Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน7 พฤศจิกายน 2545
คลอดกม.บัตรเครดิตตีกรอบเข้ม             
 


   
search resources

Credit Card




รัฐบาลดีเดย์ใช้กฎหมายบัตรเครดิตจันทร์ที่ 11 พ.ย. นี้ ตีกรอบผู้มีบัตรได้ต้องมีเงินเดือน 15,000 บาทต่อเดือน อัตราดอกเบี้ย 18% และบวกเพิ่มนัดชำระได้ไม่เกิน 2% หวั่นคนแห่กดเงินสดหลังค่าธรรมเนียมกดเงินเหลือ 3% ระบุกฎหมายครอบคลุมแบงก์-นอนแบงก์แต่ไม่ครอบคลุมบัตรเครดิตที่ออกแบบใช้จ่ายภายในเท่านั้น

วานนี้ (6 พ.ย.) ที่ทำเนียบรัฐบาล พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีเป็นประธานในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติบัตรเครดิต หลังจากในวันที่ 5 พ.ย. ที่ผ่านมา ได้มีการถอดถอนเรื่องดังกล่าวออกจากการประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) เนื่องจากมีรายละเอียดในบางข้อของกฎหมายที่ยังไม่ชัดเจนล่าสุดที่ประชุมได้สรุปแนวทางที่จะประกาศใน พ.ร.บ. บัตรเครดิต

นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รัฐมนตรืว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวอย่างชัดเจนว่าที่ประชุมได้ข้อยุติเกี่ยวกับรายละเอียดของร่าง พ.ร.บ. บัตรเครดิต โดยกฏเกณฑ์ใหม่จะประกาศในวันจันทร์ที่ 11พ.ย.นี้ ก่อนเสนอเข้าครม.เพื่อรับทราบโดยสาระสำคัญของร่างพ.ร.บ.บัตรเครดิต จะกำหนดผู้มีบัตรเครดิตต้องมีรายได้ประจำไม่ต่ำกว่า 15,000 บาทต่อเดือน หรือหากไม่มีรายได้ประจำก็จะพิจารณายอดที่มีเงินฝากในธนาคารพาณิชย์ ซึ่งในส่วนนี้นายสมคิดไม่ได้ระบุว่าจะต้องมียอดเงินฝากเท่าไรถึงจะทำบัตรเครดิตได้

พร้อมฟังได้มีการกำหนดเพดาน อัตราดอกเบี้ยอย่างชัดเจนคือ ไม่เกิน 18% ของยอดคงค้าง ส่วนค่าธรรมเนียมอื่นๆ ตรงนี้ต้องให้ธนาคารพาณิชย์แจ้งล่วงหน้าแกˆผู้บริโภคทราบ และมีการปรับลดอัตราค่าธรรมเนียมการกดเงินสดจากตู้เอทีเอ็มจาก 5% คง เหลือไม่เกิน 3% ต่อครั้ง และผู้ประกอบการธุรกิจบัตรเครดิตต้องมีทุนจดทะเบียนไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาท

"รัฐบาลมองว่า ธุรกิจบัตรเครดิตต้องเติบโตควบคู่กับเศรษฐกิจ ถึงแม้ขณะนี้ยังไม่เกิดความเสียหายแต่รัฐบาลก็ไม่ประมาท โดยต้องการให้ ธุรกิจบัตรเครดิตเติบโตอย่างมีคุณภาพ ทั้งนี้พ.ร.บ.บัตรเครดิตที่เตรียมประกาศใช้จะครอบคลุมทั้งธนาคารพาณิชย์และบริษัทที่ให้บริการทางด้านการเงินแต่ไม่ใช่เป็นสถาบันการเงิน ทั้งนี้ในการประชุมสมาคมธนาคารไทยสนับสนุนแนวทางของรัฐบาล" นายสมคิดกล่าว

นายวราเทพ รัตนากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า กฎเกณฑ์บัตรเครดิตครั้งนี้จะไม่มีผลย้อนหลังไปกับลูกค้าที่ทำบัตรเครดิต ไปแล้วถึงแม้รายได้ประจำต่ำกว่า 15,000 บาทต่อเดือน โดยในส่วนของบทลงโทษผู้ทุจริตในระยะแรก จะใช้ในส่วนของกฎหมายอาญาไปก่อน อย่างไรก็ตาม การกำหนดกฎเกณฑ์ครั้งนี้รัฐบาลดูสังคมและดูผู้บริโภคเพื่อให้ทั้งหมดอยู่ในระบบเดียวกัน

