Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน5 พฤศจิกายน 2545
ดึงแผนเพิมทุนTPIPL แฉเบื้องลึกเจ้าหนี้จ้องปลดผู้บริหารแผน             
 

   
related stories

ปมปัญหาเพิ่มทุนทีพีไอโพลีน

   
search resources

ทีพีไอ โพลีน, บมจ.
อรพิน เลี่ยวไพรัตน์




ทีพีไอโพลีน นั่งไม่ติด ออกโรงโต้คณะกรรมการเจ้าหนี้ หาเรื่องปลดพ้นผู้บริหารแผนฯ ยืนยันที่ผ่านมาไม่เคยทำการผิดนัดตามที่ถูกกล่าวอ้าง ยืนยันจ่ายเงินต้นและดอกเบี้ยตรงตามเวลาตลอด ส่วนความล่าช้าในการขายหุ้นเพิ่มทุนให้กลุ่มปูนกลางเกิดจากคณะกรรมการเจ้าหนี้เอง พร้อมทั้งทำสัญญาเอ็มอาร์เอฉบับใหม่ เปลี่ยนแปลงเงื่อนไขเดิม ทั้งการปลดค้ำประกันหนี้ของตระกูลเลี่ยวไพรัตน์ และระบุการถือครองหุ้นขั้นต่ำของปูนกลาง "ประชัย" แฉ เบื้องหลังเจ้าหนี้ทำทุกวิถีทางเพื่อปลดผู้บริหารแผนฯเดิมออก รอคำสั่งศาลชี้ชะตา 20 พ.ย.นี้

ตามที่คณะกรรมการเจ้าหนี้บริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน) หรือ TPIPL ได้ทำหนังสือถึงเจ้าหนี้ทีพีไอโพลีนเพื่อขอให้ทีพีไอโพลีน ออกจากการเป็นผู้บริหารแผนของบริษัทฯ เอง โดยระบุว่าผู้บริหารแผนฯ ผิดสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ รวมทั้งเสนอให้เจ้าหนี้ทางการเงินแต่งตั้งบริษัทที่ปรึกษา อินทนนท์ หรือ อาเธอร์ แอนเดอร์สันเดิม ทำหน้าที่เป็นผู้บริหารแผนทีพีไอโพลีนเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2545

นางอรพิน เลี่ยวไพรัตน์ กรรมการรองผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน) หรือ TPIPL ในฐานะผู้บริหารแผน TPIPL กล่าวว่า บริษัทฯ ได้ทำหนังสือคัดค้านการเสนอปลดทีพีไอโพลีนออกจากการเป็นผู้บริหารแผนต่อเจ้าหนี้ต่างๆ เมื่อวันที่ 31 ตุลาคมที่ผ่านมา เพื่อชี้แจงเหตุผลที่เกิดขึ้นจริงให้กับเจ้าหนี้ได้รับทราบ หลังจากคณะกรรมการเจ้าหนี้ส่งหนังสือให้เจ้าหนี้เพื่อขอปลดบริษัทฯ จากการเป็นผู้บริหารแผนฯ

พร้อมทั้งยืนยันว่า บริษัทฯ ไม่เคยทำการผิด นัดชำระหนี้ โดยตลอด 2 ปีที่มีการปรับโครงสร้างหนี้ บริษัทชำระเงินต้นและดอกเบี้ยจ่ายตรงตามเวลา โดย ล่าสุดสิ้นมิถุนายน 2545 บริษัทชำระคืนเงินต้นประมาณ 25 ล้านเหรียญสหรัฐแล้ว และเตรียมเงินอีก 25 ล้านเหรียญสหรัฐเพื่อชำระหนี้เงินต้นในปลายปีนี้ด้วย

