่งแล้ว โดยได้มีการนำระบบบริหารความ เสี่ยงของบสย.ปรับให้เข้ากับผู้ประกอบการค้าปลีกในโครงการเออาร์ที

"สำหรับกรอบต่างๆ นั้น ทั้งบสย. บริษัทเออาร์ที ธนาคารกรุงไทย และบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อมจะต้องหารือถึงแนวทางการช่วยเหลือโครงการดังกล่าว ที่สำคัญบริษัทเออาร์ทีและธนาคารกรุงไทยต้องตกลงถึงรายละเอียดการปล่อยสินเชื่อให้กับผู้ค้าปลีกเท่าไหร่ อัตราดอกเบี้ยที่คิดกับร้านค้า โดยบสย.จะรับความเสี่ยงไม่เกิน 50% ของสินเชื่อรวมต่อรายโดย จะพิจารณาตามความเหมาะสม ทั้งนี้ผู้ค้าปลีกจะมีการใช้สินเชื่อที่แตกต่างกันไป เช่น ร้านค้าปลีกใหญ่จะใช้สินเชื่อเยอะ หรือ ร้านค้าประเภท 2 คูหาต้องใช้สินเชื่อค่อนข้างมากเป็นต้น" นายทวีศักดิ์กล่าว

สำหรับค่าธรรมเนียมในการทำสินเชื่อ นาย ทวีศักดิ์ อธิบายว่ามีลักษณะที่คล้ายกับโครงการ แผนยุทธศาสตร์ของธนาคารพาณิชย์ของรัฐที่ให้ ความช่วยเหลือวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) เพราะผู้ประกอบการค้าปลีกใน โครงการเออาร์ทีคือลูกค้าเอสเอ็มอิเหมือนกันที่มีจำนวนมาก ทั้งนี้ในการให้ความช่วยในด้านสินเชื่อทางบริษัทเออาร์ทีจะคัดสมาชิกมาให้ โดย พิจารณาสินเชื่อจะดูจากประวัติการชำระหนี้ดีพอ หรือไม่การไม่เป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) การเข้าหลักเกณฑ์ของบสย.เป็นต้น

"การช่วยเหลือสิ่งสำคัญต้องให้ค้าปลีกอยู่รอด เพราะขณะนี้มีดิสเคานต์สโตรเกิดขึ้นมากทำให้ค้าปลีกแข่งขันลำบาก สำหรับอัตราค่าธรรม เนียมในการค้ำเฉพาะของบสย.จะคงที่ 1.75% ไป ก่อน แต่หากในอนาคตบสย.อาจจะคิดค่าธรรม เนียมตามความเสี่ยงของลูกค้าซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารความเสี่ยง ส่วนการชดเชยในกรณี ที่เกิดความเสียหายนั้น บสย.จะคิดตามสัดส่วนของยอดที่ค้ำประกันจากยอดที่สูญเสีย" นายทวีศักดิ์ กล่าว

ทั้งนี้ในส่วนของโครงการยุทธศาสตร์ของธนาคารของรัฐทางบสย.วางแนวคิดค่าธรรมเนียม การค้ำประกันสินเชื่อที่แตกตามคณภาพของสินเชื่อ เช่นถ้าเป็นลูกค้าปกติจะคิดค่าธรรมเนียมการ ค้ำประกัน 1% แต่หากแปลเปลี่ยนเข้าสู่หนี้เสียคิด ค่าธรรมเนียมค้ำ 1.5% และสูงสุด 1.75% เป็นต้น

