Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน12 พฤศจิกายน 2545
คลอดประกาศกระทรวงคุมบัตรเครดิต...ใครได้ใครเสีย             
 


   
www resources

โฮมเพจ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

   
search resources

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก.
Credit Card




กระทรวงการคลังได้ออกประกาศกระทรวงเพื่อกำกับดูแลธุรกิจบัตรเครดิต โดยใช้อำนาจตามกฎหมายของคณะปฏิวัติ หรือ ปว. 58 มาตราที่ 5 โดยสาระสำคัญของประกาศกระทรวงการคลังได้ให้อำนาจในการกำหนดเพดานดอกเบี้ยผิดนัดชำระบัตรเครดิตไว้ที่ 18% ต่อปี การรวมสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคารหรือ Nonbank เข้ามาอยู่ภายใต้การดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทยเช่นเดียวกับธนาคารพาณิชย์ การกำหนดรายได้ขั้นต่ำสำหรับผู้ที่สามารถถือบัตรเครดิตไว้ที่ 15,000 บาทต่อเดือน หลังจากที่เพิ่งปลดเพดานดังกล่าวไปเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา นอกจากนี้ ยังได้ให้อำนาจในการกำหนดคุณสมบัติของผู้ประกอบการให้มีทุนจดทะเบียนไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาท การกำหนดเพดานดอกเบี้ยการเบิกเงินสดล่วงหน้าไว้ที่ 3%, การต้องแจ้งให้ผู้ถือบัตรทราบล่วงหน้าค่าธรรมเนียมอื่นๆในการใช้บัตร เช่น ค่าธรรมเนียมรายปีและค่าธรรมเนียมแรกเข้า ฯลฯ โดยทางธนาคารแห่งประเทศไทยจะเป็นผู้กำหนดรายละเอียดปลีกย่อยต่างๆ ที่เกี่ยวกับการกำกับธุรกิจบัตรเครดิตทั้งระบบ ทั้งของธนาคารพาณิชย์และสถาบันที่ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์ ทั้งนี้ กฎหมายใหม่ดังกล่าวนับว่าเป็นทางออกเร่งด่วนที่จำเป็น อันเป็นการตอบรับกระแสสังคมและตรงกับความต้องการจากหลายๆ ฝ่ายที่อยากจะเห็นกฎหมายเฉพาะรองรับการขยายตัวอย่างรวดเร็วของบัตรเครดิตในปัจจุบัน และในอนาคต เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้จากผลข้างเคียงที่ได้รับจากความสะดวกสบายในการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต ซึ่งศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้ประเมินผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นต่อหลายฝ่ายจากการออกกฎหมายใหม่ครั้งนี้ไว้ดังนี้

ผลกระทบจากเพดานดอกเบี้ยใหม่

ในด้านของผู้ประกอบการบัตรเครดิตที่เป็นธนาคารพาณิชย์ สามารถแบ่งผลกระทบออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ กลุ่มธนาคารพาณิชย์ไทยจะมีขอบเขตของอัตราดอกเบี้ยที่แคบกว่า โดยดอกเบี้ยสินเชื่อบัตรเครดิตธนาคารพาณิชย์ไทยอยู่ที่ 16.5021.00% สาขาธนาคารพาณิชย์ ตปท. ในไทยและธนาคารพาณิชย์ลูกครึ่งอยู่ที่ 15.5027.50% (อัตราดอกเบี้ย ณ วันที่ 30 ตุลาคม 2545) ซึ่งผลกระทบจากการกำหนดเพดานดอกเบี้ยรวมค่าปรับค้างชำระไว้ที่ 18% นั้น มีดังนี้

