Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน4 พฤศจิกายน 2545
อัด2แสนล้าน ชุบชีวิตSME             
 


   
search resources

SMEs




รัฐบาลเร่งชุบชีวิตธุรกิจ SME เพื่อสร้างความ อยู่รอดและความยั่งยืนของระบบเศรษฐกิจไทยผ่านเครือข่ายธนาคารของรัฐ ทั้ง แบงก์กรุงไทย บอย. บสย. ตามแผนยุทธศาสตร์ของธนาคารพาณิชย์ของรัฐ อัดสินเชื่อเต็มพิกัดเกิน 2 แสนล้านบาท หวังสสว.ต้องแสดงบทบาทอย่างเต็มที่ในการเชื่อมโยงการพัฒนา SME ให้เกิดการปรับ หวั่นรากเหง้าของปัญหาSME ยังเป็นอุปสรรค จี้รัฐต้องเร่งแก้ไขด่วน

วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ของไทยเป็น ธุรกิจที่มีการกระจัดกระจายครอบ คลุมทั่วประเทศ การดำเนินธุรกิจใช้เงินลงทุนจำนวนไม่สูง และมีการ ใช้วัตถุดิบภายในประเทศเป็นปัจจัย ต่อการผลิต มีขนาดเล็ก จึงมีความ คล่องตัวในการบริหารธุรกิจมากกว่าธุรกิจขนาดใหญ่ ขณะเดียวกัน ธุรกิจ SME ยังเป็นแหล่งที่ทำให้เกิดการจ้างงาน โดยเมื่อเปรียบเทียบกับธุรกิจขนาดใหญ่แล้ว ธุรกิจ SME มีสัดส่วนการจ้างงานถึง 79% ขณะที่ธุรกิจขนาดใหญ่มีเพียง 21% หน้ำซ้ำยังก่อให้เกิดมูลค่าต่อ GDP (นอกภาคเกษตร) ที่สูงถึง 1.7 ล้าน ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม ในช่วงที่เศรษฐกิจ ชะลอตัวอย่างรุนแรงตั้งแต่ปี 2540 ธุรกิจ SME ได้รับผลพวงจากผลกระทบจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ ไม่ว่าด้านสภาพคล่องทางการเงิน ปัญหาที่เกิดหนี้เสียในธุรกิจSMEจำนวนมาก ประกอบกับในการดำเนินธุรกิจหรือการสร้างผลิต ภัณฑ์ยังมุ่งตอบสนองต้องการภายในประเทศเป็นหลักซึ่งไม่สอดรับกับนโยบายการค้าแบบเสรี

และแรงกดดันที่สำคัญอย่างยิ่งคือ การที่ประเทศจีนได้เข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก (WTO) แล้ว ทำให้สภาพของการแข่งขันทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น เพราะด้วยศักยภาพ ต้นทุน แรงงานที่ต่ำกว่า และการที่รัฐบาลของประเทศจีนพยายามส่งเสริมให้ธุรกิจหรือผู้ประกอบการในจีนปรับตัวให้สามารถแข่งขันทางด้านสินค้ากับตลาดต่างประเทศมากขึ้น ทำให้ธุรกิจ SME ต้องตระหนักถึงภัยทางด้านการแข่งขันที่มากขึ้น

รัฐบาลเข้าใจถึงปัญหาของการพัฒนาเศรษฐกิจว่า หากต้องการให้เศรษฐกิจไทยมีความ เข้มแข็งขึ้น สิ่งสำคัญคือ ธุรกิจระดับรากหญ้าอย่างธุรกิจ SME จะต้องพร้อมและแกร่งขึ้น เพื่อ รับกับกระแสการแข่งขันของตลาดโลก

พิจารณาได้จากในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 9 (พ.ศ.2545-2549) ในส่วนของ SME ได้กำหนดให้มีการพัฒนาSME เป็นระบบที่ครบวงจรผ่านสถาบันเฉพาะทางที่ได้รับการพัฒนาให้เข้มแข็ง ควบคู่ไปกับการปรับใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม เพื่อเพิ่มผลผลิตและประสิทธิภาพการบริหารจัดการ พัฒนาทักษะแรงงาน คุณภาพการผลิต

