Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์13 ตุลาคม 2548
ถึงเวลา “โลว์คอสแอร์ไลน์”ไล่บี้...ใครดีใครอยู่!             
 


   
www resources

โฮมเพจ สายการบินนกแอร์
โฮมเพจ แอร์เอเชีย
โฮมเพจ สายการบินโอเรียนท์ไทย

   
search resources

โอเรียนท์ไทย แอร์ไลน์
ไทยแอร์เอเชีย, บจก.
สกาย เอเชีย, บจก. - สายการบินนกแอร์
Low Cost Airline




-เศรษฐกิจผกผัน ราคาน้ำมันเพิ่ม คนเดินทางน้อยลง ส่งผลกระทบต่อธุรกิจการบินแน่
-จับตาธุรกิจสายการบินต้นทุนต่ำ ผู้ประกอบการหืดขึ้นคอ
-หันจับทางกลยุทธ์ตลาดเป็นที่พึ่งหนีตาย การปรับตัวของแต่ละค่ายต่างงัดทีเด็ดเข้าฟาดฟันกัน
-ประดุจหนึ่งต้องการให้หลุดจากวงจรธุรกิจการบิน

สถานการณ์ของธุรกิจสายการบินโลว์คอสในแถบเอเชีย กำลังตกอยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการขาดทุน หรือ เรียกว่าอยู่ในภาวะฟองสบู่แตก เนื่องจากมีคู่แข่งเพิ่มขึ้น ทั้งยังต้องต่อสู้ในเรื่องราคากันอย่างเข้มข้นชนิดใครดีใครอยู่ เพื่อแย่งชิงจำนวนผู้โดยสาร ขณะเดียวกัน สายการบินเหล่านี้ยังมีข้อจำกัดในเรื่องระยะเวลาการบินสูงสุดเพียง 3 ชั่วโมงกว่าๆ ทำให้มีผลกระทบต่อต้นทุนการดำเนินงาน หากมีจำนวนผู้โดยสารไม่เพียงพอต่อความต้องการ

ผนวกกับราคาน้ำมันที่ผันผวนอยู่ตลอดเวลาและมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง อาจเป็นต้นเหตุที่จะส่งผลกระทบต่อผู้ให้บริการทั้งสิ้น บริษัทที่จะอยู่รอดได้จึงจำเป็นต้องมีเงินทุนที่แข็งแกร่ง และเป็นสายการบินที่มีภาครัฐเข้ามาช่วยสนับสนุน

สอดคล้องกับปรากฏการณ์ปัจจุบันของสายการบินต้นทุนต่ำในประเทศไทยเป็นอย่างมาก นอกจากเหตุผลข้างต้นแล้วภาวะเศรษฐกิจยังหดตัวและค่าครองชีพมีการปรับตัวที่สูงขึ้น รวมทั้งอยู่นอกฤดูกาลท่องเที่ยว(ไฮซีซัน)อีกเช่นกัน ส่งผลให้ผู้บริโภคเกิดความลังเลในการตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวด้วยเครื่องบิน และสิ่งที่ตามมาก็คือจำนวนผู้โดยสารภายในประเทศหดหายไปอย่างน่าตกใจ

แอร์เอเชียดัมพ์ราคาสู้

การงัดจุดขายของแต่ละสายการบินออกมาเพื่อสร้างความโดดเด่นให้เกิดความสนใจต่อผู้บริโภคจึงเป็นยุทธวิธีเดียวในช่วงวิกฤตแบบนี้ แน่นอนไม่มีธุรกิจไหนลงทุนไปแล้วต้องการให้ตัวเองขาดทุน แม้ว่าภาพการแข่งขันในธุรกิจสายการบินต้นทุนต่ำดูจะดุเดือดมากขึ้น แต่ต้นสายปลายเหตุของแต่ละสายการบินโลว์คอสก็ต้องมีที่มาที่ไป การดัมพ์ราคาถูกของไทยแอร์เอเชียในทุกเส้นทาง เป็นเพียงกลยุทธ์หนึ่งที่ ทัศพล แบเลเว็ลด์ ซีอีโอไทยแอร์เอเชียเชื่อว่าจะสามารถเพิ่มยอดขายตั๋วและจำนวนตัวเลขของนักท่องเที่ยวได้ และเป็นกลยุทธ์เดียวที่ดำเนินงานมาตั้งแต่เปิดให้บริการครั้งแรก