ส่วนความล่าช้าของการเพิ่มทุนฯ ที่จะเสนอขาย ให้กับบริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวง จำกัด (มหาชน) นั้น ไม่ใช่ความผิดของผู้บริหารแผนฯ แต่มาจากคณะกรรมการเจ้าหนี้ เพราะบริษัทเพิ่งได้รับสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ (เอ็มอาร์เอ) ฉบับใหม่เมื่อไม่นานนี้ ทำให้ไม่มีเวลาในการพิจารณาเพราะตลอดระยะเวลา 7 เดือนที่ผ่านมา บริษัทฯ ไม่เคยเข้าร่วมประชุมระหว่างคณะกรรมการเจ้าหนี้และปูนซีเมนต์นครหลวงเลย อีกทั้งคณะกรรมการเจ้าหนี้ได้มีการแก้ไขสัญญาต่างๆ ที่ต่างไปจากสัญญาที่บริษัทฯ ได้ลงนามกับปูนซีเมนต์นครหลวงไว้แต่เดิมด้วย

รายละเอียดของสัญญาเอ็มอาร์เอฉบับใหม่ ทำ ให้บริษัทมีความกังวลในหลายประเด็นเพราะรายละเอียดของสัญญาเปลี่ยนแปลงไป เช่น การค้ำประกันที่จะต้องปลดภาระตระกูลเลี่ยวไพรัตน์ ออกจากการค้ำประกัน หลังจากแผนขายหุ้นเพิ่มทุนให้กับปูนซีเมนต์นครหลวงสำเร็จ ซึ่งในสัญญาเอ็มอาร์เอฉบับใหม่ไม่มีระบุไว้

รวมไปถึงการให้สิทธินายประชัย ในการซื้อทรัพย์สินของธุรกิจเม็ดพลาสติกแอลดีพีอี ในราคา 50 ล้านเหรียญสหรัฐ ภายในระยะเวลากำหนด และซื้อทรัพย์สินรองในราคาที่จะได้กำหนดด้วย

"ปัจจุบันคุณประชัยติดค้ำประกันเงินกู้ทีพีไอโพลีนประมาณ 1.4 พันล้านบาท รวมทั้งตระกูลเลี่ยวไพรัตน์ ติดค้ำประกันอยู่รวมทั้ง 6 พันล้านบาท ซึ่งก็หวังที่จะหลุดการค้ำประกัน เมื่อมีผู้ถือหุ้นใหญ่รายใหม่เข้ามาบริหารงานแทน" นายประเสริฐ อิทธิเมฆินทร์ รองผู้จัดการใหญ่อาวุโสสายบัญชีและการเงิน ทีพีไอโพลีนกล่าว

นอกจากนี้ในสัญญายังระบุว่าให้ปูนซีเมนต์นครหลวงถือหุ้นในทีพีไอโพลีนไม่ต่ำกว่า 75% หากมีหนี้สินเกิน 200 ล้านเหรียญสหรัฐ และถ้าหนี้ต่ำกว่า นั้น ให้ถือหุ้นไม่ต่ำกว่า 51%

การแก้ไขสัญญาข้อตกลงดังกล่าวนี้ จำเป็นต้องการได้รับคะแนนเสียงสนับสนุนจากเจ้าหนี้รายอื่นๆ ด้วย โดยคณะกรรมการเจ้าหนี้ระบุว่าต้องได้รับเสียงสนับสนุนเพียง 51% ทั้งที่ก่อนหน้านี้ระบุไว้ 95% ทำให้เกิดความไม่แน่ใจว่าต้องได้รับเสียงสนับ สนุนเท่าใด

"เราพยายามประคับประคองดีลนี้มาตลอด แม้ ว่าการปรับโครงสร้างหนี้บริษัทฯ จะไม่มีการแฮร์คัทเงินต้นและดอกเบี้ยเลย ผิดกับการปรับโครงสร้างหนี้ ของบริษัทฯ อื่นๆ ที่เจ้าหนี้ถูกแฮร์คัตได้หนี้คืนเพียง 20-30% เมื่อเจ้าหนี้บอกว่าแผนเพิ่มทุนดีเลย์ เพราะผู้บริหารแผนถ่วง เพื่อผลประโยชน์ของเราไม่จริง เราอยากให้มีการเพิ่มทุนโดยเร็ว เพื่อให้บริษัทแข็งแกร่ง" นางอรพินกล่าว