แบงก์รัฐอัดสินเชื่อ 2 แสนล้าน เดินหน้าเต็มพิกัด

ตามที่ได้มีการประชุมมอบหมายนโยบายของรัฐบาลเรื่อง"การจัดทำแผนยุทธศาสตร์ของธนาคารพาณิชย์ของรัฐ" โดยมีนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการคลังขณะนั้นเป็นประธานและมีผู้เข้าร่วมประชุมจากธนาคารพาณิชย์และหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องเมื่อวันพุธที่ 5 มิ.ย.45 สามารถสรุปประเด็นในส่วนที่เกี่ยวข้องกับธนาคารกรุงไทย ซึ่งเป็นธนาคารของรัฐที่เป็นแกน หลักในการปล่อยสินเชื่อให้กับเอสเอ็มอี

ซึ่งสาระสำคัญของแผนดังกล่าวก็เพื่อให้ธนาคารของรัฐมีส่วนร่วมในแผนยุทธศาสตร์ของประเทศ ด้านสินเชื่อและเงินเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอี และชุมชนโดยในความช่วยเหลือของธนาคารรัฐจะมีแผนการสนับสนุนในหลายด้านผ่านโครงการที่จัดตั้งขึ้น มี 7 โครงการที่จะมีการกำหนดประเภทและแนวทางการปล่อยสินเชื่อให้กับธุรกิจ SME และการจัดตั้งกองทุนซึ่งแต่ละกองทุนจะมีลักษณะที่แตกต่างกัน

โดยหน่วยงานที่เข้าร่วมในโครงการดังกล่าว ประกอบด้วยสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เป็นแกนในการดำเนินงาน ธนาคารของรัฐ บรรษัทค้ำประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) บรรษัท เงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม (บอย.)

ทั้งนี้ จากการรวบรวมเป้าหมายในการปล่อยสินเชื่อจะพบว่า ยอดรวมที่มีการกำหนดเป้า ไว้รวมทั้ง 7 โครงการและ 3 กองทุนมียอดปล่อยกู้ ไม่ต่ำกว่า 2 แสนล้านบาท โดยในส่วน 7 โครงการ มียอดรวม 165,000 ล้านบาท

เฉพาะแค่ธนาคารกรุงไทย (KTB) ถือได้ว่า เป็นธนาคารหลักและเป็นกำลังสำคัญในการเข้าช่วยเหลือธุรกิจ SME ปล่อยกู้รวม 106,500 ล้าน บาท แบ่งเป็นในส่วนของ 7 โครงการ 78,500 ล้าน บาทและร่วมจัดตั้งกองทุน 3 กองเป็นเงินจำนวน 28,000 ล้านบาท

นอกจากนี้ธนาคารจะร่วมประสานกับสสว. ในด้านสนับสนุนข้อมูลสินเชื่อและข้อมูลของลูกค้าที่ธนาคารให้การอำนวยสินเชื่อ ส่วนรวมในการปรับเปลี่ยนระบบงานและผังองค์กรของสสว.เพื่อให้การดำเนินงานตามโครงการได้ผล จึงให้มีการจัดตั้งฝ่ายตรวจสอบ ( Steering Committee) เพื่อบริการให้เป็นไปตามแผนยุทธศาสตร์

มุ่งสินเชื่ออาจไร้ผล รัฐต้องแก้จุดอ่อน SME

อย่างไรก็ตาม โดยรากฐานและการดำเนิน ธุรกิจของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีจำนวนไม่น้อย ยังไม่มีการปรับตัวให้เข้ากับกระแสของโลกการค้าแบบไร้พรมแดนที่นับวันการแข่งขันจากจะยิ่ง ทวีความรุนแรงอีกทั้งผู้บริโภคซึ่งเป็นผู้ซื้อมีช่องทางและมีอำนาจในการซื้อสินค้ามากขึ้น

การที่รัฐบาลจะคาดหวังให้การพัฒนาของเอสเอ็มอีก้าวสู่เอสเอ็มอีที่มีศักยภาพ และขยายผลของธุรกิจสู่อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ของประเทศในอนาคต ยังมีหลายปัญหาที่ทั้งภาครัฐและตัวผู้ประกอบการยังต้องสะสางเพื่อให้บรรลุ เป้าหมายแห่งนโยบายของรัฐและการนำพาเศรษฐกิจของประเทศให้มีความเข้มแข็ง