กลยุทธ์ดัมพ์ราคาของสายการบินไทยแอร์เอเชียแม้ว่าจะเป็นยุทธวิธีที่ดูค่อนข้างจะเสี่ยงต่อการขาดทุนเพราะการบินแต่ละครั้งใช้ต้นทุนที่ค่อนข้างสูง แต่ถ้ามองในแง่ของ ฐานแหล่งเงินทุนที่หนาพอในตลาดหลักทรัพย์มาเลเซียจึงไม่ใช่เรื่องแปลกเลยที่ไทยแอร์เอเชียจะใช้กลเกมการเงินเข้ามาเล่นในสมรภูมิการแข่งขันสำหรับประเทศไทย หลังจากจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย ด้วยการร่วมเป็นพันธมิตรกับต่างธุรกิจ เพื่อผลักดันยอดจำนวนผู้โดยสารให้กระเตื้องขึ้นนั้น ล่าสุดจัดแคมเปญ ราคาพิเศษ 999 บาท ทุกที่นั่ง ทุกเที่ยวบิน และทุกเส้นทางในประเทศ ซึ่งผู้โดยสารจำเป็นต้องจองตั๋วล่วงหน้าก่อนเดินทาง 5 วัน และราคานี้จะไม่รวมค่าธรรมเนียมน้ำมัน 200 บาท ค่าภาษีสนามบิน 50 บาท และค่าประกันภัย 50 บาท

การตลาดแนวใหม่นกแอร์

ขณะที่นกแอร์ เป็นเพียงกลยุทธ์การตลาดของการบินไทยเท่านั้นด้วยเหตุผลที่ว่าการบินไทยเองไม่สามารถกระโดดเข้ามาเล่นเกมในธุรกิจนี้ได้จึงจำเป็นต้องส่งนกแอร์เข้ามาแข่งขันฟาดฟันแย่งชิงส่วนแบ่งตลาดในธุรกิจสายการบินต้นทุนต่ำ หมากเกมนี้ภาครัฐเปิดไฟเขียวให้กับ พาที สารสิน ซีอีโอของนกแอร์ให้ทำการตลาดดำเนินงานเป็นไปอย่างราบเรียบไม่สะดุด เนื่องจากเกิน 50 %ที่นกแอร์ต้องพึ่งการบินไทยมาโดยตลอดสังเกตได้จากเส้นทางบินเปิดใหม่ที่การบินไทยหยุดบินและนกแอร์จะเข้าไปเสียบเส้นทางดังกล่าว อาทิเช่น นครศรีธรรมราช-กรุงเทพฯ ,ตรัง-กรุงเทพฯ หรือแม้แต่เส้นทางที่มีปัญหาอย่างแม่ฮ่องสอน-เชียงใหม่ที่มีกระแสข่าวออกมาว่าจะให้นกแอร์บินแทนการบินไทย

และการมาจับมือร่วมกับกลุ่มพันธมิตรหลายฝ่ายทั้งธนาคาร,โทรศัพท์มือถือและร้านสะดวกซื้ออย่าง เซเว่นอีเลฟเว่น ในการเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายที่สะดวกมากขึ้นเท่านั้น

การเปิดให้บริการดังกล่าว จึงส่งผลทำให้นกแอร์สามารถลดต้นทุนในส่วนของน้ำมันได้ประมาณ 10-30% โดยใช้พื้นที่ทั้งภายในและภายนอก อาทิ ส่วนบนของประตูทางเข้า แผ่นรองพนักพิงศรีษะ ที่วางอาหาร บอร์ดดิ้งพาส เอกสารในซองข่างหน้าที่นั่งผู้โดยสาร ตลอดจนการประกาศของพนักงานในเครื่องบิน และการจัดกิจกรรมบนเครื่องบิน