ก่อนหน้านี้ นายอนุชัย วีรพัฒนกุล กรรม การผู้จัดการ บริษัทเออาร์ที กล่าวไว้ว่าตั้งแต่ 1 พ.ย. 2545 ทางบริษัทฯให้สมาชิกที่มีอยู่กว่า 15,000 รายสั่งซื้อสินค้าผ่านระบบออนไลน์อย่าง เป็นทางการ ขณะที่การสั่งซื้อสินค้าสามารถดำเนิน การได้หลายวิธี เช่น ส่งคำสั่งซื้อไปยังเจ้าหน้าที่เออาร์ที สั่งซื้อจากร้านค้าของตัวเองผ่านระบบออนไลน์ และในการจัดส่งสินค้านั้น เออาร์ทีได้คัดเลือก 2 ผู้ส่งเอาไว้ คือ บริษัท ยูนิเวอร์แซล จำกัด และบริษัท วินสโตร์ จำกัด โดยคิดอัตราเหมาจ่ายหีบละ 10 บาท โดยตามแผนเดิมของนายเนวิน ชิดชอบ อดีตรับมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ดังเป้าภายใน 3 ปี จะสามารถขยายฐานสมาชิกในโครงการเออาร์ทีประมาณ 100,000 ราย

ยอดค้ำลูกหนี้บสย.พุ่งกระฉูด กว่า 3.3 พันล.รออนุมัติ 1 พันล.

นายทวีศักดิ์ กล่าวถึงความคืบหน้าการค้ำประกันสินเชื่อให้แก่ลูกค้าเอสเอ็มอีในปัจจุบันว่า ได้ดำเนินการอนุมัติไปแล้วกว่า 3,300 ล้านบาทหรือกว่า 900 ราย ซึ่งผลจากการเข้าไปค้ำประกัน ลูกค้าเอสเอ็มอียังส่งผลให้การขยายสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ขยายตัวเพิ่มขึ้น กล่าวคือ บสย. จะเข้าไปค้ำประกันเอสเอ็มอีเฉลี่ยสัดส่วน 15-20% และหากเปรียบเทียบเป็นสินเชื่อที่ธนาคารพาณิชย์ ปล่อยจากการที่บสย.เข้าไม่ค้ำประกันแล้วคิดเป็นยอดกว่า 20,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตามยังมีลูกค้าเอสเอ็มอีที่อยู่ระหว่างการพิจารณาอนุมัติเกือบ 1,000 ล้านบาท

ในส่วนการควบคุมคุณภาพของลูกหนี้เอสเอ็มอีนั้น ทางดร.โอฬาร ไชยประวัติ ประธาน กรรมการบริหารบสย. ได้กำหนดแนวทางให้มีการ พิจารณาลูกค้าเอสเอ็มอีจากธนาคารพาณิชย์ว่าจะเริ่มเข้าข่ายเป็นหนี้เสียหรือไม่ เพื่อหามาตรการ ป้องกันล่วงหน้า โดยให้ธนาคารพาณิชย์รายงานสภาพของลูกหนี้เอสเอ็มอีให้บสย.เพื่อสะท้อนฐานะของลูกค้าอย่างแท้จริง

"สิ่งที่บสย. ทำก็เพื่อควบคุมลูกค้าที่มาไม่ให้ เป็นเอ็นพีแอล โดยมีการทำระบบริหารความเสี่ยง เพื่อไปจับดูว่าหากแยกเอ็นพีแอลตามรายธนาคาร นำข้อมูลเหล่านี้มากำหนดในการจัดสรรวงเงินการ ค้ำประกันตามความเหมาะสม ขณะเดียวกันการ ลงทุนทางด้านเทคโนโลยีที่ผ่านมาก็มีส่วนสำคัญในการบริหารความเสี่ยงให้กับบสย.ผลจาก ข้อมูลก็จะทำให้บสย.สามารถพิจารณาคุณภาพของลูกค้าจากธนาคารพาณิชย์ที่ส่งมาได้โดย ณ สิ้นเดือนกันยายน บสย. มีตัวเลขเอ็นพีแอลประมาณ 6,000 ล้านบาทหรือคิดเป็น 12.8% ของ ยอดที่อนุมัติไป ส่วนการตั้งสำรองนั้นต้องพิจารณาว่าถ้าหากมีการฟ้องร้องกันแล้วบสย. จะตั้งเต็ม 100%" นายทวีศักดิ์ กล่าว

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us