ธนาคารพาณิชย์ไทย

ผลดี จะไม่ถูกผลกระทบมากนัก เพราะอัตราดอกเบี้ยส่วนใหญ่ต่ำกว่า ระดับ 18% อยู่แล้ว

ผลเสีย ธนาคารพาณิชย์ไทยไม่สามารถใช้ความได้เปรียบทางด้านราคา จากดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าในการแข่งขันกับธนาคารต่างชาติได้อีกต่อไป ซึ่งทำให้ธนาคารพาณิชย์ไทยอาจที่จะต้องหันความสนใจไปให้ความสำคัญกับการ บริการและการส่งเสริมการขายที่มากขึ้น เพื่อไม่ให้ลูกค้าเปลี่ยนไปใช้บริการธนาคารอื่น การส่งเสริมด้านบริการและการขายดังกล่าวก็เพื่อแข่งขันกับธนาคารต่างชาติที่เหนือกว่าในด้านเครือข่ายร้านค้าและโปรแกรมส่งเสริมการขายในช่วงที่ผ่านมา

ธนาคารพาณิชย์ต่างชาติและธนาคารพาณิชย์ลูกครึ่ง

ผลดี ความสามารถในการแข่งขันกับธนาคารพาณิชย์ไทยเพิ่มสูงขึ้น จาก ดอกเบี้ยที่ลดน้อยลง ในขณะที่ยังคงมีความได้เปรียบจากการทำการตลาดใน ช่วงที่ผ่านมา ธนาคารจะให้ความสำคัญทางด้านความเสี่ยงมากขึ้น โดยจะเคร่งครัดในการเลือกลูกค้าให้มากขึ้นเพื่อลดความเสี่ยง เนื่องจากไม่สามารถ คิดดอกเบี้ยที่สูงกว่าธนาคารพาณิชย์ไทยในการป้องกันความเสี่ยง เช่นที่เคยปฏิบัติมาแต่เดิมได้

ผลเสีย ธนาคารที่มีดอกเบี้ยสูงกว่า 18% ค่อนข้างมาก บวกกับที่มีปริมาณยอดคงค้างบัตรเครดิตในปริมาณที่สูง ย่อมได้รับผลกระทบที่มากจาก การตั้งเพดานดอกเบี้ยครั้งนี้ เนื่องจากสะท้อนให้เห็นถึงการพึ่งพิงรายได้จากดอกเบี้ยที่มากกว่าธนาคารอื่นๆ

จากการที่ธนาคารกลุ่มนี้มีต้นทุนการตลาดที่สูงอยู่ การตั้งเพดานดอกเบี้ยอาจจะส่งผลต่อกำไรในการดำเนินธุรกิจ

ในด้านของผู้ประกอบการที่เป็น Nonbank หรือ สถาบันที่ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์ซึ่งดำเนินธุรกิจให้บริการบัตรเครดิตนั้น ย่อมจะมีการเปลี่ยน แปลงที่ค่อนข้างมากในการออกกฎใหม่ครั้งนี้ โดยจากการที่กลุ่ม Nonbank มีเป้าหมายการตลาดที่ลูกค้าระดับกลางและระดับล่างที่มีความเสี่ยงสูงกว่า การจำกัดเพดานดอกเบี้ยย่อมจะกระทบต่อธุรกิจของผู้ประกอบการกลุ่มนี้ แต่อย่างไรก็ดี จากการที่ผู้ออกบัตรในกลุ่ม Nonbank บางรายมีผลิต ภัณฑ์ที่หลากหลาย ทำให้น่าที่จะมีความยืดหยุ่นมากในการสร้างรายได้จากแหล่งอื่นๆมาทดแทนได้ เช่น สินเชื่อเช่าซื้อ สินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อเงินสด เป็นต้น ดังนั้น จึงมีความเป็นไปได้ว่าผู้ออกบัตรกลุ่ม Nonbank อาจมีความ ต้องการที่จะรักษาฐานลูกค้าบัตรเครดิตไว้ให้มากที่สุด เพื่อประโยชน์เสริมใน การที่จะสามารถเสนอผลิตภัณฑ์อื่นๆ (Cross Sell) ของผู้ประกอบการให้ลูกค้าทดแทนรายได้ส่วนที่เสียไปจากธุรกิจบัตรเครดิตได้

