Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์13 ตุลาคม 2548
"แบงก์-นอนแบงก์" คัดเดนลูกหนี้ขายรัฐ ขายสินเชื่อบุคคลแคปปิตอล โอเค ได้เปรียบ             
 


   
search resources

Loan




ผู้ประกอบการบัตรเครดิต-สินเชื่อบุคคล คัดลูกหนี้เสื่อมสภาพขายรัฐ ของดีขอเก็บไว้เอง ถามรัฐถ้าได้ไปแล้วตามหนี้ไม่ได้ หนี้สูญตกที่ใคร เผยมีลูกหนี้ดีแอบไปลงทะเบียนคนจนหลายราย หวั่นลูกหนี้ดีจะรอความหวังครั้งใหม่จากรัฐอีก ประเมินหากขายหนี้บุคคลแคปปิตอล โอเค ได้เปรียบ

การรัฐบาลกำลังดำเนินการเพื่อปลดเปลื้องภาระหนี้ประชาชนมูลค่ากว่า 2.7 แสนล้านบาทนั้น สร้างความกังวลให้กับบุคคลในแวดวงการเงินเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะผู้ประกอบการด้านบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล เนื่องจากเป้าหมายในการให้ความช่วยเหลือในครั้งนี้ได้พุ่งไปที่ผู้ที่ถูกฟ้องร้องจากเจ้าหนี้ที่มีคดีก่อนมิถุนายน 2548

ข้อมูลเบื้องต้นระบุว่ามีเงินต้นเพียง 7.4 พันล้านบาท ที่เหลือเป็นดอกเบี้ยที่ระบุว่าเกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงเกิดวิกฤติเศรษฐกิจในปี 2540 โดยรัฐมีแผนเจรจากับสถาบันการเงินในฐานะเจ้าหนี้จะขอซื้อในอัตราส่วนลด 50% เพื่อให้ผู้ที่เดือดร้อนราว 1 แสนราย ผ่อนชำระให้เสร็จสิ้นภายในระยะเวลา 6 เดือน และจะประกาศอย่างเป็นทางการในวันที่ 18 ตุลาคม 2548

แนวคิดดังกล่าวได้รับการวิพากษ์วิจารณ์จากบุคคลทางการเงินอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะเรื่องของหนี้ดังกล่าวนี้มีมาตั้งแต่ปี 2540 ซึ่งเกือบทุกคนมองเหมือนกันว่าไม่ใช่ เนื่องจากหนี้บัตรเครดิตหรือสินเชื่อส่วนบุคคลนั้นการฟ้องร้องจะต้องดำเนินการภายใน 2 ปี รายที่ตามไม่ได้ก็ตัดหนี้สูญไป

หนี้ดังกล่าวน่าจะเกิดในช่วงที่ตลาดบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลเฟื่องฟูสุดขีดช่วงปี 2545 ตรงกับแนวทางการแก้ปัญหาเศรษฐกิจของรัฐบาลไทยรักไทย ที่สร้างความเชื่อมั่นในภาวะเศรษฐกิจและส่งเสริมให้ประชาชนใช้จ่าย เห็นได้จากตัวเลขหนี้สินต่อครัวเรือนในปี 2544 อยู่ที่ 68,279 บาท ปี 2545 ขยับขึ้นไปที่ 82,485 บาท ปี 2547 พุ่งขึ้นไปถึง 104,571 บาทต่อครัวเรือน

ตรงกับผู้ประกอบการที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน(Non Bank)เฟื่องฟูสุดขีด ขณะนั้นผู้มีรายได้ราว 7 พันบาทก็ทำบัตรเครดิตได้ ขณะที่สินเชื่อส่วนบุคคลรายได้แค่ 4-5 พันบาทก็สามารถใช้บริการได้แล้ว

ช่วยไม่ได้ทุกราย

"ขณะนี้ยังสับสนว่าหนี้ที่รัฐจะเข้ามาดูแลนี้จะรวมถึงบัตรเครดิตด้วยหรือไม่ แต่ครั้งแรกบอกว่ารวม ทำให้เราทำงานลำบากโดยเฉพาะเรื่องการเตรียมข้อมูล นอกจากนี้จะรวมถึง Non Bank ด้วยหรือไม่ก็ไม่ชัดเจน" แหล่งข่าวจากวงการบัตรเครดิตกล่าว