ก่อนหน้านั้นนกแอร์ร่วมมือกับบริษัท ยูนิไทย ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของธนาคารซิตี้แบงค์ ในการจัดทำแพ็คเก๊ตทัวร์ "เที่ยวก่อน ผ่อนทีหลัง" ผ่านทางบัตรเครดิตของธนาคารซิตี้แบงค์ ภายใต้ชื่อแคมเปญ "วาว" (WOW) ด้วยเช่นกัน

ปัจจุบันเทคโนโลยีมีบทบาทมากสำหรับธุรกิจของสายการบินขณะที่นกแอร์ก็ไม่พลาดที่จะหยิบนำประโยชน์ความนำสมัยของเทคโนโลยีนั้นมาใช้ทำให้ขั้นตอนการจองตั๋วเป็นเรื่องที่ไม่ยุ่งยากต่อไป และนั่นคือจุดขายใหม่ที่ถูกนำเสนอ หลังจากเคยมีการทำโปรโมชั่นติดต่อกันมา หลายครั้งไม่ว่าการจับซีอีโอมาแต่งตัวเป็นหุ่นนกแอร์ เพื่อโปรโมตสร้างชื่อแบรนด์ให้เป็นรู้จัก และมอบรางวัลชิงโชคทั้งรถยนต์และโทรศัพท์มือถือให้กับผู้เดินทาง และสร้างมูลค่าเพิ่มใช้พื้นที่เกือบทุกตารางนิ้วบนเครื่องบินเป็นสื่อโฆษณา ทุกอย่างที่เกิดขึ้นภายใต้การบริหารจัดการของนกแอร์เพียงเพื่อหวังโกยรายได้เพิ่มทดแทนต้นทุนในการเดินทางแต่ละครั้ง แม้ว่าปัจจุบันยังพอมีผลกำไรบ้างก็ตาม

วันทูโกหนีตายสู้ยิบตา

ส่วนสายการบินวันทูโกที่ดูเหมือนว่าจะมีผลกระทบมากที่สุดสำหรับการแข่งขันเรื่องของราคาถูก ทั้งที่เป็นสายการบินที่เปิดให้บริการมาก่อนสองสายการบินด้วยซ้ำ แต่ด้วยการวางจุดยืนของตัวเองว่าเป็นโลว์แฟร์ไม่ใช่โลว์คอสมาตั้งแต่ต้น ทำให้ตอนนี้วันทูโกกำลังตกอยู่ในกลเกมราคาที่สร้างปัญหาใหญ่ให้กับธุรกิจไม่น้อยพอๆกับวิกฤตปัญหาราคาน้ำมันที่ซีอีโอวันทูโกยอมรับว่าเพิ่มขึ้นถึง 100% ทีเดียว และเป็นต้นเหตุของการขาดทุนมาโดยตลอดสำหรับธุรกิจสายการบินภายในประเทศ

“ราคาของวันทูโกจะคงที่และเป็นจุดขายหลักของธุรกิจที่สร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าว่าจะไม่โดนชาร์ทหรือจ่ายเงินเพิ่มในส่วนอื่นๆอีก และนี่คือตัวปัญหาสำคัญที่สร้างความสับสนให้กับลูกค้าไม่น้อย”อุดม ตันติประสงค์ชัย ซีอีโอของสายการบินวันทูโก กล่าวถึงปัญหาใหญ่ในการแข่งขันของธุรกิจที่นับวันจะรุนแรงขึ้น

การขึ้นราคาตั๋วจึงเป็นทางเลือกเดียวที่ อุดม จะหยิบนำมาใช้เป็นกลยุทธ์สุดท้าย แต่ข้อจำกัดติดอยู่ตรงที่ว่าอาจจะขึ้นราคาไม่ได้อย่างที่ต้องการเพราะคู่แข่งขันในตลาดมีราคาที่ถูกกว่าค้ำคออยู่นั่นเอง

