Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์13 ตุลาคม 2548
ยุทธศาสตร์ Work Point             
 


   
www resources

โฮมเพจ เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์

   
search resources

เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์, บมจ.
Entertainment and Leisure




หลังเริ่มมีความชัดเจนเกี่ยวกับกสช. ทางบริษัทผู้ผลิตรายการเกมโชว์ยักษ์ใหญ่อย่างเวิร์คพอยท์ปรับกลยุทธ์ เข้าสู่ธุรกิจใหม่ เล็งเป็นเจ้าของสถานีโทรทัศน์ และขยายตัวอย่างต่อเนื่อง

"การที่คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ (กสช.) เกิดขึ้นเป็นผลดีต่อธุรกิจวิทยุและโทรทัศน์ เพราะจะสร้างความเท่าเทียมกันในการดำเนินธุรกิจ" ปัญญา นิรันดร์กุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) ให้ความเห็น

"ในส่วนของบริษัทเวิร์คพอยท์ฯมีศักยภาพที่แข็งแรงพอและมีความพร้อมในการทำงานตามนโยบายของกสช.หรือเพื่อให้สอดคล้องกับแผนแม่บทของกสช.ที่คาดว่าจะออกได้อีก 6 เดือนข้างหน้านี้ โดยแนวทางการทำงานแบ่งออกเป็น 3 แนวทางคือ

การทำงานร่วมกับพันธมิตร การทำรายการป้อนสถานี และ การตั้งสถานีเอง

เวิร์คพอยท์นั้นก่อตั้งขึ้นโดยสองศิษย์เก่าคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย "ปัญญา นิรันดร์กุล" และ "ประภาส ชลศรานนท์" เมื่อพ.ศ. 2532 เวิร์คพอยท์เติบโตอย่างต่อเนื่องบนพื้นฐานความเชี่ยวชาญเฉพาะ (Core competency) ในรายการประเภทเกมโชว์ (Game Show)

ปี 2547 เวิร์คพอยท์ตัดสินใจนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ นี่เป็นจุดเป็นสำคัญทางธุรกิจของบริษัทแห่งนี้

เวิร์คพอยท์เริ่มแตกไลน์ธุรกิจออกไปยังรายการโทรทัศน์ประเภทอื่น ๆ อย่างละคร และขยายธุรกิจไปในสื่ออื่นเช่นสิ่งพิมพ์ โดยการตั้งสำนักพิมพ์เวิร์คพอยท์ขึ้นมา ล่าสุดคือร่วมผลิตภาพยนตร์ และจะเป็นเจ้าของสถานีโทรทัศน์

นอกจากนั้น บริษัทฯได้ขยายธุรกิจสู่ภาพยนตร์เป็นครั้งแรก ด้วยการร่วมลงทุนกับค่ายสหมงคลฟิล์ม (ฝ่ายละ 50% จากงบลงทุน 43 ล้านบาท) ในการสร้างภาพยนตร์ "โหน่ง-เท่ง นักเลงภูเขาทอง" ซึ่งเป็นหนังแนวบู๊ตลกสไตล์แก๊งค์ 3 ช่าที่ออกอากาศในรายการชิงร้อยชิงล้าน หนังจะเริ่มฉายประมาณมีนาคมปี คาดจะมีรายได้ 27 ล้านบาท โดยกระจายมาจาก 3 ช่องทาง ได้แก่ ดีวีดี 15 ล้านบาท, ลิขสิทธิ์หนัง 10 ล้านบาท และขายลิขสิทธิ์ให้สถานีช่อง 7 จำนวน 2 ล้านบาท

ปัญญามองว่าความร่วมมือกับสหมงคลฟิล์มนั้นจะเป็นโมเดลธุรกิจที่ดีที่สุด เพราะนำจุดแข็งของแต่ละฝ่ายมารวมกัน ประหนึ่งการรวมกับเป็นค่ายหนัง GTH ของ "แกรมมี่ - ไท เอ็นเตอร์เทนเม็นต์ - หับโห้หิ้น

