ธอส.ตรึงดอกเบี้ยลูกค้าบ้านเอื้ออาทรถึงสิ้นปี 49 เพื่อช่วยเหลือลูกค้ายุคดอกเบี้ยแพง พร้อมระดมทุนเงินรองรับปล่อยลูกค้าอีก 6 แสนยูนิตในช่วง 5 ปี โชว์ผลสำเร็จศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ รุดบุกเจาะข้อมูลจังหวัดเศรษฐกิจขนาดใหญ่ 11 แห่ง และเชื่อมข้อมูลกับอบต. 7,000 แห่งทั่วประเทศ ระบุยอดขอใบอนุญาต จัดสรรที่ดินสูงขึ้นถึง 194 โครงการ 31,104 หน่วย หรือเติบโตถึง 57%
นายขรรค์ ประจวบเหมาะ กรรมการผู้จัดการธนาคารอาคาร สงเคราะห์ (ธอส.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ธนาคารจะต้องเตรียมเงินทุน ให้เพียงพอสำหรับการปล่อยสินเชื่อ ทั้งสินเชื่อปกติ และสินเชื่อให้แก่โครงการของรัฐบาล อาทิ โครงการ บ้านเอื้ออาทร ซึ่งได้ปล่อยสินเชื่อไปแล้ว 4,000 ยูนิต วงเงิน 1,000 ล้านบาท ซึ่งนับตั้งแต่ปี 2549 เป็นต้นไป ธนาคารจะต้องปล่อยสินเชื่อให้แก่ลูกค้าของโครงการบ้านเอื้ออาทร เฉลี่ยต่อราย 4 แสนบาท และภายใน 5 ปี การเคหะแห่งชาติ (กคช.) จะผลิตบ้านเอื้ออาทรให้ได้ตามแผนคือ 600,000 ยูนิต
โดยภาพรวมของการปล่อยสินเชื่อของธนาคารขณะนี้ สามารถ ปล่อยสินเชื่อได้เกินเป้า 99,000 ล้านบาท ซึ่งยอดสินเชื่อ ณ วันที่5 ต.ค. ที่ผ่านมา ทำได้แล้ว 100,000 ล้านบาท และภายในช่วง 3 เดือนสุดท้าย (ต.ค.-ธ.ค.) จะปล่อยเงินกู้เดือนละ 10,000 ล้านบาท อย่างไร ก็ตาม ในส่วนของภาวะอัตราดอกเบี้ยที่ขยับขึ้น ธนาคารก็มีความจำเป็นจะต้องปรับอัตราดอกเบี้ยเงิน กู้และเงินฝากเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพตลาด รวมถึงต้องติดตามนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) อีกด้วย
"แม้ว่าดอกเบี้ยจะปรับตัว สูงขึ้น แต่สำหรับลูกค้าบ้านเอื้ออาทรที่มีวงเงินกู้กับธนาคารจะยังได้รับการดูแล โดยธนาคารจะคงดอกเบี้ยเงินกู้ไปถึงปลายปี 2549 ซึ่งสัญญาผูกพันกับธนาคารจะ มีอัตราดอกเบี้ยคงที่ 4% ช่วง 3 ปี และหลังปีที่ 4-5 จะอยู่ที่ 5% อย่างไรก็ตาม ธนาคารมีความเชื่อมั่น ว่า ลูกค้าในโครงการบ้านเอื้ออาทรไม่ค่อยเบี้ยวหนี้หรือถ้าจะเกิดหนี้เสียก็น้อยมาก เนื่องจากรัฐบาลได้มีการสนับสนุนเงินให้แก่คนที่ซื้อบ้าน หรือหากลูกค้ามีปัญหา กคช. ก็มีนโยบายที่จะรับซื้อคืนจากผู้อยู่อาศัย ในส่วนบ้านระบบน็อกดาวน์ ตอนนี้ยังไม่มีความชัดเจน เนื่องจาก กคช. เปลี่ยนบอร์ดมาแล้ว 3 ครั้ง" นายขรรค์กล่าว
ในส่วนความคืบหน้าของศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ นายขรรค์กล่าวว่า นับตั้งแต่ก่อตั้งมาครบรอบ 1 ปีเมื่อเดือนสิงหาคม 2548 ต้องถือว่าการพัฒนาข้อมูลของศูนย์ข้อมูลอสังหาฯ มีความคืบหน้าและรุดหน้าไปอย่างมาก ทำให้เกิดฐานข้อมูลของตลาดอสังหาฯและดัชนีอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับตลาดที่มีความหลากหลายและกว้างขึ้น โดยตามแผนปฏิบัติการประจำปี 2548 ได้กำหนดเป้าหมาย โครงการรวบรวมและจัดเก็บข้อมูล อสังหาฯในกทม.และปริมณฑล, จัดเก็บข้อมูลอสังหาฯในส่วนภูมิภาค 11 จังหวัด, รวบรวมและจัดเก็บข้อมูลอสังหาฯ 5 ประเภท ได้แก่ ที่อยู่อาศัย อาคารสำนักงาน ศูนย์การค้า โรงแรม-รีสอร์ต และนิคมอุตสาหกรรม ขณะที่เป้าหมาย ปี 2549 สำรวจข้อมูลอสังหาฯ เพิ่ม เติมในส่วนภูมิภาค 10 จังหวัด รวมครอบคลุมพื้นที่ 27 จังหวัด โครงการพัฒนาระบบภูมิศาสตร์สารสนเทศบ้านมือสอง GIS-MLS โดยนำระบบ GIS มาใช้กับฐานข้อมูลบ้านมือสอง การขยายพื้นที่รวบรวมจัดเก็บข้อมูลอสังหาฯในพื้นที่เทศบาล และ อบต. 7,000 แห่ง ทั่วประเทศ
นายพงษ์ศักดิ์ ชิวชรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาฯ กล่าวถึงภาพรวมของตลาดอสังหาฯในช่วง 7-8 เดือนที่ผ่านมาว่า ตลาดมีการปรับตัวดีขึ้นและขยายตัว โดยเฉพาะในช่วงไตรมาส แรกที่ผ่านมามีการขอใบอนุญาตจัดสรรที่ดินสูง โดยข้อมูลล่าสุด ณ ส.ค.48 มีการออกใบอนุญาตจัดสรรโครงการจำนวนทั้งสิ้น 194 โครงการ จำนวน 31,104 หน่วย ขยายตัวเพิ่มขึ้น 57% เมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันของปี 47 โดยส่วนใหญ่เป็นการจัดสรรประเภททาวน์เฮาส์ จำนวน 14,848 หน่วย
นอกจากนี้ยังพบว่า มีการขออนุญาตก่อสร้างอาคารแนวราบลดลง แต่อาคารสูงมีการ ขออนุญาตก่อสร้างเพิ่มขึ้น ณ สิ้นเดือน ก.ค.48 มีจำนวนอาคาร ที่ได้รับใบอนุญาตก่อสร้าง 22,940 อาคาร พื้นที่ 5.247 ล้าน ตร.ม. คิดเป็นพื้นที่เฉลี่ย 229 ตร.ม. ต่ออาคาร มีจำนวนอาคารที่ได้ รับใบอนุญาตก่อสร้าง 610 อาคาร คิดเป็นพื้นที่รวม 581,123 ตร.ม. ประกอบด้วย อาคารแฟลต-อพาร์ตเมนต์ 590 อาคาร อาคารพักอาศัย 20 อาคาร ไม่มีอาคารสำนักงาน
|