ปัจจุบันหนทางที่วันทูโกพยายามเลี่ยงลดอัตราเสี่ยงต่อการขาดทุนให้น้อยที่สุดคือการลดเส้นทางบินที่ไม่ก่อให้เกิดผลกำไร และเพิ่มเส้นทางที่สร้างเม็ดเงินให้กับบริษัท

“เส้นทางไหนสู้ไม่ได้ก็ต้องถอยออกมา ขณะเดียวกันเส้นทางที่มีจำนวนผู้โดยสารมากก็จะเพิ่มเที่ยวบินเข้าไปอย่างที่เชียงใหม่ปัจจุบันมีถึง 6 เที่ยวต่อวัน”อุดม กล่าว

แม้ว่าจะขาดทุนในเส้นทางธุรกิจสายการบินภายในประเทศ แต่ อุดม ยังมีรายได้หลักจากการเช่าเหมาลำระหว่างประเทศมากพอที่จะทำให้การดำเนินธุรกิจการบินของเขาเป็นไปอย่างต่อเนื่อง

“รายได้หลักแบ่งตามอัตราส่วนร้อยละ 70 เป็นรายได้จากธุรกิจเช่าเหมาลำระหว่างประเทศ ส่วนรายได้ภายในประเทศนั้นมีเพียบร้อยละ 30 เท่านั้น”เป็นเหตุผลที่อุดมยังคงดำเนินธุรกิจการบินได้อย่างต่อเนื่องแม้ว่าจะบอกอยู่เสมอว่าขาดทุนมาโดยตลอดก็ตาม

และเป็นธุรกิจการบินของคนไทยภาคเอกชนที่นำเข้านักท่องเที่ยวได้มากที่สุด หลังจากเกิดเหตุสึนามิวันทูโกก็ไม่ได้หยุดบิน โดยเฉพาะภูเก็ตมีการขนส่งผู้โดยสารประมาณปีละกว่าแสนคน หากเป็นกรุงเทพดอนเมืองคิดแล้วเฉลี่ยประมาณปีละ 4 แสนกว่าคน

"ต้องยอมรับว่าสถานการณ์ในตอนนี้ไม่ดี คนไม่กล้าเดินทาง เพราะรับรู้ถึงสภาพเศรษฐกิจที่ไม่ค่อยดีนัก ทำให้ตกใจและเกิดความกลัว ไม่กล้าที่จะใช้จ่ายแบบสุรุ่ยสุร่าย ยิ่งกับการท่องเที่ยวด้วยแล้ว ก็จะเลือกเดินทางเท่าที่จำเป็นเท่านั้น ซึ่งเหตุการณ์ในลักษณะนี้แทบจะไม่เคยเกิดขึ้น โดยเฉพาะในช่วง 10 ปีมานี้"

อย่างไรก็ตาม ซีอีโอ โอเรียนท์ ไทย กล่าวว่า บริษัทจะมีระบบเตือนภัยภายใน เพื่อรับมือกับสถานการณ์ โดยเฉพาะการลดต้นทุนการดำเนินงาน ซึ่งขณะนี้ได้ทยอยเพิ่มความถี่ของเที่ยวบินภายในประเทศเพิ่มขึ้น โดยเริ่มนำร่องกับเที่ยวบิน กรุงเทพ-เชียงใหม่ ปกติจะให้บริการ 4 เที่ยวบิน/วัน ก็เพิ่มขึ้นอีก 2 เที่ยวบิน/วันเป็น 6 เที่ยวบินต่อวัน ขณะเดียวกันก็ยังให้ความสำคัญกับการจัดโปรโมชั่นส่งเสริมการขายกระตุ้นจำนวนผู้โดยสารเป็นระยะ