สำหรับปัญหาที่เป็นอุปสรรคพื้นฐานของธุรกิจ SME สามารถแยกออกได้ คือ

1) ปัญหาด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม SMEส่วนใหญ่ไม่ลงทุนในกิจกรรมการวิจัยและพัฒนา ทำให้คุณภาพสินค้าต่ำลงเป็นอุปสรรค ต่อการนำเทคโนโลยีระดับสูงมาใช้ผลิตสินค้าใหม่, SMEมีขนาดเล็กจนไม่สามารถพัฒนาหรือจัดหาเทคโนโลยีที่ทันสมัยได้เอง, เอสเอ็มอีที่เป็นผู้ส่งออกยังขาดความสามารถในการปรับเปลี่ยนรูปแบบสินค้าตามความต้องการของลูกค้า

2) ปัญหาด้านการตลาด SME ไทยมีขีดความสามารถในการแข่งขันด้านราคาสินค้า ในระดับที่ต่ำกว่าจีน เวียดนาม อินเดีย อินโดนีเซีย, SME เสียเปรียบธุรกิจขนาดใหญ่ในการเข้าถึงการจัดซื้อ/จัดจ้างของภาครัฐ ทั้งด้านเงื่อนไข การ รับข้อมูล และค่าใช้จ่ายในการดำเนินการต่อหน่วย ที่สูงกว่า, SME ส่วนใหญ่ยังขาดบุคลากร ตลอด จนความรู้ ความสามารถในการเจาะตลาดทั้งในและต่างประเทศ

3) ปัญหาด้านสภาพแวดล้อมในการทำธุรกิจ SME ส่วนใหญ่ไม่ทราบถึงนโยบายส่งเสริม ของภาครัฐ ตลอดจนหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง, SME ไทยมักขาดระบบข้อมูลที่เชื่อมโยงถึงกัน ทำให้เป็นอุปสรรคในการช่วยเหลือได้ตรงจุดและรวดเร็ว, SME ไทยมักไม่เสนอขอรับการส่งเสริมจากบีโอไปเนื่องจากยังไม่มีความพร้อมมากนักต่อการเข้าสู่ระบบข้อมูลที่ดี และโปร่งใส

4) ปัญหาด้านทรัพยากรมนุษย์ SMEส่วนใหญ่ขาดแคลนบุคลากรที่มีคุณภาพ โดยเฉพาะด้านวิศวกรรมรวมทั้งยังขาดการบริหารจัดการที่ดี, การฝึกอบรมและหลักสูตรที่เหมาะสม และสามารถนำไปใช้ได้จริงในปัจจุบันยังมีน้อยธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่ยังไม่สามารถขยายฐาน การดำเนินงานในเรื่องนี้ให้สอดคล้องกับความพยายามในการขยายสินเชื่อ

ที่สำคัญคือ ผู้ประกอบการ SME ส่วนใหญ่ ยังเผชิญกับปัญหาและอุปสรรคในการขอสินเชื่อ จากสถาบันการเงิน กล่าวคือสภาพการณ์หลังเกิด วิกฤติเศรษฐกิจทำให้สถาบันการเงินเปลี่ยนวิธีการพิจารณาสินเชื่อโดยเน้นด้านเอกสารประกอบ การจัดการที่โปร่งใส ระบบบัญชีมาตรฐานและหลักทรัพย์ค้ำประกันทำให้ SME ส่วนหใญ่ไม่ผ่านการพิจารณาและต้องเผชิญกับปัญหาที่รุนแรงขึ้นเพราะขาดสภาพคล่องทางการเงินอยู่แล้ว มีภาระหนี้สินสูงเมื่อเทียบกับทุน

อย่างไรก็ตาม การกำหนดให้สสว.เป็นแกน หลักในการประสานและกำหนดนโยบายในการช่วยเหลือธุรกิจ SME จะต้องเข้าใจถึงปัญหาและจะต้องกำหนดแผนที่ชัดเจนที่ไม่เป็นอุปสรรค ต่อการขยายสินเชื่อของธนาคารของรัฐ

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us