Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์13 ตุลาคม 2548
รู้เงิน รู้ข้อสมมติฐาน (ตอนที่ 1)             
โดย พันธ์ศักดิ์ ลีลาวรรณกุลศิริ
 


   
search resources

Auditor and Taxation
Knowledge and Theory




ก่อนหน้านี้ ผมได้กล่าวถึงผู้ประกอบการที่จะติดต่อแหล่งเงินกู้กับธนาคารให้ได้ผลอย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ประกอบการพึงต้องทราบและดำเนินการ รู้เรา โดยผ่านการจัดทำแผนธุรกิจ รู้เขา โดยทราบหลักการพิจารณาของสถาบันการเงิน และให้ เขารู้เรา โดยให้สถาบันการเงินรู้เราจากงบการเงิน แผนธุรกิจ การเยี่ยมชมกิจการ และเทคนิคนำเสนอ

ผมได้เริ่มจากรู้เรา โดยผ่านการจัดทำแผนธุรกิจ กล่าวคือ รู้ตลาด รู้งาน รู้คน และสุดท้ายที่ผู้ประกอบการจะต้องรู้เงินที่เป็นคำตอบสุดท้ายว่าโครงการที่ทำได้ผลตอบแทนจากการลงทุน นอกเหนือจากผลตอบแทนที่ให้กับลูกน้อง ลูกค้า สังคมชุมชน เจ้าหนี้ รัฐบาล ว่าคุ้มค่าการตัดสินใจลงทุนเพียงไร

เนื่องจากแผนธุรกิจเป็นเรื่องราวของกิจการในอนาคต ผู้ประกอบการจะทำนายอนาคตให้ใกล้เคียงความเป็นจริง จำเป็นต้องรู้และกำหนด ข้อสมมติฐาน โดยรู้ข้อมูลที่เกี่ยวเนื่องธุรกิจและการเงิน เพื่อประกอบการจัดทำงบการเงินคาดการณ์ ได้แก่ งบกำไรขาดทุน งบกระแสเงินสด และ งบดุล

ข้อสมมติฐานที่ดี จะต้องเป็นข้อสมมติฐานที่มีความเกี่ยวข้องธุรกิจที่ทำ มีความเป็นไปได้ในภาคปฎิบัติ อนุรักษ์นิยม ไม่เกินเลย และมีเหตุผลที่สามารถอธิบายได้

ตัวอย่าง ธุรกิจโรงแรม ข้อสมมติฐานที่กำหนดได้แก่ เกรดของโรงแรม จำนวนห้อง เกรดของห้อง และราคาที่พักต่อคืนของแต่ละกลุ่มลูกค้า เช่น กลุ่มลูกค้าทัวร์ กลุ่มลูกค้าสัมมนา กลุ่มลูกค้าธุรกิจ กลุ่มลูกค้าข้าราชการ กลุ่มลูกค้าทั่วไป เป็นต้น ราคาเทียบกับคู่แข่งระดับเดียวกันได้ จุดได้เปรียบคือ ใหม่กว่า บริการดีกว่า

การกำหนดข้อสมมติฐานอัตราการใช้ห้องพักปีแรกเพียง 50 % เติบโตปีละ 10 % อัตราการใช้ห้องพักสูงสุดไม่เกิน 80% ของจำนวนห้องทั้งปี

ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างแผนธุรกิจด้านการเงิน โดยดำเนินการดังนี้:-

1. กำหนดข้อสมมติฐานด้านการลงทุน ด้านการเงิน
2. จัดทำงบการเงินคาดการณ์ล่วงหน้า 5 ปี
3. เครื่องมือที่ใช้วัดผลโครงการ 4 แบบ ได้แก่ การคำนวณหาระยะเวลาที่คืนทุน การคำนวณจุดคุ้มทุน การคำนวณมูลค่าปัจจุบันสุทธิ การคำนวณอัตราผลตอบแทนจากการลงทุน
4. ตัดสินใจลงทุน หรือ ไม่ลงทุน

1.กำหนดข้อสมมติฐานด้านการลงทุน ด้านการเงิน

ตัวอย่าง ธุรกิจเช่าโกดังเพื่อให้เช่าเก็บสินค้า (ตัวเลขสมมติเพื่อให้ผู้ประกอบการเข้าใจวิธีทำ)

1.แหล่งใช้ไปของเงินทุน คือ ต้นทุนโครงการที่ต้องใช้ แบ่งออกเป็น 4 เรื่อง
1.1 สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน
( สินทรัพย์มีตัวตน ได้แก่ ที่ดิน อาคาร เครื่องจักร และอุปกรณ์ เป็นต้น
( สินทรัพย์ไม่มีมีตัวตน ได้แก่ ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร สัมปทาน เป็นต้น

ในกรณีนี้เป็นการเช่าโดยสมมุติว่ามีการสร้างอาคารและตกแต่งเพิ่ม 800,000 บาท

1.2 ค่าใช้จ่ายก่อนเริ่มดำเนินงาน ได้แก่ ค่าใช้จ่ายต่างๆ ตั้งแต่เริ่มคิดโครงการ จนถึงวันจดทะเบียนตั้งกิจการ รวมถึงค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมจดทะเบียนนิติบุคคล ในข้อนี้สมมติว่า 100,000 บาท