ในด้านของผู้บริโภคผู้ถือบัตรเครดิต ผู้ซึ่งย่อมได้ประโยชน์มากที่สุด จากกฎหมายใหม่นี้ เพราะสามารถที่จะทราบขอบเขตค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นจาก การค้างชำระบัตรเครดิตได้ อันจะสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการวางแผนการ ใช้จ่ายเงินได้ในระดับหนึ่ง จากในอดีตที่ความหลากหลายของดอกเบี้ยและค่า ธรรมเนียมปลีกย่อยต่างๆอาจทำให้ผู้บริโภคบางกลุ่มไม่ตระหนักถึงค่าใช้จ่าย ที่เกิดขึ้นจนกระทั่งใบแจ้งหนี้มาถึง โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ถือบัตรเครดิตหลายๆใบ ที่อาจจะเกิดความสับสนได้จากอัตราดอกเบี้ยหลายรูปแบบ นอก จากนี้ ผู้บริโภคอาจได้รับประโยชน์และความสะดวกในการใช้บริการบัตรเครดิตมากขึ้น จากแนวโน้มที่ผู้ประกอบการอาจจะหันมามุ่งเน้นการให้บริการ ที่มีคุณภาพมากกว่าการแข่งกันตัดราคา รวมทั้งการตั้งเพดานดอกเบี้ยไว้ที่ 18% นั้น อาจจะช่วยลดการโยกย้ายหนี้บัตรเครดิตจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง (Balance Transfer/Refinance) จากความแตกต่างของดอกเบี้ยของผู้ออก บัตรที่น้อยลง เมื่อเทียบกับก่อนที่จะมีการประกาศเพดานดอกเบี้ยที่ 18% ออก มา อย่างไรก็ตาม การมีเพดานดอกเบี้ยก็อาจจะไม่สามารถลดความเสี่ยงใน การเพิ่มหนี้และใช้จ่ายเกินตัวผ่านบัตรเครดิตได้ ตราบใดที่ผู้ใช้บัตรยังมีนิสัยขาดระเบียบ มีบัตรเครดิตหลายใบ ขาดการวางแผนในการใช้จ่าย โดยไม่คำนึงถึงรายได้ของตนเอง

ผลกระทบจากการกำหนดรายได้ขั้นต่ำไว้อย่างเดิมที่ 15,000 บาทต่อเดือน

ผลกระทบต่อธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่ ย่อมมีไม่มากนักเนื่องจากผู้มีรายได้ขั้นต่ำ 15,000 บาทเป็นฐานลูกค้าเดิมของธนาคารพาณิชย์อยู่แล้ว จึงไม่น่าที่จะมีผลกระทบต่อปริมาณบัตรเครดิตทั้งหมดของธนาคารพาณิชย์โดยรวมมากนัก

ผลกระทบต่อผู้ออกบัตรในกลุ่ม Nonbank จากการสร้างความได้เปรียบตั้งแต่เริ่มทำธุรกิจบัตรเครดิตในการเจาะกลุ่มลูกค้ารายได้ต่ำกว่า 10,000 บาทต่อเดือนของผู้ออกบัตรในกลุ่ม Nonbank ซึ่งเป็นการเจาะกลุ่ม เป้าหมายคนละกลุ่มกับธนาคารนั้น ทำให้การกำหนดรายได้ขั้นต่ำที่ 15,000 บาทต่อเดือนนั้นมีผลให้ผู้ออกบัตรในกลุ่ม Nonbank ต้องอาศัยการปรับตัวที่ค่อนข้างมาก จากการที่กลุ่มเป้าหมายเดิมมีรายได้เฉลี่ยต่ำกว่า 15,000 บาทต่อเดือน ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่ผู้ออกบัตรในกลุ่ม Nonbank อาจที่จะเน้นการทำธุรกิจประเภทอื่นเพิ่มขึ้น มากกว่าการขยายฐานลูกค้าบัตรเครดิต เพิ่ม เพื่อทดแทนส่วนแบ่งในตลาดนี้ที่ขาดหายไป อย่างไรก็ตาม ผู้ออกบัตรในกลุ่ม Nonbank ก็ยังคงมีฐานรายได้เดิมจากค่าธรรมเนียมของฐาน ลูกค้าบัตรเครดิตเก่าที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งกฎหมายใหม่ไม่สามารถบังคับใช้ย้อนหลังกับลูกค้าเดิมได้ ทำให้พอที่จะชะลอผลกระทบดังกล่าวไปได้สักระยะหนึ่ง