นอกจากนี้ สัญญาข้อตกลงที่บริษัทฯ ทำไว้กับปูนซีเมนต์นครหลวงนั้น ตามกฎหมายถือว่าสิ้นสุด ลงแล้วเมื่อมิ.ย. 2545 ซึ่งปูนซีเมนต์นครหลวงมีสิทธิ ต่อสัญญาได้ โดยได้แจ้งว่า จะต่อสัญญาต่อเมื่อเจ้าหนี้ทั้งหมดต้องลงคะแนนเสียงเห็นชอบตามสัญญาเอ็มอาร์เอฉบับใหม่

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้เราก็ยังมีการเจรจากันอยู่ กับผู้บริหารของปูนซีเมนต์นครหลวง ส่วนสัญญาร่วมทุนนั้นคงขึ้นอยู่กับคณะกรรมการเจ้าหนี้เป็นสำคัญ

"การที่เจ้าหนี้แจ้งว่า ได้รวบรวมคะแนนเสียงใกล้ครบ 66 เศษสองส่วนสาม เพื่อปลดบริษัทออกจากการเป็นผู้บริหาร โดยเป็นการเปลี่ยนแปลงแบบออโตเมติกนั้น ถือเป็นการละเลยต่อกฎหมายไทยและตลอดระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา เจ้าหนี้ไม่เคยซัปพอร์ตเงินสักบาท เราอยู่ได้เพราะความร่วมแรงใจของพนักงานและผู้บริหาร หากเจ้าหนี้มีความเมตตากว่านี้ บริษัทฯ คงแข็งแกร่งกว่านี้แล้ว"

สำหรับคณะกรรมการเจ้าหน้าของทีพีไอโพลีน ประกอบด้วย ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงไทย เคเอฟดับบลิว ซึ่งเป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ทั้ง 3 ราย มีสัดส่วนประมาณ 50% ของมูลหนี้ทั้งหมด แฉเล่ห์คณะกรรมการเจ้าหนี้

จ้องปลดประชัยพ้นผู้บริหารแผน

นายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ทีพีไอโพลีน กล่าวว่า ที่ผ่านมา คณะกรรมการ เจ้าหนี้ได้หารือกับพันธมิตรร่วมทุน ไม่ว่าจะเป็นซีเม็กซ์ หรือปูนซีเมนต์นครหลวง โดยเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขสัญญาต่างๆ ตลอดเวลา เพื่อเตะถ่วงการเพิ่ม ทุนให้ช้าลง โดยมีเป้าหมายหวังไล่ผู้บริหารแผนเดิม แล้วแต่งตั้งผู้บริหารแผนรายใหม่ เหมือนที่ทำกับทีพีไอ

"เจ้าหนี้เห็นว่าที่พีไอโพลีน เป็นบริษัทดี การจัดการดี และมีกำไรดี จึงอยากที่จะเข้ามายึด โดยพยายามไล่ผู้บริหารแผนเดิมออกไป แล้วหาใครก็ได้ เข้ามาสวมแทน โดยไม่ได้รู้ว่าบริษัทที่ดำเนินอุตสาห-กรรม จำเป็นต้องมีผู้บริหารที่มีความชำนาญเฉพาะด้าน ไม่ใช่รู้เฉพาะด้านการเงินอย่างเดียวมาบริหาร หากเขาแต่งตั้งใครเข้าดูแล ก็ไม่ได้หมายความว่าทีพีไอโพลีนจะอยู่รอดได้"

การที่คณะกรรมการเจ้าหนี้เสนอให้แต่งตั้งบริษัท อินทนนท์ จำกัด เป็นผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการ รายใหม่ โดยบริษัทดังกล่าวก็คือ บริษัท อาร์เธอร์ แอนเดอร์สันเดิม ที่มีปัญหามากในสหรัฐฯ และประเทศอื่นๆ เกี่ยวกับการปกปิดข้อมูลจนต้องปิดตัวเองลง การแต่งตั้งบริษัทดังกล่าวมาเป็นผู้บริหารแผนแทนจึงไม่เป็นประโยชน์ที่ดีต่อลูกหนี้และเจ้าหนี้