หลังจากที่จัดแคมเปญส่งเสริมการท่องเที่ยวอันดามัน ในชื่อ "สนุกทั้งเกาะ ลดทั้งเมือง" กับเส้นทางบิน กรุงเทพ-ภูเก็ต ในราคา 899 บาท จากราคาปกติ 1,550 บาท และแคมเปญ "ใต้เราร่มเย็น" กับเส้นทางบิน กรุงเทพ-หาดใหญ่ ราคา 1,399 บาท จากราคาปกติ 1,850 บาท โดยราคาค่าโดยสารนี้จะไม่รวมค่าธรรมเนียมน้ำมัน 200 บาท และภาษีสนามบิน 50 บาทมาแล้ว

"เราจะมีระบบเตือนภัยภายในเพื่อแจ้งเตือนถึงสถานการณ์ที่ไม่ปกติ เพื่อรองรับกับสถานการณ์ความผันผวนในธุรกิจสายการบิน ที่อาจเรียกได้ว่าเข้าสู่ยุคฟองสบู่แตก ซึ่งไม่เพียงแต่เราเท่านั้นที่ได้รับผลกระทบ เชื่อว่าผู้โดยสารของสายการบินคู่แข่งก็หดหายไปประมาณ 50% ไม่ต่างจากเรา แม้หลายบริษัทจะออกมารุกตลาดอยู่อย่างต่อเนื่อง แต่ก็คงจะกระตุ้นอะไรได้ไม่มากนัก เพราะคนในประเทศไม่ตื่นตัว ทางที่ดีควรจะดูดเงินจากนักท่องเที่ยวต่างชาติจะดีกว่า" อุดม กล่าว

"โลว์คอสต์แอร์"บนน่านฟ้าเอเชีย

เพียงไม่กี่ปี ผู้สังเกตการณ์ด้านอุตสาหกรรมส่วนใหญ่สงสัยว่าเอเชียจะสุกงอมพอสำหรับสายการบินต้นทุนต่ำแบบเดียวกับเซาธ์เวสต์ในอเมริกา และไรอันแอร์และอีซีเจ็ตในยุโรปแล้วหรือยัง

ปีเตอร์ อาร์บิสัน จากศูนย์การบินเอเชียแปซิฟิกบริษัทที่ปรึกษาในซิดนีย์กล่าวว่า องค์ประกอบสำคัญสำหรับเรื่องนี้คือ การเปิดเสรีทางการบิน ไม่มีเวลาไหนที่เหมาะสมกว่านี้แล้ว.. รายได้กำลังเพิ่มขึ้นทำให้มีชาวเอเชียยกฐานะเป็นชนชั้นกลางมากขึ้น และโบอิ้งคาดว่าตลาดการบินของภูมิภาคเอเชียจะโตถึง 6% ต่อปี

"เมื่อรายได้ที่สามารถใช้จ่ายได้อย่างอิสระเพิ่มขึ้น สิ่งแรกที่คนจะจัดการกับเงินคือเริ่มเดินทาง" อย่างที่จอห์น โคลโดว์สกี นักวิจัยของสมาคมท่องเที่ยวเอเชียแปซิฟิก(พาต้า)เคยกล่าวไว้ว่า"ศักยภาพที่นี่ดีมาก"

ในที่สุดรัฐบาลที่เคยคิดแต่จะปกป้องสายการบินแห่งชาติจากคู่แข่งในทุกๆทางก็เริ่มตระหนักถึงประโยชน์ของการเปิดเสรีทางการบิน
ศักยภาพของการเดินทางภายในเอเชียกลับไม่ได้รับการชื่นชมอย่างเต็มที่! จนกระทั่งวันที่ 11 กันยายน 2544 เมื่อการจราจรของเส้นทางบินระหว่างยุโรป-อเมริกาเหนือเหือดแห้งลงจนบีบให้สายการบิน โรงแรม และธุรกิจที่เกี่ยวข้องอื่นๆต้องมองหาธุรกิจใหม่ๆในหลังบ้านของตนเอง ในขณะเดียวกัน รัฐบาลปักกิ่งเริ่มที่จะอนุญาตให้ประชาชนเดินทางไปต่างประเทศได้ง่ายขึ้น