ผลกระทบต่อผู้บริโภค โดยการกำหนดรายได้ขั้นต่ำไว้ที่ 15,000 บาท ต่อเดือนนั้น ย่อมทำให้ผู้ที่มีรายได้ต่ำกว่า 15,000 บาทนั้นต้องเริ่มที่จะหันไปใช้เงินสดในการใช้จ่ายแทนการใช้บัตรเครดิต ซึ่งอาจมีผลทำให้ความเสี่ยงของการก่อหนี้เกินกำลังลดลงได้บ้าง แต่ในมุมมองที่ตรงกันข้าม ก็อาจ ทำให้ผู้บริโภคที่มีรายได้ต่ำหันไปกู้ยืมจากธุรกิจเงินกู้นอกระบบมากยิ่งขึ้น เพราะไม่สามารถเป็นสมาชิกบัตรเครดิตในระบบได้

ผลกระทบต่อภาพรวมของธุรกิจบัตรเครดิต

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้ประเมินสถานการณ์โดยรวมของธุรกิจบัตรเครดิตไว้ดังนี้

ธุรกิจบัตรเครดิตยังคงที่จะมีการขยายตัวต่อไป จากความนิยมและความสะดวกที่ผู้บริโภคได้รับในการใช้บัตรเครดิตแทนเงินสด และจาก รายการส่งเสริมการขายที่น่าสนใจ อย่างไรก็ดี ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่าอัตราการเติบโตนั้นจะเพิ่มในอัตราที่ลดลง เมื่อเทียบกับช่วงก่อนออกกฎหมายใหม่ ทั้งนี้ จากเหตุผลที่ว่ากลุ่มผู้บริโภคที่มีรายได้ต่ำกว่า 15,000 บาท นั้นมีเป็นจำนวนมากและเป็นฐานลูกค้าที่ใหญ่ บวกกับผู้ที่มีรายได้มากกว่า 15,000 บาทนั้น ย่อมที่จะเป็นผู้ถือบัตรเครดิตอยู่ก่อนแล้ว นอกจากนี้ จากความเป็นไปได้ที่ผู้ประกอบการบางรายอาจที่จะกลับมาคิดค่าธรรมเนียม รายปี หรือค่าธรรมเนียมแรกเข้านั้น ย่อมมีส่วนทำให้ลูกค้าบางกลุ่มคืนบัตร ดังนั้น ปริมาณบัตรเครดิตในระบบคงจะไม่เติบโตอย่างรวดเร็วนัก ซึ่งศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้คาดการณ์จำนวนบัตรเครดิตทั้งระบบ (ธนาคารพาณิชย์และ Nonbank) ณ สิ้นปี 2545 ไว้ที่ประมาณไม่ต่ำกว่า 5 ล้านบัตร จากจำนวนบัตรเครดิตที่ประมาณ 3.6 ล้านบัตรในปีก่อนหน้า

นอกจากนี้ การใช้จ่ายผ่านบัตรจะยังคงมีแนวโน้มที่สูงขึ้น แต่เพิ่มในอัตราที่ลดลง เนื่องจากคาดว่าสถาบันต่างๆยังคงส่งเสริมการขายเพื่อการ ใช้จ่ายผ่านบัตรของลูกค้าที่มากขึ้น ซึ่งอาจมีแนวโน้มที่รุนแรงขึ้น ภายใต้แรงกดดันที่ยากลำบากขึ้นในการขยายฐานบัตรเครดิต โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยยังคาดการณ์ว่า จากฐานบัตรเครดิตที่มีแนวโน้มการเติบโตในอัตราที่ลดลง จะส่งผลให้ปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรของผู้บริโภค ณ สิ้นปี 2545 จะมีการเติบโตไม่เกิน 30% เมื่อเทียบกับปี 2545 เมื่อเทียบกับการเติบโตที่ประมาณ 36% ในปีก่อนหน้า