เขากล่าวต่อไปว่า ก่อนที่รัฐบาลจะออกมาตรการใด ๆ ออกมาควรจะต้องพิจารณาให้รอบคอบก่อน ไม่ใช่นั้นจะเกิดความสับสนขึ้นอย่างที่เป็นอยู่ ทั้งเรื่องการขอล้มละลายตัวเอง หรือมาตรการห้ามยึดบ้านยึดรถ หากเกิดขึ้นจริงเชื่อว่าคงไม่มีผู้ประกอบการรายใดอยู่ได้ เมื่อนั้นประชาชนอาจต้องกลับไปพึ่งพาสินเชื่อนอกระบบอีกครั้ง

อย่างไรก็ตามการช่วยเหลือประชาชนในครั้งนี้ไม่ได้หมายความว่าทุกคนจะได้รับการช่วยเหลือทั้งหมด เพราะหากเป็นไปตามเงื่อนไขเดิมคือเป็นเรื่องของความสมัครใจของ ดังนั้นสถาบันการเงินหรือ Non Bank คงเลือกขายให้รัฐเฉพาะลูกหนี้รายที่ติดตามไม่ได้จริง ๆ เท่านั้น ส่วนที่ตามได้เราก็คงจะดำเนินการเอง

ที่ผ่านมาระบบการติดตามหนี้สินของผู้ประกอบการค่อนข้างรัดกุม เห็นได้จากหนี้เสียของธุรกิจประเภทนี้เฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 3% เท่านั้น

ซื้อหนี้-หนี้สูญรัฐรับ?

ในภาพรวมของธุรกิจบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล เป็นการช่วยให้บุคคลสามารถแก้ไขปัญหาสภาพคล่องของตนเองได้ โดยที่ไม่ต้องไปพึ่งพาสินเชื่อนอกระบบ โดยที่อัตราดอกเบี้ยก็ถูกควบคุมจากทางการเช่นบัตรเครดิตไม่เกิน 18% สินเชื่อบุคคลไม่เกิน 28%

แม้ในอดีตอาจมีการคิดอัตราดอกเบี้ยสูงไปบ้างแต่เมื่อมีการประนอมหนี้เราก็ลดอัตราดอกเบี้ยให้ตามความสามารถของลูกหนี้อยู่แล้ว หากเป็นกรณีฟ้องร้องก็ต้องเจรจาเรื่องของเงินต้นและอัตราดอกเบี้ยกันใหม่ ซึ่งอัตราดอกเบี้ยก็คิดได้แค่ 7.5% เท่านั้น

แน่นอนว่าคนในวงการนี้ไม่เข้าใจว่ารัฐจะซื้อในราคาส่วนลด 50% นั้นจะเอาไปบริหารจัดการอย่างไร เพราะถึงอย่างไรก็ต้องมีต้นทุนในการจัดการ นั่นหมายความว่าลูกหนี้ที่ผู้ประกอบการขายให้นั้นคงไม่ใช่แค่รับผิดชอบเฉพาะเงินต้น 50% แค่นั้น ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกันระหว่างการขายให้รัฐที่ราคา 50% กับการติดตามหนี้เองนั้น เราคิดว่าเราทำได้ดีกว่า

"ที่สำคัญคือลูกหนี้ที่รัฐได้ไปนั้นจะมีความสามารถในการชำระหนี้ได้จริงหรือไม่ แม้รัฐจะไม่คิดดอกเบี้ยก็ตาม และถ้าตามไม่ได้ลูกหนี้รายนั้นจะกลายเป็นหนี้สูญของรัฐหรือไม่"