ทั้งนี้ ในส่วนของการคิดดอกเบี้ยปรับจากลูกค้า ที่ผิดนัดชำระในเบื้องต้นจะมีการบวกเพิ่มจากเพดาน ดอกเบี้ย 18% บวกอีก 2% ของยอดคงค้าง แต่ในรายละเอียดคงต้องรอธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เสนอรายละเอียดเกี่ยวกับตัวเลขอีกครั้งหนึ่ง

"แม้รัฐบาลจะมีการประกาศพ.ร.บ. บัตรเครดิต รออกมา แต่ทางรัฐบาลจะให้เวลาแก่ธนาคารพาณิชย์ หรือผู้ประกอบการที่เข้าข่ายดังกล่าวปรับตัวประมาณ 60-90 วัน แต่ตรงนี้คงต้องมาพิจารณาอีกครั้งหนึ่งก่อน ส่วนการเพิ่มทุนจะต้องทำให้เสร็จภายใน 2 ปี ส่วนการกำหนดค่าธรรมเนียมนิยมกดเงินสดเพื่อให้เป็นอัตราเดียวกันจากเดิมที่อัตราดังกล่าวขึ้นอยู่กับธนาคารพาณิชยŒเป็นผู้กำหนด อย่างไรก็ตามในส่วนเพดานดอกเบี้ย 18% นั้นทางธปท. สามารถจะปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยได้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม" นายวราเทพกล่าว

ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวเพียงว่าในส่วนของลูกค้า บัตรเครดิตนั้น จะต้องมีการปรึกษาหารือว่าจะดำเนิน การอย่างไร แต่สาระหลักของการออกพ.ร.บ. บัตรเครดิตก็เพื่อสังคมและการฝึกนิสัยการใช้จ่ายของผู้บริโภค

พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการใช้บัตรเคดิตของประชาชนว่า นโยบายชัดเจนก็คือ ไม่ต้องการให้ประชาชนใช้จ่ายเกินตัวและเกิดปัญหาครอบครัวและสังคมตามมาภายหลัง เพราะฉะนั้น การกำหนดรายได้ขั้นต่ำของผู้ที่ต้องขอ มีบัตรเคดิตไว้เดือนละ 1,500 บาท ยกเว้นกรณีผู้ที่อาจจะไม่มีรายได้ประจำ แต่มีเงินฝากในธนาคารเกิน กว่าวงเงินที่ธนาคารจะอนุมัติให้ใช้บัตรเคดิตได้

ผู้สื่อข่าวถามว่า บริษัทเอกชนมักจะเอาเปรียบผู้ใช้บัตรเคดิต นายกฯ กล่าวว่า เรากำหนดดอกเบี้ยว่า จะคิดค่าปรับครั้งละเท่าไร และดอกเบี้ยต้องคิดไม่เกิน 18 เปอร์เซ็นต์และค่าปรับครั้งหนึ่งไม่เกิน 200 บาท เพื่อไม่ให้มีการเอาเปรียบและใช้จ่ายเกินตัว สำหรับคน ที่มีรายได้น้อยและต้องไปตายเอาดาบหน้า

กฎหมายฉบับนี้เกิดขึ้นจากแรงผักดันของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีที่สั่งการเมื่อช่วง ต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านโดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำ กฎหมายที่มีอยู่เดิมมาปรับปรุงและเพิ่มเติมใหม่ให้สามารถควบคุมดูแลธุรกิจบัตรเครดิตที่ช่วง 2 ปีที่ผ่าน มามีอัตราการขยายตัวสูงจนน่าตระหนกโดยเฉพาะบัตรเครดิตที่ออกโดยนิติบุคคลที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน ซึ่งหลายฝ่ายเกรงว่าจะมีปัญหาตามมาภายหลังอาจจะกระทบต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวม ขณะเดียว กันบัตรเครดิตมักถูกร้องเรียนความไม่ธรรมหายกรณี ตั้งแต่การคิดค่าธรรมเนียมค้างชำระ ดอกเบี้ยค้างชำระที่คิดในอัตราที่สูงมาก

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us