ยอดคงค้างบัตรเครดิตที่มีแนวโน้มที่จะชะลอตัวลงกว่าในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งมีผลจากปริมาณบัตรเครดิตในระบบและปริมาณการใช้จ่ายผ่าน บัตรที่เพิ่มขึ้นในอัตราที่ลดลง และส่วนหนึ่งจากค่าใช้จ่ายในการใช้บัตรเครดิต ที่ลดลงจากการกำหนดเพดานดอกเบี้ยที่ต่ำลง โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่ายอดคงค้างบัตรเครดิต ณ สิ้นปี 2545 จะมีการเติบโตที่ประมาณ 25% จากการเติบโตที่ 26% ในปีก่อนหน้า

การแข่งขันระหว่างผู้ออกบัตรจะยังคงเข้มข้น ทั้งนี้ แม้ว่าจะมีการกำหนดเพดานอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 18% และรายได้ขั้นต่ำที่ 15,000 บาทต่อเดือน ซึ่งอาจจะกระทบต่อการดำเนินธุรกิจของผู้ออกบัตรบางรายที่ต้องปรับตัว รวมทั้งอาจนำมาสู่การพยายามลดต้นทุนหรือหารายได้เพิ่ม เพื่อชดเชย กับดอกเบี้ยที่ถูกจำกัด แต่ศูนย์วิจัยกสิกรไทยก็มองว่า การแข่งขันในธุรกิจบัตรเครดิตจะยังคงเข้มข้นต่อไป โดยผู้ออกบัตรก็จะยังคงจะทุ่มมาตรการทาง การตลาดเพื่อขยายฐานธุรกิจของตน และเพื่อรักษาลูกค้าเดิมเอาไว้ ตลอดไปจนถึงกระตุ้นให้ลูกค้ามียอดการใช้บัตร ซึ่งจะนำมาสู่รายได้ของผู้ออกบัตร ในขณะเดียวกัน ลูกค้าหรือผู้ถือบัตรก็จะยังคงมีอำนาจต่อรองที่จะเลือกใช้บริการและผลิตภัณฑ์ที่มีเสนอให้อย่างหลากหลาย ความแตกต่างอาจจะอยู่เพียงที่ว่า การขยายตัวของธุรกิจบัตรเครดิตคงจะเป็นไปอย่างมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น ขณะที่ความสำเร็จของผู้ออกบัตรคงจะขึ้นอยู่กับความสามารถทางการตลาด การรักษาฐานลูกค้า ตลอดจนการบริหารต้นทุนค่าใช้จ่ายและความเสี่ยงให้เหมาะสม

สรุป

ประกาศกระทรวงการคลังเรื่องกิจการที่ต้องขออนุญาตตามข้อ 5 แห่ง ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58 ได้ถูกนำมาใช้ในการควบคุมดูแลธุรกิจบัตรเครดิต จากกระแสสังคมรอบด้านที่ต้องการจะให้มีกฎหมายเฉพาะดูแล ธุรกิจบัตรเครดิตที่เป็นธนาคารพาณิชย์และที่ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์ หรือ Nonbank ซึ่งประเด็นหลักที่ประกาศกระทรวงดังกล่าวได้ให้อำนาจไว้ ได้แก่ การกำหนดเพดานดอกเบี้ยที่ 18%, การกลับไปใช้เกณฑ์รายได้ขั้นต่ำที่ 15,000 บาทต่อเดือนในการสามารถสมัครบัตรเครดิต โดยไม่มีผลบังคับใช้ย้อนหลัง, การกำหนดทุนจดทะเบียนผู้ประกอบการไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาท ฯลฯ