"การที่เข้ามาธุรกิจภาพยนตร์และร่วมมือกับทางสหมงคลฟิล์ม เนื่องจากมองว่ามีความเสี่ยงน้อยและโอกาสกำไรมีมาก จากการที่เวิร์คพอยท์ฯมีทีมงานและบุคลากรที่มีดีมีศักยภาพ โดยจะให้บริษัทหัวฟิล์ม ท้ายฟิล์ม จำกัดเป็นผู้ดำเนินการผลิต ซึ่งในด้านการทำพีอาร์เราก็จะทำผ่านช่วงเวลาของรายการทางโทรทัศน์ของเวิร์คพอยท์ที่มี 17 รายการ ส่วนทางสหมงคลฟิล์มเองก็มีศักยภาพทางธุรกิจภาพยนตร์ที่แข็งและมีอิทธิพลต่อโรงหนัง หรือสายหนัง"

นอกจากนั้น เวิรค์พอยท์ยังได้ร่วมลงทุนกับนายเพ็ชรทาย วงษ์คำเหลาหรือหม่ำ จ๊กม๊กตั้งบริษัทบั้งไฟ สตูดิโอ จำกัด ภายใต้ทุนจดทะเบียน 10 ล้านบาท โดยสัดส่วนการถือหุ้นแบ่งเป็นเวิร์คพอยท์ 60% และหม่ำ 40% เพื่อผลิตรายการโทรทัศน์และสื่อบันเทิงทุกรูปแบบ ซึ่งรายการแรกที่ทำ ได้แก่ รายการวาไรตี้หม่ำโชว์ที่เริ่มออกอากาศตั้งแต่ 1 ต.ค. 48 ทางช่อง 5 เวลา 20.15-21.15 น. หวังจะผูกใจดาวเด่นอย่างหม่ำให้อยู่กับเวิร์คพอยท์ไปนาน ๆ และยังมีแผนรุกธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์มากขึ้น โดยเตรียมออกนิตยสารแนวครีเอท เพื่อเจาะกลุ่มวัยรุ่น คาดว่าจะเปิดตัวได้ในช่วงเดือนธ.ค. นี้

เวิร์คพอยท์กำลังให้คำนิยามธุรกิจของตัวเองว่าคืออะไร? มีศักยภาพเพียงพอไหม และจะทำได้สำเร็จหรือไม่ ในเงื่อนไขใด

บทวิเคราะห์

สถานการณ์ธุรกิจบันเทิงในช่วงเศรษฐกิจชลอตัวช่างน่าเป็นกังวลมากนักโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อราคาน้ำมันยังไม่มีทีท่าว่าจะลดลง แถมยังขึ้นราคาอย่างต่อเนื่อง บริษัทในธุรกิจบันเทิงทำมาหากินกับการผลิตรายการบันเทิงเช่น Work Point ถือว่าอยู่ในสภาวะเสี่ยงเป็นอย่างยิ่ง เพราะรายได้มาจากแหล่งเดียวคือโฆษณา ทำให้รายได้เกิดความผันผวน ทำให้ยากต่อการพยากรณ์รายได้ในอนาคต

แต่ทว่าบริษัทที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์นั้นล้วนประสบชะตากรรมอย่างหนึ่ง นั่นคือจำเป็นต้องมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง เมื่อไม่มีเรื่องราราวอะไร อยู่ว่างๆก็ต้องนั่งคิดว่าทำอย่างไรบริษัทจึงจะมีรายได้เพิ่มมากขึ้น ทั้งรายได้จากแหล่งเก่าและรายได้จากที่ใหม่อีกต่างหาก แหล่งรายได้เก่าของ Work Point อยู่ที่การผลิตเกมโชว์ป้อนทีวีช่องต่างๆ ซึ่งปัจจุบันก็ป้อนให้เกือบทุกช่องเท่าที่จะเป็นไปได้อยู่แล้ว

การผลิตรายการมากเกือบ 20 รายการนั้น ในยามเศรษฐกิจรุ่งเรืองนั้นถือว่าเป็นโอกาสในการเติบโตอย่างมากทีเดียว ทว่าในยามเศรษฐกิจไม่ฟู่ฟ่าเฉกเช่นเดิม การมีรายการมากมายใช่ว่าจะเป็นผลดี เพราะเป็นการยากที่จะดำรงความนิยมของทุกรายการเอาไว้ได้ เพราะความนิยมนั้นล้วนเป็นอนิจจัง วันหนึ่งมาได้และตกได้ ไม่แน่นอน

ความเสี่ยงอีกประการก็คือในแง่ของพิธีกรนั้นพึ่งพาปัญญามากจนเกินไป รายการที่เป็นแม่เหล็กล้วนแล้วแต่มีปัญญาเป็นพิธีกร แม้จะมีรายการอื่นอีกหลายรายการ ก็ไม่โดดเด่นเท่ากับรายการที่ปัญญาเป็นพิธีกร