หากรัฐใช้ข้อมูลจากการลงทะเบียนคนจนเป็นหลักนั้น จะพบว่าคนที่ไปลงทะเบียนส่วนใหญ่จะเป็นลูกค้าของกลุ่ม Non Bank เป็นหลัก เนื่องจากหลักเกณฑ์เรื่องรายได้ต่ำกว่าของธนาคารพาณิชย์ ถือเป็นฐานใหญ่ของสินเชื่อส่วนบุคคล ถ้ารัฐต้องการแก้ปัญหาหนี้ภาคประชาชนให้ได้มาก ถึงอย่างไรก็ตามเข้ามาดูแลสินเชื่อในกลุ่มนี้เป็นพิเศษ

ประวัติล้างไม่ได้

ขณะนี้คนในวงการการเงินเห็นตรงกันนั่นคือ กรณีนี้จะเป็นลูกหนี้ต้นแบบ แม้ลูกหนี้บางรายจะไม่ได้อยู่ในเงื่อนไขนี้ ถึงวันนี้หลายคนก็คิดว่าชำระหนี้ไปทำไม รอให้รัฐบาลเข้ามาลดหนี้ให้ 50% ดีกว่า กรณีอย่างนี้เริ่มมีบ้างแล้ว เช่น ลูกค้าที่ชำระตรงตามงวดปกติ กลับไปพบว่าไปลงชื่อในทะเบียนคนจนด้วย นี่กำลังจะกลายเป็นปัญหาใหญ่ของระบบการเงิน

ในอีกด้านหนึ่งมาตรการดังกล่าวถือเป็นการช่วยผู้ประกอบการอีกทาง คือลูกหนี้ที่คิดว่าตามไม่ได้แทนที่จะตัดเป็นศูนย์ ก็ได้เงินคืนมา 50% ขณะที่ลูกหนี้บางรายที่เคยหวังว่าจะไม่ต้องใช้หนี้แล้วก็ต้องกลับมาคุยกับเจ้าหนี้รายใหม่อีกครั้ง

"สิ่งที่รัฐมองว่าเมื่อลูกหนี้กลุ่มนี้ผ่อนชำระได้หมด ก็จะดำรงชีวิตหรือขอสินเชื่อใหม่ได้ตามปกตินั้น เราเชื่อว่ารัฐคิดผิด เพราะถึงอย่างไรประวัติการผิดนัดชำระหนี้ก็ยังติดอยู่ในระบบเครดิตบูโรอยู่ดี ถามว่าผู้ประกอบการรายไหนจะกล้าปล่อยกู้อีก"

OK สำรองหนี้สูง

หากพิจารณาจากจำนวนสินเชื่อบุคคลของผู้ประกอบการ Non Bank 3 ราย ทั้งในช่วงไตรมาส 1 และ 2 (30 มิ.ย.)ของปี 2548 พบว่ารายใหญ่อย่างเคทีซีมีอัตราการเพิ่มเพียง 3.27% และมีการตั้งหนี้สงสัยจะสูญเพิ่มขึ้นจากเดิมที่ 5.92% ส่วนอิออนธนสินทรัพย์มีอัตราการเพิ่มถึง 44.79% และตั้งสำรองหนี้เพิ่ม 11.08%

ขณะที่แคปปิตอลโอเค ที่มีบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น ถือหุ้น 60% ที่เริ่มเปิดดำเนินการเมื่อ 1 สิงหาคม 2547 มีอัตราขยายตัวของสินเชื่อสูงถึง 54.29% ขณะที่มีการตั้งสำรองหนี้เพิ่มขึ้นจากไตรมาส 1 ถึง 135.29%

หากทั้ง 3 รายนี้ขายหนี้ให้รัฐบาล ค่ายที่น่าจะได้ประโยชน์สูงสุดคงเป็นค่ายแคปปิตอลโอเค แม้จะมีวงเงินไม่สูงนัก เนื่องจากภาระที่ต้องตั้งสำรองสูง หากสามารถเลือกลูกหนี้ที่ตามไม่ได้จริง ๆ แล้ว ย่อมถือเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายในการติดตามหนี้ได้ดี แต่ทั้งนี้คงต้องขึ้นอยู่กับความสมัครใจของผู้ประกอบการเองว่าจะเลือกร่วมมือกับโครงการนี้หรือไม่

อ่านเพิ่มเติม "แก้หนี้ประชาชน ฤาแค่วิมานในอากาศ   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us