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้ประเมินผลกระทบที่มีต่อผู้ประกอบการและผู้บริโภคจากการกำหนดเพดานดอกเบี้ยที่ 18% และการกำหนดรายได้ขั้นต่ำที่ 15,000 บาทต่อเดือน โดยผลกระทบจะแยกออกจากกันตามประเภทของ ผู้ประกอบการ ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ไทย, ธนาคารพาณิชย์ต่างชาติและธนาคารลูกครึ่ง, สถาบันที่ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์ หรือ Nonbank ซึ่งศูนย์วิจัยกสิกรไทยยังเห็นว่า ผู้บริโภคยังคงได้รับประโยชน์สูงสุดจากการออก กฎหมายในครั้งนี้

นอกจากนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมีความเห็นว่าประกาศกระทรวงการคลังได้สร้างกรอบควบคุมธุรกิจบัตรเดรดิตที่เหมาะสม ซึ่งนอกจากสร้างการ กำกับดูแลที่ทั่วถึงแล้ว ยังสร้างแบบแผนที่เป็นหลักปฏิบัติอันเป็นมาตรฐานเดียวกัน การขยายตัวของธุรกิจนี้จึงจะเติบโตอย่างมีคุณภาพมากขึ้นดังนั้นจาก แนวโน้มดังกล่าว ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า ธุรกิจบัตรเครดิตคงจะมีแนวโน้มขยายตัวที่ชะลอลง แต่เป็นการขยายตัวอย่างมีคุณภาพมากขึ้น โดยศูนย์ วิจัยกสิกรไทยคาดว่า ณ สิ้นปี 2545 จำนวนบัตรเครดิตทั้งระบบจะอยู่ที่ประมาณไม่ต่ำกว่า 5 ล้านบัตร จากจำนวนบัตรเครดิต 3.6 ล้านบัตรในปีก่อนหน้า การใช้จ่ายผ่านบัตรที่ยังคงมีแนวโน้มที่สูงขึ้นแต่เป็นการเพิ่มในอัตราที่ชะลอตัวลง จากการเพิ่มขึ้นของจำนวนบัตรเครดิตในอัตราที่ลดลง โดย ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่าปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรของผู้บริโภค ณ ปลายปี 2545 จะมีการเติบโตไม่เกิน 30% จากการเติบโตที่ 36% ในปีก่อนหน้า ยอด คงค้างบัตรเครดิตที่มีแนวโน้มที่จะชะลอตัวลงกว่าในช่วงที่ผ่านมา โดยส่วน หนึ่งจากการกำหนดเพดานดอกเบี้ยใหม่ที่มีผลต่อค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยโดยรวม ที่ลดลง และจากการเติบโตที่ชะลอลงของบัตรเครดิต ซึ่งศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่ายอดคงค้างบัตรเครดิตสิ้นปี 2545 จะมีการเติบโตที่ประมาณ 25% จาก การเติบโตที่ 26% ในปีก่อนหน้า และท้ายที่สุด รูปลักษณ์การแข่งขันของผู้ประกอบการในธุรกิจนี้ก็จะยังคงเข้มข้น โดยลูกค้าจะเป็นผู้มีอำนาจต่อรองใน ตลาดนี้ ซึ่งผู้ประกอบการต่างๆย่อมที่จะต้องพยายามรักษาฐานลูกค้าเดิมไว้ ให้ได้ การเสนอบริการและรายการส่งเสริมการขายที่ดีจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นมาก ขึ้นในตลาดนี้ ในการสามารถครองใจผู้บริโภคให้ได้มากกว่าคู่แข่งในตลาดเดียวกัน

ท้ายที่สุด แม้ว่าจะมีการออกกฎควบคุมเพดานอัตราดอกเบี้ยและกำหนดรายได้ขั้นต่ำ แต่ความยั่งยืนและคุณภาพของสินเชื่อบัตรเครดิตในระบบ ยังคงจะขึ้นอยู่กับวินัยในการใช้จ่ายของผู้ถือบัตร ในขณะเดียวกัน ผู้ออกบัตรก็ควรจะต้องติดตามข้อมูลและความเสี่ยงจากการใช้จ่ายของลูกค้า เพื่อมิให้เกิดปัญหาฟองสบู่ในอนาคต ดังเช่นที่กำลังเกิดกับบางประเทศในขณะนี้

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us