มีผู้โดยสารที่เดินทางด้วยเครื่องบินมากเท่าไหร่ก็หมายความว่าแขกที่เข้าพักในโรงแรมจะมีมากขึ้นเท่านั้น ผลกระทบดังว่าเห็นได้แล้วในออสเตรเลีย ซึ่งเวอร์จิ้น บลู ของริชาร์ด แบรนสัน ได้แย่งส่วนแบ่งตลาดจากแควนตัสมาได้เกือบหนึ่งในสาม สำหรับโรงแรมในเครือแอคคอร์ เอเชีย แปซิฟิกแล้ว นั่นหมายถึงคุณูปการต่อแบรนด์ของเชนในออสเตรเลีย

"ในหลายๆกรณี มันคือธุรกิจใหม่ที่จะไม่เกิดขึ้นอย่างสิ้นเชิงหากตั๋วเครื่องบินไม่ถูก"ปีเตอร์ ฮุค ผู้จัดการฝ่ายสื่อสารของแอคคอร์ เอเชีย แปซิฟิก กล่าว

ฮุค กล่าวว่า แอคคอร์กำลังขยายแบรนด์ เช่น ไอบิสทั่วเอเชียเพื่อหาประโยชน์จากนักท่องเที่ยวใหม่ๆที่มีงบประมาณน้อยแต่มีจำนวนมากขึ้น โดยส่วนหนึ่งที่กำลังโตอย่างน่าประหลาดใจคือการเดินทางเพื่อธุรกิจ "ธุรกิจเล็กๆที่เคยใช้โทรศัพท์และจดหมายติดต่อลูกค้าสามารถไปพบลูกค้าด้วยตัวเองได้ในขณะนี้"

และสำหรับบางคน สายการบินต้นทุนต่ำให้อิสระที่เพิ่งค้นพบใหม่ ซึ่งรวมความเบิกบานและธุรกิจเข้าด้วยกัน นักธุรกิจบางคนบอกว่าเมื่อตั๋วราคาถูกลงมักจะถือโอกาสพาครอบครัวเดินทางไปด้วยเมื่อไปติดต่อธุรกิจ

จากการสำรวจของเอ็กซ์เซสส์ เอเชีย บริษัทที่ปรึกษาด้านการบินในกรุงเทพกล่าวว่า65% ของนักเดินทางในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ตื่นตัวเรื่องงบประมาณ ค่าตั๋วที่ถูกทำให้เกิดความแตกต่างระหว่างการอยู่กับบ้านและการเดินทาง อีก 20% บอกว่าจะเดินทางด้วยการขนส่งทางบก

การศึกษาชิ้นหนึ่งพบว่าหากหนึ่งในสิบของผู้โดยสารที่เดินทางด้วยรถไฟ เรือเฟอร์รี่และรถบัสระหว่างสิงคโปร์และมาเลเซียหันมาเดินทางด้วยเครื่องบิน สายการบินต่างๆจะมีผู้โดยสารเพิ่มขึ้นปีละ 675,000 คน

แต่นั่นอาจเป็นการคำนวณที่เปราะบาง! เพราะเมื่อการบินไทยลดราคาตั๋วลง ก็มีผู้โดยสารยกเลิกบริการของสายการบินของเขามากขึ้น!