1.3 เงินทุนหมุนเวียนที่จำเป็นต้องใช้ ได้แก่ เงินสดที่ต้องใช้ไปตั้งแต่วันที่เริ่มกิจการ จนถึงบาทแรกที่ได้รับจากลูกค้า หรือลูกหนี้ กิจการต้องเตรียมเงินสดไว้ให้เพียงพอ

1.4 เงินสำรองเผื่อบานปลายเมื่อฉุกเฉิน เผื่อขาดทุน ปกติควรเตรียมไว้ 5% -10% ของลงทุนโครงการ สมมติว่าเงินทุนหมุนเวียนและสำรองฯ 100,000 บาท

2. แหล่งได้มาของเงิน คือ เงินทุน และ เงินกู้ เพื่อสำรองเงินทุนโครงการ

2.1 เงินกู้ 500,000 บาท (ชำระคืนเงินต้น 5 ปี @ 100,000 บาท อัตราดอกเบี้ย 8%ต่อ ปี)

2.2 เงินทุน 500,000 บาท

3. แหล่งรายได้ ผู้ประกอบการพึงทราบ

3.1 กำลังผลิตเต็มที่

ในที่นี้ สมมติว่าโกดังให้เข้าเก็บสินค้าเต็มที่ 3,000 ม2

3.2 จุดที่คาดว่าจะขายได้

ในที่นี้สมมติว่าราคาให้เช่าเก็บสินค้า 100 บาท/ม2 รวม 2,000 ม2 / ปี ตลอดอายุ

โครงการ 5 ปี (ข้อเท็จจริงควรจะมีการเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์)

3.3 จุดคุ้มทุน คือจุดเท่าทุน หรือจุดที่ขายเท่าไรได้กำไรไม่ขาดทุน ผู้ประกอบการควร

ทราบเพื่อใช้ในการตัดสินใจ (โปรดติดตามตอนต่อไป)

4. แหล่งค่าใช้จ่าย แบ่งเป็น

4.1 ต้นทุนผันแปร ได้แก่ ต้นทุนที่ผันแปรไปตามยอดขาย ในที่นี้สมมติว่า 50 บาท/ม2

4.2 ต้นทุนคงที่ ได้แก่ต้นทุนที่ไม่เปลี่ยนแปลงไปตามยอดผลิต ยอดขาย ในระดับหนึ่ง

4.2.1 ค่าเช่าโกดัง ปีละ 360,000 บาท ตลอดอายุโครงการ (ข้อเท็จจริงควรจะมีการเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์)

4.2.2 เงินเดือน/ค่าใช้จ่าย ปีละ 360,000 บาท ตลอดอายุโครงการ (ข้อเท็จจริงควรจะมีการเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์)

4.2.3 ค่าเสื่อมราคาอาคาร ในที่นี้ ปีแรกคิด 52% ของ 800,000 บาท หรือ 416,000 บาท ปีที่สอง-ปี ที่ห้า @ 12% ต่อปี ของ 800,000 บาท หรือ 96,000 บาท/ปี ปกติถ้าคิดค่าเสื่อมราคาตามวิธีเส้นตรง 5 ปี @ 20% ของ 800,000 บาท หรือ 160,000 บาท/ปี

4.2.4 ค่าใช้จ่ายก่อนเริ่มดำเนินงาน ตัดจ่ายเป็นค่าใช้จ่าย 5 ปี @ 20 % ของ 100,000 บาท หรือ 20,000 บาท/ปี

4.2.5 อัตราดอกเบี้ยจ่าย 8% ต่อปี โดยสมมติว่า จ่ายคืนเงินกู้ 100,000 บาท/ปี ดังนั้น ดอกเบี้ยจ่าย ปีแรก 500,000 x 8% เท่ากับ 40,000 บาท / ปี ปีสอง 400,000 x 8% เท่ากับ 32,000 บาท / ปี ปีสาม 300,000 x 8% เท่ากับ 24,000 บาท / ปี ปีสี่ 200,000 x 8% เท่ากับ 16,000 บาท / ปี ปีห้า 100,000 x 8% เท่ากับ 8,000 บาท / ปี

5. อัตราภาษีเงินได้ สมมติว่า 20% ของกำไรสุทธิ

6. อัตราผลตอบแทนโครงการที่ต้องการ 30% ของต้นทุนโครงการ

จากข้อสมมติฐานข้างต้นนี้ ผู้ประกอบการสามารถจัดทำงบการเงินคาดการณ์ 5 ปี โดยผมจะแสดงเป็นตัวอย่างในฉบับหน้า กรณีศึกษานี้ผมสมมติไม่มีการเปลี่ยนแปลงในเรื่องรายได้ ต้นทุนผันแปร และค่าใช้จ่ายตลอดช่วงอายุโครงการเพื่อให้เข้าใจวิธีคิด และวิธีตัดสินใจการลงทุน

ข้อคิด

ข้อสมมติฐานที่ครบถ้วนเป็นไปได้ในภาคปฎิบัติ อนุรักษ์นิยม จะนำไปสู่แผนธุรกิจที่เป็นไปได้   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us