ขณะที่เวลานี้ Work Point ไม่ใช่เมื่อหลายสิบปีก่อนซึ่งเป็นช่วงก่อตั้ง ในเวลานั้น บริษัทยังเล็กๆ การบริหารงานแบบเถ้าแก่เป็นสิ่งจำเป็น ปัญญา-ประภาส เป็นสองคู่หูที่ลงตัว คนหนึ่งคิด อีกคนเป็นคนลงมือปฏิบัติ อย่างไรก็ตามเมื่อบริษัทเจริญเติบโตมาถึงขั้นนำเข้าไปจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แล้ว ก็หมายความว่าโครงสร้างองค์กรจำเป็นต้องเปลี่ยนให้เป็นมืออาชีพมากยิ่งขึ้น

ซึ่งก็หมายความว่ารายการหลักๆ จากนี้ต่อไปนั้นปัญญาจำเป็นต้องสร้างพิธีกรคนอื่นไว้เป็นตัวตายตัวแทนได้แล้ว ซึ่งจริงๆปัญญาก็อาจคิดอยู่ แต่หาคนที่จะมาแทนที่เขายาก และลึกๆแล้วเขาก็ไม่ต้องการให้ใครมาแทนที่ด้วย พิธีกรต่างประเทศสามารถทำหน้าที่จนไปไม่ไหวหรือตายคารายการก็มีให้เห็น จากนี้ไปวงการพิธีกรไทยอาจจะเป็นเหมือนกับต่างประเทศก็ได้ นั่นคืออยากจะเป็นพิธีกรไปจนเมื่อไหร่ก็ได้ตามที่ต้องการ

ทว่าปัญญาต้องรู้ว่าขณะนี้ตนเองไม่ใช่ปัญญาในวัยกระเตาะอีกต่อไปแล้ว แต่คือปัญญาที่เป็นซีอีโอของ Work Point ที่ต้องรับผิดชอบนับร้อยชีวิต ดังนั้นกระบวนทัศน์ทางความคิดต้องเปลี่ยนไป

เขาต้องมีความเป็นซีอีโอมากกว่าจะเป็นพิธีกรที่สร้างความนิยมให้ตนเองและรายการเฉกเช่นแต่ก่อน การอยู่ในตลาดหลักทรัพย์เป็นทั้งโอกาสและความเสี่ยง โอกาสคือการสามารถระดมทุนต่ำและมั่นคงพอที่จะกู้เงินจากธนาคารพาณิชย์ในต้นทุนต่ำกว่าบริษัทนอกตลาดได้
อุปสรรคก็คือต้องติดกับดักของการเป็นบริษัทที่ต้องเจริญเติบโตตลอดเวลา การเติบโตตลอดเวลา ทำให้บริษัทต้องเค้นหาโอกาสทางธุรกิจโดยตลอด

โอกาสที่ว่านั้นนอกจากเพื่อกระจายรายได้แล้ว ก็ยังเป็นการลดความเสี่ยงจากการกระจุกตัวของรายได้ที่มาจากโฆษณา

การสร้างภาพยนตร์ก็เป็นอีกช่องทางหนึ่ง แต่การสร้างภาพยนตร์ก็เป็นความเสี่ยงมากอีกอย่างหนึ่งไม่เชื่อก็ไปถามแกรมมี่และอาร์เอสดูก็แล้วกัน การสร้างภาพยนตร์ของ Work Point จึงพยายามลดความเสี่ยงโดยเลือกพันธมิตรที่แข็งแกร่งและใช้ประโยชน์จาก "ดารา" ที่ตนมีอยู่

ปัญญากำลังหาทางใช้ประโยชน์และรักษา Talent ให้อยู่กับตนเองนานที่สุด การเปิดบริษัทใหม่ให้หม่ำร่วมทุนด้วยถือเป็นยุทธวิธีหนึ่ง
ขณะที่ใช้ประโยชน์จากความนิยมของโหน่งและเท่งอย่างเนียน

ส่วนเรื่องการอยากเป็นเจ้าของทีวีสักช่อง ใครๆที่ทำ Content ก็อยากเป็นเจ้าของทีวีทั้งนั้นแหละ แต่น่าจะยังไม่ถึงรอบของ Work Point กระมัง   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us