นี่คืออุปสรรคครั้งล่าสุดบนเส้นทางอันวุ่นวายและยาวนานที่จะประสบความสำเร็จในการทำสายการบินราคาถูกซึ่งเริ่มต้นเมื่อปี 2534

การบินไทยจึงไม่ใช่สายการบินใหญ่แห่งแรกที่ลงมาทำสายการบินต้นทุนต่ำอย่างนกแอร์ แควนตัสแอร์เวย์ สิงคโปร์ แอร์ไลน์ การูดา และเวียดนามแอร์ไลน์ล้วนแต่ทำสายการบินต้นทุนต่ำทั้งสิ้นหรือไม่ก็ประกาศเจตจำนงที่จะดำเนินการภายในปลายปี

นักลงทุนรายใหญ่บางคนก็สนใจเอเชีย หลังจากที่ได้รับความสำเร็จจากเวอร์จิ้น บลูริชาร์ด แบรนด์สันได้แสดงความสนใจที่จะลงทุนทำสายการบินราคาถูกในเอเชีย

เดวิด บอนเดอร์แมน นักวางแผนการเงินด้านสายการบินและตระกูลที่ก่อตั้งไรอันแอร์ในไอร์แลนด์ ก็ได้ถือหุ้นในไทเกอร์ แอร์เวย์ ซึ่งเป็นสายการบินต้นทุนต่ำที่ร่วมทุนกับสิงคโปร์แอร์ไลน์ และจนถึงขณะนี้คาเธ่ย์ แปซิฟิก แอร์เวย์ เป็นหนึ่งในสายการบินใหญ่เพียงไม่กี่แห่งที่ประกาศชัดว่าไม่น่าจะลงไปทำสายการบินต้นทุนต่ำ

ในขณะเดียวกัน อินเดีย ซึ่งการเดินทางนอกประเทศกำลังโตประมาณ 12-13% ต่อปีก็มีสายการบินต้นทุนต่ำแห่งแรกแล้ว นั่นคือ เด็คคัน แอร์

ราวี เทวกุนาม ที่ปรึกษาด้านการขนส่งทางอากาศของบริษัทดีเลียตต์ คอนซัลติ้งกล่าวว่า ในช่วงสองสามปีข้างหน้านี้น่าจะมีสายการบินโลว์คอสต์ภายในประเทศและในภูมิภาคเพิ่มขึ้น

จีนซึ่งเพิ่งกล่าวเมื่อเร็วๆนี้ว่าเปิดรับต่อแนวคิดสายการบินต้นทุนต่ำและตลาดมีศักยภาพมาก กำลังชั่งใจอยู่ แต่ในธุรกิจการบินพาณิชย์ที่ผู้แข็งแรงเท่านั้นจึงจะอยู่รอด จึงน่าจะมีสายการบินบางแห่งที่อยู่รอดไม่ได้

กุญแจสำคัญอยู่ที่ ตัวอย่างธุรกิจที่ถูกต้อง แต่เอเชียก็มีข้อแตกต่างมากพอที่ผู้สังเกตการณ์ในภาคอุตสาหกรรมกล่าวว่า ระเบียบอันเข้มงวดบางอย่างก็ไม่อาจใช้ได้ แต่การทำให้ลูกค้าพอใจอาจจะไม่ใช่เรื่องที่ง่ายเกินไป แม้ว่าจะมีการคาดหวังต่ำในตัวสายการบินโลว์คอสต์ การเข้าคิวเพื่อรอเช็คอิน เที่ยวบินต่างๆได้สร้างความผิดหวังให้กับผู้โดยสารบางคน

การโฆษณาค่าตั๋วราคาต่ำแต่เมื่อต้องบินจริงจะต้องจ่ายเงินเพิ่มคงทำได้แค่วันนี้เท่านั้นและลูกค้าคงจะไม่ใช้บริการอีกเป็นแน่ หากสายการบินใหญ่ๆหวังพึ่งความไม่พอใจของลูกค้ากรณีแบบนี้เพื่อดึงลูกค้าที่เสียไปกลับมาใช้บริการอีกก็อาจจะต้องคิดใหม่ เพราะการที่สายการบินราคาถูกปักธงรบในแถบเอเชียเป็นจำนวนเพิ่มขึ้นบวกกับมีตั๋วราคาถูกเป็นจุดขายอาจจะส่งทั้งผลดีและผลเสียตามมาก็เป็นไปได้ทั้งสองกรณี...   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us