ที่ผ่านมา ที่ปรึกษาอินทนนท์ (อาร์เธอร์ แอน เดอร์สัน) เป็นเพียงผู้สอบบัญชีมีความชำนาญในการตรวจสอบบัญชี และทำหน้าที่ตรวจสอบกระแสเงินสดให้กับทีพีไอโพลีน การตั้งเป็นที่ปรึกษาจึงไม่มี ความเชี่ยวชาญในการเข้ามาดูปฏิบัติการ การบริหาร และการผลิต และก่อนหน้านี้ที่ปรึกษาอินทนนท์ก็ดำเนินการและจัดทำรายงานกระแสเงินสดล่าช้า ทั้งๆ ที่บริษัทมีความพร้อมในการให้ข้อมูลทั้งหมด

"ขณะนี้เรายังไม่ได้ผิดนัดอะไรเลย ไม่ว่าจะเป็น ความล่าช้าในการเพิ่มทุน และการตัดสินว่าบริษัทผิดนัดหรือไม่นั้น ไม่ใช่คณะกรรมการเจ้าหนี้ แต่เป็น ศาลล้มละลายกลาง ซึ่งเชื่อว่าศาลจะนัดพิจารณาไต่สวนหาสาเหตุของความล่าช้าในการเพิ่มทุน หากศาล มีคำสั่งเห็นว่าเป็นความผิดของผู้บริหารแผน ทางคณะกรรมการเจ้าหนี้ก็เป็นช่องทางปลดบริษัทออกจากการเป็นผู้บริหารแผนได้"

แจงฐานะการเงินไม่แย่อย่างที่คิด

นายประเสริฐ กล่าวถึง ผลการดำเนินงานในปี 2545 ว่า บริษัทคาดว่าจะมียอดขายรวม 1.7 หมื่นล้าน และ EBITDA 4 พันล้านบาท ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายเดิม ที่จะมี EBITDA 4.7 พันล้านบาท เนื่องจากช่วงปลาย ปีที่แล้ว ต่อเนื่องมาถึงไตรมาสแรกปีนี้ ทางปูนซีเมนต์ นครหลวงทุ่มตลาดปูนเหลือเพียง 5 ถุง 100 บาท ทำ ให้ผู้ประกอบการปูนซีเมนต์ต้องแข่งขันราคาตามไปด้วย ทำให้กำไรส่วนนี้หดหายไป แต่ปัจจุบันราคาปูน ปรับตัวดีขึ้นแล้ว

"ไตรมาส 4 ปีนี้ คาดว่าความต้องการใช้ปูนจะดีขึ้น คาดว่าทั้งปียอดการใช้ปูนซีเมนต์จะโตขึ้น 10-20% ตามการเติบโตของจีดีพีในประเทศ ขณะเดียวกันบริษัทเดินเครื่องผลิตปูนซีเมนต์เต็มกำลังการผลิตมาโดยตลอดทำให้ต้นทุนต่อหน่วยต่ำ"

ส่วนผลการดำเนินงานในปี 2546 นั้น ทีพีไอโพลีนคาดว่าจะมียอดขายรวม 1.9 หมื่นล้านบาท EBITDA เพิ่มขึ้นเป็น 6.5 พันล้านบาท แต่ทั้งนี้คงขึ้นอยู่กับความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ภายในประเทศเป็นสำคัญ

นายประเสริฐ กล่าวถึงสาเหตุที่บริษัทมีอัตราส่วนสภาพคล่อง (Current Ratio) ต่ำอยู่ที่ 0.14 เท่านั้น เกิดจากผู้สอบบัญชียังคงจัดกลุ่มหนี้สินที่ได้จากการปรับโครงสร้างหนี้ (เป็นหนี้ระยะยาวตามแผนปรับโครงสร้างหนี้) เป็นหนี้ระยะสั้น ทำให้ตัวเลขดังกล่าวไม่สามารถสะท้อนสภาพคล่องที่แท้จริงได้ หากคำนวณสภาพคล่องที่จัดชั้นหนี้ตามการปรับโครงสร้างหนี้แล้วบริษัทจะมีอัตราส่วนสภาพคล่อง" ณ 30 กันยายน 2545 อยู่ที่ 1.47 เท่า

หากบริษัทสามารถเพิ่มทุนขั้นต่ำ 180 ล้านเหรียญสหรัฐ ได้แล้วเสร็จ จะทำให้บริษัทมี urrent Ratio อยู่ที่ 2.2 เท่า และปีต่อไปอยู่ที่ระดับ 2.3 เท่า

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us